ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
ลบออก ไม่ได้สำคัญมากนัก
บรรทัด 110: บรรทัด 110:


เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระยศทางการทหาร คือ ร้อยตรี เรือตรี พรรคนาวิน และ เรืออากาศตรี แห่งกองทัพทั้งสาม<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = สำนักราชเลขาธิการ | ชื่อหนังสือ = "เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้า ฟ้าวชิราลงกรณ สยาม มกุฎราชกุมาร | จังหวัด = กรุงเทพฯ | พิมพ์ที่ = ไทยวัฒนาพานิช | ปี = 2516 | หน้า = 161 }}</ref> ทรงดำรงตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับกองพัน ,ผู้บังคับกองพัน, ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และองค์ผู้บัญชาการ[[หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์]] ทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างและพระราชทานคำสั่งสอนแก่ข้าราชบริพารทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์เอง และมีการเทิดทูนยกย่องพระองค์เป็น “บรมครูทางการทหาร”<ref>[http://www.rpca.ac.th/images/coaching_guide/hand.pdf คู่มือการฝึกว่าด้วยแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์]</ref>
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระยศทางการทหาร คือ ร้อยตรี เรือตรี พรรคนาวิน และ เรืออากาศตรี แห่งกองทัพทั้งสาม<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = สำนักราชเลขาธิการ | ชื่อหนังสือ = "เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้า ฟ้าวชิราลงกรณ สยาม มกุฎราชกุมาร | จังหวัด = กรุงเทพฯ | พิมพ์ที่ = ไทยวัฒนาพานิช | ปี = 2516 | หน้า = 161 }}</ref> ทรงดำรงตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับกองพัน ,ผู้บังคับกองพัน, ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และองค์ผู้บัญชาการ[[หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์]] ทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างและพระราชทานคำสั่งสอนแก่ข้าราชบริพารทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์เอง และมีการเทิดทูนยกย่องพระองค์เป็น “บรมครูทางการทหาร”<ref>[http://www.rpca.ac.th/images/coaching_guide/hand.pdf คู่มือการฝึกว่าด้วยแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์]</ref>

=== พระนิพนธ์ ===
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร ทรงใช้เวลาส่วนพระองค์ที่เหลือจากงานราชการและการศึกษาซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก ด้วยการทรงงานอดิเรก เช่น ทรงแต่งบทกลอนและทรงบริหารพระวรกาย เช่น ทรงวิ่ง ทรงฟุตบอล โดยเฉพาะงานพระนิพนธ์บทกลอนนั้น ทรงมีความสามารถเป็นพิเศษ ดังบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้ทรงไว้ เช่น บทพระนิพนธ์ถวายบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยดันทรูน ออสเตรเลีย ความตอนหนึ่งว่า “เมื่อสิบสองมกรา หนึ่งห้า ลูกคลาคลาด ต้องนิราศ จากไป ไกลนักหนา จำใจจาก แม่พ่อ คลอน้ำตา นึกขึ้นมา คราใด ใจอาวรณ์ ลูกจากไป ครานี้ มีจิตมั่น จะขยัน และทำตาม คำพร่ำสอน ถึงลำบาก อย่างไร ไม่อุทธรณ์ สู้ทุกตอน ตามประสงค์ จำนงใจ”<ref>[กรมศิลปากร, "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร", กรุงเทพฯ, 2515 หน้า 162-165]</ref> และบทพระนิพนธ์ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่อถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2515 “แม่รักชาย ห่วงชาย ชายก็รู้ ชายจะสู้ สุดชีวตอย่าสงสัย จะทำตัวให้สมแม่วางใจ จะรักไทย กู้ศักดิ์ศรีจักรีวงศ์ จะรักหญิงที่เขาเข้าใจแม่ จะแน่วแน่พุทธศาสน์ถือพระสงฆ์ การสวดมนต์ไหว้พระจะดำรง จะมั่นคงรักชาวไทยไม่เสื่อมคลาย
<ref>{{หนังสือพิมพ์ | สำนักพิมพ์ = ไทยรัฐ | หัวข้อ = สตรีผู้เทิดทูนเหนือใคร | ฉบับวันที่ = 4 พ.ค. | ปี = 2562 }}</ref>


===กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ===
===กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:56, 21 ตุลาคม 2563

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหากษัตริย์ไทย
ครองราชย์13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน (7 ปี 188 วัน)
ราชาภิเษก4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้สำเร็จราชการเปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
สยามมกุฎราชกุมาร
ดำรงพระยศ28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (43 ปี 289 วัน)
สถาปนา28 ธันวาคม พ.ศ. 2515[1]
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชสมภพ28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (71 พรรษา)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
มเหสีสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
มเหสี-พระสนม
พระราชบุตร
วัดประจำรัชกาล
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร[2]
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชมารดาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ลายพระอภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์มีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐภคินีร่วมพระราชชนนี 3 พระองค์

พระองค์โปรดที่จะประทับอยู่ในวิลลาในรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนีเป็นส่วนใหญ่ แม้หลังราชาภิเษกแล้ว[4] ในปี 2563 บิสซิเนสอินไซเดอร์ประเมินพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ที่ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้พระองค์ทรงเป็นเจ้าที่มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลก[5]

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[6] เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น.[7] โดยมีบันทึกว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จนิวัติพระนคร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ นั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร ได้กราบบังคมทูลในนาม ของพระราชวงศ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า “เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชธิดา เป็นพระองค์แรกแล้วเช่นนี้ ก็ทรงหวังว่าสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ คงจะมีพระราชโอรสเป็นพระองค์ถัดไป” [8] มีพระเชษฐภคินีคือทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี[9]

ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนามถวายตามดวงพระชะตาว่า[10]

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร

พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิระ" พระนามฉายาทั้งในพระองค์เองและในขณะผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[11][12] มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรหรืออสนีบาต"[13]

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495[14] โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495[15]

เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ[14][16][17]

การศึกษา

เมื่อทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ 4 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกาธิราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มการถวายพระอักษร ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนจิตรลดา เมื่อเดือนกันยายน 2499 ในขณะนั้นโรงเรียนนี้ยังตั้งอยู่ที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต ต่อมาจึงได้ย้ายไปตั้งในบริเวณพระราชฐานสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนคิงส์ มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ เมื่อเดือนมกราคม 2509 ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท เมื่อเดือนกันยายน 2509 จนถึงปี 2513 โดยในระหว่างที่ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ พระองค์ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า “ทรงทำทุกอย่างด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าจะเป็นการซักฉลองพระองค์ หรือขัดรองพระบาท โดยไม่มีบุคคลอื่นให้ความช่วยเหลือ เฉกเช่นสามัญชนทั่วไป” [18] หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2519

