ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลฮาโปเอลเทลอาวีฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox football club | clubname = ฮาโปเอลเทลอาวีฟ | image = | image_size = | fullname = สโมสรฟุตบอลฮาโป...
 
Makenzis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| manager = นีร์ คลินเกอร์
| manager = นีร์ คลินเกอร์
| league = [[อิสราเอลพรีเมียร์ลีก]]
| league = [[อิสราเอลพรีเมียร์ลีก]]
| season = 2018–19
| season = 2019/20
| position = อันดับที่ 5 ในพรีเมียร์ลีก
| position = อันดับที่ 5 ในพรีเมียร์ลีก
| pattern_la1 = _macron19r
| pattern_la1 = _macron19r

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:09, 17 กันยายน 2563

ฮาโปเอลเทลอาวีฟ
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลฮาโปเอลเทลอาวีฟ
ฉายาปีศาจแดง
กรรมกร
ก่อตั้ง1927; 97 ปีที่แล้ว (1927)
สนามสนามกีฬาบลูมฟีลด์ เทลอาวีฟ
Ground ความจุ29,150 ที่นั่ง
เจ้าของกลุ่มนิซานอฟ
ประธานรอบี เรเกฟ
ผู้จัดการนีร์ คลินเกอร์
ลีกอิสราเอลพรีเมียร์ลีก
2019/20อันดับที่ 5 ในพรีเมียร์ลีก
เว็บไซต์/ เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลฮาโปเอลเทลอาวีฟ (ฮีบรู: מועדון כדורגל הפועל תל-אביב ‎, Moadon Kaduregel Hapoel Tel Aviv) เป็นสโมสรฟุตบอลอิสราเอลที่ตั้งอยู่ที่เทลอาวีฟ ปัจจุบันลงแข่งขันในอิสราเอลพรีเมียร์ลีก มีสนามเหย้าคือสนามกีฬาบลูมฟีลด์ ทีมชนะเลิศแชมเปียนชิป 13 สมัย และชนะเลิศสเตตคัพ 16 สมัย ฮาโปเอลเทลอาวีฟเป็นสโมสรแรกที่ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียในปี 1967

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1995 สโมสรได้เข้าร่วมแข่งขันระดับทวีปยุโรปบ่อยครั้ง และเป็นสโมสรจากอิสราเอลที่มีอันดับยูฟ่าสูงที่สุด สโมสรมีผลงานระดับทวีปอันโดดเด่นด้วยการเอาชนะเชลซี, มิลาน, ฮัมบวร์ก, ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง, ไบฟีกา, เรนเจอส์ และเซลติก ฮาโปเอลเทลอาวีฟเป็น 1 ใน 3 สโมสรจากอิสราเอลที่เคยผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และเป็นหนึ่งในสองสโมสรอิสราเอลที่เป็นสมาชิกสมาคมสโมสรฟุตบอลยุโรป

ชื่อสโมสร "ฮาโปเอล" หมายถึง "กรรมกร" ซึ่งเมื่อรวมกับสัญลักษณ์ค้อนเคียวสีแดงแล้ว จะสื่อถึงลัทธิมากซ์ สังคมนิยม และชนชั้นกรรมกร ตลอด 7 ทศวรรษของสโมสร มีเจ้าของคือ ฮิสตาดรุต ซึ่งเป็นกลุ่มสหภาพการค้าแห่งชาติอิสราเอล

เกียรติประวัติ

ในประเทศ

เกียรติประวัติ จำนวน ปี
แชมเปียนชิป 13 1933–34, 1934–35, 1938–39, 1940, 1943–44, 1956–57, 1965–66, 1968–69, 1980–81, 1985–86, 1987–88, 1999–2000, 2009–10
สเตตคัพ 16 1928, 1934, 1937, 1938, 1939, 1944, 1960–61, 1971–72, 1982–83, 1998–99, 1999–2000, 2005–06, 2006–07, 2009–10, 2010–11, 2011–12
โตโตคัพ 1 2001–02
ซูเปอร์คัพ 5 1957, 1966, 1969, 1970, 1981

ทีมชาติ

เกียรติประวัติ จำนวน ปี
ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย 1 1967

อื่น ๆ

เกียรติประวัติ จำนวน ปี
Shapira Cup 1 1954–55[1]

อ้างอิง

  1. Shapira Cup to Hapoel Tel Aviv Davar, 16 January 1955, Historical Jewish Press

แหล่งข้อมูลอื่น