ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุญแจย่อยของซาโลมอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''กุญแจย่อยของซาโลมอน''' ({{lang-en|Lesser Key of Solomon}}) หรือ '''คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส''' (Clavicula Salomonis) (''คลาวิส ซาโลมอนิส'' หรือ ''กุญแจของซาโลมอน'' เป็นหนังสือที่มีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันที่มีมาก่อนหน้า) เป็น[[กริมัวร์|ตำราเวท]]ซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดใน[[ปิศาจวิทยา]]<ref name="Peterson-intro">Lemegeton Clavicula Salomonis: The Lesser Key of Solomon, Detailing the Ceremonial Art of Commanding Spirits Both Good and Evil; ed. Joseph H. Peterson; Weiser Books, Maine; 2001. p.''xi''-''xvii''</ref><ref name="Rudd-Goetia-399">The Goetia of Dr Rudd; Thomas Rudd, Ed. Stephen Skinner & David Rankine; 2007, Golden Hoard Press. p. 399.</ref> รวมถึงยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอีกชื่อคือ '''เลเมเกทัน''' (Lemegeton)
'''กุญแจย่อยของซาโลมอน''' ({{lang-en|Lesser Key of Solomon}}) หรือ '''คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส''' (Clavicula Salomonis) (''คลาวิคูลา ซาโลมอนิส'' หรือ ''กุญแจของซาโลมอน'' เป็นหนังสือที่มีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันที่มีมาก่อนหน้า) เป็น[[กริมัวร์|ตำราเวท]]ซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดใน[[ปิศาจวิทยา]]<ref name="Peterson-intro">Lemegeton Clavicula Salomonis: The Lesser Key of Solomon, Detailing the Ceremonial Art of Commanding Spirits Both Good and Evil; ed. Joseph H. Peterson; Weiser Books, Maine; 2001. p.''xi''-''xvii''</ref><ref name="Rudd-Goetia-399">The Goetia of Dr Rudd; Thomas Rudd, Ed. Stephen Skinner & David Rankine; 2007, Golden Hoard Press. p. 399.</ref> รวมถึงยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอีกชื่อคือ '''เลเมเกทัน''' (Lemegeton)


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:39, 9 กันยายน 2563

กุญแจย่อยของซาโลมอน (อังกฤษ: Lesser Key of Solomon) หรือ คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส (Clavicula Salomonis) (คลาวิคูลา ซาโลมอนิส หรือ กุญแจของซาโลมอน เป็นหนังสือที่มีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันที่มีมาก่อนหน้า) เป็นตำราเวทซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดในปิศาจวิทยา[1][2] รวมถึงยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอีกชื่อคือ เลเมเกทัน (Lemegeton)

ประวัติ

กุญแจย่อยของซาโลมอนปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่เนื้อหาภายในนั้นส่วนใหญ่เคยปรากฏในข้อเขียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น ซูโดโมนาร์เชีย แดโมนัม ของโยฮัน เวเยอร์ และตำราเวทในยุคกลางเล่มอื่นๆ บางส่วนของเนื้อหาเช่นการเรียกปิศาจนั้นมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14

ในหนังสืออ้างว่าประพันธ์โดยซาโลมอน แต่ค่อนข้างเชื่อได้ว่าเป็นความเท็จเนื่องจากยศที่ใช้กับปิศาจ เช่น มาร์ควิส หรือ เอิร์ล นั้นยังไม่ปรากฏในสมัยของซาโลมอน นอกจากนั้นยังมีคำสวดถึงพระเยซูและพระตรีเอกานุภาพปรากฏในหนังสือด้วย

กุญแจย่อยของซาโลมอนมีรายละเอียดของภูตและการอัญเชิญเพื่อใช้งาน ซึ่งรายละเอียดนี้รวมถึงตราพิทักษ์และพิธีกรรมซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการควบคุมและป้องกันตัวจากภูต ในตำราที่พบเดิมนั้นรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในหลายๆฉบับ[3]

เนื้อหา

กุญแจย่อยของซาโลมอนนั้นแบ่งเป็น 5 บท

อาร์สโกเอเทีย

ศาสตร์แห่งโกเอเทีย กล่าวถึงปิศาจ 72 ตนที่กล่าวว่าซาโลมอนเคยเรียกขึ้นมาใช้งานโดยขังไว้ในภาชนะทองเหลืองที่ผนึกด้วยตราเวท อาร์สโกเอเทียบรรยายถึงการสร้างภาชนะแบบเดียวกันและใช้เวทมนตร์เรียกปิศาจ โดยระบุถึงยศของปิศาจแต่ละตนในนรกและดวงตราผนึกที่ใช้ควบคุม