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) และ พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร

สยามมกุฎราชกุมาร

ไฟล์:สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.jpg
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 20 พรรษา และทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ให้ทรงดำรงพระราชอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต[19] มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์
วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช
จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร

นับเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่ 3 ของไทย[20][21]

ผนวช

ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารมีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา[22] โดยได้ทรงพยายามหาโอกาสในวันหยุดเสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชและทรงเยี่ยมพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ทรงสนทนาศึกษาธรรมะคำสั่งสอนของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า[23]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.37 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[24] โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปทำทัฬหีกรรม ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน เมื่อเวลา 16.59 น. โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[25] เสร็จแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[26] พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล[27] “ตลอดระยะเวลาแห่งการผนวชนั้นทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานาประการ เช่น ทรงร่วมทำวัตรเช้าเย็น ทำสังฆกรรม สดับพระธรรม เทศนา และทรงศึกษาพระธรรมวินัย ร่วมกับพระภิกษุอื่น ๆ เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงรับภัตตาหารบิณฑบาต จากพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ และประชาชน ณ สถานที่ต่าง ๆ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะสมเด็จ พระสังฆราช และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ณ พระอาราม ต่าง ๆ เสด็จพระราชดำเนินไปทรง สักการะพระพุทธรูปสำคัญ เจดียสถาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในส่วนภูมิภาค และเสด็จออกให้คณะสงฆ์และคณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายสักการะ เป็นต้น”[28] ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช ณ พระตำหนักปั้นหย่า ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 10.15 น.[29]

การทหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงปฏิบัติการฝึกเครื่องบินรบแบบเอฟ-5

ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในกิจการกองทัพ และขณะประทับอยู่ในประเทศไทยได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมที่ตั้งทหารหลายแห่ง[30] หลังทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลีย รวมถึงทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรอื่น ๆ แล้ว ทรงเคยเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทั้งยังเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมให้กำลังใจแก่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ อส. บริเวณพื้นที่อันตราย[31]

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระยศทางการทหาร คือ ร้อยตรี เรือตรี พรรคนาวิน และ เรืออากาศตรี แห่งกองทัพทั้งสาม[32] ทรงดำรงตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับกองพัน ,ผู้บังคับกองพัน, ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และองค์ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างและพระราชทานคำสั่งสอนแก่ข้าราชบริพารทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์เอง และมีการเทิดทูนยกย่องพระองค์เป็น “บรมครูทางการทหาร”[33]

กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงปั่นนำขบวน Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่

ในปี พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารมีพระราชปณิธานที่จัดกิจกรรมจักรยานถวายพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้ทรงจักรยานพระที่นั่งนำประชาชนทั่วประเทศปั่นจักรยานในกิจกรรม Bike for Mom - ปั่นเพื่อแม่ จัดกิจกรรมวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 และกิจกรรม Bike for Dad - ปั่นเพื่อพ่อ จัดกิจกรรมวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในกิจกรรมประชาชนได้ร่วมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดเส้นทางมีพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น[34]

พระจริยวัตร

พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณที่ถนนราชดำเนิน ครั้งดำรงพระยศสยามมกุฎราชกุมาร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์รัชทายาท ทว่า พระชนมชีพส่วนพระองค์ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง [35] บีบีซีไทยอ้างว่า พระองค์มักตกเป็นข่าวโดยเฉพาะในเรื่องสตรี การพนัน และเรื่องผิดกฎหมายจนเป็นที่กังขาเกี่ยวกับความเหมาะสมของพระองค์[13] เดือนตุลาคม พ.ศ. 2524 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีของพระองค์ ทรงกล่าวโดยนัยเปรียบเปรยพระราชโอรสผู้นี้ว่าทรงเหมือนดอน ควน ที่โปรดการใช้เวลาว่างสุดสัปดาห์ไปกับหญิงงามมากกว่าการประกอบพระราชกรณียกิจ[13][36]

ฉันจำต้องจริงใจให้มาก ลูกชายของฉัน, มกุฎราชกุมารเป็นดอนฮวนบ้างเหมือนกัน เมื่อฉันให้สัมภาษณ์ฉันต้องแสดงความจริงใจ เขา (องค์มกุฎราชกุมาร) เป็นนักเรียนที่ดีเป็นลูกชายที่ดี บรรดาหญิงสาวต่างชื่นชอบในตัวเขา และเขาก็เป็นคนชอบผู้หญิงเสียด้วย ดังนั้นครอบครัวของเขาถึงไม่ราบรื่นนัก[36][37]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 นิตยสาร ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[38] อย่างไรก็ดี ใน พ.ศ. 2553 หลังจากที่ พันตำรวจโท ทักษิณพ้นจากตำแหน่งไปโดยการรัฐประหารแล้ว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ยอมรับว่า "...แน่นอนว่า เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่างกับอดีตนายกฯ ทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นช่วง ๆ..."[39] วันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน บิลาฮารี เคาสิกัน (Bilahari Kausikan) ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงว่า พระองค์ทรงติดการพนัน และมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ คอยสนับสนุนการเงินให้พระองค์[40] โอกาสเดียวกัน พลเอก เปรม เสริมว่า "...ทักษิณกำลังเสี่ยงที่จะทำลายตัวเอง เขาอาจคิดว่า เจ้าฟ้าชายจะทรงปฏิบัติกับเขาเหมือนดังเขาเป็นพระสหายหรือผู้สนับสนุน เพียงเพราะเขาส่งเสริมการเงินให้แก่พระองค์ แต่เจ้าฟ้าชายไม่ทรงชอบพระทัยความสัมพันธ์แบบนั้นสักเท่าไร"[41]

ในปี พ.ศ. 2551 ราล์ฟ แอล.บอยซ์ (Ralph L. Boyce) นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา รายงานต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยตรัสปฏิเสธกับเขา เกี่ยวกับข่าวที่พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์กับ พันตำรวจโท ทักษิณ บอยซ์กล่าวว่า[42]

"...[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรง] เห็นเป็นเรื่องตลกร้าย ที่นายกรัฐมนตรีทักษิณสามารถทำตัวเป็นเผด็จการได้ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง...ในช่วงแรก ๆ ของรัฐบาลทักษิณ ดูเหมือนเขาจะลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับมกุฎราชกุมาร ทั้งสองมีเรื่องผิดใจกันอย่างสังเกตเห็นได้ในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้มกุฎราชกุมารละทิ้งพระตำหนักนนทบุรี ที่ทักษิณซื้อและตกแต่งถวายให้ แล้วย้ายมาประทับ ณ วังศุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในย่านกลางเมือง

"มีเรื่องเล่ากันไปต่าง ๆ นานา เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร ที่ลอนดอนเมื่อช่วงต้นปีนี้ [พ.ศ. 2551] ซึ่งเรื่องที่เราพิจารณาว่า น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ทักษิณเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมาร และเมื่อไม่ได้รับอนุญาต เขาจึงไปร่วมเข้าแถวรับเสด็จ ณ โรงแรมที่มกุฎราชกุมารประทับ และได้สนทนาอย่างไม่มีสาระสำคัญอะไร เพียงสี่สิบห้าวินาที"

อย่างไรก็ดี ผู้แปลโทรเลขดังกล่าวเป็นภาษาไทยในนิตยสาร ฟ้าเดียวกัน ระบุไว้ว่า “ความสำคัญของโทรเลขทูตที่เผยแพร่จากวิกิลีกส์จึงอาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา"[43]

ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็เป็นที่กล่าวถึงมากในสังคม นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า ตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้มีอยู่สามสิ่ง คือ องคมนตรี, กองทัพ และความเหมาะสมของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ[44] ใน พ.ศ. 2545 นิตยสาร ดิอีโคโนมิสต์ (The Economist) ลงข้อความว่า "ผู้คนเคารพเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์น้อยมาก (กว่ากษัตริย์ภูมิพล) ชาวกรุงเทพมหานครพากันร่ำลือเรื่องชีวิตส่วนพระองค์อันมัวหมอง...ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์พระองค์ใด จะประสบความสำเร็จอย่างที่กษัตริย์ภูมิพลทรงได้รับมา ในช่วงเวลาทรงราชย์หกสิบสี่ปี..." และรัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารฉบับดังกล่าว ใน พ.ศ. 2553 ดิอีโคโนมิสต์ ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น "ทรงเป็นที่เดียดฉันท์และหวั่นเกรงอย่างกว้างขวาง" และ "ทรงผิดแปลกอย่างคาดไม่ถึง" และฉบับนี้ก็มิได้จำหน่ายในประเทศไทยเช่นกัน[45] ครั้นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 นิตยสารออนไลน์ เอเชียเซนทิเนล (Asia Sentinel) ลงว่า พระองค์ "ถือว่าทรงเอาแน่นอนไม่ได้ และทรงไม่สามารถปกครองได้โดยแท้"[46] เว็บไซต์นี้ถูกสกัดกั้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว[47] อนึ่ง มีผู้คนเห็นว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชอบที่จะได้สืบราชสมบัติมากกว่า[48] พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และองคมนตรีคนอื่น ๆ มีความเห็นค่อนข้างลบ เกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ส่วน ราล์ฟ แอล.บอยซ์ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา เคยรายงานต่อรัฐบาลของตนว่า "...[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ] ดูอึดอัดพระทัยอย่างเห็นได้ชัด ต่อคำถามธรรมดา ๆ เกี่ยวกับเจ้าฟ้าสิรินธร ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของมกุฎราชกุมาร..."[49] ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามกฎหมายไทยขณะนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะสืบราชบัลลังก์โดยชอบ นับแต่ทรงได้รับสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 แล้ว[50]

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 แฮร์รี นิโคไลดส์ (Harry Nicolaides) ชาวออสเตรเลีย ถูกศาลไทยจำคุกสามปี เพราะเผยแพร่หนังสือวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารความตอนหนึ่งว่า "ถ้าเจ้าฟ้าชายทรงรักใคร่ชอบพออนุภรรยานางใด และต่อมาเธอทรยศพระองค์ เมื่อนั้นเธอและครอบครัวก็จะหายไปจากโลกนี้ สาบสูญไปทั้งชื่อเสียงเรียงนาม เทือกเถาเหล่ากอ และบรรดาเงื่อนเค้าร่องรอย เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาตลอดกาล" และต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานอภัยโทษให้เขา ต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ฮัฟฟิงตันโพสต์ ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นนวนิยายทั้งสิ้น[51] [52][53][54]

พระองค์ทรงทราบปัญหา และข่าวที่กล่าวมาแล้วเป็นเบื้องต้น เป็นอย่างดี[55] และเคยพระราชทานสัมภาษณ์ ในนิตยสาร ดิฉัน แก่ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ใกล้ชิดพระองค์ว่า[56]

"บางทีในชาติปางก่อน เราอาจไม่ได้ทำบุญมากพอ หรือบางทีในบางครั้ง เราทำอะไรที่น่าตำหนิ เรายอมรับ...ถ้าหากสวรรค์คิดว่าเราไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในการทำหน้าที่ของเรา ก็หยุดและจบ ถ้าท่านคิดได้อย่างนี้ ท่านก็จะสบายใจ ท่านไม่ได้คิดเป็นอะไร หากสวรรค์ให้ท่านมีภารกิจต่อแผ่นดิน ก็ยอมรับ ถ้าเขาไม่ต้องการให้ทำงาน ก็โอเค"

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 อีริก จี.จอห์น (Eric G. John) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย รายงานไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า เขาได้เปรยกับพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ว่า "เวลานี้ เจ้าฟ้าชายทรงอยู่ที่ใด" พลเอก เปรม ตอบว่า "คุณก็รู้ว่าทรงใช้ชีวิตส่วนพระองค์แบบไหน...เจ้าฟ้าชายพอพระทัยใช้เวลาลอบเสด็จไปยังมิวนิก เพื่อประทับอยู่กับภรรยาเก็บของพระองค์ มากกว่าจะประทับอยู่ในประเทศไทย กับพระวรชายาและพระโอรส"[57] พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรีที่ร่วมวงสนทนา กล่าวเสริมว่า "...ข่าวเรื่องเมียน้อยของพระองค์ที่เป็นแอร์โฮสเตส มีอยู่เต็มเว็บไซต์ไปหมด...น่าเศร้าที่เดี๋ยวนี้ ท่านทูตไทยที่เยอรมนี ต้องออกจากเบอร์ลินไปมิวนิก เพื่อไปเข้าเฝ้าพระองค์เป็นประจำ..."[58]

พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

บรมราชาภิเษก

พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว" และมีพระปฐมบรมราชโองการความว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป"[59]

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา และมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี[60][61]

