ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิบัตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
{{มุมมองสากล}}
[[ไฟล์:US Patent cover.jpg|thumb|สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา|alt=|326x326px]]
[[ไฟล์:US Patent cover.jpg|thumb|upright=1.2|สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา]]
'''สิทธิบัตร''' ({{lang-en|patent}}) เป็น[[ทรัพย์สินทางปัญญา]]รูปแบบหนึ่งที่ให้คุ้มครองการประดิษฐ์ ที่อาจมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิที่จะห้ามผู้อื่นผลิตและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์นั้นๆ จนกว่าสิทธิบัตรจะหมดอายุ ประเทศที่เป็นสมาชิก[[องค์การการค้าโลก]] จะต้องมีกฎหมายสิทธิบัตรตาม[[ความตกลงทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า]] (ความตกลงทริปส์) โดยสิทธิบัตรตามความตกลงนี้ จะต้องมีอายุความคุ้มครองอย่างน้อย 20 ปี ในหลักการกฎหมายแล้ว การประดิษฐ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรจะต้องมีลักษณะเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม และไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย<ref>Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, Article 27</ref>
'''สิทธิบัตร''' ({{lang-en|patent}}) เป็น[[ทรัพย์สินทางปัญญา]]รูปแบบหนึ่งที่ให้คุ้มครองการประดิษฐ์ ที่อาจมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิที่จะห้ามผู้อื่นผลิตและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์นั้นๆ จนกว่าสิทธิบัตรจะหมดอายุ ประเทศที่เป็นสมาชิก[[องค์การการค้าโลก]] จะต้องมีกฎหมายสิทธิบัตรตาม[[ความตกลงทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า]] (ความตกลงทริปส์) โดยสิทธิบัตรตามความตกลงนี้ จะต้องมีอายุความคุ้มครองอย่างน้อย 20 ปี ในหลักการกฎหมายแล้ว การประดิษฐ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรจะต้องมีลักษณะเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม และไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย<ref>Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, Article 27</ref>


บางประเทศยังมีทร้พย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองการประดิษฐ์เช่นเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขการได้รับที่เข้มงวดน้อยกว่าและอายุการคุ้มครองสั้นกว่า เรียกว่าอนุสิทธิบัตร ({{lang|en|petty patent}}) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ ({{lang|en|utility model}})<ref>{{cite book |author=World Intellectual Property Organization |date=2008 |title=WIPO intellectual property handbook: Policy, law and use |isbn=978-92-805-1291-5 |url=https://www.wipo.int/edocs/pubdocs/en/intproperty/489/wipo_pub_489.pdf |pages=17}}</ref><ref>{{cite book |last=Burk |first=Dan L. |date=2017 |title=Oxford Handbook of Intellectual Property Law |chapter=Patents and related rights: A global kaleidoscope |editor1-last= Dreyfuss |editor1-first=Rochelle |editor2-last=Pila |editor2-first=Justine |publisher=Oxford University Press |doi=10.1093/oxfordhb/9780198758457.013.22}}</ref> นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสิทธิบัตร อาจเรียกว่าสิทธิบัตรในกฎหมายบางประเทศ เช่น [[การคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรม]] ({{lang|en|industrial design}}) เรียกว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทย<ref>พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522</ref> หรือ {{lang|en|design patent}} ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น<ref>{{cite book |last=Beebe |first=Barton |date=2017 |title=Oxford Handbook of Intellectual Property Law |chapter=Design protection |editor1-last= Dreyfuss |editor1-first=Rochelle |editor2-last=Pila |editor2-first=Justine |publisher=Oxford University Press |doi=10.1093/oxfordhb/9780198758457.013.25}}</ref>
บางประเทศยังมีทร้พย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองการประดิษฐ์เช่นเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขการได้รับที่เข้มงวดน้อยกว่าและอายุการคุ้มครองสั้นกว่า เรียกว่าอนุสิทธิบัตร ({{lang|en|petty patent}}) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ ({{lang|en|utility model}})<ref>{{cite book |author=World Intellectual Property Organization |date=2008 |title=WIPO intellectual property handbook: Policy, law and use |isbn=978-92-805-1291-5 |url=https://www.wipo.int/edocs/pubdocs/en/intproperty/489/wipo_pub_489.pdf |pages=17}}</ref><ref>{{cite book |last=Burk |first=Dan L. |date=2017 |title=Oxford Handbook of Intellectual Property Law |chapter=Patents and related rights: A global kaleidoscope |editor1-last= Dreyfuss |editor1-first=Rochelle |editor2-last=Pila |editor2-first=Justine |publisher=Oxford University Press |doi=10.1093/oxfordhb/9780198758457.013.22}}</ref> นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสิทธิบัตร อาจเรียกว่าสิทธิบัตรในกฎหมายบางประเทศ เช่น [[การคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรม]] ({{lang|en|industrial design}}) เรียกว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทย<ref>พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522</ref> หรือ {{lang|en|design patent}} ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น<ref>{{cite book |last=Beebe |first=Barton |date=2017 |title=Oxford Handbook of Intellectual Property Law |chapter=Design protection |editor1-last= Dreyfuss |editor1-first=Rochelle |editor2-last=Pila |editor2-first=Justine |publisher=Oxford University Press |doi=10.1093/oxfordhb/9780198758457.013.25}}</ref>
บรรทัด 80: บรรทัด 80:
* http://www.lawonline.co.th/Document/AcharnPitikul9.doc
* http://www.lawonline.co.th/Document/AcharnPitikul9.doc
* http://www.toryod.com/
* http://www.toryod.com/
* [http://www.innovationsme.com/ http://www.pornhub.com/]
* http://www.innovationsme.com/


[[หมวดหมู่:กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา]]
[[หมวดหมู่:กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:28, 27 สิงหาคม 2563

สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา

สิทธิบัตร (อังกฤษ: patent) เป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่งที่ให้คุ้มครองการประดิษฐ์ ที่อาจมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิที่จะห้ามผู้อื่นผลิตและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์นั้นๆ จนกว่าสิทธิบัตรจะหมดอายุ ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จะต้องมีกฎหมายสิทธิบัตรตามความตกลงทางทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (ความตกลงทริปส์) โดยสิทธิบัตรตามความตกลงนี้ จะต้องมีอายุความคุ้มครองอย่างน้อย 20 ปี ในหลักการกฎหมายแล้ว การประดิษฐ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรจะต้องมีลักษณะเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม และไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย[1]

บางประเทศยังมีทร้พย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองการประดิษฐ์เช่นเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขการได้รับที่เข้มงวดน้อยกว่าและอายุการคุ้มครองสั้นกว่า เรียกว่าอนุสิทธิบัตร (petty patent) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (utility model)[2][3] นอกจากนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสิทธิบัตร อาจเรียกว่าสิทธิบัตรในกฎหมายบางประเทศ เช่น การคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรม (industrial design) เรียกว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทย[4] หรือ design patent ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น[5]

ประโยชน์ของสิทธิบัตร

เอกสารสิทธิบัตรนานาชาติเป็นแหล่งรวมผลงานประดิษฐ์คิดค้นทั่วโลกที่สำคัญที่สุด ได้เปิดวิธีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทุกชนิดทุกสาขาทั่วโลก สิทธิบัตรคุ้มครองเป็นรายประเทศ จดทะเบียนในประเทศใด ก็คุ้มครองเฉพาะในประเทศนั้น

หมายความว่าเราสามารถนำเทคโนโลยีที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยมาผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศได้ สามารถผลิตหรือส่งออกไปจำหน่ายในประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรในเรื่องนั้น ๆ หรือนำมาใช้เป็นฐานความรู้ในการวิจัยพัฒนาและต่อยอดได้

