ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยรามคำแหง"

พิกัด: 13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลเป็นปัจจุบัน
Mugornja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
}}
}}


'''มหาวิทยาลัยรามคำแหง''' ({{lang-en|Ramkhamhaeng University}}; [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ม.ร. - RU) เป็น[[มหาวิทยาลัยรัฐ]]ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา อันเป็นระบบเดียวกับ[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]]ในอดีต
'''มหาวิทยาลัยรามคำแหง''' ({{lang-en|Ramkhamhaeng University}}; [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ม.ร. - RU) เป็น[[มหาวิทยาลัยรัฐ]]ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา อันเป็นระบบเดียวกับ[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ในอดีต


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:51, 13 กันยายน 2563

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตราพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อม.ร. / RU
คติพจน์รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (52 ปี) [1][2][3]
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์(รักษาการ)
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์(รักษาการ)
นายกสภาฯชีพ จุลมนต์[4] (6 เมษายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)
ที่ตั้ง
สี██ สีน้ำเงิน
██ สีทอง
เครือข่ายASAIHL
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไฟล์:Banner1.png

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา อันเป็นระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ในอดีต

ประวัติ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา[5] กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม

การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั้งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..." โดยนายแคล้ว นรประติ ส.ส.จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ระยะแรก คณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราว จนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงและวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ส่วนกลาง)

แรกเริ่มที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่แสดงสินค้านานาชาติที่ ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ (ขณะนั้น) จำนวน 300 ไร่เศษ เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย ระยะแรกที่ทำการเปิดสอนได้ใช้อาคารแสดงสินค้าที่มีอยู่เดิมเป็นที่ทำการและห้องเรียนของมหาวิทยาลัย ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการคณะ/สำนัก/สถาบัน รวมทั้งอาคารเรียน ฯลฯ เพิ่มขึ้นแทนอาคารแสดงสินค้าเดิมเหล่านั้น จะเห็นว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปมาก บริเวณของมหาวิทยาลัยเต็มไปด้วยอาคารหลากหลายที่ทันสมัย บรรยากาศเป็นมหาวิทยาลัยวิชาการ อีกทั้งภูมิทัศน์สวยงาม สะอาด และสะดวกสบาย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการของทุกคณะ/สำนัก/สถาบันต่างๆ เป็นศูนย์กลางการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (รามคำแหง 2 - บางนา)

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดตั้ง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ - สุวรรณนภาศรี (วิทยาเขตบางนา) ในปี พ.ศ. 2522 (และเริ่มเปิดทำการสอนปี พ.ศ. 2527) บนที่ดินที่ได้รับบริจาคจำนวน 150 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8 ถนนบางนา – ตราด เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิทยาเขตบางนาจึงใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรีทุกสาขา ต่อมาได้ใช้เป็นสถานที่สอนระดับปริญญาโทบางโครงการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย

เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย ขึ้น เพื่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรโครงการพิเศษต่างๆ จังหวัดสุโขทัยนั้นในอดีตคือกรุงสุโขทัยในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ เปิดสอนคณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมไปถึงปริญญาตรีส่วนภูมิภาค เปิดที่สาขาวิทยบริการแห่งนี้ด้วย

พื้นที่การศึกษา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 ส่วน กับ 1 วิทยาเขต และ 1 ศูนย์การศึกษา (วิทยาเขต)

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนของพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี (กองคลัง กองแผนงาน), อาคารวิทยบริการและบริหาร (กองบริการการศึกษา), อาคารเรียนรวม (เวียงคำ), อาคารเรียนรวม (เวียงผา), ธนาคารทหารไทย สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารคณะรัฐศาสตร์ 1, อาคารศรีศรัทธา (อาคารคณะรัฐศาสตร์ 2), อาคารจอดรถพิเศษ 8 ชั้น, อาคารสำนักพิมพ์, สถาบันการศึกษานานาชาติ, โรงกลาง (โรงอาหารกลาง), อาคารนพมาศ (บัณฑิตศึกษา), หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช, อาคารบรรยายรวม (กงไกรลาศ), อาคารห้องน้ำชาย-ห้องน้ำหญิง, อาคารบรรยายรวม (ศิลาบาตร), เซเว่นอีเลฟเว่น สาขาที่ 14146, อาคารศิลาบาตร (SBB), ศูนย์ฝึกซ้อมกอล์ฟในร่ม KLB 601, สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารงานแพทย์และอนามัย
  • ส่วนที่ 2 คือส่วนพื้นที่การจัดศึกษา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ, อาคารบรรยายรวมคณะบริหารธุรกิจ, อาคารท่าชัย (บัณฑิตวิทยาลัย), อาคารสุโขทัย เป็นที่ตั้งของ (คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะสื่อสารมวลชน คณะทัศนมาตรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันบริการวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงการพิเศษปริญญาโท), ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารคณะเศรษฐศาสตร์ 1 และ 2, อาคารสถาบันคอมพิวเตอร์, สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา, อาคารโรงยิม 4, อาคารห้องน้ำชาย-ห้องน้ำหญิง, ตึกรับส่งข้อสอบ
  • ส่วนที่ 3 ครอบคลุมไปยัง อาคารเบกพล, ที่ทำการคณะนิติศาสตร์ (1), คณะนิติศาสตร์ใหม่ (2), ที่ก่อสร้างอาคารหอสมุดกลางแห่งใหม่ สำนักหอสมุดกลาง, อาคารสวรรคโลก, คณะศึกษาศาสตร์ (1), ศึกษาศาสตร์ (2), สำนักกีฬา, สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยรามคำแหง, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง (อนุบาล), สนามเทนนิส, โรงยิม 2, โรงยิม 3, อาคารเบกพล (กองอาคารสถานที่)
  • ส่วนที่ 4 เป็นที่ตั้งของ คณะมนุษยศาสตร์ 1 และ 2, คณะวิทยาศาสตร์, อาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์, อาคารคีรีมาศ (อาคารปฏิบัติการคณะวิทยาศาสตร์), โรงอาหาร, คณะวิศวกรรมศาสตร์, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม, อาคารเรียนศรีจุฬาลักษณ์ (ของคณะมนุษยศาสตร์), อาคารเรียนพิริยราม (คณะศึกษาศาสตร์ และปริญญาโทโครงการพิเศษ), อาคารของภาควิชาสถิติ, โรงยิม 1
  • ส่วนที่ 5 เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, สระน้ำ, พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข
  • ส่วนที่ 6 เป็นที่ตั้งของ กองงานวิทยาเขตบางนา จัดการเรียนการสอนของ นักศึกษาชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และปริญญาโท ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ธนาคารออมสินสาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา)
  • ส่วนที่ 7 อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ คณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด 23 แห่ง จัดการเรียนการสอนปริญญาตรี, โท (บางคณะ) และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากล หลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่างๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่างๆ ที่มีผู้สมัครเรียน ประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

  • พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นจุดเด่นของพระราชวัง ซึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีพระที่นั่งจำลององค์นี้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวรามคำแหงภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
  • เรือสุพรรณหงส์จำลอง อยู่กลางสระน้ำภายในเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ซึ่งมีความสวยงามโดดเด่น
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้กลางมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “ลานพ่อขุน” ที่นี่ จึงเป็นจุดรวมใจของชาวรามคำแหงทั้งมวล

ชาวรามคำแหงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประจำทุกปี

  • ศาลาไทยประยุกต์ อยู่หน้าอาคารสุโขทัย เป็นศาลาประยุกต์ กลางน้ำ จัดเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานร่วมสมัย
  • หอนาฬิกา จัดเป็นหอนาฬิกาขนาดใหญ่ มีความสูงเท่ากับตึก 4 ชั้น หน้าปัด เป็นสถาปัตยกรรมศิลาจารึก เป็นกระจกสีฟ้า เดินเวลาแบบดิจิตอล
  • หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นอาคารแบบประยุกต์ 2 ชั้น โดยด้านหน้ามีหลังคาเป็นศิลาจารึก โดยภายในอาคารมีห้องรับรองไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

วิชาการ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ, คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะ คือ คณะวิทยาศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรม ศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้ เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่นๆ ในบางรายวิชา

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 2,600 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชาจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 256 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 111 หลักสูตร, ประกาศนียบัตรบัณฑิต 8 หลักสูตร, ปริญญา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา, ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา, ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับ, ปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รวมทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก, หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ และเปิดคณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, คณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

นอกจากนี้ ยังมีหลายหน่วยงานที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา อาทิ สถาบันภาษา, กองกิจการนักศึกษา เป็นต้น อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยยังมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีกด้วย อันได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันภาษา

กลุ่มบัณฑิตศึกษา

อธิการบดี

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1)
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (วาระที่ 2)
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 3)

[1]
[2]
[3]
2. ศาสตราจารย์ กำธร พันธุลาภ

2 กันยายน พ.ศ. 2517 - 1 กันยายน พ.ศ. 2519 (วาระที่ 1)
21 กันยายน พ.ศ. 2519 - 20 กันยายน พ.ศ. 2521 (วาระที่ 2)

[4]
[5]

3. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร

3 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525

[6]

4. รองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล

15 มกราคม พ.ศ. 2526 - 14 มกราคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 1)
15 เมษายน พ.ศ. 2528 - 14 เมษายน พ.ศ. 2530 (วาระที่ 2)

[7]
[8]
5. ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์

13 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2532

[9]

6. รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิรินิล

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1)
20 กันยายน พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537 (วาระที่ 2)

[10]
[11]

7. รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ แสงสุข

13 มกราคม พ.ศ. 2537 - 12 มกราคม พ.ศ. 2539 (วาระที่ 1)
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (วาระที่ 2)
20 สิงหาคม พ.ศ. 2541 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 (วาระที่ 3)
16 มกราคม พ.ศ. 2546 - 16 มกราคม พ.ศ. 2550 (วาระที่ 4)

[12]
[13]
[14]
[15]

8. รองศาสตราจารย์ คิม ไชยแสนสุข

18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[16]

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (วาระที่ 1)
3 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 (วาระที่ 2)

[17]
[18]

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยรามคำแหง อยู่ในอันดับที่ 3128 ของโลก และอันดับที่ 26 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[6]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ระเบียบการรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีส่วนกลาง ปีการศึกษา 2563

ระเบียบการรับสมัครนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2563

13°45′19″N 100°37′13″E / 13.755236°N 100.620142°E / 13.755236; 100.620142