ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
* [[พระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค)]]
* [[พระยาธรรมสารเนติ (ถึก บุนนาค)]]
* [[หลวงเทพประกาศ (ทิว บุนนาค)]]
* [[หลวงเทพประกาศ (ทิว บุนนาค)]]
* [[พระศรีธรรมสาส์น (แทน บุนนาค)]] เป็นพี่น้องกับ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] ภรรยาเอกคือ '''[[กลิ่น บุนนาค]] ธิดา ลิ้ม บุนนาค''' ราชินิกูลบุนนาคในชั้นที่เจ็ดและแปดในปัจจุบัน การสืบสกุลบุนนาคสายตรงเเละสายที่เเตกออกไปนั้นได้เเก่ กนุท ชำนาญกิจ บุตรของอุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา กฤษนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ทิพย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท (บุนนาค) หลานย่าสายราชสกุลอิศรางกูร เเละสืบสายตรงจากท่านลิ้ม บุนนาค เป็นคณะทำงาน [[กระทรวงยุติธรรม]] อิสรสิงหนาท เป็นนามสกุลส่วนนึงในพระนามของ[[สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] พระอนุชาธิราชร่วมพระชนกชนนีกับ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]
* [[พระศรีธรรมสาส์น (แทน บุนนาค)]] เป็นพี่น้องกับ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] ภรรยาเอกคือ '''[[กลิ่น บุนนาค]] ธิดา ลิ้ม บุนนาค''' ราชินิกูลบุนนาคในชั้นที่เจ็ดและแปดในปัจจุบัน การสืบสกุลบุนนาคสายตรงและสายที่แตกออกไปนั้นได้แก่ กนุท ชำนาญกิจ บุตรของอุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา กฤษนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ทิพย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท (บุนนาค) หลานย่าสายราชสกุลอิศรางกูร และสืบสายตรงจากท่านลิ้ม บุนนาค เป็นคณะทำงาน [[กระทรวงยุติธรรม]] อิสรสิงหนาท เป็นนามสกุลส่วนนึงในพระนามของ[[สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] พระอนุชาธิราชร่วมพระชนกชนนีกับ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]
* ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท สกุลบุนนาคสาย [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] หลาน ของ
* ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท สกุลบุนนาคสาย [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] หลาน ของ
** หม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
** หม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
** หม่อมราชวงศ์ทินศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
** หม่อมราชวงศ์ทินศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์
** หม่อมราชวงศ์อรมณี ภาณุพันธุ์ เป็นบุตร ธิดาของ [[มณี สิริวรสาร]] สกุลเดิมบุนนาค สะใภ้หลวงใน [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] '''[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์]] เเละ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต]]'''
** หม่อมราชวงศ์อรมณี ภาณุพันธุ์ เป็นบุตร ธิดาของ [[มณี สิริวรสาร]] สกุลเดิมบุนนาค สะใภ้หลวงใน [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] '''[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์]] และ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต]]'''
* สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงเเละสายที่เเตกออกไปนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖
* สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงและสายที่แตกออกไปนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖





รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:10, 17 สิงหาคม 2563

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
(ท้วม บุนนาค)
ไฟล์:เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค).jpg
เกิดพ.ศ. 2373
เสียชีวิต13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 (83 ปี)
บุพการี

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) กับหม่อมพึ่ง ธิดาเจ้าพระยาพลเทพ (บุญนาก บ้านแม่ลา) เข้ารับราชการในรัชกาลที่ 4 เป็นนายไชยขรรค์ หุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นจมื่นทิพรักษา และจมื่นราชามาตย์ ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย ตามลำดับ จนในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งครั้งนั้นมีพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูตนั้น จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) ได้ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ ที่จะนำไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เมื่อกลับมา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี ท่านเป็นแม่กองคุมการก่อสร้างพระนครคีรี ที่เขาวัง จังหวัดเพชรบุรี สร้างสะพานช้างข้ามแม่น้ำเพชรบุรี สร้างถนนจากเขาวังไปเขาหลวง และถนนราชวิถี เป็นต้น

เมื่อพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือถึงอนิจกรรมลง รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระเพชรพิไสยฯ เป็นพระยาเทพประชุน ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปราชการเรื่องสายโทรเลข ที่เมืองสิงคโปร์และเมืองภูเก็ต เมื่อกลับเข้ามาพระนคร ในปี พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่กองการทำพลับพลาค่ายหลวงที่ว่าการแขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเสด็จประทับทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ท่านทำหน้าที่กราบทูลพระกรุณามอบถวายสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับพระบรมราชอิสริยยศ และราชสมบัติทั้งปวงตามพระราชประเพณีแทน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ต่อมา พ.ศ. 2412 ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง และกรมท่า ทั้งว่าการต่างประเทศด้วย และในปี พ.ศ. 2416 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ชุดนี้ขึ้นและได้รับพระราชทานให้แก่เสนาบดีชั้นเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นเสนาบดีคนแรกของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 หลังจากมีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น แยกราชการฝ่ายการคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมากราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีว่า การต่างประเทศ เนื่องจากมีโรคภัยเบียดเบียน ท่านถึงอสัญกรรมเนื่องจากอัมพาต เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เวลา 12.35 น. สิริอายุได้ 83 ปี ต่อมาเวลา 17.00 น. วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านของเจ้าพระยาภาณุวงศ์เพื่อพระราชทานน้ำอาบศพ [1]

บุตร ธิดา

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีมีบุตรธิดารวม 25 คน เป็นชาย 17 คน หญิง 8 คน โดย สมรสกับคุณหญิงสุ่น มีบุตร 2 คน ได้แก่

และมีบุตรธิดากับภรรยาอื่น ที่สำคัญ ได้แก่


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง