ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hokey176 (คุย | ส่วนร่วม)
Hokey176 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 97: บรรทัด 97:
| colspan = "8" |
| colspan = "8" |
|-
|-
| |YL||''[[สถานีพหลโยธิน 24|พหลโยธิน 24]]'' || ''Phahon Yothin 24'' || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}>[[สถานีพหลโยธิน 24]]</font>''' || rowspan="3" | จอมพล || rowspan="3" | [[เขตจตุจักร|จตุจักร]] || rowspan="20" | [[กรุงเทพมหานคร]] || align="center" rowspan="25" |''[[พ.ศ. 2566|เดือน ตุลาคม 2564-2565]]''<ref>https://www.prachachat.net/property/news-462676</ref>
| |''YL''||''[[สถานีพหลโยธิน 24|พหลโยธิน 24]]'' || ''Phahon Yothin 24'' || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}>[[สถานีพหลโยธิน 24]]</font>''' || rowspan="3" | จอมพล || rowspan="3" | [[เขตจตุจักร|จตุจักร]] || rowspan="20" | [[กรุงเทพมหานคร]] || align="center" rowspan="2" |''อนาคต''
|-
|-
| |YL||''[[สถานีจันทรเกษม|จันทรเกษม]] || ''Chan Kasem'' ||
| |''YL''||''[[สถานีจันทรเกษม|จันทรเกษม]] || ''Chan Kasem'' ||
|-
|-
| | YL01 ||[[สถานีลาดพร้าว|ลาดพร้าว]] / รัชดา || Lat Phrao || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}>[[สถานีลาดพร้าว]]</font>''' <br>อาคารจอดแล้วจร
| | YL01 ||[[สถานีลาดพร้าว|ลาดพร้าว]] / รัชดา || Lat Phrao || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}>[[สถานีลาดพร้าว]]</font>''' <br>อาคารจอดแล้วจร|| align="center" rowspan="23" |''เดือน ตุลาคม 2564-2565''<ref>https://www.prachachat.net/property/news-462676</ref>
|-
|-
| | YL02 ||[[สถานีภาวนา|ภาวนา]] || Phawana || || | สามเสนนอก ||| [[เขตห้วยขวาง|ห้วยขวาง]]
| | YL02 ||[[สถานีภาวนา|ภาวนา]] || Phawana || || | สามเสนนอก ||| [[เขตห้วยขวาง|ห้วยขวาง]]
บรรทัด 117: บรรทัด 117:
| | YL08 ||[[สถานีบางกะปิ|บางกะปิ]] || Bang Kapi ||
| | YL08 ||[[สถานีบางกะปิ|บางกะปิ]] || Bang Kapi ||
|-
|-
| | YL09 ||[[สถานีแยกลำสาลี|แยกลำสาลี]] || Yaek Lam Sali || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}}>[[สถานีแยกลำสาลี]]</font>''<br>''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}} [[สถานีแยกลำสาลี|<font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}}>สถานีแยกลำสาลี</font>'']] || rowspan="2" | หัวหมาก
| | YL09 ||[[สถานีแยกลำสาลี|แยกลำสาลี]] || Yaek Lam Sali || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}}>[[สถานีแยกลำสาลี]]</font>''<br>''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}} [[สถานีแยกลำสาลี|<font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}}>สถานีแยกลำสาลี</font>'']] || rowspan="2" | หัวหมาก
|-
|-
| | YL10 ||[[สถานีศรีกรีฑา|ศรีกรีฑา]] || Si Kritha
| | YL10 ||[[สถานีศรีกรีฑา|ศรีกรีฑา]] || Si Kritha

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:05, 16 สิงหาคม 2563

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
สัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้เดินรถสายสีเหลือง
ไฟล์:รถไฟฟ้าสายสีเหลือง.jpg
ภาพจำลองรถไฟฟ้า
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร และ จ.สมุทรปราการ
ปลายทาง
จำนวนสถานี23 (ไม่รวมส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี)
เว็บไซต์เว็บไซต์โครงการ
ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน บีทีเอสกรุ๊ป
การดำเนินงาน
รูปแบบรางเดี่ยว
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2594)
ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300 (4 ตู้ต่อขบวน)
ประวัติ
เปิดเมื่อทยอยเปิดภายใน พ.ศ. 2564
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง32 กิโลเมตร (20 ไมล์)* (est.)
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