บทบาททางการเมือง

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้วกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 พระองค์จะสืบราชสมบัติต่อ ทั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่าพระองค์จะเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่[62] แต่ทรงขอผ่อนผันเนื่องจากทรงต้องการร่วมทุกข์โศกกับปวงชนชาวไทย จนกว่าจะผ่านพระราชพิธีพระบรมศพไประยะหนึ่ง[63] พระองค์สืบราชสมบัติขณะมีพระชนมายุ 64 พรรษา นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีพระชนมายุมากที่สุดเมื่อสืบราชสมบัติ[64] พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยตำแหน่งไปพลางก่อน[65] จนวันที่ 1 ธันวาคม 2559 พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์มีพระราชดำรัสตอบรับการขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ[66] แต่ในทางนิตินัยถือว่าพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559[67] และโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร"[68] [วะชิราลงกอน บอดินทฺระเทบพะยะวะรางกูน]

พระองค์ทรงเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปี 2560[69] โดยพระองค์ทรงให้มีการแก้ไขในหมวดพระราชอำนาจ[70] ในปีเดียวกัน พระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจตั้งผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย[71] ในปี พ.ศ. 2561 มีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ด้านสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ชี้แจงว่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจึงต้องมีการถวายทรัพย์สินในความดูแลคืนให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชวินิจฉัย และว่าทรัพย์สินที่พระองค์เป็นเจ้าของจะมีการเสียภาษีอากร[72] นอกจากนี้พระองค์ยังมีอำนาจควบคุมโดยตรงต่อสำนักพระราชวังและหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ด้วย[73]

ตั้งแต่ปี 2561 ไม่มีการฟ้องคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเพิ่ม โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์ อย่างไรก็ดี มีการฟ้องตามกฎหมายความมั่นคงในความผิดฐานอื่นแทน เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และกฎหมายปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง[74]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หลังทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคไทยรักษาชาติ พระองค์ออกพระบรมราชโองการในวันเดียวกันใจความว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[75] นอกจากนี้ในคืนก่อนวันเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 ยังทรงมีการเผยแพร่พระบรมราโชวาทให้เลือกคนดีปกครองบ้านเมือง[76] ทำให้เกิดแฮชแท็ก "#โตแล้วเลือกเองได้" ในทวิตเตอร์[77]

ในการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกในปีงบประมาณ 2564 พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ เป็นผู้ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสนอให้ดำรงตำแหน่ง เอาชนะผู้ที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนอ[78]

ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ผู้ประท้วงได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อลดพระราชอำนาจให้สอดคล้องกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[79][80][81] สื่อต่างประเทศรายงานปฏิกิริยาของพระองค์สองกระแส กระแสหนึ่งว่าพระองค์ไม่รู้สึกถูกรบกวนพระทัยกับข้อเรียกร้องนี้[82] แต่อีกด้านหนึ่งก็มีรายงานว่าทรงให้สื่อตรวจพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าว[83] การประท้วงในวันที่ 19–20 กันยายน 2563 มีสื่อเรียกว่าเป็นการต่อต้านพระองค์อย่างเปิดเผย[84] และความไม่พอใจที่รัฐสภาลงมติเลื่อนการออกเสียงแก้ไขรัฐธรรมนูญในปลายเดือนกันยายนทำให้เกิดกระแสนิยมสาธารณรัฐออนไลน์หมู่อย่างเปิดเผย[85][86]

โฆษกรัฐบาลเยอรมันแจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทยหลายครั้งถึงความกังวลต่อการทรงงานในต่างแดนของพระองค์[87]

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจ

ทางราชการ

ด้านการขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

  • เพื่อสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี และนายอำพน กิตติอำพน องคมนตรี พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ ติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เพื่อติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพัฒนาแหล่งน้ำ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[90]
  • โดยได้ติดตามการขับเคลื่อนใน 2 โครงการ ได้แก่
  • 1. โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้าลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านเขว้า และอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
  • 2. โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำสะพุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำทำการเพาะปลูกและเพื่อการอุปโภคบริโภครวมถึงบรรเทาปัญหาอุทกภัย

ด้านการบิน

  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 พระองค์ทรงเริ่มฝึกบินเฮลิคอปเตอร์แบบUH-1H และเฮลิคอปเตอร์แบบUH-1Nและหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก[91]
  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ[20]
  • พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737–400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 (กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่) และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 (จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร)[92]

ด้านการต่างประเทศ

เมื่อครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร พระองค์สนพระราชหฤทัยในด้านกิจการเกี่ยวกับสัมพันธไมตรีเป็นอย่างมาก โดยได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงอยู่เสมอในพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับคณะทูตานุทูตต่างประเทศ ครั้งหนึ่ง ทรงได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระราชวงศ์ญี่ปุ่น เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 เพราะการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นมีผลในทางกระชับสัมพันธไมตรี ระหว่าง พระราชวงศ์ และ ประชาชน ของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น[93] รวมถึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี และทรงพบพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2525 ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2530 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ ทรงพบนายเติ้งเสี่ยว ผิง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง เสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนประเทศ ญี่ปุ่น ทรงพบ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2530[94]

ด้านการศึกษา

ไฟล์:ทรงปลูกปาริชาต.jpg
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปลูกต้นปาริชาต ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล ต่อมา โรงเรียนได้ย้ายไปที่จังหวัดนนทบุรี และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์[95]

นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกล กระทรวงศึกษาธิการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 15 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ 1. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 จ.นครพนม 2. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 2 จ.กำแพงเพชร 3. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 จ.สุราษฏร์ธานี 4. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 1 จ.อุดรธานี 5. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 จ.สงขลา 6. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 จ.ฉะเชิงเทรา 7. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ 8. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ 9. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.สมุทรสงคราม 10. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ 11. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ปทุมธานี 12. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.สมุทรสาคร 13. โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย จ.ระยอง 14. โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จ.นนทบุรี และ 15. โรงเรียนราชปิโยรสายุพราชานุสรณ์ จ.น่าน[96]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยาวชนในตำบลต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบล รวมทั้งทรงเป็นประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายนของทุกปี[97]

ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงอุปการะเด็กกำพร้า เช่น จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อ พ.ศ. 2554[98] รวมทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูกลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[99][100] เป็นต้น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยเป็นทุนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับปริญญาตรี ต่อมาใน พ.ศ. 2553 มีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.)[101] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 โดยพระองค์ทรงให้นำโครงการทุนการศึกษาฯ มาดำเนินการภายใต้ ม.ท.ศ. โดยสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จนถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทั้งนี้ เป็นทุนให้เปล่าและเมื่อจบการศึกษาจะได้รับโอกาสให้สมัครเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ฯ[102][103][104][105]

เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ม.ท.ศ. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงานทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงานมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, คณะครูผู้ดูแลนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทานฯ รุ่นที่ 11 และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นำนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทานฯ รุ่นที่ 11 ปีการศึกษา 2562 จำนวน187 คน เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทาน, นักเรียนทุนการศึกษาพระราชทานฯ ดีเด่น รุ่นที่ 8 จำนวน 10 คน กับครูดีเด่น ประจำปี 2562 จำนวน 8 คน เข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติพร้อมทั้งนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทานฯ รุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 และรุ่น ที่ 4 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 104 คน เข้าเฝ้าฯ กราบพระบาทสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ [106]

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[107]

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินจำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายสมุดไดอารี่ภาพการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[108]

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวน 2,407 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อเครื่องมือครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แก่โรงพยาบาล วิทยาลัยแพทย์และพยาบาล และสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเป็นเงินที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการร่วมบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 และเงินรายได้จากการจัดงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว “สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์”[109]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้แต่งตั้ง คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี ด้วยหัวใจ อันเนื่องมาจากมีพระราชดำริที่จะพระราชทานความช่วยเหลือโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ตลอดจนการให้จิตอาสา พระราชทาน ๙๐๔ วปร. ได้เข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือ ทั้งทางด้าน การแพทย์ การพยาบาล การอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การปฐม พยาบาลเบื้องต้น [110]

ด้านการเกษตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงดำรงพระยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานที่ดิน ส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,350 ไร่ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีการเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชนเป็นศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ อันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นส่วนรวมต่อหน่วยราชการ สถานศึกษา และราษฎร และพระราชทานนามว่า "เกษตรวิชญา" แปลว่า ปราชญ์แห่งการเกษตร

การแอบอ้างพระนาม

ในปี พ.ศ. 2557 มีพระราชบัณฑูรให้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับพลตำรวจเอก พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติของท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี อดีตพระวรชายาในพระองค์ ฐานแอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์[111] รวมไปถึงกฎหมายฟอกเงิน

ด้านสังคม

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดให้ พลอากาศโท ภักดี แสงชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ[112] และเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2561 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ได้พระราชทานสิ่งของ ประกอบด้วย น้ำดื่มพระราชทาน 10,000 ขวด ผ้าเช็ดตัวพระราชทาน 2,000 ผืน เครื่องกรองน้ำพระราชทาน 49 เครื่อง อาหารและยาพระราชทานอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งถุงยังชีพในนามรัฐบาลไทย 5,000 ชุดไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากเหตุเขื่อนทรุดตัวที่ สปป.ลาว[113]

ในปี 2549 สมเด็จพระบรมโอสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชนที่ ถนนภูผาภักดี จ.นราธิวาส เป็นระยะทางกว่า 600 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านข้าวต้มอั้งม้อ ซึ่งเคย ถูกลอบวางระเบิดและได้รับความเสียหายอย่างหนักเมื่อปี 2547 พระองค์ได้ทรงเข้าไปประทับ ในร้าน และได้พระราชทานกำลังใจให้แก่ครอบครัวของนายภักดี พรมเมน เจ้าของร้านข้าวต้ม สร้างความปลาบ ปลื้มและสร้างกำลังใจให้กับครอบครัว นายภักดี และชาวนราธิวาส เป็นอย่างยิ่ง[114][115]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์[116]

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงมีพระกรุณาธิคุณให้มีการจัดตั้งโครงการกีฬาพระราชทาน “โครงการกีฬา ล้างอบายมุขด้วยลูกฟุตบอล” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการกีฬาแก่ เยาวชนไทย โดยมีกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก [117]

ประสบการณ์ทางทหาร

[118]

  • เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และศึกษางานด้านการทหาร ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
  • ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และต้นหนชั้นสูง รวมทั้งหลักสูตรส่งทางอากาศ
  • พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอซ ของบริษัท เบลล์ รวมชั่วโมงบิน 54.36 ชั่วโมง
  • เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร กองทัพบกสหรัฐอเมริกา รวม 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องยิงลูกระเบิด หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรส่งทางอากาศ (ทางบกและทางทะเล)
  • เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอซ กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอ็น ของบริษัทเบลล์ รวมชั่วโมงบิน 259.560 ชั่วโมง
  • เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี ติดอาวุธ แบบ ยู เอซ–1 เอซ ของบริษัทเบลล์ จากกองทัพไทย รวมชั่วโมงบิน 54.50 ชั่วโมง
  • เดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Sial–Marchetti SF 120 MT รวมชั่วโมงบิน 172.20 ชั่วโมง
  • เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Cessna T–37 รวมชั่วโมงบิน 240 ชั่วโมง
  • เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหารและตำรวจ ณ สหราชอาณาจักร ราชอาราจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2526 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ–5 (พิเศษ) รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ ที ดับเบิลยู และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ วี ดับเบิลยู ณ ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา รวนชั่วโมงบิน 2,000 ชั่วโมง
  • พ.ศ. 2532 ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และการฝึกบิน ด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที 33 และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบิน ขับไล่ แบบ เอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 โดยทรงทำชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ในเบื้องต้น และทรงทำชั่วโมงบินสูงสุด 1,000 ชั่วโมง และทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี ซึ่งทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว ในศกเดียวกัน[119]
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการในฐานะนักบินโบอิ้ง 737–400 จากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ กับทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
  • เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ 1 ใน พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน 3,000 ชั่วโมง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาคอากาศกับตำแหน่งครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิง 737–400[120]

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ
ลำดับโปเจียม1
ตราประจำพระองค์ในขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร (ภาพซ้าย) และดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภาพขวา) ตราประจำพระองค์ในขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร (ภาพซ้าย) และดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภาพขวา)
ตราประจำพระองค์ในขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร (ภาพซ้าย) และดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภาพขวา)

พระบรมราชอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 — 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515)
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร (28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร[68] (1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 — ปัจจุบัน)

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล

ไฟล์:Privy Seal of King Rama X (Vajiralongkorn).svg
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[121]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พระองค์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

