ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเรียนพลังกิฟต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 76: บรรทัด 76:
:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) สองพี่น้องฝาแฝด มีศักยภาพในด้านการเชื่อมโยงกันระหว่างทั้ง 2 คน เช่น หากคนใดคนหนึ่งถูกท้าร้าย (เช่น ถูกเคาะหัวเข่า หรือบีบคอ) อีกคนจะรู้สึกเจ็บไปด้วยแม้จะไม่ได้ถูกทำร้ายโดยตรง
:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) สองพี่น้องฝาแฝด มีศักยภาพในด้านการเชื่อมโยงกันระหว่างทั้ง 2 คน เช่น หากคนใดคนหนึ่งถูกท้าร้าย (เช่น ถูกเคาะหัวเข่า หรือบีบคอ) อีกคนจะรู้สึกเจ็บไปด้วยแม้จะไม่ได้ถูกทำร้ายโดยตรง
;ธาม ธำรงสวัสดิ์ (ธาม)
;ธาม ธำรงสวัสดิ์ (ธาม)
:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนใหม่ในปีการศึกษา 2563 ที่สอบเข้าโรงเรียนฤทธาวิทยาคมมาได้ด้วยคะแนนอันดับ 1 ของรุ่น มีความฝันว่าอยากจะเข้าห้องกิฟต์ให้ได้ แต่เมื่อรู้ว่าห้องกิฟต์ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ธามก็ได้ร่วมมือกับเกรซและเพื่อนๆของเขาในการปลุกระดมนักเรียนเพื่อเรียกร้องให้นำห้องกิฟต์กลับมา
:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนใหม่ที่สอบเข้าโรงเรียนฤทธาวิทยาคมมาได้ด้วยคะแนนอันดับ 1 ของรุ่น มีความฝันว่าอยากจะเข้าห้องกิฟต์ให้ได้ แต่เมื่อรู้ว่าห้องกิฟต์ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ธามก็ได้ร่วมมือกับเกรซและเพื่อนๆของเขาในการปลุกระดมนักเรียนเพื่อเรียกร้องให้นำห้องกิฟต์กลับมา
;เติร์ด
;เติร์ด
:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หนึ่งในสมาชิกทีมสารวัตรนักเรียนของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีนิสัยจริงจัง ดุดัน เข้มงวด และชอบเอาชนะ
:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หนึ่งในสมาชิกทีมสารวัตรนักเรียนของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีนิสัยจริงจัง ดุดัน เข้มงวด และชอบเอาชนะ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:06, 7 กันยายน 2563

นักเรียนพลังกิฟต์
ประเภทละครชุด (ซีรีส์)
สร้างโดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
จีเอ็มเอ็มทีวี
ภาพดีทวีสุข
เค้าโครงจากThe Gifted (พ.ศ. 2558) และ
The Gifted ภารกิจลับ นักเรียนพลังกิฟต์
โดย SandOtnim (ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์)
กำกับโดยปัฏฐา ทองปาน
ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์
วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์
จารุพัฒน์ กันนุลา
แสดงนำกรภัทร์ เกิดพันธุ์
วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดหลุดพ้น - คิว สุวีระ บุญรอด
ดนตรีแก่นเรื่องปิดไม่มีคำสัญญา - ชาติ สุชาติ แซ่แห้ง
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
จำนวนฤดูกาล2
จำนวนตอน13 ตอน (ฤดูกาลที่ 1)
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตสถาพร พานิชรักษาพงศ์
ดารกา เชยสงวน
ณัฐพงษ์ มงคลสวัสดิ์
ผู้อำนวยการสร้างอารียา ชีวีวัฒน์
ภุชงค์ ตันติสังวรากูร
ปัฏฐา ทองปาน
วรวลัญช์ โกจิ๋ว
กำธร ล้อจิตรอำนวย
สถานที่ถ่ายทำโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต
โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้กำกับภาพวงศ์วัฒนะ​ ชุณหวุฒิยานนท์
ผู้ลำดับภาพภาพดีทวีสุข
สวัสดีทวีสุข
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องวัน (ฤดูกาลที่ 1) จีเอ็มเอ็ม 25 (ฤดูกาลที่ 2), ไลน์ทีวี (ฤดูกาลที่ 1-2)
ออกอากาศ5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ เป็นละครชุด (ซีรีส์) แนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์ระทึกขวัญ มีเค้าโครงมาจากภาพยนตร์สั้น The Gifted (พ.ศ. 2558) และนิยาย The Gifted ภารกิจลับ นักเรียนพลังกิฟต์ ของ SandOtnim (ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์)[1] ผลิตโดยจีเอ็มเอ็มทีวี และภาพดีทวีสุข กำกับการแสดงโดย ปัฏฐา ทองปาน, ธรรมรงค์ เสริมฤทธิรงค์, วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์ และ จารุพัฒน์ กันนุลา มีเนื้อหาทั้งหมด 2 ฤดูกาล โดยฤดูกาลแรกใช้ชื่อว่า The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และ ฤดูกาลที่ 2 ในชื่อ The Gifted Graduation ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563

เรื่องย่อ

ฤดูกาลที่ 1 "The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์" (พ.ศ. 2561)

ฤทธาวิทยาคม โรงเรียนที่ไม่ได้มีแต่เด็กเก่ง แต่ที่นี่ยังมี "ห้องกิฟต์" ห้องเรียนพิเศษที่มีเด็กเพียงหยิบมือเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้เรียนในห้องนี้ เด็กที่ "พิเศษ" มากกว่าใคร ๆ

แต่แล้ว แปง เด็ก ม.4 ห่วย ๆ ห้องบ๊วยกลับสอบติดห้องกิฟต์โดยไม่ทราบสาเหตุ การเข้าเรียนห้องกิฟต์ของเขาเต็มไปด้วยความสับสน พร้อม ๆ กับเพื่อนใหม่ในคลาสที่เริ่มรู้สึกว่าการสอนในห้องนี้มีบางอย่างแปลก ๆ และในที่สุดพวกเขาก็ได้รู้ว่า ห้องกิฟต์ห้องนี้กำลังจะปลุก "ศักยภาพ" บางอย่างในตัวพวกเขาให้ตื่นขึ้น

เมื่อชีวิตของพวกเขากำลังจะเปลี่ยนไป เมื่อพรสวรรค์สามารถเติมเต็มทุกความฝันของพวกเขา แต่มันก็มาพร้อมกับปัญหามากมาย และที่สำคัญความพิเศษเหล่านี้กำลังจะนำพาพวกเขาไปสู่ความลับบางอย่าง ที่โรงเรียนนี้พยายามซ่อนอยู่