สายสีน้ำเงิน
ลาดพร้าว
สายสีเหลือง
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
ลาดพร้าว 83
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
แยกลำสาลี
สายสีส้ม
ศรีกรีฑา
หัวหมาก
สายซิตี้
สายสีแดงอ่อน
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศูนย์ซ่อมบำรุง
เทพรัตน-ศรีเอี่ยม
ศรีเอี่ยม
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สำโรง
สายสุขุมวิท

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายศรีนครินทร์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562[1] เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนาน

โครงการได้รับการเสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวทั้งโครงการ มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีรัชดา จากนั้นไปตามแนวถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ แล้วเบนไปทางทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับสถานีหัวหมากของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน จากนั้นไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ แยกสวนหลวง แยกศรีอุดม แยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา แล้วเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสำโรง ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร

เดิมทีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้มีการพิจารณาออกเป็นหลายระบบหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นเป็นโครงสร้างใต้ดินแล้วยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาทั้งสาย หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย แต่จากการเสนอที่ผ่านมาตลอดจนการอนุมัติการดำเนินโครงการ ผลปรากฏว่าเป็นการออกแบบในส่วนของรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย[2]

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
จอมพล จตุจักร กรุงเทพมหานคร
สามเสนนอก ห้วยขวาง
สะพานสอง / วังทองหลาง / คลองเจ้าคุณสิงห์ / พลับพลา วังทองหลาง
คลองจั่น / หัวหมาก บางกะปิ
พัฒนาการ / อ่อนนุช สวนหลวง
หนองบอน ประเวศ
บางนาเหนือ / บางนาใต้ บางนา
สำโรงเหนือ /เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ

รายละเอียดปลีกย่อย

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถได้เลือกใช้รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 30 ขบวน 120 ตู้ ในช่วงแรกจะต่อพ่วงแบบ 4 ตู้ต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 7 ตู้ต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางที่ด้านข้างโรงแรมเมเปิล บริเวณทางแยกศรีเอี่ยม-บางนา ถนนศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับสถานีศรีเอี่ยม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) บริเวณด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งติดกับสถานีศรีเอี่ยม สามารถจอดรถได้ประมาณ 3,000 คัน และจะมีร้านค้าเช่าบริเวณชั้นล่างของอาคาร

สถานี

มีสถานีทั้งหมด 23 สถานี (มีส่วนต่อขยายอีก 2 สถานีในอนาคต) เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 8 ตู้ ต่อหนึ่งขบวน ใช้รูปแบบชานชาลาด้านข้างทั้งหมด มีประตูกั้นชานชาลาความสูง Half-height ทุกสถานี ตัวสถานีถูกออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี

รายชื่อสถานี

ไฟล์:Y10.jpg
ภาพจำลองสถานีพัฒนาการ

ตัวเอียง หมายถึง สถานีของโครงการส่วนต่อขยาย

รหัส ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง / หมายเหตุ ที่ตั้ง วันที่เปิดให้บริการ
อักษรไทย อักษรโรมัน แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
YL พหลโยธิน 24 Phahon Yothin 24 แม่แบบ:BTS Lines สถานีพหลโยธิน 24 จอมพล จตุจักร กรุงเทพมหานคร อนาคต
YL จันทรเกษม Chan Kasem
YL01 ลาดพร้าว / รัชดา Lat Phrao แม่แบบ:BTS Lines สถานีลาดพร้าว
อาคารจอดแล้วจร
เดือน ตุลาคม 2564-2565[3]
YL02 ภาวนา Phawana สามเสนนอก ห้วยขวาง
YL03 โชคชัย 4 Chok chai 4 สะพานสอง/ วังทองหลาง วังทองหลาง
YL04 ลาดพร้าว 71 Lat Phrao 71
YL05 ลาดพร้าว 83 Lat Phrao 83 แม่แบบ:BTS Lines สถานีลาดพร้าว 83 คลองเจ้าคุณสิงห์/ พลับพลา
YL06 มหาดไทย Mahat Thai
YL07 ลาดพร้าว 101 Lat Phrao 101 คลองจั่น บางกะปิ
YL08 บางกะปิ Bang Kapi
YL09 แยกลำสาลี Yaek Lam Sali แม่แบบ:BTS Lines สถานีแยกลำสาลี
แม่แบบ:BTS Lines สถานีแยกลำสาลี
หัวหมาก
YL10 ศรีกรีฑา Si Kritha
YL11 หัวหมาก / พัฒนาการ Hua Mak แม่แบบ:BTS Lines สถานีหัวหมาก
แม่แบบ:BTS Lines สถานีหัวหมาก
พัฒนาการ สวนหลวง
YL12 กลันตัน Kalantan
YL13 ศรีนุช Si Nut อ่อนนุช
YL14 ศรีนครินทร์ 38 Srinagarindra 38 หนองบอน ประเวศ
YL15 สวนหลวง ร. 9 Suan Luang Ro 9
YL16 ศรีอุดม Si Udom
YL17 ศรีเอี่ยม Si Iam แม่แบบ:BTS Lines สถานีศรีเอี่ยม
อาคารจอดแล้วจร, ศูนย์ซ่อมบำรุง
บางนาเหนือ บางนา
YL18 ศรีลาซาล Si La Salle บางนาใต้
YL19 ศรีแบริ่ง Si Bearing สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
YL20 ศรีด่าน Si Dan
YL21 ศรีเทพา Si Thepha เทพารักษ์
YL22 ทิพวัล Thipphawan
YL23 สำโรง Samrong แม่แบบ:BTS Lines สถานีสำโรง

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (Eastern Bangkok Monorail; EBM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดิม) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี ซึ่งมีรายละเอียดของสัญญาดังนี้

ลำดับที่ เนื้องาน ความคืบหน้า
(ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563)[4]
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า 59.75 %
1.1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ
ระยะทาง 32 กม. (19.88 ไมล์)
งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร
62.44 %[5] (เร็วกว่าแผน 1.76 %)
1.2 งานปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ
1.3 งานปรับปรุงโครงสร้างสะพานข้ามคลองแสนแสบ
1.4 งานก่อสร้างสะพานข้ามแยกพรีเมียร์
1.5 งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกพัฒนาการ
1.6 งานรื้อย้ายและก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคภายในพื้นที่บริเวณแขวงทางหลวงสมุทรปราการ
1.7 งานปรับปรุงระบบระบายน้ำบนถนนศรีนครินทร์
1.8 งานปรับแก้โครงการตามที่ถูกร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่
1.9 งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
56.26 %
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1 งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถอย่างเป็นทางการ

โดยอ้างอิงถึงสัญญาว่าด้วยความเข้าใจของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ ผู้ร่วมทุนแต่ละรายจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้นำการประมูลของกลุ่มตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารเงื่อนไขในการเข้าประมูล และรับผิดชอบงานจัดหา ติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบเครื่องกล ขบวนรถไฟฟ้า ตลอดจนบริหารโครงการรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว
  2. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างงานโยธาของโครงการแต่เพียงผู้เดียว
  3. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกล

ทั้งนี้สัญญาว่าด้วยความเข้าใจของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ จะสิ้นสุดลง ณ วันที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานโครงการ

ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา

ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ
  • บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
  • บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท บางกอก เพย์เมนต์ โซลูชันส์ จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง
  1. บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
  2. บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนส์ จำกัด
  3. บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
  4. บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนส์ จำกัด
  5. บริษัท ไอที อินเตอร์เนชันแนล จำกัด
  6. บริษัท ดับเบิลยูเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด

งบประมาณ

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีมูลค่ารวม 51,810 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 25,050 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 26,760 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท

ความคืบหน้า

  • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัดการประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง สายสีน้ำตาล และสายสีชมพู (พื้นที่โครงการสายสีเหลืองและสายสีน้ำตาล) เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2550 ที่โรงแรม คิงส์ ปาร์ค อเวนิว กรุงเทพฯ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาอีก 15 เดือน การศึกษาแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2551[ต้องการอ้างอิง]
  • เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. จำนวน 23 สถานี วงเงิน 55,986 ล้านบาท หลังจากนี้ รฟม.ต้องนำเรื่องเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อนำเข้า ครม.ขออนุมัติโครงการต่อไป อ้างอิง
  • โครงการนี้เป็น1ใน4โครงการที่สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2557 และจะเปิดประมูลช่วงต้นปี พ.ศ. 2558
  • เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 นางกอบกาญจน์ วัฒนวรากูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ (เบื้องต้น)[6]
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เปิดขายซองประมูลวันแรก มีเอกชนเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 17 ราย
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เปิดรับซองประมูล โดยมีผู้ยื่นซองประมูลพร้อมข้อเสนอทั้งหมด 2 ราย ได้แก่
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้เปิดซองพิจารณาข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ให้ข้อเสนอดีที่สุด และรับเงินชดเชยจากรัฐบาลน้อยที่สุด หลังจากนี้จะดำเนินการเจรจา และคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้แจ้งต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงตำแหน่งของสถานีเพิ่มเติมของโครงการรถไฟฟ้าสีเหลือง ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร จำนวนสองสถานี จากสถานีรัชดา-ลาดพร้าว ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ที่แยกรัชโยธิน อันเป็นหนึ่งในข้อเสนอพิเศษแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อันได้แก่
    • สถานีจันทร์เกษม ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลอาญา และกระทรวงยุติธรรม ถนนรัชดาภิเษก
    • สถานีพหลโยธิน 24 ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกรัชโยธิน โดยเชื่อมต่อกับสถานีพหลโยธิน 24 ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ผ่านทางเดินลอยฟ้าหรือสกายวอล์ค
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริษัทแก่ตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนจำนวนสองบริษัท โดยทั้งสองบริษัทจะมีทุนจดทะเบียน 3,500,000,000 บาทต่อบริษัท แบ่งเป็น บีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้น 75% ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น ถือหุ้น 15% และผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้น 10% จุดประสงค์คือเพื่อให้ทั้งสองบริษัทเข้าทำสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแยกกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารต้นทุนโครงการ แต่ทั้งสองโครงการจะใช้วิธีการว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เป็นผู้ติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและเดินรถไฟฟ้า และว่าจ้าง บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด ในการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสาร และระบบเชื่อมต่อบัตรแรบบิทให้กับโครงการต่อไป
  • 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นระยะเวลา 33 ปี 3 เดือน อย่างไรก็ตามมติดังกล่าวอนุมัติให้ก่อสร้างในส่วนที่ผ่านการเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้ว ส่วนเส้นทางเพิ่มเติมจากข้อเสนอเพิ่มเติมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คาดว่าใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้ถือสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และเป็นบริษัทผู้ทำสัญญาการจัดหาระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลในการซื้อขบวนรถไฟฟ้าบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จากกลุ่มบอมบาร์ดิเอร์ จำนวน 144 ตู้ (ประกอบ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน ทั้งหมด 36 ขบวน) พร้อมระบบการเดินรถเพื่อใช้ในโครงการ รวมทั้งว่าจ้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงของโครงการ กับบริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด ในการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสาร เบื้องต้น นายคีรี กาญจนพาสน์ ระบุว่าการก่อสร้างน่าจะเสร็จเร็วกว่ากำหนดเพียง 2 ปีนับจากวันที่เริ่มเข้าพื้นที่ เนื่องจากต้องการลดผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างโครงการ[7]