ในค.ศ. 1904 แซมมวล แมเธอร์ส และ อเลสเตอร์ โครลีย์ ได้แปลและเรียบเรียงอาร์สโกเอเทียเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อว่า เดอะ โกเอเทีย : กุญแจย่อยของกษัตริย์ซาโลมอน (คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส เรจิส) (The Goetia: The Lesser Key of Solomon the King (Clavicula Salomonis Regis)) ซึ่งเป็นตำราสำคัญในระบบเวทมนตร์ของโครลีย์[4]

ปิศาจ 72 ตน

บูเออร์ ปิศาจตนที่10

1. ราชา บาเอล
2. ดยุก อากาเรส
3. เจ้า วาสซาโก
4. มาร์ควิส ซามิกินา
5. ประมุข มาร์บัส
6. ดยุก วาเลฟอร์
7. ดยุก อามอน
8. ดยุก บาร์บาทอส
9. ราชา ไพมอน
10. ประมุข บูเออร์
11. ดยุก กูเซียน
12. เจ้า ซิทริ
13. ราชา เบเลธ
14. มาร์ควิส เลราเจ
15. ดยุก เอลิกอส
16. ดยุก เซพาร์
17. เคานต์/ประมุข บอทิส
18. ดยุก บาธิน
19. ดยุก ซัลลอส
20. ราชา พูรซอน
21. เคานต์/ประมุข มาแรกซ์
22. เคานต์/เจ้า อิพอส
23. ดยุก ไอม์
24. มาร์ควิส นาเบเรียส

25. เคานต์/ประมุข กลาเซีย ลาโบลัส
26. ดยุก บูเน
27. มาร์ควิส/เคานต์ โรโนเว
28. ดยุก เบริธ
29. ดยุก แอสทารอธ
30. มาร์ควิส ฟอร์เนียส
31. ประมุข ฟอราส
32. ราชา อัสโมดาย
33. เจ้า/ประมุข กาป
34. เคานต์ ฟูรฟูร
35. มาร์ควิส มาร์โชซิอัส
36. เจ้า สโทราส
37. มาร์ควิส เฟเนกซ์
38. เคานต์ ฮัลฟาส
39. ประมุข มาลฟาส
40. เคานต์ ราอุม
41. ดยุก ฟอคาลอร์
42. ดยุก เวพาร์
43. มาร์ควิส แซบนอค
44. มาร์ควิส แชกซ์
45. ราชา/เคานต์ วิเนอาร์
46. เคานต์ บิฟรอนส์
47. ดยุก วูแอล
48. ประมุข ฮาเกนทิ

49. ดยุก ครอเคล
50. อัศวิน ฟูรแคส
51. ราชา บาลัม
52. ดยุก อัลโลเซส
53. ประมุข ไคม์
54. ดยุก/เคานต์ มูรมูร
55. เจ้า โอโรบัส
56. ดยุก เกรโมรี
57. ประมุข โอเซ
58. ประมุข อามี
59. มาร์ควิส โอริอัส
60. ดยุก วาพูลา
61. ราชา/ประมุข ซากาล
62. ประมุข วาลัค
63. มาร์ควิส แอนดราส
64. ดยุก ฟาวรอส
65. มาร์ควิส แอนเดรียฟัส
66. มาร์ควิส คิมาลิส
67. ดยุก แอมดูเซียส
68. ราชา เบเลียล
69. มาร์ควิส เดคาราเบีย
70. เจ้า ซีเร
71. ดยุก ดันทาเลียน
72. เคานต์ อันโดรมาเลียส

อาร์สทิวร์เกียโกเอเทีย

เป็นบทที่สอง อธิบายถึงชื่อ ลักษณะ และผนึกของภูตอากาศ 31 ตน (แต่ละตนมียศเป็น หัวหน้า, จักรพรรดิ, ราชา และ เจ้าชาย) ซึ่งซาโลมอนเคยเรียกและควบคุม วิธีการป้องกันตัวจากภูติ ชื่อของภูติรับใช้ พิธีอัญเชิญและใช้งาน ภูติเหล่านี้มีทั้งดีและเลว ภูติเหล่านี้สามารถใช้ค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ เปิดเผยความลับของบุคคล และขนย้ายวัตถุใดๆได้ตราบที่ถูกควบคุมไว้ด้วยธาตุทั้งสี่ ภูติเหล่านี้ถูกระบุถึงด้วยลำดับที่ซับซ้อนในหนังสือ[5]

อาร์สพอลลินา

ศาสตร์แห่งพอลเป็นบทที่สาม ซึ่งในตำนานนั้นเป็นศาสตร์ที่นักบุญพอลเป็นผู้ค้นพบ แต่ในหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเป็น "ศาสตร์พอลไลน์ของซาโลมอน " ศาสตร์แห่งพอลนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยกลาง ในหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็นสองบทย่อย

โดยบทแรกนั้นอธิบายถึงเทวทูตในช่วงเวลาต่างๆของวันและคืน ซึ่งรวมถึงรายละเอียดเรื่องผนึก พฤติกรรม ผู้รับใช้ (เรียกว่าดุ๊ค) ความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดที่รู้จักในขณะนั้น ตำแหน่งของดวงดาวที่เหมาะสม รายชื่อ และวิธีการอัญเชิญเทวทูตเหล่านั้น

ส่วนบทย่อยที่สองกล่าวถึงเทวทูตผู้ปกครองจักรราศี ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ความสัมพันธ์กับธาตุทั้งสี่ ชื่อ และผนึก เทวทูตเหล่านี้เรียกว่าเทวทูตแห่งมนุษย์ เพราะมนุษย์ทั้งมวลล้วนแต่เกิดภายใต้จักรราศีทั้งสิบสอง[6]

อาร์สอัลมาเดล

ศาสตร์แห่งอัลมาเดล เป็นบทที่สี่ ว่าด้วยการทำ อัลมาเดล ซึ่งเป็นแผ่นขี้ผึ้งที่มีตราพิทักษ์เขียนไว้และตั้งเทียนไขไว้สี่เล่ม บทนี้กล่าวถึงการเลือกสี วัสดุ และพิธีกรรมที่ใช้ในการทำอัลมาเดลและเทียนไข อาร์สอัลมาเดลยังกล่าวถึงเทวทูตที่จะเรียกมาพร้อมอธิบายวิธีอัญเชิญ ทั้งยังระบุว่าผู้อัญเชิญสามารถขอให้เทวทูตช่วยได้แต่สิ่งที่สมเหตุผลและเป็นธรรมเท่านั้น บทนี้ยังระบุเรื่องผู้ปกครองทั้งสิบสองของเทวทูต นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดของวันและตำแหน่งของดวงดาวที่เหมาะสมกับการอัญเชิญแต่ก็ไม่ยาวนัก[7][8]

อาร์สนอทอเรีย

ศาสตร์อันโดดเด่นเป็นบทที่ห้า เป็นตำราเวทซึ่งรู้จักกันตั้งแต่สมัยกลาง หนังสือเล่มนี้อ้างว่าศาสตร์นี้พระเจ้าได้เผยให้แก่ซาโลมอนผ่านเทวทูต บทนี้รวบรวมมนตร์ต่างๆผสมด้วยแคบบาลาห์และเวทมนตร์ในภาษาต่างๆ วิธีการสวดมนต์เหล่านี้ และความสัมพันธ์ของพิธีกรรมเหล่านี้กับการเข้าใจศาสตร์ต่างๆ ในบทนี้ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของดวงจันทร์กับผู้สวดมนต์และระบุว่ามนตร์เหล่านี้เป็นการเรียกเทวทูต อาร์สนอทอเรียอ้างว่าเมื่อสวดมนต์เหล่านี้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เข้าใจศาสตร์แขนงที่สัมพันธ์กันและยังทำให้จิตใจมั่นคง ความทรงจำดี[9][10]

ในบทนี้ยังกล่าวถึงการที่ซาโลมอนได้รับวิวรณ์จากเทวทูตอีกด้วย

รุ่น

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. Lemegeton Clavicula Salomonis: The Lesser Key of Solomon, Detailing the Ceremonial Art of Commanding Spirits Both Good and Evil; ed. Joseph H. Peterson; Weiser Books, Maine; 2001. p.xi-xvii
  2. The Goetia of Dr Rudd; Thomas Rudd, Ed. Stephen Skinner & David Rankine; 2007, Golden Hoard Press. p. 399.
  3. บทความเรื่อง สัตว์ในเทพนิยายและตำนาน ตอนที่ 136 : Lesser Key of Solomon จากเว็บไซต์ dek-d.com สืบค้นวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  4. บทความเรื่อง สัตว์ในเทพนิยายและตำนาน ตอนที่ 137 : Ars Goetia จากเว็บไซต์ dek-d.com สืบค้นวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  5. Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.53-57
  6. Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.57-59
  7. Peterson, p. xvi
  8. Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.59-60
  9. Peterson, p. xvii
  10. Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.60-63.