ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทารีน เฮปเบิร์น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 58: บรรทัด 58:


===ความล้มเหลวในอาชีพ (ค.ศ.1934-1938)===
===ความล้มเหลวในอาชีพ (ค.ศ.1934-1938)===
หลังจากล้มเหลวใน ''สปิทไฟเออร์'' และ''เดอะเลค'' อาร์เคโอได้เลือกให้เฮปเบิร์นแสดงในเรื่อง [[เดอะลิตเติ้ลมินิสเตอร์ (ภาพยนตร์ปี 1934)|เดอะลิตเติ้ลมินิสเตอร์]] ตามนวนิยายสมัยวิกตอเรียนของ[[เจ.เอ็ม. บาร์รี]] โดยพยายามให้สำเร็จเหมือนภาพยนตร์เรื่อง "สี่ดรุณี"<ref>Berg (2004) p. 105.</ref> แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นและกลายเป็นความล้มเหลวเชิงการค้า<ref>Higham (2004) p. 66.</ref> ภาพยนตร์ดราม่าโรแมนติกเรื่อง ''[[เบรคออฟฮาร์ทส์]]'' ในปี 1935 ซึ่งแสดงคู่กับ[[ชาร์ล บอเยอร์]]ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีและสูญเสียรายได้<ref>Berg (2004) p. 106.</ref> หลังจากแสดงภาพยนตร์ที่ไม่น่าจดจำสามเรื่อง เฮปเบิร์นก็ประสบความสำเร็จอีกครั้งในเรื่อง ''[[อลิซ อดัมส์ (ภาพยนตร์ปี 1935)|อลิซ อดัมส์]]'' (ปี 1935) เป็นเรื่องราวความสิ้นหวังของหญิงสาวในการไต่เต้าชนชั้นทางสังคม เฮปเบิร์นชื่นชอบนิยายเล่มนี้และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รับการเสนอบทนี้<ref>Higham (2004) p. 68.</ref> ภาพยนตร์โด่งดังมาก และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของเฮปเบิร์น และเรื่องนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่สอง และได้รับคะแนนโหวตเป็นลำดับสอง แต่ผู้ชนะคือ [[เบตตี เดวิส]]<ref name="Berg p 109">Berg (2004) p. 109.</ref>


ด้วยความโดดเด่นนี้ เฮปเบิร์นตัดสินใจแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่ของจอร์จ คูกอร์ ในเรื่อง ''[[ซิลเวีย สการ์เล็ต]]'' (ปี 1935) ซึ่งเธอแสดงคู่กับ[[แครี แกรนต์]]เป็นครั้งแรก<ref name="Berg p 109" /> เธอตัดผมสั้นเพราะตัวละครของเธฮนั้นปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชายเกือบทั้งเรื่อง นักวิจารณ์นั้นไม่ชอบซิลเวีย สการ์เล็ตและไม่เป็นที่นิยมต่อสาธารณชน<ref>Berg (2004) p. 110.</ref> ภาพยนตร์ต่อไปเธอแสดงเป็น[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์]] หรือ แมรี สจวต ในภาพยนตร์เรื่อง ''[[แมรีแห่งสกอตแลนด์ (ภาพยนตร์)|แมรีแห่งสกอตแลนด์]]''ของ[[จอห์น ฟอร์ด]] (ปี 1936) ซึ่งได้รับการตอบรับกระแสไม่ค่อยดีเช่นกัน<ref>Berg (2004) pp. 111–112.</ref> ตามมาด้วยเรื่อง ''[[อะวูเม่นรีเบลส์]]'' (ปี 1936) ภาพยนตร์ดราม่ายุควิกตอเรียนที่ซึ่งเฮปเบิร์นรับบทที่ท้าทายจากการมีลูกนอกสมรส<ref>Berg (2004) p. 126.</ref> เรื่อง ''[[ควอลิตี้สตรีท (ภาพยนตร์ปี 1937)|ควอลิตี้สตรีท]]'' (ปี 1937) ละครย้อนยุคเช่นกันแต่คราวนี้มีภาพยนตร์ตลก ภาพบนตร์แต่ละเรื่องไม่ได้รับความนิยมจากสาธารณชนเลย ซึ่งหมายความว่าเธอไม่ประสบความสำเร็จในภาพยนตร์สี่เรื่องติดต่อกัน<ref>Berg (2004) p. 112.</ref>
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|3}}
{{รายการอ้างอิง|3}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:09, 14 สิงหาคม 2563

