ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดมหาสารคาม"

พิกัด: 16°11′N 103°17′E / 16.18°N 103.29°E / 16.18; 103.29
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PPSW (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 243: บรรทัด 243:
|49 || 2559 - 2561 || นายเสน่ห์ นนทะโชติ
|49 || 2559 - 2561 || นายเสน่ห์ นนทะโชติ
|-
|-
|50 || 2561 - ปัจจุบัน || นายเกียรติศักดิ์ จันทรา
|50 || 2561 - 2563 || นายเกียรติศักดิ์ จันทรา
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:08, 10 ตุลาคม 2563

จังหวัดมหาสารคาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Maha Sarakham
คำขวัญ: 
พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม
ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2563)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด5,291.683 ตร.กม. (2,043.130 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 41
ประชากร
 (พ.ศ. 2562)[2]
 • ทั้งหมด962,665 คน
 • อันดับอันดับที่ 24
 • ความหนาแน่น181.92 คน/ตร.กม. (471.2 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 16
รหัส ISO 3166TH-44
ชื่อไทยอื่น ๆสารคาม
ตักสิลานคร
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้พฤกษ์ (มะรุมป่า)
 • ดอกไม้ลั่นทมขาว (จำปาขาว)
 • สัตว์น้ำปูทูลกระหม่อม
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม หมู่ที่ 11 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 291 ตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
 • โทรศัพท์0 4377 7356
 • โทรสาร0 4377 7460
เว็บไซต์http://www.mahasarakham.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประวัติศาสตร์

เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมานับพันปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี โดยบริเวณ(โคกพระ)เมืองกันทรวิชัย พบหลักฐานเช่น พระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนมงคล และกรุพระพิมพ์ดินเผา ส่วนบริเวณอำเภอนาดูนเมืองนครจำปาศรี พบทั้งกรุพระพิมพ์ดินเผาและพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนี้แล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม[ต้องการอ้างอิง]

มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน ชาวไทยญ้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก "บ้านลาดกุดยางใหญ่" ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และให้ท้าวมหาชัย (ท้าวกวด ภวภูตานนท์ ต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด

ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกราวเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้นเป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง

เมืองมหาสารคามได้สร้างวัดดอนเมือง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน[3]

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 5,300 ตารางกิโลเมตร (3,307,300 ไร่) ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 475 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้[4]

ภูมิประเทศ

โดยทั่วไป จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้[4]

สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ [4]

  1. พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ — ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ เช่น ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ในบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และทางตอนใต้ของจังหวัดแถบชายทุ่งกุลาร้องไห้
  2. พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบสลับกับลูกคลื่นลอนลาด — ตอนเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นแนวยาวไปทางตะวันออก ถึงอำเภอเมืองมหาสารคาม]
  3. พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน — ตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัด บริเวณนี้มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศในเขตจังหวัดมหาสารคาม เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกสลับกับอากาศแห้ง ในปี พ.ศ. 2555 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน 118.1 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนมากที่สุดที่ 414.9 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ที่ 27.91 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 15.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ประมาณ 73.55 % (เดือนมกราคม - กรกฎาคม)[4]

การเมืองการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดมหาสารคามแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 133 ตำบล 1,804 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

  1. อำเภอเมืองมหาสารคาม
  2. อำเภอแกดำ
  3. อำเภอโกสุมพิสัย
  4. อำเภอกันทรวิชัย
  5. อำเภอเชียงยืน
  6. อำเภอบรบือ
  7. อำเภอนาเชือก
  1. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
  2. อำเภอวาปีปทุม
  3. อำเภอนาดูน
  4. อำเภอยางสีสุราช
  5. อำเภอกุดรัง
  6. อำเภอชื่นชม
แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 123 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง และ 18 เทศบาลตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้


รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับ ปี พ.ศ. พระนาม / ชื่อ เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
1 2408 - 2422 พระเจริญราชเดช (ท้าวมหาชัย กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
2 2422 - 2443 พระเจริญราชเดช (ท้าวไชยวงษา ฮึง ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
3 2443 - 2444 อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์)
4 2444 - 2455 พระเจริญราชเดช (ท้าวโพธิสาร อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
5 2455 - 2459 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน
6 2460 - 2462 พระยาสารคามคณาพิบาล (พร้อม ณ นคร)
7 2462 - 2466 พระยาสารคามคณาพิบาล (ทิพย์ โรจน์ประดิษฐ์)
8 2466 - 2468 พระยาประชากรบริรักษ์ (สาย ปาละนันทน์)
9 2468 - 2474 พระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์)
10 2474 - 2476 พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร)
11 2476 - 2482 หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ)
12 2482 - 2484 หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ (ประสิทธ์ สุปิยังตุ)
13 2484 - 2486 หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตร)
14 2486 - 2489 ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์)
15 2489 - 2490 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
16 2490 - 2493 ขุนพิศาลาฤษดิ์กรรม (ทองใบ น้อยอรุณ)
17 2493 - 2495 นายเชื่อม ศิริสนธิ
18 2495 - 2500 หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ)
19 2500 - 2501 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
20 2501 - 2506 นายนวน มีชำนาญ
21 2506 - 2510 นายรง ทัศนาญชลี
22 2510 - 2513 นายเวียง สาครสินธุ์
23 2513 - 2514 นายพล จุฑางกูร
24 2514 - 2517 นายสุจินต์ กิตยารักษ์
25 2517 - 2519 นายชำนาญ พจนา
26 2519 - 2522 นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ
27 2522 - 2523 นายสมภาพ ศรีวรขาน
28 2523 - 2524 ร้อยตรีกิตติ ปทุมแก้ว
29 2524 - 2526 นายธวัช มกรพงศ์
30 2526 - 2528 นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์
31 2528 - 2531 นายไสว พราหมมณี
32 2531 - 2534 นายจินต์ วิภาตะกลัศ
33 2534 - 2535 นายวีระชัย แนวบุญเนียร
34 2535 - 2537 นายภพพล ชีพสุวรรณ
35 2537 - 2538 นายประภา ยุวานนท์
36 2538 - 2540 นายวิชัย ทัศนเศรษฐ
37 2540 - 2542 นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี
38 2542 - 2544 นางศิริเลิศ เมฆไพบูลย์
39 2544 - 2546 นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ
40 2546 - 2548 นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย
41 2548 - 2550 นายชวน ศิรินันท์พร
42 2550 - 2551 นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์
43 2551 - 2552 นายพินิจ เจริญพานิช
44 2552 - 2554 นายทองทวี พิมเสน
45 2554 - 2555 นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน
46 2555 - 2557 นายนพวัชร สิงห์ศักดา
47 2557 - 2558 นายชยาวุธ จันทร
48 2558 - 2559 นายโชคชัย เดชอมรธัญ
49 2559 - 2561 นายเสน่ห์ นนทะโชติ
50 2561 - 2563 นายเกียรติศักดิ์ จันทรา

การคมนาคม

ทางบก

รถยนต์ส่วนตัว

เส้นทางที่สะดวกและสั้นที่สุด คือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่จังหวัดสระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา เข้าสู่จังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งสนิท จนกระทั่งเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลองสมถวิล ผู้ให้บริการรถโดยสารจากกรุงเทพฯ อาทิ บริษัท ขนส่ง จำกัด, นครชัยแอร์, เชิดชัยทัวร์, รุ่งประเสริฐทัวร์ และชาญทัวร์ นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการรถโดยสารไปยังจังหวัดข้างเคียง อาทิ สหพันธ์ร้อยเอ็ดทัวร์, แสงประทีปทัวร์ และอื่น ๆ

จากอำเภอเมืองมหาสารคาม มีรถโดยสารประจำทางให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ พยัคฆภูมิพิสัย วาปีปทุม นาดูน นาเชือก บรบือ กุดรัง และเชียงยืน

จังหวัดมหาสารคามมีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลายแห่ง ได้แก่ที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม, บรบือ, พยัคฆภูมิพิสัย, วาปีปทุม และโกสุมพิสัย

ทางรถไฟ

ในปัจจุบัน จังหวัดมหาสารคามยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน สถานีรถไฟที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้แก่ สถานีรถไฟขอนแก่น (71 กิโลเมตร) และสถานีรถไฟบ้านไผ่ (69 กิโลเมตร) ซึ่งทั้งสองสถานีนั้นอยู่ในจังหวัดขอนแก่น

ในอนาคต จะมีโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งจะผ่านหลายจังหวัดในอีสานตอนกลาง รวมถึงมหาสารคามด้วย

ทางอากาศ

จังหวัดมหาสารคามไม่มีท่าอากาศยาน จึงต้องใช้บริการท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ ท่าอากาศยานขอนแก่น (82 กิโลเมตร), ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด (59 กิโลเมตร) และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (121 กิโลเมตร)

เศรษฐกิจ

ประเพณีและวัฒนธรรม

สถานที่สำคัญ

โบราณสถาน

ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม

พระอารามหลวง

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่สำคัญอื่น

สถานพยาบาล

สถานศึกษา

ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ หมวดหมู่: สถาบันการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม,รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

16°11′N 103°17′E / 16.18°N 103.29°E / 16.18; 103.29

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2563. สืบค้น 28 มกราคม 2563.
  3. "ประวัติเมืองมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "ข้อมูลทั่วไปจังหวัดมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภ่าคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)