ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Espeerasin (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Espeerasin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''ลัทธิขงจื่อสมัยใหม่''' (Chinese : 新儒家 ;ซินหรูเจีย) เป็นขบวนการเคลื่อนไหว[[ทางปัญญา]]ของ[[ลัทธิขงจื่อ]]ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในสาธารณรัฐ[[ประเทศจีน|จีน]]และพัฒนาต่อไปในยุคหลัง[[เหมา เจ๋อตง|เหมา]] และ[[ประเทศจีน|จีนร่วมสมัย]] ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจาก[[Neo-Confucianism|ลัทธิขงจื่อใหม่]]ของราชวงศ์[[ราชวงศ์ซ่ง|ซ่ง]][[ราชวงศ์หมิง|หมิง]]และราชวงศ์[[ราชวงศ์หมิง|หมิง]] (แต่ลัทธิขงจื่อใหม่กับลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ไม่เหมือนกัน) [[อนุรักษ์ใหม่ (จีน)|ขบวนการของกลุ่มอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่]]ของประเพณีจีนที่หลากหลายและได้รับการยกย่องว่ามีความหรูหราทางศาสนา ซึ่งสนับสนุนองค์กรของสังคมลัทธิขงจื่อบางประการ เช่น การประสานกลมกลืนของสังคม ระบบนิเวศวิทยา และการเมือง   เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสังเคราะห์กับปรัชญาตะวันตกในบริบทใหม่ เช่น [[หลักการให้หรือใช้เหตุผล|เหตุผลนิยม]] และ [[มนุษยนิยม]] ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงกลายเป็นจุดรวมของการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการของลัทธิขงจื่อใน[[จีนแผ่นดินใหญ่]] ไต้หวัน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา <ref name="Makeham2">{{cite book|editor-last=Makeham|editor-first=John|title=New Confucianism: A Critical Examination|publisher=Palgrave|year=2003|location=New York|isbn=978-1-4039-6140-2}}</ref>
'''ลัทธิขงจื่อสมัยใหม่''' (Chinese : 新儒家 ;ซินหรูเจีย) เป็นขบวนการเคลื่อนไหว[[ทางปัญญา]]ของ[[ลัทธิขงจื่อ]]ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในสาธารณรัฐ[[ประเทศจีน|จีน]]และพัฒนาต่อไปในยุคหลัง[[เหมา เจ๋อตง|เหมา]] และ[[ประเทศจีน|จีนร่วมสมัย]] ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจาก[[Neo-Confucianism|ลัทธิขงจื่อใหม่]]ของราชวงศ์[[ราชวงศ์ซ่ง|ซ่ง]]และราชวงศ์[[ราชวงศ์หมิง|หมิง]] (แต่ลัทธิขงจื่อใหม่กับลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ไม่เหมือนกัน) [[อนุรักษ์ใหม่ (จีน)|ขบวนการของกลุ่มอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่]]ของประเพณีจีนที่หลากหลายและได้รับการยกย่องว่ามีความหรูหราทางศาสนา ซึ่งสนับสนุนองค์กรของสังคมลัทธิขงจื่อบางประการ เช่น การประสานกลมกลืนของสังคม ระบบนิเวศวิทยา และการเมือง   เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสังเคราะห์กับปรัชญาตะวันตกในบริบทใหม่ เช่น [[หลักการให้หรือใช้เหตุผล|เหตุผลนิยม]] และ [[มนุษยนิยม]] ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงกลายเป็นจุดรวมของการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการของลัทธิขงจื่อใน[[จีนแผ่นดินใหญ่]] ไต้หวัน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา <ref name="Makeham2">{{cite book|editor-last=Makeham|editor-first=John|title=New Confucianism: A Critical Examination|publisher=Palgrave|year=2003|location=New York|isbn=978-1-4039-6140-2}}</ref>


==ประวัติศาสตร์==
==ประวัติศาสตร์==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:34, 10 ตุลาคม 2563

ลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ (Chinese : 新儒家 ;ซินหรูเจีย) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางปัญญาของลัทธิขงจื่อซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในสาธารณรัฐจีนและพัฒนาต่อไปในยุคหลังเหมา และจีนร่วมสมัย ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากลัทธิขงจื่อใหม่ของราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิง (แต่ลัทธิขงจื่อใหม่กับลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ไม่เหมือนกัน) ขบวนการของกลุ่มอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่ของประเพณีจีนที่หลากหลายและได้รับการยกย่องว่ามีความหรูหราทางศาสนา ซึ่งสนับสนุนองค์กรของสังคมลัทธิขงจื่อบางประการ เช่น การประสานกลมกลืนของสังคม ระบบนิเวศวิทยา และการเมือง   เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสังเคราะห์กับปรัชญาตะวันตกในบริบทใหม่ เช่น เหตุผลนิยม และ มนุษยนิยม ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงกลายเป็นจุดรวมของการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการของลัทธิขงจื่อในจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา [1]

ประวัติศาสตร์

ยุคแรกของลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ (2464-2492) เป็นเพื่อการตอบสนองต่อขบวนการเคลื่อนไหวสี่พฤษภาคม และมีท่าทีต่อต้านลัทธิขงจื่อ ลัทธิขงจื่อถูกโจมตีว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์และขัดต่อความก้าวหน้าของจีนสมัยใหม่ สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตในช่วงเวลานี้คือ สยฺงฉือลี่ ผู้ซึ่งศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งในช่วงเยาว์วัย แต่่ต่อมาเขาก็ได้คิดค้นระบบการปฏิรูปกรอบความคิดเดิมของลัทธิขงจื่อ เขาได้รับอิทธิพลแนวคิดจากสำนักหวางหยางหมิง เขาได้พัฒนาระบบอภิปรัชญาขึ้นมาสำหรับขบวนการขงจื่อสมัยใหม่และเชื่อว่าการเรียนอารยธรรมจีนนั้นเหนือกว่าการเรียนอารยธรรมตะวันตก อีกประการหนึ่ง เฝิงโหย่วหลานได้ศึกษาแนวคิดสำนักขงจื่อใหม่ของจูซี และเขาพยายามฟื้นฟูปรัชญาจีนบนพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

เมื่อจีนเริ่มต้นการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ.1949 ผู้นำกลุ่มปัญญาชนหลายคนเดินทางออกจากแผ่นดินใหญ่ไปยังไต้หวัน ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา บุคคลสำคัญในรุ่นที่สองนี้ (ค.ศ.1950-1979) ได้แก่ ถังจวินอี้ (唐君毅) โหมวจงซาน (牟宗三) และ สวีฟู่กวาน (徐复观) ทั้งสามท่านนี้ล้วนเป็นลูกศิษย์ของ สยฺงฉือลี่ (熊十力) โดยเฉพาะโหมวจงซานซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านปรัชญาจีนโบราณและได้โต้แย้งว่าแนวคิดของค้านท์มีแนวโน้มเป็นลัทธิขงจื่อแห่งโลกตะวันตก ทั้งสามท่านนี้และจางจวฺินม่าย (Carsun Chang) ได้ตีพิมพ์ประกาศลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ ในปี 1958 ซึ่งได้รวบรวมความเชื่อและภาพวาดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางปรัชญา

ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผู้แทนแกนนำขบวนการขงจื่อสมัยใหม่นอกประเทศจีนเป็นลูกศิษย์ของโหมวจงซาน ตู้เว่ยหมิง ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในนักปรัชญาขงจื่อสมัยใหม่ที่โดดเด่นที่สุด ได้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าลัทธิขงจื่อแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ : ลัทธิขงจื่อดั้งเดิมยุคก่อนฮั่น ลัทธิขงจื่อใหม่ยุคซ่ง-หมิง และลัทธิขงจื่อสมัยใหม่ นักปรัชญารุ่นที่สามนี้ได้นำรากฐานของลัทธิขงจื่อมาใช้เป็นเครื่องมือในบริบทนอกเอเชีย ซึ่งเห็นได้จาก ลัทธิขงจื่อแบบบอสตัน(Boston Confucianism) และนักปรัชญาขงจื่อตะวันตกท่านอื่น ๆ ได้แก่ วิลเลียม ทีโอดอร์ เดอ แบรี่ (Wm. Theodore de Bary) [2]

ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่

หลังจากการปฏิรูปเปิดประเทศ ภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง เมื่อปี ค.ศ.1978 นักปรัชญาขงจื๊อได้เสนอความคิดเกี่ยวกับประสบการณ์ในการฟื้นฟูจีนแผ่นดินใหญ่ การปรากฎกระแสใหม่ของ "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่" ซึ่งเริ่มต้นโดยเจียงชิง เธอได้กำหนดขอบเขตอย่างเด็ดขาดของ "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในต่างประเทศ" ซึ่งพัฒนาโดยโหมวจงซานและคนอื่น ๆ ตามความเห็นของเจียงนั้น ลัทธิขงจื๊อสามารถแบ่งออกเป็นสองกระแส ได้แก่ "สำนักขงจื๊อแบบจิตใจ" และ "สำนักขงจื๊อแบบการเมือง" ลัทธิขงจื๊อได้ครอบงำสังคมจีนเป็นเวลากว่าหนึ่งพันปี โดยสำนักขงจื๊อแบบจิตใจเน้นแนวคิดความจริงซึ่งได้แยกตัวออกจากสำนักขงจื๊อแบบการเมือง เจียงได้โต้แย้งว่าการฟื้นฟูความชอบธรรมทางการเมือง เป็นแกนหลักของแนวคิดลัทธิขงจื๊อ ซึ่งรื้อฟื้นความสนใจในโครงสร้างรัฐธรรมนูญแบบขงจื๊อและการก่อตั้งลัทธิขงจื๊อให้กลายเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ [3]

นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่ในแผ่นดินใหญ่ท่านอื่น ๆ ยอมรับทัศนคติทางการเมืองแบบเสรีนิยมต่อลัทธิขงจื๊อ เฉินหมิงเห็นด้วยกับการปฏิเสธความสำคัญของอภิปรัชญาของเจียง "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ในต่างประเทศ" โดยโต้แย้งว่าลัทธิขงจื๊อเป็นศาสนาพลเรือนที่ดีที่สุดในสายตาของชาวอเมริกันซึ่งเข้ากันได้กับประชาธิปไตย และมีวิถีชีวิตทางการเมืองที่สามารถแสดงแง่มุมทางศาสนาได้โดยปราศจากศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ สำหรับเฉินแล้วนั้น

ลัทธิขงจื๊อแบบโหมวจงซานมีฐานะเป็น "การสอนที่สมบูรณ์แบบ" ซึ่งดูเหมือนว่าถูกแสดงออกโดยอารมณ์ เจียงชิงมองว่าจีนควรเป็นรัฐขงจื๊อทั้งในด้านการเมืองและศาสนาซึ่งมีความเรียบง่าย โครงการของคังเสี่ยวกวาง (康晓光) ได้ปฏิรูปลัทธิขงจื๊อให้กลายเป็นศาสนาประจำรัฐที่ใช้ประโยชน์ได้ [4]

คำศัพท์

งานเขียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของขบวนการขงจื๊อสมัยใหม่นั้น มีการแปลเป็นภาษาจีนที่หลากหลาย นักเขียนชาวไต้หวันจำนวนมากมักใช้คำว่า ลัทธิขงจื๊อร่วมสมัย (Contemporary New Confucianism - 当代新儒家 หรือ 当代新儒学) เพื่อเน้นย้ำความต่อเนื่องในการเคลื่อนไหวของลัทธิขงจื๊อใหม่ยุคซ่ง - หมิง อย่างไรก็ตามในจีนแผ่นดินใหญ่ได้เสนอคำศัพท์ใหม่ว่า "ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่" (Modern New Confucianism - 现代新儒家 หรือ 现代新儒学) โดยเน้นความเป็นสมัยใหม่ในยุคสมัยหลังจากขบวนการสี่พฤษภาคม (五四)