แคทารีน เฮปเบิร์น
ภาพถ่ายในสตูดิโอที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ราว ค.ศ. 1941
ภาพถ่ายในสตูดิโอที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ราว ค.ศ. 1941
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด12 พฤษภาคม ค.ศ. 1906(1906-05-12)
แคทารีน ฮอตัน เฮปเบิร์น
ฮาร์ตฟอร์ด, คอนเนตทิคัต, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตมิถุนายน 29, 2003(2003-06-29) (97 ปี)
เฟนวิก, โอลด์เซย์บรูก รัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา
คู่สมรสลัดโลว์ อ็อกเดน สมิธ
(1928–1934)
คู่ครองสเปนเซอร์ เทรซี
(1941–1967)
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดง1928–1994

แคทารีน ฮอตัน เฮปเบิร์น (อังกฤษ: Katharine Houghton Hepburn) (12 พฤษภาคม ค.ศ. 1906 - 29 มิถุนายน ค.ศ. 2003) เป็นนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน เธอเป็นที่รู้จักอย่างมากจากนิสัยที่รักอิสระอย่างรุนแรงและมีชีวิตชีวา เฮปเบิร์นเป็นสตรีชั้นนำในฮอลลีวูดมาเป็นเวลากว่า 60 ปี เธอปรากฏตัวในวงการบันเทิงหลากหลายประเภท มีทั้งภาพยนตร์ตลกพ่อแง่แม่งอน (Screwball comedy film) จนถึงภาพยนตร์แนววรรณกรรม และเธอได้รับรางวัลออสการ์ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมถึง 4 ครั้ง ซึ่งมีการบันทึกว่าเป็นจำนวนมากกว่านักแสดงใดๆ ในปี ค.ศ. 1999 เฮปเบิร์นได้รับการประกาศชื่อจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกันในฐานะนักแสดงหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล ของภาพยนตร์ฮอลลีวูดยุคคลาสสิก

เฮปเบิร์นเติบโตขึ้นในรัฐคอนเนตทิคัตและถูกเลี้ยงดูโดยบิดามารดาที่มั่งคั่งและอยู่ในยุคสมัยแห่งความก้าวหน้า เฮปเบิร์นเริ่มแสดงขณะศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยบรินมอร์ หลังจากใช้เวลาสี่ปีแสดงในโรงละคร ได้มีบทวิจารณ์ที่ดีในช่วงที่ทำการแสดงละครบรอดเวย์ได้ทำให้เธอเป็นที่สนใจของฮอลลีวูด ช่วงปีแรกๆของเธอในวงการภาพยนตร์เริ่มต้นด้วยความสำเร็จ โดยเธอได้รางวัลออสการ์จากการแสดงในภาพยนตร์เรื่องที่สามของเธอ คือ เรื่อง มอร์นิ่งกลอรี (ค.ศ. 1933) แต่ก็ตามมาด้วยความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ซึ่งทำให้เธอถูกตีตราว่าเป็น "บ็อกซ์ออพฟิศพอยชั่น" ในปี ค.ศ. 1938 เฮปเบิร์นมีความคิดที่เฉียบแหลมในการทำให้ตัวเธอเองกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง โดยการไปซื้อสัญญากับ อาร์เคโอพิกเจอร์ และทำให้ได้สิทธิในบทประพันธ์ เดอะฟิลาเดลเฟียสตอรี ซึ่งเธอได้ประกาศขายโดยมีเงื่อนไขว่าเธอจะต้องได้เป็นนักแสดงนำในเรื่อง ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 เธอได้รับการติดต่อจาก เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ ซึ่งทำให้งานการแสดงของเธอเน้นไปที่การเป็นพันธมิตรกับสเปนเซอร์ เทรซี ความเป็นหุ้นส่วนกันนี้เป็นเวลา 25 ปี และผลิตภาพยนตร์ออกมา 9 เรื่อง

เฮปเบิร์นได้สร้างความท้าทายให้ตนเองในช่วงครึ่งหลังของชีวิต โดยเธอมักจะปรากฏตัวเป็นประจำในละครเวทีแนวเชกสเปียร์และสร้างความท้าทายในบทบาทที่หลากหลายในด้านวรรณกรรม เธอพบช่องทางในการแสดงบทบาทเป็นสตรีทึนทึกวัยกลางคน เช่นในภาพยนตร์เรื่อง เดอะแอฟริกันควีน (ค.ศ. 1951) ได้ทำให้เธอกลายเป็นบุคคลที่สาธารณะอ้าแขนรับ เธอได้รับรางวัลออสการ์อีกสามครั้งในภาพยนตร์ เกรสฮูส์คัมมิ่งทูดินเนอร์ (ค.ศ. 1967), ราชันใจเพชร (ค.ศ. 1968) และ ออนโกลเดนพอนด์ (ค.ศ. 1968) ในช่วงทศวรรษ 1970 เธอเริ่มปรากฏตัวในภาพยนตร์โทรทัศน์ ซึ่งจะเป็นจุดสนใจของอาชีพการทำงานในบั้นปลายชีวิตของเธอ เธอยังคงทำงานต่อเนื่องในวัยชรา ซึ่งทำให้เธอปรากฏตัวในจอครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1993 ขณะมีอายุ 87 ปี หลังจากนั้นเธอก็ไม่สามารถทำงานได้อีกและมีปัญหาสุขภาพ เฮปเบิร์นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2003 ด้วยวัย 97 ปี

เฮปเบิร์นเป็นที่รู้จักจากการที่เธอพยายามหลบหลีกจากสังคมสาธารณชนในฮอลลีวูด และปฏิเสธที่จะทำตามภาพความคาดหวังของสังคมที่มีต่อผู้หญิงในยุคนั้น เธอมีบุคลิกที่ตรงไปตรงมา แน่วแน่ ว่องไวและมักจะสวมใส่กางเกงขายาวเสมอก่อนที่มันจะกลายมาเป็นแฟชั่นสำหรับผู้หญิง เธอเคยแต่งงานหนึ่งครั้งขณะเป็นวัยรุ่น แต่หลังจากนั้นเธอก็อยู่อย่างอิสระ เธอมีเรื่องอื้อฉาวจากการมีความสัมพันธ์กับดาราดังอย่าง สเปนเซอร์ เทรซี ซึ่งถูกปิดซ่อนจากสังคมมาเป็นเวลากว่า 26 ปี ด้วยการที่เธอมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แปลกใหม่และมีบุคลิกที่เป็นอิสระซึ่งได้นำเธอให้ก้าวเข้ามาสู่จอภาพยนตร์ เฮปเบิร์นจึงถูกเขียนคำจารึกไว้ว่าเป็น "ผู้หญิงยุคใหม่" ในสหรัฐอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และถูกจดจำในฐานะตัวแสดงทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ

ช่วงต้นของชีวิตและการศึกษา

เฮปเบิร์นเกิดที่ฮาร์ตฟอร์ด, คอนเนตทิคัต ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1907 เป็นบุตรคนที่สองจากจำนวนบุตรทั้งหมดหกคน บิดาของเธอ คือ โธมัส นอร์วัล เฮปเบิร์น (1879 - 1962) ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะประจำโรงพยาบาลฮาร์ตฟอร์ด ส่วนมารดาของเธอ คือ แคทารีน มาร์ธา ฮอตัน (1878 - 1951) เป็นนักรณรงค์เรียกร้องสิทธิสตรี ทั้งบิดามารดาต้องต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหรัฐอมริกา โธมัส เฮปเบิร์นได้ร่วมช่วยก่อตั้งสมาคมสุขอนามัยสังคมนิวอิงแลนด์ ซึ่งให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[1] ในขณะที่แคทารีน ผู้เป็นมารดาดำรงเป็นประธานสมาคมรณรงค์เพื่อสิทธิเลือกตั้งของสตรีรัฐคอนเนตทิคัต หลังจากนั้นเธอก็ร่วมรณรงค์การเคลื่อนไหวเพื่อการคุมกำเนิดในสหรัฐอเมริการ่วมกับมาร์กาเร็ต ซานเจอร์[2] เมื่อยังเยาว์วัย เฮปเบิร์นได้ร่วมเดินขบวน "Votes For Women" พร้อมกับมารดาหลายครั้ง[3] เด็กๆในครอบครัวเฮปเบิร์นได้ถูกอบรมเลี้ยงดูให้เห็นความสำคัญของเสรีภาพในการพูดและถูกกระตุ้นให้ใช้ความคิดและโต้แย้งในเรื่องที่ปรารถนา[4] บิดามารดาของเธอมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชุมชนเพราะมีมุมมองหัวก้าวหน้า ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เฮปเบิร์นพยายามต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคที่ต้องพบเจอ[5][6] เฮปเบิร์นกล่าวว่าเธอได้รับรู้ว่าในช่วงวัยเด็กเธอเป็นผลผลิตของ "พ่อแม่ที่พิเศษมากทั้งสอง"[7] และได้ให้เครดิตเธอว่าได้รับการเลี้ยงดูอย่าง "โชคดีเป็นอันมาก" โดยเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของเธอ[8][9] เธอยังคงใกล้ชิดกับครอบครัวเสมอตลอดชีวิต[10]

Portrait of Hepburn, age 21
ภาพถ่ายเฮปเบิร์นในทำเนียบหนังสือรุ่นของวิทยาลัย ค.ศ. 1928 ในขณะศึกษาที่วิทยาลัยบรินมอร์ ซึ่งเธอตัดสินใจเลือกงานด้านการแสดง

เฮปเบิร์นในวัยเยาว์มีลักษณะเป็นทอมบอยซึ่งมักจะเรียกตัวเธอเองว่า จิมมี่ และมักจะตัดผมสั้นเหมือนเด็กผู้ชาย[11] โธมัส เฮปเบิร์นต้องการให้ลูกๆของเขาใช้ความคิดและกำลังกายอย่างเต็มที่ และเขามักจะสอนลูกๆให้ว่ายน้ำ วิ่ง ดำน้ำ การขี่ม้า กีฬามวยปล้ำ และเล่นกอล์ฟกับเทนนิส[12] กีฬากอล์ฟกลายเป็นกีฬาที่แคทารีนชอบมาก เธอเรียนรู้ทุกๆวันและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญมากคนหนึ่ง โดยสามารถแข่งขันเข้าไปได้ถึงรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันกอล์ฟเยาวชนหญิงคอนเนตทิคัต[13] เธอชอบไปว่ายน้ำที่ชะวากทะเลลองไอส์แลนด์ซาวนด์ และอาบน้ำเย็นทุกเช้าโดยมีความเชื่อที่ว่าเป็น "ยาขมที่ดีสำหรับตัวคุณ"[14] เฮปเบิร์นเป็นแฟนภาพยนตร์มาตั้งแต่ยังเยาว์ และมักจะไปดูภาพยนตร์ทุกคืนวันเสาร์[15] เธอมักจะเล่นการแสดงร่วมกับพี่น้องและเพื่อนและแสดงให้เพื่อนบ้านชม เพื่อจะได้นำเงิน 50 เซนต์ที่เป็นค่าตั๋วไปบริจาคให้แก่ชนเผ่านาวาโฮ[16]

ในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1921 ขณะที่เธอไปเยี่ยมเพื่อนที่กรีนิชวิลเลจ เฮปเบิร์นได้พบศพของ ทอม[17] พี่ชายที่เธอรักมาก ซึ่งเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายอย่างเห็นได้ชัด เขาได้ผูกเชือกรอบขื่อและแขวนคอตาย[18] ครอบครัวเฮปเบิร์นพยายามปฏิเสธเรื่องการฆ่าตัวตาย และพยายามเก็บเรื่องการตายของทอมให้เป็นเรื่องการทดลองที่ผิดพลาด[19] เหตุการณ์นี้ได้ทำให้เฮปเบิร์นในวัยรุ่นมีความวิตกกังวล เจ้าอารมณ์และเป็นที่น่าสงสัยต่อคนทั่วไป[20] เธอหลีกหนีจากเด็กคนอื่นๆ เธอออกจากโรงเรียนคิงส์วูด-ออกซฟอร์ดและเริ่มเรียนที่บ้าน[21] เป็นเวลาหลายปีที่เธอใช้วันเกิดของทอม (8 พฤศจิกายน) เป็นวันเกิดของเธอเอง และความเป็นจริงก็ระบุในอัตชีวประวัติของเธอในปี ค.ศ. 1991 คือหนังสือ Me: Stories of My Life ซึ่งเฮปเบิร์นได้เปิดเผยวันเกิดที่แท้จริงของเธอ[22]

ในปี ค.ศ. 1924 เฮปเบิร์นได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยบรินมอร์ เธอได้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาเพื่อให้มารดาพอใจ เนื่องจากมารดาของเธอเคยศึกษาที่นี่ และนั่นเป็นประสบการณ์ที่เธอไม่ชอบใจเลย[23] เป็นครั้งแรกที่เธอได้เข้าเรียนเป็นเวลาหลายปี เธอรู้สึกประหม่าและอึดอัดกับเพื่อนร่วมชั้นของเธอ[24] เธอต้องต่อสู้กับความต้องการทางวิชาการในวิทยาลัยและครั้งหนึ่งเธอถูกสั่งพักการเรียนจากการที่เธอแอบสูบบุหรี่ในห้องของเธอเอง[25] เฮปเบิร์นถูกดึงไปแสดงละคร แต่บทบาทในการเล่นละครของวิทยาลัยจะขึ้นอยู่กับเกรดที่ดี ครั้งหนึ่งเธอทำคะแนนได้ดีขึ้น จึงทำให้เริ่มแสดงละครได้บ่อยขึ้น[25] เธอได้แสดงบทนำในละครเวทีเรื่อง เดอะวูเม่นอินเดอะมูน ในช่วงการศึกษาตอนปลาย และเธอได้รับกระแสตอบรับในทางที่ดี ได้เป็นตัวเชื่อมแรงจูงใจของเธอในอาชีพการแสดงละครเวที[13] เธอจบการศึกษาในระดับปริญญาด้านประวัติศาสตร์และปรัชญาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1928[26]

การทำงาน

โด่งดังในละครเวที (ค.ศ. 1928 - 1932)

เฮปเบิร์นออกจากมหาวิทยาลัยโดยมุ่งมั่นที่จะเป็นนักแสดง[27] หลังจากจบการศึกษา เธอเดินทางไปที่บอลทิมอร์เพื่อพบกับเอ็ดวิน เอช. คน็อปฟ์ ผู้ประสบความสำเร็จในวงการบริษัทละครเวที[28] เขาประทับใจในความทะเยอทะยานของเธอ คน็อปฟ์ให้เธอแสดงในละครที่เขาจัดอยู่ในขณะนั้นคือ เรื่อง The Czarina[29] เธอได้รับคำวิจารณ์ที่ดีในบทเล็กๆของเธอ และการแสดงในเรื่อง Printed Word ได้ถูกบรรยายว่าเป็นที่ "น่าตราตรึง"[30] เธอได้แสดงในอีกสัปดาห์ต่อมา แต่การแสดงครั้งที่สองของเธอได้รับการตอบรับน้อยกว่าเดิม เธอถูกวิจารณ์ในเรื่องเสียงที่แหลมสูงของเธอ และเพราะเหตุนั้นเธอจึงเดินทางออกจากบอลทิมอร์เพื่อเรียนกับผู้ฝึกสอนด้านเสียงในนิวยอร์ก[31]

