ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

พิกัด: 13°43′09″N 100°34′56″E / 13.719155°N 100.582247°E / 13.719155; 100.582247
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
| หัวหน้า1_ชื่อ = ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
| หัวหน้า1_ชื่อ = ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ผู้อำนวยการ
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ผู้อำนวยการ
| หัวหน้า3_ชื่อ =
| หัวหน้า3_ชื่อ = ดร. พรชัย อินทร์ฉาย
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้อำนวยการ
| หัวหน้า4_ชื่อ =
| หัวหน้า4_ชื่อ =
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:38, 3 ตุลาคม 2563

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง18 มกราคม พ.ศ. 2515 (52 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่924 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
งบประมาณประจำปี815,522,500 บาท(พ.ศ. 2561)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์, ผู้อำนวยการ
  • ดร. พรชัย อินทร์ฉาย, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์www.ipst.ac.th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท. หรือ IPST) เป็นองค์การมหาชน[2]ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ[3] มีหน้าที่หลักในการพัฒนาขีดความสามารถในด้านการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ของครู และเยาวชนไทย

ประวัติ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๒ ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2515 [4] ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2548[5]

กิจกรรมและผลงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

ด้านส่งเสริม ค้นคว้าวิจัยหลักสูตร วิธีสอน

จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ และคู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544

ด้านการส่งเสริม พัฒนาและฝึกอบรมครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา

จัดอบรมครูโรงเรียนทั่วปรเทศโดยมีรูปแบบการอบรม 3 รูปแบบ คือ อบรมแบบ face to face อบรมโดยส่งสื่อเอกสาร อบรมครูทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ของกระทรวงศึกษาธิการ และอบรมผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการจัดประชุมวิชาการร่วมกับหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

ด้านการค้นคว้า ปรับปรุงเอกสาร สื่อและอุปกรณ์การศึกษา

จัดทำหนังสือเรียน คู่มือครู เอกสารอบรมครู ชุดการสอน เอกสารเสริมความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซีดีรอม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โปสเตอร์ เกมและภาพประกอบการเรียนการสอน แผ่นภาพโปร่งใส วีดิทัศน์ และต้นแบบอุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์

ด้านการประเมินมาตรฐาน

งานพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พัฒนาเครื่องมือทดสอบสัมฤทธิ์ผล สมรรถภาพ เจตคติและจิตวิทยาศาสตร์ Metacognition รวมทั้งการทดสอบมาตรฐานด้วยแบบทดสอบและด้วยวิธีการทดสอบแบบออนไลน์

การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา

  • ดำเนินการส่งเสริมการใช้งานด้านต่างๆ ได้แก่ โครงการวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก (GLOBE) ประสานงานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ 40 แห่ง
  • จัดตั้งศูนย์ให้การอบรมใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) โดย สสวท. จัดเตรียมวิทยากรและหลักสูตรให้เพื่อส่งเสริมครูคณิตศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในทุกช่วงชั้น โครงการ SMaRT School เป็นโครงการที่นำ ICT มาช่วยในการเรียนการสอนวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เช่น การสืบค้นข้อมูล การสร้างชิ้นงาน และการนำเสนอผลงาน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะในการทำงาน ผ่านการทำโครงงาน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โครงการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์สู่สถานศึกษา เช่น Learning Object, E-Learning เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษา

ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาโรงเรียนแกนนำของ สสวท. ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนรวมทั้งนำผลงานดีเด่นมาเผยแพร่เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาครูทั่วภูมิภาค ร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อพัฒนาโรงเรียน ตชด. และโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร ให้สามารถจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรของ สสวท. และบุคลากรทางการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมือกับโรงเรียนใน 175 เขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน ร่วมมือกับโรงเรียนเตรียมทหารจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ ธรณีวิทยา

การวิจัยด้านการศึกษา

จัดทำโครงการวิจัยร่วมกับนานาชาติ ได้แก่โครงการ TIMSS 2007 โครงการ PISA โครงการ SITES 2007

การพัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้สำหรับประชาชน

จัดทำข่าว บทความผลงานของ สสวท. บทความเยาวชน เผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน รายการเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางวิทยาศาสตร์ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 นิตยสาร สสวท. นิทรรศการผลงานของ สสวท. เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′09″N 100°34′56″E / 13.719155°N 100.582247°E / 13.719155; 100.582247

อ้างอิง