 มาเลเซีย พ.ศ. 2543 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ผู้ป้องกันราชอาณาจักร ชั้นประถมาภรณ์
 เยอรมนี พ.ศ. 2527 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นตติยาภรณ์
เนปาล พ.ศ. 2529 เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอชัสวี ราชันย์เนปาล ชั้นเบญจมาภรณ์
 สเปน พ.ศ. 2530 เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3 ชั้นประถมาภรณ์
 บรูไน พ.ศ. 2533 Family Order of Brunei 2nd Class - Darjah Kerabat Seri Utama Yang Amat Dihormati - D.K. (Seri Utama)
 ญี่ปุ่น พ.ศ. 2534 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ
 บริเตนใหญ่ พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวินสูงสุด
 เดนมาร์ก พ.ศ. 2544 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง ชั้น อัศวิน
 เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎ ชั้นประถมาภรณ์
 รัฐตรังกานู Most Distinguished Family Order of Terengganu ชั้นที่สอง

พระยศทหาร[132]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รับใช้ประเทศไทย
ประจำการพ.ศ. 2535–ปัจจุบัน
ชั้นยศ
  • พลเอก
  • พลเรือเอก
  • พลอากาศเอก

สิ่งอันเนื่องมาด้วยพระบรมนามาภิไธย

สถาบันการศึกษา

การคมนาคม

ศาสนสถาน

สถานที่ราชการ

สถานที่

พระราชสันตติวงศ์

พระมเหสี และพระสนม

พระภรรยาเจ้า ตำแหน่งพระบรมราชินี
พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม พระสกุลวงศ์ พระราชบุตร
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
(สุทิดา ติดใจ)
บุตรีของ คำ ติดใจ และ คุณหญิงจั่งเฮียง ติดใจ ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา
พระสนมเอก
รูป ชื่อ ชาติตระกูล พระราชบุตร
เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี
เดิม สินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์
(นิรมล อุ่นพรม)
บุตรีของ วิรัตน์ อุ่นพรม และ ปราณี อุ่นพรม ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา
อดีตพระภรรยาเจ้า
พระฉายาลักษณ์ พระนาม พระสกุลวงศ์ พระราชโอรส/พระราชธิดา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
(หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร)
พระธิดาใน หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร และ ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)
ท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี
เดิม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
บุตรีของ อภิรุจ สุวะดี และ วันทนีย์ สุวะดี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
อดีตหม่อม
รูป ชื่อ ชาติตระกูล พระราชโอรส/พระราชธิดา
สุจาริณี วิวัชรวงศ์
เดิม หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา
(ยุวธิดา ผลประเสริฐ)
บุตรีของ ธนิต ผลประเสริฐ และ เยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร

เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

แพรแถบย่อ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีลักษณะ ดังนี้[155]

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.1 เซนติเมตร ด้านหน้ามีพระรูปของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ทรงหันพระพักตร์ทางเบื้องขวา ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร" ด้านหลังมีอักษรพระนามาภิไธยย่อ "ว ก" เหนือพระนามาภิไธยย่อมีรูปจุลมงกุฎมีรัศมี ที่ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515"
  • การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบสีขาวริมเหลือง สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่น ๆ ตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

แพรแถบย่อ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 มีลักษณะ ดังนี้

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร
  • ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์
  • ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555"
  • การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบพื้นสีเหลือง ริ้วสีขาวจำนวน 5 ริ้ว สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่น ๆ ตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562

แพรแถบย่อ

เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 มีลักษณะ ดังนี้[156]

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงินกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร
  • ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"
  • ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เบื้องล่างมีข้อความว่า "4 พฤษภาคม 2562"
  • ริมขอบเหรียญโดยรอบ ประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์ ด้านหน้าขอบนอกเหรียญเบื้องบน มีเลข "10" ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังขอบนอกเหรียญมีห่วงสำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง 32 มิลลิเมตร มีริ้วสีขาวนวลกับริ้วสีเหลืองสลับกัน
  • การประดับเหรียญนี้ ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะประดับโดยใช้ห้อยคอหรือโดยใช้เป็นเข็มกลัดเสื้อโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

รถยนต์พระที่นั่ง

ไฟล์:DSC00559.jpg
รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทะเบียน ร.ย.ล.4

