ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดนิมมานรดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Timekeepertmk ย้ายหน้า ฉบับร่าง:วัดนิมมานรดี ไปยัง วัดนิมมานรดี: เป็นบทความได้
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ฉบับร่างบทความ}}
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน
| full_name = วัดนิมมานรดี
| full_name = วัดนิมมานรดี
บรรทัด 12: บรรทัด 11:
| abbot =
| abbot =
| venerate =
| venerate =
| pre_road =
| pre_road = ซอยบางแค 1
| road_name =
| road_name = [[ถนนบางแค]]
| sub_district =[[แขวงบางหว้า]]
| sub_district = [[แขวงบางหว้า]]
| district = [[เขตภาษีเจริญ]]
| district = [[เขตภาษีเจริญ]]
| province = [[กรุงเทพมหานคร]]
| province = [[กรุงเทพมหานคร]]
บรรทัด 36: บรรทัด 35:
| footnote =
| footnote =
}}
}}
'''วัดนิมมานรดี''' (อ่าน นิม-มาน-นอ-ระ-ดี) หรือชาวบ้านเรียก '''วัดบางแค''' เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์[[มหานิกาย]] ตั้งอยู่ติด[[คลองภาษีเจริญ]] [[แขวงบางหว้า]] [[เขตภาษีเจริญ]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีเนื้อที่ 19 ไร่ 84 ตารางวา วัดนิมมานรดีได้ให้โรงเรียนประชาบาลของทางราชการซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของวัด คือ [[โรงเรียนวัดนิมมานรดี]] สังกัดกรุงเทพมหานคร บริเวณวัดอยู่ใกล้กับ[[ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี]]
'''วัดนิมมานรดี''' [นิม-มาน-นอ-ระ-ดี] หรือชาวบ้านเรียก '''วัดบางแค''' เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์[[มหานิกาย]] ตั้งอยู่ติด[[คลองภาษีเจริญ]] [[แขวงบางหว้า]] [[เขตภาษีเจริญ]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีเนื้อที่ 19 ไร่ 84 ตารางวา วัดนิมมานรดีได้ให้โรงเรียนประชาบาลของทางราชการซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของวัด คือ [[โรงเรียนวัดนิมมานรดี]] สังกัดกรุงเทพมหานคร บริเวณวัดอยู่ใกล้กับ[[ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี]]


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:17, 21 สิงหาคม 2563

วัดนิมมานรดี
แผนที่
ชื่อสามัญวัดนิมมานรดี วัดบางแค
ที่ตั้งซอยบางแค 1 ถนนบางแค แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อเกศจำปาศรี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดนิมมานรดี [นิม-มาน-นอ-ระ-ดี] หรือชาวบ้านเรียก วัดบางแค เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ติดคลองภาษีเจริญ แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 19 ไร่ 84 ตารางวา วัดนิมมานรดีได้ให้โรงเรียนประชาบาลของทางราชการซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของวัด คือ โรงเรียนวัดนิมมานรดี สังกัดกรุงเทพมหานคร บริเวณวัดอยู่ใกล้กับตลาดน้ำวัดนิมมานรดี

ประวัติ

วัดสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 ประมาณปี พ.ศ. 2350 ในชื่อ วัดบางแค ยังมีหลักฐานปรากฏกล่าวถึงวัดนี้ในจดหมายเหตุ รัชกาลที่ 2 กล่าวถึงการแต่งตั้งพระคณาจารย์จำนวน 71 รูป หนึ่งในนั้นคือ พระอาจารย์เกษ วัดบางแค

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ โดยผู้ที่เป็นกำลังสำคัญสนับสนุนทุนทรัพย์ในการบูรณะก็คือ ขุนตาลวโนชากร (นิ่ม) และภรรยาชื่อดี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิมมานรดี อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่ 5[1] วัดนิมมานรดีได้เปิดทำการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี แผนกธรรมได้เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ ได้รับพระราชทานครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และได้พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถ[2] ปี พ.ศ. 2528 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ

หลวงพ่อเกศจำปาศรี

พระอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อเกศจำปาศรี พระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยโลหะทองเหลืองผสมลงรักปิดทอง พระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติ โดยเมื่อปี 2508 ได้เกิดเหตุการณ์โบสถ์พังทลายลงมา แต่ปรากฏว่าองค์หลวงพ่อไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ภายในวัดยังมีองค์เจ้าแม่กวนอิมองค์ใหญ่ และพระสังกัจจายน์ อยู่บริเวณด้านตรงข้ามกับอุโบสถ[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 หนุ่มลูกทุ่ง (2 มีนาคม 2553). "เก่าๆใหม่ๆใน"บางแค"". ผู้จัดการออนไลน์.
  2. "ด้านข้างพระอุโบสถวัดนิมมานรดี". คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด.