ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเอนเอียงทางคตินิยมในวิกิพีเดีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tikmok (คุย | ส่วนร่วม)
แปลจากวิกีอังกฤษ
 
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:Q55614285
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
[[หมวดหมู่:ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย]]
[[หมวดหมู่:ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย]]
[[หมวดหมู่:ความเอนเอียง]]
[[หมวดหมู่:ความเอนเอียง]]
[[en:ideological bias on Wikipedia]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:35, 22 สิงหาคม 2563

งานวิเคราะห์ทางวิชาการและข้อวิจารณ์วิกิพีเดียมักยกปัญหาเกี่ยวกับ ความเอนเอียงทางคตินิยมในวิกิพีเดีย โดยเฉพาะของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ว่าเนื้อหามีความเอนเอียงเนื่องกับคตินิยมทางการเมือง ทางศาสนา หรือในเรื่องอื่น ๆ ของผู้แก้ไขวิกิพีเดียผู้เป็นอาสาสมัครหรือไม่ และว่ามันมีผลต่อความเชื่อถือได้ของวิกิพีเดียหรือไม่[1][2] วิกิพีเดียมีนโยบายสำหรับผู้แก้ไขซึ่งระบุว่า บทความต้องเขียนด้วยมุมมองที่เป็นกลาง ซึ่งหมายถึง การเสนอมุมมองสำคัญทั้งหมดที่มีในแหล่งที่มาซึ่งน่าเชื่อถือเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งอย่างยุติธรรม เป็นสัดส่วน และปราศจากความลำเอียงให้มากเท่าที่มากได้[3]

งานศึกษารวม ๆ กันพบว่า บทความวิกิพีเดียที่แก้ไขโดยผู้ใช้จำนวนมากผู้มีมุมมองทางคตินิยมตรงข้ามกัน ๆ ก็จะเป็นกลางโดยไม่ต่างกับแหล่งข้อมูลอื่น ๆ แต่บทความที่ได้แก้ไขน้อยกว่าโดยผู้ร่วมงานที่มีคตินิยมคล้ายกันมากกว่า ก็จะมีโอกาสสะท้อนให้เห็นความเอนเอียงของผู้แก้ไขได้ยิ่งกว่า[4][5]

การวิเคราะห์

ความเอนเอียงในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐ

ศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์คณะธุรกิจคู่หนึ่งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้เขียนงานศึกษาหลายงานที่ตรวจสอบบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐและเกี่ยวกับผู้แก้ไขเพื่อระบุลักษณะความเอนเอียงทางคตินิยมของผู้แก้ไขโดยรวม ๆ ในงานปี 2012 พวกเขาตรวจสอบบทความตัวอย่าง 28,382 บทความเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐที่มีในเดือนมกราคม 2011 โดยวัดระดับความเอนเอียงอาศัยดัชนี "slant index" ที่พัฒนาขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์คู่หนึ่งชาวอเมริกันในปี 2010 เพื่อใช้วัดความเอนเอียงของสื่อในสหรัฐ[6] ดัชนีนี้มุ่งวัดความเอนเอียงทางคตินิยมไปทางพรรคเดโมแครต (เสรีนิยม) หรือทางพรรคริพับลิกัน (อนุรักษนิยม) โดยตรวจดูวลีสำคัญ ๆ ในเนื้อความเช่น "สงครามอิรัก" "สิทธิพลเมือง" "การขาดดุลการค้า" "ความเติบโตทางเศรษฐกิจ" "การเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย" และ "ความมั่นคงที่ชายแดน" วลีแต่ละบทจะได้ค่าดัชนีขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกรัฐสภาฝ่ายเดโมแครตหรือฝ่ายรีพลับลิกันได้ใช้มันบ่อยแค่ไหน แล้วระบุค่าความเอนเอียงเช่นนี้แก่บทความวิกิพีเดียที่ใช้คำเดียวกัน ผู้เขียนสรุปว่า บทความเก่าจากปีแรก ๆ ของวิกิพีเดียเอนเอียงไปทางพรรคเดโมแคต เทียบกับที่เขียนเร็ว ๆ นี้ซึ่งสมดุลยิ่งกว่า พวกเขาเสนอว่า บทความแต่ละบทความไม่ได้เปลี่ยนความเอนเอียงเพราะการแก้ไขรุ่นต่าง ๆ ในระยะยาว แต่บทความใหม่ ๆ ที่มีมุมมองตรงกันข้ามเป็นเหตุผลให้ค่าเฉลี่ยของบทความทั้งหมดกลายเป็นค่ากลาง ๆ[7][8][9]: 4–5 

ในงานศึกษาต่อมาที่ใหญ่กว่า ศาสตราจารย์คู่นี้เปรียบเทียบบทความเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐ 4,000 บทความระหว่างวิกิพีเดีย (เขียนโดยชุมชนออนไลน์) กับบทความที่คู่กันจากสารานุกรมบริแทนนิกา (เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ) โดยวัดความเอนเอียงด้วยวิธีเดียวกัน แล้วพบว่า "บทความวิกิพีเดียเอียงไปทางมุมมองของเดโมแครตยิ่งกว่าบทความบริแทนนิกา" โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง บริษัท และรัฐบาล ส่วนบทความเกี่ยวกับการเข้าเมืองเอียงไปทางริพับลิกัน พวกเขายังพบด้วยว่า "ความแตกต่างของความเอนเอียงระหว่างคู่บทความจะลดลงเมื่อแก้ไขเพิ่มขึ้น" และดังนั้น เมื่อบทความได้แก้ไขมาก ความแตกต่างของความเอนเอียงเทียบกับบริแทนนิกาก็จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตามผู้เขียน ผลก็คือ ต้องมีผู้ร่วมงานเป็นจำนวนมากเพื่อลดความเอนเอียงที่มีอย่างพอสมควรให้กลายเป็นใกล้ ๆ กลาง[1][10][11][12][13]

การร่วมมือในบทความที่เอนเอียงหรือมีการโต้แย้ง

งานศึกษาของนักวิชาการทีมเดียวกันปี 2016 ตรวจพฤติกรรมของผู้แก้ไขเอง, ใช้บทความเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐ และใช้ศัพท์ที่ใช้ในงานปี 2012 ผู้เขียนได้พบอะไรสำคัญหลายอย่าง[4][13][14][15] คือพวกเขาพบว่า

  • ผู้แก้ไขมีโอกาสร่วมงานเขียนบทความที่มีความเอนเอียงตรงข้ามกับของตนเองยิ่งกว่า เป็นความโน้มเอียงที่ผู้เขียนเรียกว่า "ขั้วตรงข้ามกันดึงดูดกัน"
  • การอภิปรายในวิกิพีเดียมักจะปรากฏเป็น "ไม่รวมพวกกัน" คือเป็นการอภิปรายระหว่างผู้แก้ไขที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน เทียบกับแบบที่ผู้เขียนกล่าวว่า "รวมพวก" คือระหว่างผู้แก้ไขที่มีความเห็นคล้าย ๆ กัน การอภิปรายที่ไม่รวมพวกสมมุติว่า ทำให้บทความลู่เข้าไปสู่มุมมองที่เป็นกลาง[4]
  • ระดับความเอนเอียงของผู้แก้ไขหนึ่ง ๆ จะลดลงตามเวลาและประสบการณ์ และลดเร็วกว่าสำหรับผู้ที่แก้ไขบทความที่เอียงมาก คือ "การลดมากที่สุดพบในผู้ร่วมงานที่เขียนหรือเติมเนื้อความไปยังบทความที่มีความเอนเอียงมากกว่า"
  • โดยเฉลี่ยแล้วบทความเกี่ยวกับพรรคริพับลิกัน จะใช้เวลาก่อนจะถึงมุมมองที่เป็นกลางปีหนึ่งนานกว่าบทความเกี่ยวกับพรรคเดโมแครต

แต่ผลเหล่านี้ต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังเพราะเป็นงานที่ไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน[4]

งานศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันต่อมาพบว่า ความขัดแย้งแบบได้ผลเช่นนี้ ซึ่งนิยามเป็นการแก้ความขัดแย้งทางสังคม-ประชานร่วมกัน สามารถอธิบายและพยากรณ์ลักษณะทางพลวัตของการสร้างความรู้ในวิกิพีเดีย ซึ่งยิ่งสนับสนุนสมมติฐานว่า การร่วมมือกันระหว่างคนแก้ไขหลายคนที่มีมุมมองตรงข้ามกันช่วยให้ถึงมุมมองที่เป็นกลาง[5] อนึ่ง งานศึกษาอีกงานหนึ่งพบว่า ในวิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศส คนแก้ไขโดยมากมักจะแบ่งทรัพย์ให้อีกคนเท่า ๆ กันในเกมจอมเผด็จการ (dictator game) และความโน้มเอียงเช่นนี้ก็มีสหสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของคนนั้นในวิกิพีเดีย (วัดโดยเวลาที่ให้และความผูกพันที่มี)[16] เกมจอมเผด็จการเป็นการทดลองที่นิยมในสาขาจิตวิทยาสังคมและเศรษฐศาสตร์[17] ที่คนเล่นคนแรก คือ "จอมเผด็จการ" เป็นผู้แบ่งทรัพย์สมบัติที่ได้รับ (เช่นเงินสด) ระหว่างตนเองกับผู้เล่นคนที่สอง[18] จอมเผด็จการมีอิสระเต็มที่ ดังนั้น จึงสามารถกำหนดทรัพย์ที่จะได้ตามความประสงค์ของตน คือผู้รับไม่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์[19]

การกล่าวหาว่ามีความเอนเอียง

Conservapedia

นักปฏิบัติการอนุรักษนิยมชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ก่อตั้งสารานุกรมออนไลน์ Conservapedia (คอนเซอร์วะพีเดีย) ในปี 2006 เพราะเขามองว่า วิกิพีเดียเอนเอียงไปทางเสรีนิยมซึ่งเขากล่าวว่า "ยิ่งต่อต้าน(ค่านิยม)ชาวคริสต์และชาวอเมริกันมากขึ้น ๆ"[20] เขาพบว่า "ผู้แก้ไขที่เอนเอียงและเจ้าปกครองวิกิพีเดียเซ็นเซ่อร์และเปลี่ยนแปลงความจริงเพื่อให้เข้ากับมุมมองของตน" ว่า "ความจริงที่ต่อต้านทฤษฎีวิวัฒนาการมักจะถูกเซ็นเซ่อร์ทันที" ว่าบทความบางบทความใช้ภาษาอังกฤษแบบคนอังกฤษ และว่าศาสนาคริสต์ไม่ได้รับเครดิตสำหรับการเกิด/ความเจริญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[21] แต่คอนเซอร์วะพีเดียเองก็ได้ปฏิกิริยาเชิงลบจากคนดัง นักข่าว และนักวิทยาศาสตร์เพราะมีความเอนเอียงและเนื้อความไม่ตรงกับความจริง[20][22][23][24][25][26]

วิกิพีเดียภาษาโครเอเชีย

ในปี 2013 วิกิพีเดียภาษาโครเอเชียได้รับความสนใจจากสื่อหลังจากที่หนังสือพิมพ์ประจำวันของประเทศโครเอเชียคือ Jutarnji list รายงานคำวิจารณ์ว่า ผู้ดูแลระบบและคนแก้ไขกำลังสร้างความเอนเอียงแบบขวาจัดสำหรับบทความต่าง ๆ เช่น ระบอบชาตินิยมจัด (Ustashe regime) ลัทธิต่อต้านฟาสซิสต์ ชาวเซิร์บ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และการสมรสของคนเพศเดียวกัน ผู้วิจารณ์หลายคนเป็นอดีตผู้แก้ไขวิกิพีเดียผู้กล่าวว่าถูกขับไล่เพราะแสดงความเป็นห่วง ชุมชุนที่เล็กของวิกิพีเดียภาษาโครเอเชีย (จนถึงเดือนกันยายน 2013 มีคนแก้ไขอย่างแอ๊กถีฟ 466 คน และมีผู้ดูแลระบบ 27 คน) อ้างว่าเป็นเหตุสำคัญ 2 วันหลังจากนั้น รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และการศึกษาประเทศโครเอเชียก็แนะนำไม่ให้นักเรียนักศึกษาใช้วิกิพีเดียภาษาโครเอเชีย[27][28][29][30] ในปี 2018 นักประวัติศาสตร์ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซาเกร็บ (ที่เมืองหลวงคือซาเกร็บ) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า วิกิพีเดียภาษาโครเอเชียมีข้อบกพร่องมาก คลาดเคลื่อนจากความจริง ใช้ภาษาที่แสดงความเอนเอียงทางคตินิยม และนักเรียนนักศึกษามักดูบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแทนภาษาของตน โดยเฉพาะในเรื่องประวัติศาสตร์ของประเทศ[31]

ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย

ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย คือ แลร์รี แซงเจอร์ได้วิจารณ์ความแม่นยำและมุมมองที่เป็นกลางของวิกิพีเดียตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 ในเดือนพฤษภาคม 2020 เขาตีพิมพ์บทความในบล็อกส่วนตัวของตน เรียกวิกิพีเดียว่า "เอนเอียงจนแย่" และกล่าว่า เขาเชื่อว่า วิกิพีเดียปัจจุบันไร้นโยบายมุมมองเป็นกลางที่มีประสิทธิผล อ้างว่าส่วนต่าง ๆ ของบทความเกี่ยวกับประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์เป็นไปในทางลบอย่างไม่หยุดหย่อน เทียบกับของอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามาที่ไม่กล่าวถึงแม้เรื่องอื้อฉาวที่รู้กันดีเลย แล้วยกบทความอื่น ๆ อีกที่เขาอ้างว่าเอนเอียงไปทางเสรีนิยม[32][33]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Fitts, Alexis Sobel (2017-06-21). "Welcome to the Wikipedia of the Alt-Right". Backchannel. Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-17. สืบค้นเมื่อ 2018-06-01.
  2. Burnsed, Brian (2011-06-20). "Wikipedia Gradually Accepted in College Classrooms". U.S. News & World Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  3. Joseph M. Reagle Jr. (2010). Good Faith Collaboration: The Culture of Wikipedia. MIT Press. pp. 11, 55–58. ISBN 978-0-262-01447-2. LCCN 2009052779.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Greenstein, Shane; Gu, Yuan; Zhu, Feng (March 2017) [October 2016]. "Ideological segregation among online collaborators: Evidence from Wikipedians". National Bureau of Economic Research. No. w22744. doi:10.3386/w22744.
  5. 5.0 5.1 Holtz, Peter; Kimmerle, Joachim; Cress, Ulrike (2018-10-23). "Using big data techniques for measuring productive friction in mass collaboration online environments". International Journal of Computer-Supported Collaborative Learning. 13 (4): 439–456. doi:10.1007/s11412-018-9285-y.
  6. Gentzkow, M; Shapiro, J. M. (January 2010). "What Drives Media Slant? Evidence From U.S. Daily Newspapers" (PDF). Econometrica. The Econometric Society. 78 (1): 35–71. doi:10.3982/ECTA7195. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-14. สืบค้นเมื่อ 2019-06-04.
  7. Greenstein, Shane; Zhu, Feng (May 2012). "Is Wikipedia Biased?". American Economic Review. American Economic Association. 102 (3): 343–348. doi:10.1257/aer.102.3.343.
  8. Khimm, Suzy (2012-06-18). "Study: Wikipedia perpetuates political bias". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-23. สืบค้นเมื่อ 2018-05-22.
  9. Shi, Feng; Teplitskiy, Misha; Duede, Eamon; Evans, James A. (2019). "The wisdom of polarized crowds". Nature Human Behaviour. 3 (4): 329–336. arXiv:1712.06414. doi:10.1038/s41562-019-0541-6. PMID 30971793.
  10. Greenstein, Shane; Zhu, Feng (September 2018). "Do Experts or Collective Intelligence Write with More Bias? Evidence from Encyclopedia Britannica and Wikipedia". MIS Quarterly. 42 (3): 945–959. doi:10.25300/MISQ/2018/14084.
  11. "Is Collective Intelligence Less Biased?". BizEd. AACSB. 2015-05-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-22. สืบค้นเมื่อ 2018-05-17.
  12. Bhattacharya, Ananya (2016-11-06). "Wikipedia's not as biased as you might think". Quartz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
  13. 13.0 13.1 Guo, Jeff (2016-10-25). "Wikipedia is fixing one of the Internet's biggest flaws". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-23. สืบค้นเมื่อ 2018-05-17.
  14. Bernick, Michael (2018-03-28). "The Power Of The Wikimedia Movement Beyond Wikimedia". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-30. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
  15. Gebelhoff, Robert (2016-10-19). "Science shows Wikipedia is the best part of the Internet". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-30. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
  16. Nguyen, Godefroy Dang; Dejean, Sylvain; Jullien, Nicolas (February 2018). "Do open online projects create social norms?" (PDF). Journal of Institutional Economics. 14 (1): 45–70. doi:10.1017/S1744137417000182. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-27. สืบค้นเมื่อ 2019-08-27.
  17. "Paradigmatic experiments: The Dictator Game". October 2010. doi:10.1016/j.socec.2009.05.007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. "Altruism in Experiments". 2008: 1–7. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_2789-1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. "Dictator Games: A Meta Study". 2011. doi:10.1007/s10683-011-9283-7. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  20. 20.0 20.1 Johnson, Bobbie (2007-03-01). "Rightwing website challenges 'liberal bias' of Wikipedia". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 2018-06-05.
  21. Johnson, Bobbie (2007-03-02). "Conservapedia - the U.S. religious right's answer to Wikipedia" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  22. Zeller, Shawn (2007-03-05). "Conservapedia: See Under "Right"". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-16.
  23. Calore, Michael (2007-02-28). "What Would Jesus Wiki?". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-06-16.
  24. Chung, Andrew (2007-03-11). "Conservative wants to set Wikipedia right". Toronto Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-08.
  25. Clarke, conor (2007-03-01). "A fact of one's own". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-01. สืบค้นเมื่อ 2018-06-16.
  26. Anderson, Nate (2007-03-04). "Conservapedia hopes to "fix" Wikipedia's "liberal bias"". Ars Technica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
  27. Sampson, Tim (2013-10-01). "How pro-fascist ideologues are rewriting Croatia's history". The Daily Dot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 2018-05-25.
  28. Penić, Goran (2013-09-10). "Desničari preuzeli uređivanje hrvatske Wikipedije" [Right-wing editors took over the Croatian Wikipedia]. Jutarnji list (ภาษาCroatian). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-05-25.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  29. "Fascist movement takes over Croatian Wikipedia?". InSerbia Today. 2013-09-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2018-05-25.
  30. "Trolls hijack Wikipedia to turn articles against gays". Gay Star News. 2013-09-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  31. Milekic, Sven (2018-03-26). "How Croatian Wikipedia Made a Concentration Camp Disappear". Balkan Insight. Zagreb: Balkan Investigative Reporting Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-31. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  32. Schulze, Elizabeth (2019-07-05). "Wikipedia co-founder slams Mark Zuckerberg, Twitter and the 'appalling' internet". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-16.
  33. Harrison, Stephen (2020-06-09). "How Wikipedia Became a Battleground for Racial Justice". Slate Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-16.

แหล่งข้อมูลอื่น