ปรัชญา

ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ เป็นสำนักของปรัชญาจีนที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ หลังจากเหตุการณ์ขบวนการสี่พฤษภาคม ใน ค.ศ. 1919 ซึ่งลัทธิขงจื๊อถูกโจมตีว่าเป็นจุดอ่อนของจีนและความเสื่อมถอยจากการรุกรานของตะวันตก สยฺงฺฉือลี่ (1885-1968) ผู้ซึ่งเป็นนักปรัชญาจีนคนสำคัญ ได้ก่อตั้งและฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อขึ้นมาใหม่เพื่อตอบสนองต่อความเป็นสมัยใหม่ ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่เป็นปรัชญาการเมือง จริยธรรม และสังคมซึ่งใช้แนวคิดทางอภิปรัชญาจากปรัชญาตะวันตกและตะวันออก โดยแบ่งออกเป็นสามรุ่น เริ่มต้นโดย สยฺงฉือลี่ และ เฝิงโหย่วหลาน ในฐานะนักปรัชญารุ่นแรกที่วางรากฐาน รุ่นที่สอง ได้แก่ โหมวจงซาน, ถังจวินอี้ และ สวีฟู่กวาน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของสยฺงฉือลี่ นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นที่สามได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1980 ไม่ได้ถูกกำหนดโดยตัวบุคคลซึ่งต่างจากรุ่นก่อน สยฺงฉืลี่ และผู้ติดตามของเขาพยายามที่จะปฏิรูปลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่โดยใช้ชื่อภาษาจีนว่า "ซินหรูเจีย"

นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นแรก

สยฺงฉือลี่

สยฺงฉือลี่ (1885–1968) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคิดแห่งยุคศตวรรษที่ 20 ที่วางรากฐานสำหรับการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่[1] พื้นฐานของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ส่วนใหญ่มาจากหลักคำสอนใหม่ของสยฺงฉือลี่ ความเชี่ยวชาญด้านผลงานคลาสสิกของพุทธศาสนา สยฺงฉือลี่แย้งว่าผลงานคลาสสิกของปรัชญาตะวันออกจะต้องบูรณาการกับปรัชญาจีนร่วมสมัยเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ส ยฺงฉือลี่ยอมรับมุมมองของพุทธศาสนาในด้านมืดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ แต่ก็ยอมรับว่ามีด้านที่สว่างกว่าต่อธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงปฏิเสธการเรียนรู้ของชาวพุทธเกี่ยวกับ "การลดลงทุกวัน" ซึ่งบอกว่าการฝึกฝนเพื่อระงับธรรมชาติที่มืดมนของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เขามาได้ข้อสรุปหลังจากที่ได้ตรวจสอบงานคลาสสิกของขงจื๊อ ในขณะที่ลัทธิขงจื๊อยังตรวจสอบแง่มุมด้านลบของธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นความจำเป็นที่จะทำให้ตัวเองมีความเคยชินกับพิธีกรรม จุดประสงค์ของการฝึกฝนพิธีกรรมและการบรรลุเป้าหมายของ เหริน (仁) ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การจำกัดแง่มุมด้านที่มืดกว่าของธรรมชาติมนุษย์ แต่เป็นการพัฒนา "ความดีดั้งเดิม" ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่เมิ่งจื่อได้บันทึกเอาไว้ [5]

เพื่อที่จะรวมพุทธศาสนาเข้ากับลัทธิขงจื๊อในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาจีนร่วมสมัยของเขาซึ่งครอบคลุมถึงปรัชญาตะวันออกหลายประการ สยฺงฉือลี่ ได้เสนอการแก้ไขการเรียนรู้พุทธศาสนาของการลดลงทุกวัน สยฺง เข้าใจพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลัง "การลดลงทุกวัน" เพื่อเป็นความเชื่อทางอภิปรัชญาแบบพุทธศาสนาในเรื่อง "การแยกเชื่อมโยงระหว่างความเป็นจริงสัมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (Dharma-nature หรือ ธรรมชาติของธรรมะ) กับโลกแห่งปรากฏการณ์ที่มีเงื่อนไขและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Dharma-characters หรือ ลักษณะของธรรมะ) (Xiong, 1994, pp. 69-77, 84-5, 111-12) อวี๋จี้หยวน ได้ตรวจสอบแนวคิดของสยฺงฉือลี่แล้วอธิบายว่าเป็น "ทฤษฎีการแยก" (Separation theory) ในขณะเดียวกันทฤษฎีของสยฺงฉือลี่ ที่อยู่เบื้องหลังการแก้ไข "การลดลงรายวัน" ได้อาศัยสิ่งที่อวี๋ อธิบายว่าเป็น "วิทยานิพนธ์เรื่องความเหมือนกัน" (Sameness Thesis) ในหลักคำสอนใหม่ของสยฺงนี้เรียก ว่า ธรรมชาติของธรรมะ (Dharma-nature) และ รูปลักษณ์ของธรรมะ (Dharma-characters) สยฺงโต้แย้งว่าไม่เหมือนกับศาสนาพุทธที่รับรู้ว่าโลกทั้งสองโลกมีความเป็นเอกภาพ เหตุผลของสยฺงได้แสดงในคำสอนใหม่ ฉบับปี 1985 ว่า:


