ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Piyawat Sudkid (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Piyawat Sudkid (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32: บรรทัด 32:


== คดีความ ==
== คดีความ ==
อุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง! ‘อดีตพระพรหมดิลก-พระอรรถกิจโสภณ’คดีฟอกเงินทอนวัด
(7)อุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง! ‘อดีตพระพรหมดิลก-พระอรรถกิจโสภณ’คดีฟอกเงินทอนวัด
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2563 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อท.196/2561 ระหว่างพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี (อดีตพระพรหมดิลก) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ (อดีตพระอรรถกิจโสภณ) และอดีตเลขาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1-2 กรณีถูกกล่าวหาว่าฟอกเงินจากการทุจริตจัดสรรงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ให้กับวัดสามพระยา จำนวน 5 ล้านบาท ในงบอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งที่ไม่มีโรเงรียน โดยเจ้าอาวาสวัดสามพระยานำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นมาตั้งแต่แรก
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2563 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อท.196/2561 ระหว่างพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี (อดีตพระพรหมดิลก) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ (อดีตพระอรรถกิจโสภณ) และอดีตเลขาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1-2 กรณีถูกกล่าวหาว่าฟอกเงินจากการทุจริตจัดสรรงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ให้กับวัดสามพระยา จำนวน 5 ล้านบาท ในงบอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งที่ไม่มีโรเงรียน โดยเจ้าอาวาสวัดสามพระยานำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นมาตั้งแต่แรก



รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:01, 25 ตุลาคม 2563

เอื้อน กลิ่นสาลี
ไฟล์:พระพรหมดิลก.jpg
เกิด13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากพระพรหมดิลก อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม, อดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร, อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, อดีตที่ปรึกษาแม่กองบาลีสนามหลวง

ดร.เอื้อน กลิ่นสาลี หรืออดีต พระพรหมดิลก ฉายา หาสธมฺโม ป.ธ. 9 เป็นอดีตพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าคณะภาค14 รองเจ้าคณะภาค1 ที่ปรึกษาแม่กองบาลีสนามหลวง

ประวัติ

ดร.เอื้อน กลิ่นสาลี เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ณ บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 6 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดร.เอื้อนได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ วัดมหาพล ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเจ้าอธิการพัฒน์ ติสฺสสุวณฺโณ วัดปรีดาราม ตำบลแม่ลา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคต โฆสิโต วัดมหาพล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุดมนครกิจ (วาส สุนฺทโร) วัดตะโหนด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และลาสิกขาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 โดยมีพระจากวัดเสมียนนารีมาทำพิธี เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า กระทำการทุจริตและถูกดำเนินคดีอาญา ในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือ โดยทุจริต พร้อมกับพระอีกหลายรูปจากวัดสามพระยา และวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

คดีความ

(7)อุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง! ‘อดีตพระพรหมดิลก-พระอรรถกิจโสภณ’คดีฟอกเงินทอนวัด

 เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2563 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ อท.196/2561 ระหว่างพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี (อดีตพระพรหมดิลก) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ (อดีตพระอรรถกิจโสภณ) และอดีตเลขาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1-2 กรณีถูกกล่าวหาว่าฟอกเงินจากการทุจริตจัดสรรงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ให้กับวัดสามพระยา จำนวน 5 ล้านบาท ในงบอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งที่ไม่มีโรเงรียน โดยเจ้าอาวาสวัดสามพระยานำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นมาตั้งแต่แรก

ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษากันแล้ว มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-2 ดังกล่าว เรื่องการขออนุมัติงบศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น หาใช่เฉพาะวัดที่มีโรงเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม แต่วัดสามพระยามีโรงเรียนสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ย่อมมีสิทธิ์ในการใช้งบดังกล่าว จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวกับสำนักงาน พศ. ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยทราบว่าเงินเกี่ยวกับการกระทำความผิด

ในหนังสือระบุได้รับเงินเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็นงบบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อได้รับงบ 5 ล้านบาทตามเช็คแล้ว จำเลยได้มอบอำนาจให้มีการถอนเงินจ่ายค่าก่อสร้างอาคารร่มธรรม วัดมีการก่อสร้างอาคารและโอนเงินชำระหนี้จริง โดยจำเลยจ่ายเงินให้ผู้ดูแลการก่อสร้าง เชื่อได้ว่าจำเลยในฐานะผู้ดูแลวัดได้นำเงินไปทำนุบำรุงวัด แม้วัดสามพระยาไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม และไม่ได้นำเงินไปใช้โดยตรง ก็ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนทรัพย์สินที่เป็นการกระทำความผิดมูลฐานฟอกเงิน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย

อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงินฯ พิพากษากลับเป็นยกฟ้อง

อนึ่ง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2562 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายมาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันฟอกเงิน 2 กระทงๆ ละ 2 ปี ให้จำคุกนายเอื้อน หรืออดีตพระพรหมดิลก รวมจำคุก 6 ปี และนายสมทรง หรืออดีตพระอรรถกิจโสภณ จำเลยที่ 2 จำคุก 2 กระทงๆ ละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังฟังคำพิพากษา นายสมทรง หรืออดีตพระอรรถกิจโสภณ จำเลยที่ 2 ได้ยกมือไหว้และร่ำไห้ด้วยความดีใจ รวมถึงกลุ่มพระสงฆ์ และฆราวาสที่เดินทางมาฟังคำพิพากษาและให้กำลังใจ ได้ร่วมแสดงความยินดีด้วย

@ทนายเผย อดีตพระพรหมดิลก-อดีตพระอรรถกิจโสภณ เตรียมกลับไปห่มผ้าเหลืองต่อ

ด้านนายอรรณพ บุญสว่าง ทนายความอดีตพระพรหมดิลก ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาลพิพากษายกฟ้องว่า ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการใช้เงินดังกล่าวเพื่อฟอกเงิน งบดังกล่าววัดสามพระยาก็จัดให้มีการศึกษาในแผนกสามัญด้วย วัดสามพระยาจึงมีสิทธิรับงบประมาณนี้ ดังนั้นการใช้เงินใช้จ่ายในวัดสามพระยาไม่ได้เป็นการฟอกเงิน จึงยกฟ้องจำเลยทั้งสอง

เมื่อถามเกี่ยวกับคดีนี้จะขึ้นสู่ศาลฎีกาหรือไม่ นายอรรณพ กล่าวว่า ต้องรอให้อัยการโจทก์เป็นผู้พิจารณาตามข้อกฎหมาย วันนี้จำเลยทั้งสองก็ดีใจที่ศาลอุทธรณ์มีความเห็นตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ว่าเงินส่วนนี้ให้ใช้ในการก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นที่พักของพระสงฆ์

ส่วนเรื่องสมณเพศของจำเลย นายอรรณพ กล่าวว่า ความจริงแล้วท่านทั้งสองก็ไม่ได้เปล่งวาจาสึก ยังรักษาดำรงพฤติการณ์เสมือนตอนเป็นพระอยู่ แต่ในทางกฎหมายอาจจะยังมีข้อโต้แย้ง ตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจกัน ซึ่งจริงๆ แล้วท่านตั้งใจว่าหากศาลยกฟ้องจะเรียกร้องสิทธิในการแสดงออกด้วยการห่มเหลือง

วิทยฐานะ

  • พ.ศ. 2523 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
  • พ.ศ. 2526 ปริญญาโท (สาขาบาลีและการศึกษาทางพระพุทธศาสนา) ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย
  • พ.ศ. 2529 ปริญญาเอก (สาขาบาลีและการศึกษาทางพระพุทธศาสนา) ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย

งานปกครอง

สมณศักดิ์

ดร.เอื้อน ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระสังฆราช’ทรงมีพระบัญชา ปลด 3 พระผู้ใหญ่โยงคดีเงินทอนวัด
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๔, ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐, หน้า ๑๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 17 ข, เล่ม 121, 15 กันยายน 2547, หน้า 3
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 9 ข, เล่ม 128, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554, หน้า 13
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์, ตอนที่ 15 ข, เล่ม 135, 30 พฤษภาคม 2561, หน้า 1


ก่อนหน้า พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ถัดไป
พระธรรมสิทธินายก
(เฉลิม พนฺธุรํสี)
เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561)
พระธรรมสุธี
(นรินทร์ นรินโท)

(รักษาการ)
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
(ปัญญา อินฺทปญฺโญ)
เจ้าคณะภาค 14
(พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2556)
พระธรรมโพธิมงคล
(สมควร ปิยสีโล)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ฟื้น ชุตินฺธโร)
เจ้าอาวาสวัดสามพระยา
(พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2561)
ว่าง