ตัวละคร

ตัวละครหลัก

ปวเรศ เสริมฤทธิรงค์ (แปง)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 8 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) ที่อยากจะเข้าห้องกิฟต์ และได้เข้าในที่สุดแม้จะไม่เข้าใจในตอนแรกว่าทำไมเขาถึงได้เข้าห้องกิฟต์ทั้งๆที่เขาเป็นแค่นักเรียนห้อง 8 ในตอนแรกยังไม่ค้นพบศักยภาพของตนเองจนกระทั่งมีการเปิดเผยในช่วงหลังว่าศักยภาพของแปงคือสามารถสะกดใจคนให้ทำตามที่ตนสั่งได้ โดยมีข้อจำกัดว่าแปงจะต้องแตะถูกจุดชีพจรของฝ่ายตรงข้ามจึงจะใช้ศักยภาพได้ ไม่พอใจในระบบห้องกิฟต์เพราะแปงเห็นว่าเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความไม่เท่าเทียมและเอาเปรียบกันในโรงเรียน จึงคิดวางแผนเปิดโปงความลับของผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมีเวฟเป็นคู่หูร่วมกันวางแผน
วสุธร วรโชติเมธี (เวฟ)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) เป็นนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นเดียวกับแปงคนแรกที่ค้นพบศักยภาพของตัวเอง คือสามารถแฮ็กข้อมูลและควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิคส์ต่างๆได้เพียงแค่สัมผัสไปที่อุปกรณ์นั้นๆ เดิมเป็นเด็กที่ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว แต่ด้วยเหตุการณ์กับนาราเมื่อสมัยมัธยมต้นทำให้เวฟกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะ ชอบดูถูกคนอื่น และไม่เชื่อใจใครง่ายๆ เคยเป็นหัวหน้าห้องกิฟต์แทนปุณณ์ และพยายามจะเผยความลับของห้องกิฟต์หลังจากที่ได้อันดับรองในการสอบกลางภาคห้องกิฟต์แต่ไม่สำเร็จ ในตอนแรกไม่ถูกกับแปงแต่ในภายหลังแปงใช้ความจริงใจเข้าหาเวฟจนทำให้เวฟยอมเปิดใจให้และร่วมมือกันวางแผนเปิดโปงผู้อำนวยการโรงเรียน
ชญานิศ ปราชญ์คริษฐ์ (น้ำตาล)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 เป็นหนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแปงผู้เปรียบเสมือนมันสมองของกลุ่ม มีศักยภาพในการมองเห็นอดีตได้ผ่านการสัมผัสสิ่งของต่างๆ แต่มีโรคประจำตัวคือโรคความดันต่ำซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการใช้พลัง
ไอริน จรัสพรรณ (แคลร์)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) สมาชิกชมรมการแสดงละคร เดิมมีชื่อเล่นว่าเม็ดฝ้าย[2] มีศักยภาพในการมองเห็นความรู้สึกและอารมณ์ของคนอื่นได้ผ่านการกะพริบตาแล้วเพ่งสมาธิไปที่คนๆนั้น โดยความรู้สึกและอารมณ์ที่จับได้จะปรากฏในรูปแบบสีต่างๆ เช่น สีน้ำเงินจากอารมณ์เศร้า, สีเขียวจากความอิจฉาริษยา, สีชมพูจากความรัก, สีม่วงจากความกลัว, สีแดงจากความโกรธ แต่ถ้าหากใช้ศักยภาพมากๆจะมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการแสบตา เป็นคู่รักของปุณณ์ ในช่วงแรกมักจะมองดูถูกคนอื่นทั้งเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนร่วมชมรม แต่ในเหตุการณ์ปล่อยรูปหลุดทำให้เริ่มปรับความเข้าใจกันได้