หากความเป็นจริงดั้งเดิมและหน้าที่แยกออกจากกัน หน้าที่จะแตกต่างจากความเป็นจริงดั้งเดิมและดำรงอยู่อย่างอิสระ หน้าที่จะมีความเป็นจริงดั้งเดิมในตัวมันเอง เราไม่ควรแสวงหาเอกลักษณ์ที่นอกเหนือจากชื่อและหน้าที่ซึ่งเป็นความจริงดั้งเดิม นอกจากนี้ ถ้าความเป็นจริงดั้งเดิมดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากหน้าที่ ก็จะกลายเป็นความจริงที่ไร้ประโยชน์ ในกรณีนี้ ถ้าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คงที่ ก็ต้องกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ความคิดที่หลั่งไหลออกมา ข้าพเจ้าเชื่อว่าความจริงดั้งเดิมและหน้าที่ดำรงอยู่อย่างไม่แยกออกจากกัน (Xiong, 1985, p. 434)

มุมมองของเขาเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพนี้สามารถเห็นได้จากผลงานของเขาก่อนหน้านี้ เช่น ตำราใหม่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของจิตสำนึก ในบทความใหม่เขาโต้แย้งว่าความจริงมีความหมายเท่ากับจิต จิตนี้ไม่ได้หมายถึงจิตของปัจเจกบุคคล แต่หมายถึงจิตสากลซึ่งแสดงความเป็นสากลในสรรพสิ่งทั้งหมดซึ่งเป็นการดำรงอยู๋อย่างแท้จริง สยฺงฉือลี่ ได้นำแนวคิดของขงจื๊อและพุทธมาอธิบายเรื่องการควบคุมความปรารถนาของตนเอง โดยโต้แย้งว่ามีความล้มเหลวในการควบคุมความปรารถนาและจิตของปัจเจกบุคคล ซึ่งถือว่าเป็น "การทับถมของวัตถุที่ตายไปแล้ว" สยฺงฉือลี่มองว่าเราควรรับรู้วัตถุของโลกทางกายภาพ เนื่องจากสิ่งภายนอกเป็นทางผ่านให้เรารับรู้ถึงโลกภายใน ซึ่งเป็นที่ที่จิตและความเป็นจริงเป็นหนึ่งเดียวกัน

นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นที่สอง

โหมวจงซาน

โหมวจงชานถือเป็นหนึ่งในนักปรัชญารุ่นที่สองซึ่งมีอิทธิพลมากกว่า ปรัชญาทั่วไปของโหมวจงชานที่เกี่ยวกับอภิปรัชญาอยู่ในแนวเดียวกับสยฺงฉือลี่ อย่างไรก็ตามเขาได้เสริมทฤษฎีของสยฺงฉือลี่อันเกี่ยวกับจิตและความเป้นจริงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับมุมมองทางสังคมและการเมืองมากขึ้น โหมวยืนยันว่าความเป็นสากลดำรงอยู่ในความจริงทางปรัชญาทั้งหมด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีทางการเมืองและสังคมของโลกสามารถเชื่อมโยงกันได้ในสารัตถะ โหมวได้โต้แย้งในการบรรยายของเขาว่าความพิเศษนั้นดำรงอยู่เพราะระบบที่แตกต่างกันซึ่งถูกสร้างขึ้นในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ชุดการใช้เหตุผลและการตีความเชิงปรัชญาได้บรรลุถึงความจริงทางปรัชญาในแบบเดียวกันภายใต้ระบบที่แตกต่างกัน เขาเชื่อว่าข้อจำกัดทางกายภาพของเรา นั่นคือ การดำรงอยู่ทางกายภาพของเราสร้างระบบและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ซึ่งจิตของเรา คือ รูปแบบซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์และดำรงอยู่ในโลกทางกายภาพ เราไม่ควรปล่อยให้ข้อจำกัดเหล่านี้ขัดขวางเราจากการฝึกฝนใช้เหตุผลเชิงปรัชญา

ปรัชญาการเมืองของโหมวนั้นแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเขาอภิปรายถึงความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ที่เจาะจงเรื่องการดำรงอยู่ของมนุษย์ การดำรงอยู่ของประเทศและระบบที่แตกต่างกันสามารถอธิบายได้ส่วนใหญ่เป็นเพราะความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ โหมวยืนยันว่าความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ดำรงอยู่ไม่ใช่แค่เพราะความจำเป็นเชิงตรรกะ หรือ ความจำเป็นเชิงอภิปรัชญา เท่านั้น แต่เป็นเพราะสิ่งที่เขาเรียกว่าการพัฒนาของจิตวิญญาณซึ่งเขายังระบุว่าเป็นความจำเป็นเชิงวิภาษ เขาอ้างว่าประวัติศาสตร์ควรจะถูกรับรู้และตีความว่าเป็นสิ่งที่มีทั้งความจำเป็นทางประวัติศาสตร์อย่างเช่นความจำเป็นเชิงวิภาษ และความจำเป็นเชิงศีลธรรม มีการตัดสินคุณค่าอยู่สองประเภท คือ คุณธรรมและประวัติศาสตร์ โหมวกล่าวว่าไม่ว่าจะกรีกหรือจีน สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังประวัติศาสตร์และลักษณะดั้งเดิมของมนุษย์มีความเหมือนกัน ดังนั้นความเป็นสากลของความจริงเชิงปรัชญาจึงดำรงอยู่เบื้องหลังการเมืองและประวัติศาสตร์

คำประกาศของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่

มีการใช้ศัพท์ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่เป็นวาระแรกเมื่อปี 1963 (ตามบันทึกของฮ่องกง ได้ใช้ศัพท์ว่า "人生 - เหรินเชิง") อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการใช้อย่างเป็นสาธารณะจนกระทั่งช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1970 ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ได้ปรากฎในความเรียง "คำประกาศของวัฒนธรรมจีนสู่ชาวโลก" เมื่อปี 1958 โดยถังจวินอี้ โหมวจงซาน สวีฟู่กวาน และจางจวฺินม่าย ในความเรียงนี้ได้อ้างถึง "คำประกาศของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่" แม้ว่าวลีจะมิได้ปรากฎขึ้นอย่างเป็นทางการ คำประกาศนี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของวัฒนธรรมจีนในฐานะที่เป็นเอกภาพพื้นฐานตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งลัทธิขงจื๊อได้แสดงออกในฐานะที่อยู่สูงสุด การตีความลัทธิขงจื๊อจากคำประกาศได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อใหม่อย่างลึกซึ้ง และเป็นลัทธิิขงจื๊อใหม่ในเวอร์ชั่นของลู่เซี่ยงชาน (陆象山) และหวางหยางหมิง (王阳明) (ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของจูซี) ยิ่งไปกว่านั้น ในคำประกาศได้โต้แย้งอีกว่าในขณะที่จีนต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่และประชาธิปไตยจากโลกตะวันตก โลกตะวันตกก็จะต้องเรียนรู้ "เชาวน์ปัญญาที่ครอบคลุมทั้งหมด" จากจีน (โดยเฉพาะประเพณีแบบขงจื๊อ)

สังคมประสานกลมกลืน

แนวคิดสังคมที่ประสานกลมกลืน (和谐社会 - เหอเสียเช่อฮุ่ย) สามารถสืบย้อนกลับไปในยุคของขงจื๊อ ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับการสืบทอดมาจากลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ ในยุคใหม่ แนวคิดนี้ได้พัฒนาเป็นลักษณะเฉพาะสำคัญของแนวคิดอุดมคติของหูจิ่นเทา ผู้ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ซึงได้พัฒนาแนวคิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษ 2000 โดยได้รับการรื้อฟื้นโดยคณะรัฐบาลที่นำโดยหูจิ่นเทากับเวินเจียเป่าใน สภาประชาชนแห่งชาติเมื่อปี 2005 [6][7][8][9][10][11]