สังกัดกองพระราชพาหนะ พระราชวังดุสิต

พงศาวลี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม 89, ตอน 200, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515, ฉบับพิเศษ หน้า 1
  2. [1]
  3. 3.0 3.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (14 ข): 2. 4 พฤษภาคม 2562.
  4. "Thai activists protest in front of king's German villa". CNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
  5. Hoffower, Hillary (2019-07-17). "Meet the 10 richest billionaire royals in the world right now". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-01-16.
  6. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 234
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้หยุดราชการและชักธงชาติเนื่องในการที่พระราชกุมารประสูติ, เล่ม 69, ตอนที่ 49, 12 สิงหาคม พ.ศ. 2495, หน้า 2434
  8. ลาวัณย์ โชตามระ,ประสุตา. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพฯ : บริษัทกันตนา พับลิชชิ่ง จำกัด, 2547. หน้า 54.
  9. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 10
  10. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 21
  11. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 20
  12. "'องค์รัชทายาท-เจ้าฟ้านักบิน' เผยพระราชกรณียกิจ ตามเบื้องพระยุคลบาท". มติชน. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. 13.0 13.1 13.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ บีบีซีไทย
  14. 14.0 14.1 ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ 15/2495 พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ 2495, เล่ม 69, ตอน 54 ง, 9 กันยายน พ.ศ. 2495, หน้า 3031
  15. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2016-05-22). "พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  16. . ประมวลพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชประวัติ.
  17. ลาวัณย์ โซตามระ. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กัตนา ดิสทริบิวชั่น จำกัด
  18. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. สยามมกุฎราชกุมาร. กรุงเทพฯ : บำรุงนุกูลกิจ, 2517. หน้า 15.
  19. กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง. นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], 2562.
  20. 20.0 20.1 20.2 พระราชประวัติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม 89, ตอน 200 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
  22. กรมศิลปากร. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, [ม.ป.ป.].
  23. กรมศิลปากร. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, [ม.ป.ป.].
  24. หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
  25. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. รวมบทความชุด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) และวัดประจำรัชกาลที่ 5 และ 7 : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560. 27 หน้า. หน้า 1.
  26. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม 95, ตอนที่ 122 ง, 1 พฤศจิกายน 2521, หน้า 37-42
  27. "พระเถระอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร: พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.๕)". วัดบวรนิเวศวิหาร. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. กรมศิลปากร. จดหมายเหตุเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิ ราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลง กรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การ พิมพ์, 2558. หน้า 27.
  29. การพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พุทธศักราช 2521, หน้า 281
  30. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, “สยามมกุฎราชกุมาร”, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2517. หน้า 15
  31. |สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กับพระปรีชาสามารถด้านการทหารและการบิน|https://sudsapda.com/pr-news/153700.html
  32. สำนักราชเลขาธิการ. "เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้า ฟ้าวชิราลงกรณ สยาม มกุฎราชกุมาร. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2516. หน้า 161.
  33. คู่มือการฝึกว่าด้วยแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  34. หนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/content/799976
  35. Mike Wooldridge (14 July 2011). "Wikileaks cable: 'Thai concerns about crown prince'" (ภาษาEnglish). BBC.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  36. 36.0 36.1 Julia, Swenee (October 31th, 1981). "Sirikit of Thailand–a dedicated queen". Dallas Times Herald (ภาษาอังกฤษ). Neiman marcus orientations fortnight, USA. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help) ผ่าน "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานสัมภาษณ์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา" (PDF). สยามนิกร. บริษัท สำนักพิมพ์อาทิตย์ จำกัด. 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help) ผ่าน Jeamteerasakul, Somsak (3 ธันวาคม 2559). ""My son, the Crown Prince, is a bit of a Don Juan."".
  37. แปลจากต้นฉบับ "I have to be very frank. My son, the Crown Prince, is a little bit of Don Juan. If I give an interview I have to be frank. He is a good student, a good boy, but women find him interesting, and he finds women even more interesting. So, his family is not so smooth."
  38. Duncan. McCargo, Media and Politics in Pacific Asia, page 146
  39. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 14 July 2011. Prem acknowledged Crown Prince Vajiralongkorn probably maintained some sort of relationship with fugitive former PM Thaksin, "seeing him from time to time."{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  40. Dorling, Philip; McKenzie, Nick (12 December 2010). "Top Singapore officials trash the neighbours". The Sydney Morning Herald.
  41. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 14 July 2011. Thaksin ran the risk of self-delusion if he thought that the Crown Prince would act as his friend/supporter in the future merely because of Thaksin's monetary support; "he does not enjoy that sort of relationship."{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  42. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 67.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 57.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  44. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 54.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  45. "As father fades, his children fight". The Economist. 18 March 2010.
  46. More Lèse majesté Charges in Thailand Asia Sentinel, April 1, 2010
  47. Fromtheold (2010-03-30). "Thailand - Grenade attacks and online censorship amid mounting political tension". สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. {{cite web}}: |archive-url= ต้องการ |archive-date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  48. Shawn W. Crispin (14 Mars 2008). "The politics of revenge in Thailand". Asian Times Online: 54. {{cite journal}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  49. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 56–57.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  50. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 59.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  51. Paul Dailing (22 Feb 2009). "Australian Writer Who Insulted Thai Monarchy Shares Prison Cell With Child Molester, Weapons Dealer" (ภาษาEnglish). huffpost.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  52. Thais detain Aussie writer, The Australian, September 05, 2008
  53. Thai court jails Australian novelist for three years over royal 'insult', The Scotsman, January 19, 2009
  54. Author jailed for insulting Thai king, CNN.com, January 19, 2009
  55. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม–มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 59–60.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  56. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (15 สิงหาคม 2529). ดิฉัน: 227. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  57. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 14 July 2011. Vajiralongkorn's preference to spend time based out of Munich with his main mistress, rather than in Thailand with his wife and son{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  58. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ภาษาEnglish). The Guardian. 14 July 2011. Information about his air hostess mistresses was widely available on websites; he lamented how his former aide, now Thai Ambassador to Germany, was forced to leave Berlin for Munich often to receive Vajiralongkorn.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  59. ประกาศพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562, 4 พฤษภาคม 2562
  60. "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (11 ข): 1. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  61. ""ราชาภิเษกสมรส" ร. 10 และสมเด็จพระราชินีสุทิดา". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  62. "Thailand's King Bhumibol Adulyadej dead at 88". BBC News. 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 October 2016.
  63. กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2017-01-01). "เหตุการณ์แห่งปี ร.10 ขึ้นทรงราชย์ 1 ธ.ค. 59". สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
  64. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 November 2016.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  65. "Thai king death: Thousands throng streets for procession". BBC. 2016-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  66. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่(สิบ) เสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว". โพสต์ทูเดย์. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  67. "ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง อัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (102 ก): 1. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  68. 68.0 68.1 "ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (102 ก): 2. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. "Thai king's coronation likely by the end of 2017: deputy PM". Reuters. 21 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2017. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.
  70. "Thai parliament approves king's constitutional changes request, likely delaying elections". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
  71. แม่แบบ:Ref news
  72. แม่แบบ:Ref news
  73. "Thai king takes control of five palace agencies". businesstimes.com.sg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2017. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  74. Changes in Thailand’s lèse majesté prosecutions in 2018