Hepburn, a young woman, dressed in a short tunic and armour, acting in a play.
เฮปเบิร์นในบทบาทที่ดึงดูดความสนใจจากฮอลลีวูด ในละครเวที เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ ค.ศ. 1932

คน็อปฟ์ตัดสินใจที่จสร้างละครเวทีเรื่อง เดอะบิ๊กพอนด์ ในนิวยอร์ก และได้ตั้งเฮปเบิร์นให้ฝึกซ้อมเพื่อเป็นตัวสำรองบทนักแสดงนำ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนทำการแสดง นักแสดงนำถูกไล่ออกและเฮปเบิร์นเข้ามาแทนที่ ซึ่งทำให้เธอได้มีบทบาทในการแสดงเพียงสี่สัปดาห์ในสายงานละครเวที[32] ในคืนเปิดทำการแสดง เธอปรากฏตัวช้าเกินไป พูดบทมั่ว เดินสะดุดเท้าตัวเอง และพูดเร็วเกินกว่าจะจับใจความได้[31] เธอถูกไล่ออกทันที และผู้หญิงที่เล่นบทนำคนเดิมได้ถูกจ้างใหม่อีกครั้ง ด้วยไม่มีใครสามารถขวางได้ เธอจึงไปเข้าสังกัดของผู้อำนวยการสร้าง คือ อาเธอร์ ฮ็อปกินส์ และรับบทเป็นนักเรียนหญิงในเรื่อง These Days การเปิดตัวในละครบรอดเวย์ครั้งแรกของเธอเริ่มในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 ที่โรงละครคอร์ท แต่คำวิจารณ์ที่ออกมานั้นย่ำแย่และละครต้องยุติลงหลังจากแสดงไปแปดคืน[31] ฮ็อปกินส์รับจ้างเฮปเบิร์นโดยทันทีในฐานะตัวสำรองบทนักแสดงนำในบทละครของฟิลิป แบร์รี เรื่อง ฮอลิเดย์ ในช่วงต้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นเพียงสองสัปดาห์ เธอได้ลาออกเพื่อไปแต่งงานกับลัดโลว์ อ็อกเดน สมิธ เพื่อนสนิทเมื่อครั้งศึกษาที่วิทยาลัย เธอวางแผนที่จะทิ้งงานละครเวทีไว้เบื้องหลัง แต่เธอก็เริ่มคิดถึงการทำงานและรีบกลับมาดำเนินการแสดงบทตัวสำรองนักแสดงนำในเรื่อง ฮอลิเดย์ ซึ่งเป็นระยะเวลาหกเดือน[33]

ในปี ค.ศ. 1929 เฮปเบิร์นปฏิเสธบทบาทร่วมกับเธียเตอร์กิลด์ โดยไปแสดงบทนำในละคร เดตเทกส์อะฮอลิเดย์ เธอรู้สึกว่าบทบาทนี้เธอทำได้สมบูรณ์แบบ แต่แล้วเธอก็ถูกไล่ออกอีกครั้ง[34] เธอได้กลับมายังกิลด์อีกครั้ง และรับบทเป็นตัวสำรองเพื่อให้ได้รับเงินค่าจ้างขั้นต่ำในละคร อะมันท์อินเดอะคันทรี ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1930 เฮปเบิร์นร่วมงานกับบริษัทโรงละครในสต็อกบริดจ์, แมสซาชูเซตส์ เธอใช้เวลาช่วงครึ่งของวันหยุดภาคฤดูร้อนและเริ่มเรียนการแสดงกับครูสอนพิเศษด้านการละคร[35] ช่วงต้น ค.ศ. 1931 เธอได้ไปรับการคัดเลือกนักแสดงในละครบรอดเวย์ Art and Mrs. Bottle เธอถูกปลดจากบทบาทที่ได้รับหลังจากที่คนเขียนบทไม่ชอบเธออย่างมาก โดยกล่าวว่า "เธอดูตื่นตระหนกตกใจ มารยาทของเธอเป็นที่น่ารังเกียจ และเธอไม่มีความสามารถใดๆเลย" แต่ในภายหลังก็ต้องจ้างเธออีกครั้งเนื่องจากไม่มีนักแสดงหญิงคนอื่นคนใดอีก[36] ซึ่งละครบรอดเวย์นี้ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย[37]

เฮปเบิร์นปรากฏตัวในละครหลายเรื่องของบริษัทซัมเมอร์สต็อกเธียเตอร์ที่ไอวอรีตัน, คอนเนตทิคัต และเริ่มพิสูจน์ให้เห็นว่าเธอเริ่มโด่งดัง[36] ระหว่างฤดูร้อน ค.ศ. 1931 ฟิลิป แบร์รีเสนอให้เธอแสดงในละครเรื่องใหม่ของเขา คือ เรื่อง เดอะแอนิมอลคิงดอม คู่กับเลสลี่ ฮาวเวิร์ด พวกเขาเริ่มฝึกซ้อมในเดือนพฤศจิกายน เฮปเบิร์นรู้สึกแน่ใจว่าบทบาทนี้จะทำให้เธอกลายเป็นดาราดัง แต่ฮาวเวิร์ดกลับไม่ชอบนักแสดงหญิงคนนี้ ซึ่งทำให้เธอถูกไล่ออกอีกครั้ง[38] เมื่อเธอเข้าไปถามแบร์รีว่าทำไมเธอถึงถูกปลดออก เขาตอบว่า "ก็ดี จะได้พูดตรงๆไม่อ้อมค้อม คุณทำได้ไม่ดีอย่างมาก"[38] ความวุ่นวายครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความมั่นใจในตัวเองเกินไปของเฮปเบิร์น แต่เธอก็ยังคงหางานต่อไป[39] เธอได้รับบทเล็กๆในละคร แต่ในขณะที่การฝึกซ้อมเริ่มขึ้น เธอได้ถูกขอให้ไปอ่านบทมากกว่านี้เพื่อรับบทแสดงนำในนิทานกรีก เรื่อง เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์[40]

เรื่อง เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ ได้พิสูจน์เห็นเห็นถึงความพลุ่งพล่านในการแสดงละครของเฮปเบิร์น ชาร์ล ฮิกแฮม ผู้เขียนชีวประวัติ ได้กล่าวว่า บทบาทนี้เป็นอุดมคติสำหรับนักแสดงหญิงที่มีลักษณะพลังที่ก้าวร้าวและกระฉับกระเฉง และเธอมีความกระตือรือร้นอย่างมากในละครเรื่องนี้[41] ละครเวทีเปิดรอบแสดงในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1932 ที่โรงละครโมรอสโกในบรอดเวย์ การปรากฏตัวครั้งแรกของเฮปเบิร์น เรียกได้ว่า เธอกระโจนลงมาจากบันไดแคบๆ โดยสวมเสื้อคลุมเหนือไหล่และใส่ทูนิคสั้นสีเงิน ละครเวทีแสดงเป็นเวลาสามเดือน และเฮปเบิร์นได้รับบทวิจารณ์ในแง่บวก[42] ริชาร์ด การ์แลนด์จากหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กเวิลด์-เทเลกราฟ ได้เขียนว่า "เป็นเวลาหลายคืนนับตั้งแต่นั้นที่มีความเปล่งแสงโชติช่วงด้วยการแสดงที่ได้ฉายแสงในฉากของบรอดเวย์"[43]

ความสำเร็จในฮอลลีวูด (ค.ศ. 1932 - 1934)

Hepburn and David Manners acting in A Bill of Divorcement. They are holding hands and looking at each other emotionally.
เฮปเบิร์นปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์แนวประโลมโลก เรื่อง อะบิลออฟดีโวสเมนต์ (ค.ศ. 1932) ในบท ซิดนีย์ แฟร์ฟิลด์ โดยคู่กับเดวิด แมนเนอร์ นักวิจารณ์ชื่นชอบการแสดงของเธอและทำให้เธอโด่งดังในทันที