ประเภทของสิทธิบัตร

รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent) หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
  2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์(design patent) หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
  3. อนุสิทธิบัตร (petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นมาก

เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ กฎหมายกำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่หรือยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ในเอกสารสิ่งพิมพ์ใด ๆ ในโทรทัศน์ หรือในวิทยุ มาก่อน เว้นแต่การตีพิมพ์เผยแพร่ของเอกสารนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่เพื่อสาธารณประโยชน์ในการสร้างสรรงานประดิษฐ์ที่จัดขึ้นโดยรัฐฯ
  2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น คือ ไม่เป็นขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สามารถทำได้ง่าย โดยผู้พบเห็นทั่วไป หรืออาจพูดได้ว่า มีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ที่มีมาก่อน และ
  3. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมได้

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรไม่ได้

  1. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช เช่น แบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติ,พืชสมุนไพร,ยารักษาโรคที่สกัดจากสมุนไพร เป็นต้น
  2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น สูตรคูณ เป็นต้น
  3. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์
  5. การประดิษฐ์ ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือ สวัสดิภาพของประชาชน เช่น การคิดสูตรยาบ้า เป็นต้น

เงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ กฎหมายกำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยในเอกสารสิ่งพิมพ์ใด ๆ ในทีวี หรือในวิทยุมาก่อน และ
  2. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หรือหัตถกรรมได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน

การขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

การยื่นขอจดทะเบียนจะต้องมีเอกสาร ดังนี้

คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ต้องประกอบด้วย

  • แบบพิมพ์คำขอ แบบสบ/สผ/อสป/001-ก
  • รายละเอียดการประดิษฐ์
    • ข้อถือสิทธิ
  • บทสรุปการประดิษฐ์
  • รูปเขียน (ถ้ามี)
  • เอกสารอื่น ๆ
    • หนังสือรับรองสิทธิเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (กรณีที่ผู้ขอเป็นบุคคล)
      • หนังสือโอนสิทธิ (กรณีที่ผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์)
      • หนังสือมอบอำนาจ
    • ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล)
    • สัญญาการว่าจ้าง/เอกสารแสดงการเป็นนายจ้างของผู้ประดิษฐ์

คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องประกอบด้วย

  • แบบพิมพ์คำขอ แบบสบ/สผ/อสป/001-ก
  • คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)
    • ข้อถือสิทธิ
  • รูปเขียน
  • เอกสารอื่น ๆ
    • หนังสือรับรองสิทธิเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตร (กรณีที่ผู้ขอเป็นบุคคล)
      • หนังสือโอนสิทธิ (กรณีที่ผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์)
      • หนังสือมอบอำนาจ
    • ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล)
      • สัญญาการว่าจ้าง/เอกสารแสดงการเป็นนายจ้างของผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์

ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสามารถที่จะเลือกว่า จะยื่นขอความคุ้มครองสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะขอความคุ้มครองทั้งสองอย่างพร้อมกันไม่ได้

อายุสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร

อายุอนุสิทธิบัตร

  • หกปี ต่ออายุได้สองครั้ง ครั้งละสองปี

อ้างอิง

  1. Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, Article 27
  2. World Intellectual Property Organization (2008). WIPO intellectual property handbook: Policy, law and use (PDF). p. 17. ISBN 978-92-805-1291-5.
  3. Burk, Dan L. (2017). "Patents and related rights: A global kaleidoscope". ใน Dreyfuss, Rochelle; Pila, Justine (บ.ก.). Oxford Handbook of Intellectual Property Law. Oxford University Press. doi:10.1093/oxfordhb/9780198758457.013.22.
  4. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
  5. Beebe, Barton (2017). "Design protection". ใน Dreyfuss, Rochelle; Pila, Justine (บ.ก.). Oxford Handbook of Intellectual Property Law. Oxford University Press. doi:10.1093/oxfordhb/9780198758457.013.25.