  75. "Thai king says sister's candidacy for prime minister is 'inappropriate', 'unconstitutional': Palace statement". Channel NewsAsia. 8 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  76. "'ในหลวง' โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระบรมราโชวาท ร.9". กรุงเทพธุรกิจ. 23 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-23.
  77. "#โตแล้วเลือกเองได้ ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ในทวิตเตอร์คืนก่อนวันเลือกตั้ง". ประชาไท. 23 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  78. "Thai king's favorite to take over army, as PM's choice ignored". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
  79. "Harry Potter-themed protest openly criticises Thai monarchy". ABC. 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
  80. "ประมวลชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน 'เราไม่ต้องการปฏิรูปเราต้องการปฏิวัติ'" [Summary of demonstration Thammasat will not tolerate 'We do not want reforms; we want revolution' }language=th]. prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
  81. "The ten demands that shook Thailand". New Mandala (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  82. Crispin, Shawn W. (18 August 2020). "New generation of daring resistance in Thailand". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  83. "Thai PM says protesters' call for monarchy reform 'went too far'". aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  84. "Protests continue to target Thai monarchy". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  85. Reed, John. "#RepublicofThailand trends as protesters maintain push on monarchy". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 25 September 2020.
  86. "Getting Radical? Thai netizens call for the "Republic of Thailand"". thisrupt.co. สืบค้นเมื่อ 2020-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  87. "โฆษกรัฐบาลเยอรมนีระบุ แจ้งทูตไทยหลายครั้งเรื่องการทรงงานในต่างแดน". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020.
  88. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร
  89. ราชอาณาจักรสยาม, พระราชภาระหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  90. องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ, [2]
  91. กษัตริย์นักบิน, [3]
  92. สุดสัปดาห์ (2 เมษายน 2562). "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กับพระปรีชาสามารถด้านการทหารและการบิน". สุดสัปดาห์ออนไลน์.
  93. [ม.ร.ว.ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุท, “รัชกาลที่ ๙ กับ สยามมกุฎราชกุมาร”, กรุงเทพฯ, หน้า 198.]
  94. [สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. “๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. พระนครศรีอยุธยา : สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2545. หน้า 10. ]
  95. โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์
  96. › stories › 120170702-The-Education-Act "พระบรมราโชบายด้านการศึกษา". สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  97. "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานเปิดงาน "วันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖"". 2013-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-31. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archive-date= (help)
  98. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงห่วง 2 หนูน้อยเหยื่อโคลนถล่มเขาเบญจา ทำกำพร้า ทรงรับพระอุปภัมภ์". TLC News. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  99. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงรับบุตรอิหม่ามยะโก๊บไว้ในพระอุปถัมภ์". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  100. "ครอบครัว "หร่ายมณี" ซาบซึ้งพระเมตตาอุปถัมภ์การศึกษาทายาท". สำนักข่าวไทย. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  101. กศภ.7 เผยความคืบหน้าทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ปี 2562
  102. โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน (พ.ศ. 2552)
  103. ทุนพระราชทาน ม.ท.ศ.
  104. ไฟเขียว 100 ทุนให้นร.ทุน ม.ท.ศ.เรียนต่อ ป.โท
  105. ข้อมูลทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
  106. เดลินิวส์ (14 ตุลาคม 2562). HYPERLINK "https://www.dailynews.co.th/royalnews/736590"736590 "ร.10 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นักเรียนทุน ม.ท.ศ.เข้าเฝ้าฯ". เดลินิวส์. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  107. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  108. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงิน100ล้านแก่โรงพยาบาลศิริราช". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  109. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 2,400 ล้านบาท ช่วย 27 โรงพยาบาลทั่วไทย". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  110. แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีด้วยหัวใจ. (2562, 29 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 217ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ha.soc.go.th/DATA/PD F/2562/E/217/T_0001. PDF. (18 ตุลาคม 2562).
  111. จากฟ้าสู่เหว ย้อนชีวิต “คนทำผิด” ใกล้ชิดเบื้องสูง บีบีซีไทย. 6 มีนาคม 2017
  112. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2554 หน้า 1, 12
  113. |พระราชทานของ 'ช่วยลาว' ขนขึ้นเครื่องบินซี-130 พบ 26 ศพหายอีก 131 คน|https://www.thairath.co.th/news/local/1341951
  114. ไทยรัฐออนไลน์ (8 พฤษภาคม 2552). [http:// https://www.thairath.co.th/news/politic/1563143 "พระเมตตา ร.10 พลิกชีวิตร้านข้าวต้มเมืองนราฯ ยืนหยัดสู้ต่อที่ชายแดนใต้"]. ไทยรัฐออนไลน์. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  115. "http://news.ch3thailand.com/local/94494". 9 พฤษภาคม 2552. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  116. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี (2562, 28 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 125 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/215/T_0004.PDF
  117. สำนักสภาสถาบันราชภัฏ. ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา, 2545. หน้า 54-54.
  118. ราชอาณาจักรสยาม, ราชการทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  119. สกุลไทย: 7 สิงหาคม 2533
  120. ราชอาณาจักรสยาม, การศึกษาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  121. ราชอาณาจักรสยาม, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  122. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยากรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม 82, ตอน 111 ง ฉบับพิเศษ, 23 ธันวาคม พ.ศ. 2508, หน้า 12
  123. 123.0 123.1 123.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 90, ตอน 10 ง ฉบับพิเศษ, 26 มกราคม พ.ศ. 2516, หน้า 18
  124. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 93, ตอน 80 ง, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2519, หน้า 1351
  125. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน 8 พระองค์), เล่ม 112, ตอน 17 ข เล่มที่ 003, 4 ธันวาคม พ.ศ. 2538, หน้า 1
  126. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ), เล่ม 105, ตอน 95 ง ฉบับพิเศษ, 15 มิถุนายน พ.ศ. 2531, หน้า 1
  127. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ (พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) , เล่ม 104, ตอน 6 ง ฉบับพิเศษ, 14 มกราคม พ.ศ. 2530, หน้า 1
  128. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ 1 แด่ พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร), เล่ม 104, ตอน 52 ง ฉบับพิเศษ, 20 มีนาคม พ.ศ. 2530, หน้า 1
  129. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 84, ตอน 87 ง ฉบับพิเศษ, 15 กันยายน พ.ศ. 2510, หน้า 22
  130. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา แด่ พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามาหวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร , เล่ม 105, ตอน 210 ง ฉบับพิเศษ, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2531, หน้า 1
  131. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 69, ตอน 69 ง ฉบับพิเศษ, 18 พฤษศจิกายน พ.ศ. 2495, หน้า 1
  132. ราชอาณาจักรสยาม, พระยศทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  133. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  134. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  135. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  136. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  137. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  138. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ
  139. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร), เล่ม 98, ตอน 127 ง ฉบับพิเศษ, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2524, หน้า 2
  140. [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/135/1.PDF]
  141. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 99 (ตอน 4 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 1. 14 มกราคม 2525. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  142. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  143. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บังคับการพิเศษ [พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร]
  144. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  145. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  146. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น พลโท พลเรือโท พลอากาศโท, เล่ม 105, ตอน 175 ง ฉบับพิเศษ, 27 ตุลาคม พ.ศ. 2531, หน้า 1
  147. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร)
  148. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม 109, ตอน 18 ง ฉบับพิเศษ, 31 มกราคม พ.ศ. 2535, หน้า 1
  149. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน 1 นายกองเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร 2 นายกองเอก สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปียชาติ สยามบรมราชกุมารี 3 นายกองโท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, เล่ม 109, ตอน 55 ง ฉบับพิเศษ, 27 เมษายน พ.ศ. 2535, หน้า 1
  150. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ [พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]
  151. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
  152. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด2 มาตรา8
  153. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน "โรงเรียนมัธยมวชิราลงกรณวราราม"
  154. ประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อวัด (วัดเขื่อนเขาแหลม เป็น วัดเขื่อนวชิราลงกรณ)
  155. พระราชบัญญัติ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. 2539
  156. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา เรื่อง เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอากสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 พ.ศ. 2562, เล่ม 136, ตอนที่ 54, 23 เมษายน พ.ศ. 2562, หน้า 1
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระมหากษัตริย์ไทย
(13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ
เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
สยามมกุฎราชกุมาร
(28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
ว่าง