ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีระกร คำประกอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = วีระกร คำประกอบ
| name = วีระกร คำประกอบ
| image = วีระกร คำประกอบ.jpg
| image =
| imagesize = 200px
| imagesize = 200px
<!----------ตำแหน่ง---------->
<!----------ตำแหน่ง---------->

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:20, 2 ตุลาคม 2563

วีระกร คำประกอบ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ

นายวีระกร คำประกอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 8 สมัย เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) สภาผู้แทนราษฎร อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ

วีระกร คำประกอบ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร[1] เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายสวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กับนางมะลิ คำประกอบ มีพี่น้องอีก 2 คน คือ นายภานุวัฒน์ คำประกอบ และนายดิสทัต คำประกอบ[2]

วีระกร คำประกอบ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเขาเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2518 ระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยยังส์ทาวน์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส อาร์ลิงตัน[1]

การทำงาน

วีระกร คำประกอบ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 5 สมัย ในปี พ.ศ. 2531 จนถึงปี พ.ศ. 2539 ยกเว้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 เพียงครั้งเดียว ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับนายสมควร โอบอ้อม จากพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งได้รับเลือกตั้งอีกในปี พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2550 เขาเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

วีระกร เคยเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัดพรรคความหวังใหม่

ในวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นายวีระกรได้เข้ามาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง