ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมศุลกากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Mugornja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 94: บรรทัด 94:
| แผนที่_บรรยาย =
| แผนที่_บรรยาย =
}}
}}
[[ไฟล์:Queen Sirikit Museum of Textiles in Grand Palace.jpg|300px|thumb|right|"หอรัษฎากรพิพัฒน์" ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]]
[[ไฟล์:Queen Sirikit Museum of Textiles in Grand Palace.jpg|300px|thumb|right|"หอรัษฎากรพิพัฒน์" ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้า ใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]]]
'''กรมศุลกากร''' ({{lang-en|The Customs Department}}) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัด[[กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)|กระทรวงการคลัง]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[4 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2417]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"<ref>[http://www.customsclinic.org/index.php?option=com_content&view=article&id=183&Itemid=258&lang=th ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร]</ref> มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ
'''กรมศุลกากร''' ({{lang-en|The Customs Department}}) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัด[[กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)|กระทรวงการคลัง]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[4 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2417]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"<ref>[http://www.customsclinic.org/index.php?option=com_content&view=article&id=183&Itemid=258&lang=th ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร]</ref> มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:00, 15 สิงหาคม 2563

กรมศุลกากร
The Customs Department
ตรากรมศุลกากร
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 (149 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
งบประมาณประจำปี4,267.7016 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • กฤษฎา จีนะวิจารณะ, อธิบดี
  • สรศักดิ์ มีนะโตรี, รองอธิบดี
  • กิตติ สุทธิสัมพันธ์, รองอธิบดี
  • บุญเทียม โชควิวัฒน, รองอธิบดี
  • ชลิดา พันธ์กระวี, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.customs.go.th
"หอรัษฎากรพิพัฒน์" ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

กรมศุลกากร (อังกฤษ: The Customs Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"[2] มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ

ประวัติ

กิจการศุลกากรในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเรียกว่า "จกอบ" ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการตรวจเก็บภาษีขาเข้าเรียกว่า "พระคลังสินค้า"

ในยุครัตนโกสินทร์ ได้มีระบบการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อค้าขายมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เปลี่ยนแปลงการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือมาเป็น "ภาษีร้อยชักสาม" โดยมีโรงเก็บภาษีเรียกว่า "ศุลกสถาน" ต่อมาในปี พ.ศ. 2417 ได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน และได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นกรมศุลกากร ที่มีบทบาทหน้าที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกนอกประเทศ

หน่วยงานในสังกัด

  • กองสืบสวนและปราบปราม
  • กองบริหารทรัพยากรบุคคล
  • กองตรวจสอบอากร
  • กองพิกัดอัตราศุลกากร
  • กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
  • กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร
  • กองกฎหมาย
  • กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • กองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
  • สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ
  • สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
  • สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • สำนักงานศุลกากรท่าอากาศดอนเมือง
  • สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง
  • สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
  • สำนักงานศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
  • งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1-4

ด่านศุลกากร

ด่านศุลกากร ในสังกัดกรมศุลกากรมีจำนวนทั้งสิ้น 48 ด่าน[3] ดังนี้

  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 มีด่านศุลกากร จำนวน 11 ด่าน ได้แก่ อรัญประเทศ คลองใหญ่ จันทบุรี มาบตาพุด แม่กลอง ประจวบคีรีขันธ์ และสังขละบุรี
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 มีด่านศุลกากร จำนวน 10 ด่าน ได้แก่ ท่าลี่ เชียงคาน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เขมราฐ ช่องเม็ก ช่องสะงำ และช่องจอม
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 มีด่านศุลกากร จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน เชียงของ ทุ่งช้าง แม่สอด แม่สะเรียง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงดาว
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 มีด่านศุลกากร จำนวน 18 ด่าน ได้แก่ ชุมพร เกาะสมุย บ้านดอน ระนอง กระบี่ ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต กันตัง วังประจัน สตูล ปาดังเบซาร์ สะเดา บ้านประกอบ เบตง บูเก๊ะดา สุไหงโก-ลก ตากใบ ปัตตานี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ สงขลา นครศรีธรรมราช และสิชล

อธิบดีกรมศุลกากร

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร
  3. ที่ตั้งสำนักงาน/ด่านศุลกากรกรมศุลกากร สืบค้นวันที่ 2 พ.ย. 2553

แหล่งข้อมูลอื่น