ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครีเอทีฟคอมมอนส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Turkmen (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 1.46.197.243 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย RidJasper
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว SWViewer [1.4]
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย [[ลอว์เรนซ์ เลสสิก]] ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย [[โจอิจิ อิโต]] (จอย อิโต)
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย [[ลอว์เรนซ์ เลสสิก]] ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย [[โจอิจิ อิโต]] (จอย อิโต)


<ref></ref>== เป้าหมาย ==
== เป้าหมาย ==
[[สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์]] ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็น[[สาธารณสมบัติ]]หรือ[[สัญญาอนุญาตแบบเปิด]]ทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา[[ลิขสิทธิ์]]ต่อการแบ่งปัน[[สารสนเทศ]]
[[สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์]] ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็น[[สาธารณสมบัติ]]หรือ[[สัญญาอนุญาตแบบเปิด]]ทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหา[[ลิขสิทธิ์]]ต่อการแบ่งปัน[[สารสนเทศ]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:47, 22 ตุลาคม 2563

สำหรับ ซีซี (CC) ในความหมายอื่น ดู CC
ครีเอทีฟคอมมอนส์
ครีเอทีฟคอมมอนส์

ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต)

เป้าหมาย

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ

ครีเอทีฟคอมมอนส์ในประเทศต่าง ๆ

โครงการ ครีเอทีฟคอมมอนส์อินเตอร์เนชันแนล (Creative Commons International ย่อว่า CCi) เป็นโครงการที่จัดตั้งโดยครีเอทีฟคอมมอนส์ เพื่อให้มีการจัดการกฎหมายคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ในปัจจุบัน (3 เมษายน พ.ศ. 2552) มีทั้งหมด 51 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) ที่ได้จัดทำโดยสมบูรณ์ และอีก 8 ประเทศที่อยู่ในระหว่างการจัดทำ[1]

สำหรับสัญญาครีเอฟทีฟคอมมอนส์ในภาษาไทย จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] โดยรองรับตามหลักเกณฑ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ รุ่น 3.0 และปรับให้เข้ากับกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย จึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นลำดับที่ 51 ของโลก[3]

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

Wanna Work Together? animation by Creative Commons
The second version of the Mayer and Bettle promotional animation explains what Creative Commons is.

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบ่งได้เป็น 6 ชนิดใหญ่ดังนี้[4]

  • อ้างอิงแหล่งที่มา (CC-BY)
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง (CC-BY-ND)
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-NC-SA)
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง (CC-BY-NC-ND)

เงื่อนไขในการให้อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์มีอยู่ 4 เงื่อนไข คือ อ้างอิงแหล่งที่มา (BY) หมายถึงการนำไปใช้จะต้องอ้างอิงกลับมาถึงผู้เขียน, ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (SA) คือยินยอมให้มีการดัดแปลงงานได้โดยต้องมอบความยินยอมต่อไปด้วย, ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (NC), และห้ามดัดแปลง (ND) คือต้องใช้งานต้นฉบับเท่านั้นโดยไม่มีการดัดแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น[4]

ครีเอทีฟคอมมอนส์เวอร์ชันปัจจุบันนั้นอนุญาตให้ "สิทธิหลัก" ในการเผยแพร่ผลงานโดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง การใส่เงื่อนไข NC และ ND นี้ ทำให้งานชิ้นนั้นเป็นงานที่ไม่เสรี

สำหรับเงื่อนไขอื่น ๆ ได้แก่ CC0 หรือ "ไม่สงวนลิขสิทธิ์" (No Rights Reserved)[5] สำหรับซอฟต์แวร์ ครีเอทีฟคอมมอนส์ใช้สัญญาอนุญาตเสรี 3 ชนิดที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยสถาบันอื่น ได้แก่ BSD License, CC GNU LGPL license, และ CC GNU GPL.[6][7]

อ้างอิง

  1. "ครีเอทีฟคอมมอนส์เวิลด์ไวด์". Creativecommons.org.
  2. "ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย". Creativecommons.org.
  3. "เปิดตัว "ครีเอทีฟคอมมอนส์" สานวัฒนธรรมเสรีในไทย". ไทยรัฐ. 2009-04-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-06.
  4. 4.0 4.1 "Licenses - Creative Commons". สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  5. "About CC0 — "No Rights Reserved"". สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  6. "Creative Commons GNU LGPL". สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  7. "Creative Commons GNU GPL". สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น