ปรัชญาได้รับการยอมรับให้เป็นปฏิกิริยาสะท้อนต่อความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดขึ้นในสังคมจีนแผ่นดินใหญ่อันเป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ปรัชญาการปกครองจึงเปลี่ยนย้ายฐานไปอยู่ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อความสมดุลและความประสานกลมกลืนของสังคมโดยรวม [12] สังคมที่เจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลางมักถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายระดับชาติสำหรับการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์

การส่งเสริม "สังคมประสานกลมกลืน" แสดงให้เห็นว่าปรัชญาการปกครองของหูจิ่นเทาได้แยกตัวออกไปจากนักปรัชญารุ่นก่อน [13] เมื่อใกล้สิ้นสุดวาระในการดำรงตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ.2011 ประธานหูได้แสดงการขยายอุดมการณ์สู่มิติสากลโดยให้ความสำคัญกับสันติภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งกล่าวกันว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่ "โลกที่ประสานกลมกลืน" สีจิ้นผิง ผู้สืบทอดการปกครองประเทศของหูจิ่นเทา ได้ใช้ปรัชญาอย่างจำกัดมากขึ้น

นักวิชาการบางคนที่สำคัญ อย่างเช่น เหยียนเสวฺียทง และ Daniel A. Bell ได้สนับสนุนการฟื้นฟูสถาบันขงจื๊อที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม เช่น ฝ่ายตรวจการในประเทศจีนและพื้นที่อื่นในฐานะของส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเมืองแบบลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ นอกจากนี้ Jana S. Rošker เน้นย้ำว่าลัทธิขงจื๊อไม่ได้มีความหมายแค่เฉพาะขอบเขตเดียวหรือขอบเขตที่คงที่ในทางความคิดแบบดั้งเดิม แต่มีความหมายที่ค่อนไปทางสายธารอันแตกต่างที่สามารถนำมาใช้โดยค่อนข้างพลการและถูกเลือกโดยอุดมการณ์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน้าที่ในการทำให้ถูกกฎหมายโดยการใช้อำนาจรัฐ เมื่อพิจารณาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแนวคิดการประสานกลมกลืน เราจำเป็นต้องถามตัวเองว่าอะไรคือขอบเขตประเพณีทางปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ และอะไรคือขอบเขตที่ว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงผลิตผลของความต้องการในปัจจุบัน (อุดมการณ์และการเมือง)

แหล่งอ้างอิง

  1. Makeham, John, บ.ก. (2003). New Confucianism: A Critical Examination. New York: Palgrave. ISBN 978-1-4039-6140-2.
  2. Bresciani, Umberto (2001). Reinventing Confucianism: The New Confucian Movement. Taipei: Taipei Ricci Institute. ISBN 978-957-9390-07-1.
  3. Fan, Ruiping. "The Rise of Political Confucianism in Contemporary China". ใน Fan, Ruiping (บ.ก.). The Renaissance of Confucianism in Contemporary China. Dordrecht: Springer. pp. 36–38.
  4. Billioud, Sébastien; Thoraval, Joël (2008). "The Contemporary Revival of Confucianism: Anshen liming or the Religious Dimension of Confucianism". China Perspectives (3): 104. ISSN 1996-4617.
  5. Yu, Jiyuan (2002). Contemporary Chinese Philosophy. Oxford: Blackwell. pp. 127–146. ISBN 0631217258.
  6. Guo And Guo (15 August 2008). China in Search of a Harmonious Society. Lexington Books. ISBN 978-0-7391-3042-1.
  7. Ruiping Fan (11 March 2010). Reconstructionist Confucianism: Rethinking Morality after the West. Springer Science & Business Media. ISBN 978-90-481-3156-3.
  8. Daniel A. Bell, China's Leaders Rediscover Confucianism" The New York Times, 14 September 2006.
  9. "Confucian concept of harmonious society". koreatimes.co.kr. 18 September 2011.
  10. Rosker, Jana. "Modern Confucianism and the Concept of Harmony". academia.edu.
  11. Arnold, Perris. “Music as Propaganda: Art at the Command of Doctrine in the People's Republic of China”. Ethnomusicology 27, no. 1 (1983): 1–28.
  12. "China's Party Leadership Declares New Priority: 'Harmonious Society'". The Washington Post. 12 October 2006. สืบค้นเมื่อ 20 January 2011.
  13. Zhong, Wu. “China yearns for Hu's 'harmonious society'”. Asia Times. Last modified 11 October 2006.