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัดการประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลืองส่วนต่อขยายระยะที่หนึ่ง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ หอประชุมจันทร์จรัส อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม ซึ่งผลการศึกษาจะใช้เวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2560 - มีนาคม พ.ศ. 2561 หลังจากนั้นจะเป็นการยื่นขอผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งจะใช้เวลาอีก 6 เดือน เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะส่งมอบงานให้ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ดำเนินงานต่อได้ทันที โดยผลการศึกษาในเบื้องต้นระบุว่าสถานีส่วนต่อขยายช่วงนี้จะประกอบไปด้วยสองสถานี ซึ่งสอดคล้องกับสถานีที่กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เคยเปิดเผยรายละเอียดมาก่อนหน้า ได้แก่ สถานีจันทร์เกษม (YLEX-01) ตั้งอยู่ด้านหน้าศาลอาญา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม และสถานีพหลโยธิน 24 (YLEX-02) ตั้งอยู่ภายในเขตสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน เนื่องจากเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. อันเป็นที่ดินของหน่วยงานรัฐบาล ทำให้ลดการเวนคืนที่ดินของประชาชน และเชื่อมต่อกับสถานีพหลโยธิน 24 ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทด้วยทางเดินยกระดับ
  • ล่าสุด โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอยู่ระหว่างดำเนินการงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค บริเวณถนนลาดพร้าวโดยวางท่อประปาเส้นผ่าศูนย์กลาง 1500 มิลลิเมตร รวมถึงงานเข็มทดสอบที่สถานีกลันตันและสถานีรัชดา (พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการจะจัด การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ส่วนต่อขยาย (แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน) ในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.30 -12.00 น. ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 อาคาร A ตึกช้าง แยกรัชโยธิน ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการจัดทำรายงานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม มีบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการเข้าใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง อันได้แก่ ถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณแยกหลักสี่ และถนนรามอินทรา สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และถนนศรีนครินทร์ สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าอันจะเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ และในวันเดียวกัน รฟม. ได้มีหนังสือแจ้งเริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด) โดยแจ้งล่วงหน้า 15 วัน กล่าวคือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้าง จะสามารถเข้าพื้นที่ได้ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีกรอบระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน ทั้งนี้ รฟม. ยอมรับว่าติดขัดเรื่องข้อกำหนดการเข้าพื้นที่ ทำให้สามารถเข้าพื้นที่ได้ช้า และทำให้โครงการล่าช้ากว่าแผนถึงสามเดือน[8]
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าส้วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายเหลือง และสายสีชมพู ที่กลุ่มผู้ชนะการประมูลคือกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ได้เสนอเข้ามานั้น สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อกล่าวหาเรื่องการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่เอกชน เนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เป็นสองโครงการนำร่องที่มีการเปลี่ยนกติกาการประมูล โดยสามารถให้เอกชนสามารถเสนอรายละเอียดการพัฒนาโครงการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการสายหลักได้ และการเสนอส่วนต่อขยายของกลุ่มบีเอสอาร์ ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้[9] โดยในส่วนของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษาและประชาพิจารณ์ในการดำเนินการส่วนต่อขยายระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ภายใต้วงเงิน 3,800 ล้านบาท โดย รฟม. จะส่งรายละเอียดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติ หาก คจร. พิจารณาเห็นชอบ รฟม. ก็จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการรวมถึงรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะใช้วิธีการเจรจาร่วมทุนกับกลุ่มบีทีเอส เนื่องจากเป็นผู้รับสัมปทานโครงการ ประกอบกับระยะทางสั้นจึงคาดว่าไม่น่าจะมีเอกชนรายอื่นสนใจร่วมลงทุน[10]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561 กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้จัดงาน MONORAIL ON THE MOVE เดินหน้าโมโนเรล สองสายแรกของประเทศไทย เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูอย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี การก่อสร้างโครงการจะใช้เวลา 39 เดือน (3 ปี 3 เดือน) โดย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ บริเวณต่างระดับศรีเอี่ยม โครงการมีความคืบหน้า 5.07% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564[11]