ปุณณ์ ทวีศิลป์ (ปุณณ์)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) มีศักยภาพในการลอกเลียนแบบความสามารถของคนอื่นๆ ได้เพียงแค่จ้องมองไปที่คนๆ นั้น และสามารถเลียนแบบได้เป็นอย่างดีแต่ประสิทธิภาพจะไม่เทียบเท่ากับเจ้าของความสามารถ แต่การคัดลอกความสามารถทำให้เกิดมีตัวตนบุคลิกมากกว่าหนึ่งแบบทั้ง บุคลิกผู้นำ, บุคลิกหวาดกลัว, บุคลิกความโกรธ และ บุตลิกด้านมืด และด้วยการมีบุคลิกหลากรูปแบบทำให้เกิดการคุยกันภายในจิตใจ เคยเป็นหัวหน้าห้องคลาสกิฟต์แต่ต้องถอนตัวออกเนื่องจากผลกระทบจากศักย์กายภาพที่ได้ เป็นคู่รักของแคลร์
วิชัย ทรายเงิน (โอม)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) หนึ่งในกลุ่มเพื่อนสนิทของแปง มีศักยภาพในการทำให้สิ่งของต่างๆ หรือสิ่งมีชีวิต หายไปได้ และในภายหลังพัฒนาศักยภาพทำให้ตัวเองสามารถล่องหนได้ แต่หากโอมใช้ศักยภาพมากๆจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเลือดกำเดาไหล มีนิสัยติดตลกและดูเหมือนไม่จริงจังกับอะไร
ธนากร กอบกุล (กร)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นักเรียนในห้องกิฟต์ เป็นเพื่อนของแคลร์ในตอนเด็ก และเคยแอบชอบแคลร์ มีศักยภาพที่สามารถฟื้นฟูและรักษาร่างกายตัวเองได้ในระดับเซลล์ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็นต้องนอนหลับหรือพักผ่อน แต่กรมองว่าศักยกายภาพดังกล่าวแทบไม่ค่อยมีประโยชน์มากเท่าใดนัก จึงคิดจะถอนตัวออกมาจากห้องกิฟต์
พัชมณ ปิติวงกรณ์ (มณ)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) สมาชิกชมรมศิลปะป้องกันตัว มีศักยภาพในด้านพละกำลังที่มากกว่ามนุษย์ทั่วไป แต่มีผลข้างเคียงที่สารฟีโรโมนจากของที่หลั่งจากร่างกายทั้งเหงื่อ, น้ำตา, เลือด จะทำให้ผู้ถูกสารดังกล่าวเกิดอาการคลุ้มคลั่ง และด้วยมีพลังดังกล่าวทำให้เกิดไม่มีความมั่นใจต่อการอยู่ชมรมเพราะเพื่อนชมรมถูกสารฟีโรโมนจากเหงื่อของมณ จนมณกลายเป็นคนที่ถูกเพื่อนในชมรมเกลียด
ชนุตม์ แซ่หลิว (แจ็ค) และ ชเนศ แซ่หลิว (โจ)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ในฤดูกาลที่ 2 อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) สองพี่น้องฝาแฝด มีศักยภาพในด้านการเชื่อมโยงกันระหว่างทั้ง 2 คน เช่น หากคนใดคนหนึ่งถูกท้าร้าย (เช่น ถูกเคาะหัวเข่า หรือบีบคอ) อีกคนจะรู้สึกเจ็บไปด้วยแม้จะไม่ได้ถูกทำร้ายโดยตรง
ธาม ธำรงสวัสดิ์ (ธาม)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนใหม่ที่สอบเข้าโรงเรียนฤทธาวิทยาคมมาได้ด้วยคะแนนอันดับ 1 ของรุ่น มีความฝันว่าอยากจะเข้าห้องกิฟต์ให้ได้ แต่เมื่อรู้ว่าห้องกิฟต์ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ธามก็ได้ร่วมมือกับเกรซและเพื่อนๆของเขาในการปลุกระดมนักเรียนเพื่อเรียกร้องให้นำห้องกิฟต์กลับมา
เติร์ด
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หนึ่งในสมาชิกทีมสารวัตรนักเรียนของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีนิสัยจริงจัง ดุดัน เข้มงวด และชอบเอาชนะ
เกรซ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 นักเรียนหญิงรุ่นเดียวกับครามที่มีบุคลิกลักษณะลึกลับ เจ้าความคิด และเป็นนักวางแผน

นักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ปรมะ วงศ์รัตนะ (ครูปอม)
ครูที่ปรึกษาของห้องกิฟต์ เคยเป็นนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นที่ 3 มีศักยภาพในการควบคุมคลื่นสมองและเปลี่ยนแปลงความทรงจำได้เพียงแค่ดีดนิ้ว แต่ต้องใช้เมโทรโนมหรือจังหวะเสียงสองจังหวะในการใช้พลัง
ลัดดา งามกุล (ครูลัดดา)
ครูหัวหน้าฝ่ายปกครองของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม เป็นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการมีห้องกิฟต์
สุพจน์ เชื้อมณี
ผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธาวิทยาคม มีศักยภาพเดียวกับแปง คือ สามารถสะกดใจคนอื่นให้ทำตามที่ตัวเองต้องการได้ แต่มีความได้เปรียบตรงที่สุพจน์สามารถใช้ศักยภาพนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแตะตัวอีกฝ่าย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของปริศนาลึกลับในโรงเรียนและการมีอยู่ของห้องกิฟต์
ดาริน วัฒนศิลป์ (ครูดาริน)
ครูฝ่ายวิชาการคนใหม่ของโรงเรียนฤทธาวิทยาคม เข้าทำงานในปีการศึกษา 2563 ถูกส่งตัวมาโดยกระทรวงศึกษาและพัฒนามนุษย์เพื่อทำภารกิจบางอย่างที่เกี่ยวกับ ผอ.สุพจน์ และห้องกิฟต์
ปกรณ์ มีโชค (แน็ก)
เพื่อนสนิทและอดีตเพื่อนร่วมห้องของแปง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องที่ 1 อยู่ชมรมศิลปะป้องกันตัว เป็นผู้ที่สนใจที่จะเข้าห้องกิฟต์เช่นเดียวกับแปงแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก และด้วยการไม่ได้ถูกเลือกห้องกิฟต์ทำให้แน็กเริ่มผิดใจกับแปงมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้แน็กเริ่มคิดไปเองว่าแปงไม่สนใจและพยายามจะเอาเปรียบเอาชนะตน อย่างไรก็ตามแน็กได้ถูกลบความทรงจำหลังจากเหตุการณ์ที่แปงใช้พลังที่มีอยู่ควบคุมไว้ โดยไม่มีความหมาดหมางกัน
รวินท์ บุญรัก (ก้อย)
นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องที่ 3 ชมรมข่าวสื่อสาร เป็นผู้พยายามจะเปิดโปงนักเรียนห้องกิฟต์ โดยใช้กรเป็นเครื่องมือ แต่ไม่สำเร็จทำให้ถูกครูลัดดาสั่งพักการเรียน
มะม่วง
นักเรียนหญิงอยู่ชมรมนักข่าว ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวของโรงเรียน
โฟล์ค
ปรากฏตัวในตอนที่ 2 อดีตเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนสนิทของโอม ชอบเอาเปรียบโอมประจำจนจำใจเป็นเพื่อนสนิทไป เป็นผู้ที่ถูกโอมใช้พลังที่ทำให้หายตัวไป แต่หลังจากที่กลับมาได้ ก็ถูกลบความทรงจำหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น
แป้งร่ำ
ปรากฏตัวในตอนที่ 4 นักเรียนหญิงที่อยู่ชมรมการละครเช่นเดียวกับแคลร์ เป็นผู้ที่ปล่อยคลิปและพยายามกลั่นแกล้งแคลร์ เพราะแค้นที่แคลร์พยายามตัดขาตน

ตัวละครอื่นๆ

ชานนท์ ทวีพงศ์ (นนท์)
ปรากฏตัวตั้งแต่ตอนที่ 3 อดีตนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นที่ 3 อยู่ชมรมวิทยาศาสตร์และอวกาศ เป็นเพื่อนสนิทสมัยเรียนของครูปอม แต่ถูกขับออกจากห้องกิฟต์และออกจากโรงเรียนในภายหลังเนื่องจากไปพบความลับของห้องกิฟต์และผอ.สุพจน์เข้าและพยายามจะเปิดโปงความลับ โดยครูปอมจำเป็นต้องลบความทรงจำของนนท์ไป และข้อมูลของนนท์ในหนังสือทะเบียนนักเรียนห้องกิฟต์ถูกฉีกออก โดยไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ไหนหลังจากออกจากโรงเรียน
นิชา กันนุลา
อดีตนักเรียนห้องกิฟต์รุ่นแรก ผู้มีศักยกายภาพในด้านต่อต้านสารพิษต่างๆ เกือบทุกชนิด
วิภาวี สุวรรณปาน
เพื่อนสนิทของนิชา เป็นผู้ร่วมทำรายงานกับนิชา แต่ถูกเพื่อนในห้องกลั่นแกล้งและถูกใส่ร้ายว่าเป็นปลิงพยายามเกาะนิชาที่เป็นนักเรียนห้องกิฟต์จนเกิดความแค้นขึ้นมา โดยได้วางแผนที่จะสังหารนิชาด้วยการเอายาพิษใส่ลงในเหรียญทอง และพยายามสังหารนักเรียนทั้งหมดด้วยใช้วิธีการวางยาพิษใส่แท็งค์น้ำในโรงเรียน แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากครูลัดดาได้พบเห็นตามข้อความรหัสมอร์สที่นิชาเคาะ เสียชีวิตจากการถูกนิชาพลักตกตึกตายและถูกปิดข่าวว่านักเรียนฆ่าตัวตาย และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้ทางโรงเรียนได้ปรับระเบียบกฏห้องเรียนในชั้นโดยแบ่งระดับห้องที่มีความเก่งจากมากไปหาน้อย
ชญานี ปราชญ์คริษฐ์
ปรากฏตัวในตอนที่ 3 เป็นแม่ของน้ำตาล
ศ.ดร.เปรมชัย ทวีศิลป์
พ่อของปุณณ์
นารา ทวีวัฒนกุล
ครูโรงเรียนเก่าของเวฟ สนใจเวฟที่มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงพยายามตีสนิทและให้เวฟมาช่วยตนร่วมกันพัฒนาผลงาน แต่ในภายหลังนาราได้ไปใส่ร้ายเวฟว่าขโมยผลงานวิทยานิพนธ์ของเธอ จึงถูกเวฟแก้แค้นด้วยการแฉว่าเธอซื้อใบปริญญามา ทำให้นาราถูกไล่ออกจากโรงเรียน และเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เวฟกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะคนอื่นและไม่เชื่อใจใคร

นักแสดง

นักแสดงหลัก

เฉพาะฤดูกาลที่ 1
เฉพาะฤดูกาลที่ 2

นักแสดงรับเชิญ

เฉพาะฤดูกาลที่ 1
เฉพาะฤดูกาลที่ 2

รางวัลและการเข้าชิง

ปี ผู้มอบรางวัล สาขาที่เข้าชิง ผู้ได้รับเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
2562 LINE TV AWARDS 2019[3] Best Fight Scene ฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ ชนะ
25th Shanghai Television Festival Magnolia Awards[4] Best Foreign TV Series / Serial
(ละครชุดสั้น/ยาวต่างประเทศยอดเยี่ยม)
The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10[5] กำกับภาพยอดเยี่ยม วงศ์วัฒนะ​ ชุณหวุฒิยานนท์ เสนอชื่อเข้าชิง
24th Asian Television Awards[6] Best Actor in a Leading Role
(นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม)
กรภัทร์ เกิดพันธุ์ เสนอชื่อเข้าชิง
Best Actor in a Supporting Role
(นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม)
อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ ชนะ[7]
Best Original Screenplay
(บทโทรทัศน์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม)
The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง

  1. "อีกไม่กี่วัน! จากหนังสั้นธีสิส สู่ซีรีส์ที่หลายคนรอคอย The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์". sudsapda.com. 23 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์ ตอนที่ 4
  3. ""จีเอ็มเอ็มทีวี" กวาด 4 รางวัล "LINE TV AWARDS 2019"". springnews.co.th. 13 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "Nominations for The 25th Shanghai TV Festival". stvf.com. 25 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ รางวัล นาฎราช ครั้งที่ 10". TrueID. 31 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "2019 Nominess - Asian Television Awards". asiantvawards.com. 25 ตุลาคม 2562.
  7. ""กันอรรถพันธ์" คว้ารางวัล "Best Actor in a Supporting Role"". newsplus.co.th. 13 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น