  • 18 กันยายน พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานีว่า รฟม. ได้ส่งรายละเอียดและผลการศึกษาถึงความเหมาะสมในการดำเนินโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติและเพิ่มรายละเอียดเส้นทางลงในแผนแม่บทเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะรับทราบผลภายในเดือนกันยายน หาก คจร. พิจารณาเห็นชอบ รฟม. ก็จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการรวมถึงเจรจาถึงรูปแบบและความเหมาะสม รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มบีทีเอส ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานโครงการทันที[12]
  • 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะเลขานุการการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เปิดเผยหลังการประชุม คจร. ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุม คจร. มีมติเห็นชอบให้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร ลงในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล โดยมีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสองโครงการประมาณ 7,518 ล้านบาท หลังจากนี้ คจร. จะส่งผลการประชุมแจ้งให้ รฟม. รับทราบ เพื่อให้ดำเนินการเจรจาถึงรูปแบบและความเหมาะสม รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มบีทีเอสทันที[13]
  • 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการเจรจาถึงแผนการลงทุนส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 3,700 ล้านบาท และส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,300 ล้านบาท กับผู้ถือสัญญาสัมปทานคือกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งมีบีทีเอสเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ทั้งนี้ รฟม. จะให้กลุ่มบีเอสอาร์ เป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายนี้เองทั้งหมด ตามรายละเอียดที่ปรากฏในข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินการของโครงการสายหลัก เมื่อได้ข้อสรุป รฟม. จะต้องนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการ รฟม. อีกครั้ง และดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการแก้ไขรายละเอียดในสัญญาสัมปทาน รวมถึงออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเวนคืนที่ดินเพื่อดำเนินโครงการเพิ่มเติม และดำเนินการขอใช้พื้นที่กับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานครต่อไป ในส่วนของพื้นที่ของ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ทางกลุ่มบีทีเอสได้มีการพูดคุยรายละเอียดและขอใช้พื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะยื่นรายละเอียดให้ รฟม. ดำเนินการพิจารณาออกกฎหมายเวนคืนที่ดินต่อไป ทั้งนี้ รฟม. คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน พ.ศ. 2562 และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้พร้อมกันกับเส้นทางหลักใน พ.ศ. 2564[14]
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. มีมติเห็นชอบผลการเจรจาส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 3,779 ล้านบาท และส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,379 ล้านบาท ระหว่าง รฟม.กับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งมีบีทีเอสเป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยบีทีเอสเสนอส่วนแบ่งแบบเดียวกับสัญญาสัมปทานหลักเนื่องจากมีความกังวลเรื่องหลักประกันผู้โดยสารและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน อย่างไรก็ตาม รฟม. ได้เพิ่มเงื่อนไขให้บีทีเอสไปเจรจาเบื้องต้นกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีอีเอ็ม เนื่องจากบีอีเอ็มเป็นกังวลว่าส่วนต่อขยายสายสีเหลืองจะทำให้พฤติกรรมการเดินทางเปลี่ยน และส่งผลต่อยอดผู้โดยสารรวมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่บีอีเอ็มเป็นเจ้าของสัมปทาน[15]
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 รฟม. มีมติเห็นชอบผลการศึกษาผลกระทบการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ตามที่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีข้อกังขาเรื่องผลกระทบจากการเปิดดำเนินการ และพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไปของประชาชน โดยผลการศึกษาสรุปว่าเมื่อการก่อสร้างส่วนต่อขยายแล้วเสร็จ จะทำให้จำนวนผู้โดยสารที่สถานีลาดพร้าวลดลงในปีแรก 9,000 คนต่อวัน หรือ 1% ของจำนวนผู้โดยสารสายสีเหลืองทั้งหมดต่อวัน และจะลดลงเรื่อย ๆ จนถึงปีที่ 30 ของสัญญาสัมปทาน ซึ่งคาดว่าจะลดลง 30,000 คนต่อวัน อย่างไรก็ตาม รฟม. ยืนยันว่าไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง เนื่องจาก รฟม. เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับทั้งสองฝ่าย รฟม. จะใช้วิธีการเปิดการหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ คาดว่า รฟม. จะขอให้ฝั่งบีทีเอสชดเชยให้กับบีอีเอ็ม หากบีทีเอสต้องการขยายเส้นทางออกไป แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะชดเชยเป็นจำนวนเงิน หรือชดเชยด้วยอย่างอื่นที่มีมูลค่าเท่ากันแทน[16]

ส่วนต่อขยาย

ในแผนระยะแรก รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีแผนเส้นทางเพียงแค่ รัชดาฯ-ลาดพร้าว-สำโรง และมีแผนเส้นทางส่วนต่อขยายจากสถานีสำโรง โดยวิ่งไปตามแนวถนนเทพารักษ์ และข้ามเขตไปยังฝั่งธนบุรีต่อไป แต่เนื่องจากนักวิชาการและประชาชนเล็งเห็นว่า ในส่วนสถานีรัชดาฯ-ลาดพร้าว ควรต่อขยายเส้นทางออกไปจนถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีรัชโยธิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถเดินทางข้ามเขตจากสายสีเหลืองได้ทันที โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนสถานีซ้ำซ้อนที่สถานีพหลโยธิน หลังจากมีข้อติในเรื่องดังกล่าว รฟม. ได้ออกแผนศึกษาเส้นทางด่วน และพบว่าเส้นทางดังกล่าวสามารถขยายเส้นทางออกไปได้ แต่ยังไม่มีความพร้อมและหลักประกันผู้โดยสาร จึงคงเส้นทาง รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไว้เป็นส่วนต่อขยายต่อไป

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้ยื่นข้อเสนอพิเศษในการก่อสร้างเส้นทาง รัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน ไปพร้อมกับเส้นทางหลัก โดยให้ รฟม. พิจารณาพร้อมกับข้อเสนออื่นๆ ตามเอกสารที่ยื่นประมูลไป โดยเมื่อเสร็จสิ้นทั้งโครงการตามแผน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะต่อเชื่อมกันเป็นวงแหวนกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงสถานีรัชโยธิน ถึงสถานีสำโรง

นอกจากนี้ รฟม. ยังได้ศึกษาเส้นทางส่วนต่อขยายเอาไว้ทั้งหมดสองระยะเพื่อนำเสนอต่อ สนข. ให้บรรจุลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่สอง โดยส่วนต่อขยายทั้งหมดสองส่วนมีดังต่อไปนี้

  1. ส่วนขยายช่วงเหนือ (ลาดพร้าว - พหลโยธิน 24 - ประชาชื่น) ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร ขยายเพื่อเชื่อมต่อ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
  2. ส่วนขยายช่วงใต้ (สำโรง - ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 8.47 กิโลเมตร ขยายเพื่อเชื่อมต่อ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. สนข.ปรับเส้นทางรถไฟฟ้า หั่นเส้นทางสายสีล้มเร่งสร้างสายสีเหลือง
  2. http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_brochure-edit.pdf
  3. https://www.prachachat.net/property/news-462676
  4. https://www.facebook.com/js100radio/photos/pcb.3335561553134055/3335561169800760
  5. https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/
  6. ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง สายสีชมพู-สายสีเหลือง
  7. เซ็นแล้ว! โมโนเรลไทย2สายแรก
  8. ได้ฤกษ์ตอกเข็มโมโนเรล”ชมพู-เหลือง” รฟม.เคลียร์ทล.-กทม.ส่งพท.100%
  9. รฟม.ดันรถไฟฟ้าพีพีพี 3 สายเข้าครม.ในปีนี้
  10. บอร์ดรฟม. ไฟเขียวผุดส่วนต่อขยายโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-รัชโยธิน อีก 2.6 ก.ม.
  11. นายกฯ กดปุ่มสร้างรถไฟฟ้ารางเบาสองสายรวด ย้ำทุกอย่างต้องเสียสละ สุจริตโปร่งใส
  12. ลุ้นคจร.เคาะต่อขยายสีเหลืองเชื่อมรัชโยธิน และระบบขนส่งขอนแก่น,พิษณุโลก
  13. ไฟเขียว 'บีทีเอส' ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองส่วนต่อขยาย
  14. ต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง เปิดปี64
  15. ปิดดีลต่อขยาย”ชมพู-เหลือง” สั่ง BTS ถก BEM เคลียร์ปมแย่งผู้โดยสาร
  16. รฟม.เคาะแผนส่วนต่อขยายสายสีเหลืองแล้ว

แหล่งข้อมูลอื่น