แมวมองของลีแลนด์ เฮย์วาร์ด นายหน้าในฮอลลีวูดได้มาสังเกตเห็นรูปโฉมของเฮปเบิร์น ในละครเวที เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ และได้ขอให้เธอลองมาทดสอบในบท ซิดนีย์ แฟร์ฟิลด์ ในภาพยนตร์ของอาร์เคโอพิกเตอร์ เรื่อง อะบิลออฟดีโวสเมนต์[44] จอร์จ คูกอร์ ผู้กำกับรู้สึกประทับใจในสิ่งที่เขาเห็น เขากล่าวว่า "นี่คือสิ่งแปลกที่พระเจ้าได้สร้างสรรค์ขึ้นมา" เขาจำได้ว่า "เธอไม่เหมือนใครที่ผมเคยได้ยินพบเจอมาก่อน" โดยเฉพาะเขาชื่นชอบอากัปกิริยาที่เธอหยิบแก้วขึ้นมา โดยกล่าวว่า "ผมคิดว่าเธอมีความสามารถมากในการแสดงอากัปกิริยาเช่นนั้น"[45] เฮปเบิร์นเรียกร้องค่าจ้าง 1,500 ดอลลาร์ฯต่อสัปดาห์ สำหรับการรับบทนี้ ซึ่งเป็นค่าจ้างที่สูงมากสำหรับนักแสดงหน้าใหม่[46] คูกอร์ได้สนับสนุนให้ทางสตูดิโอยินยอมตามข้อเรียกร้องของเธอและพวกเขาก็ได้เซ็นสัญญากับเฮปเบิร์นเป็นการชั่วคราวรับประกันสามสัปดาห์[27][47] เดวิด โอ.เซลสนิคก์ ประธานอาร์เคโอ ได้คิดทบทวนใหม่ถึงการที่เขาจะได้ "โอกาสครั้งยิ่งใหญ่" จากการคัดเลือกนักแสดงหญิงผู้แหวกแนวคนนี้[48]

เฮปเบิร์นเดินทางมาถึงแคลิฟอร์เนียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932 ขณะมีอายุ 25 ปี เธอแสดงภาพยนตร์ อะบิลออฟดีโวสเมนต์ โดยบทที่ได้รับต้องเป็นคู่ขัดแย้งกับจอห์น แบร์รีมอร์ แต่ก็ไม่มีสัญญาณของความหวดกลัวใดๆเลย[48][49] แต่เธอก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของการแสดงภาพยนตร์ ซึ่งเฮปเบิร์นได้หลงใหลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์นี้ตั้งแต่เริ่มต้น[50] ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จและเฮปเบิร์นได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก[51] มอร์ดันท์ ฮอลล์จากเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้เรียกการแสดงของเธอว่า "ยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ...ลักษณะท่าทางของคุณเฮปเบิร์นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่พบเจอบนหน้าจอภาพยนตร์"[52] บทวิจารณ์ของนิตยสาร Variety ได้ประกาศว่า "ความยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นที่นี่คือความประทับใจที่พุ่งเข้าชนโดยฝีมือของแคทารีย เฮปเบิร์นในภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ เธอมีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญซึ่งทำให้เธอมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มกาแล็กซีภาพยนตร์"[53] ด้วยกระแสของ อะบิลออฟดีโวสเมนต์ ที่กำลังมาแรง ทำให้ อาร์เคโอ ตัดสินใจเซ็นสัญญาระยะยาวกับเธอ[54] จอร์จ คูกอร์ได้กลายเป็นเพื่อนและผู้ร่วมงานที่ยาวนานตลอดชีวิตของเธอ เขาและเฮปเบิร์นได้ร่วมงานกันในภาพยนตร์ทั้งหมด 10 เรื่อง[55]

Hepburn, dressed in 19th-century clothes, sat with tears in her eyes.
แสดงเป็น โจ มาร์ช ใน สี่ดรุณี (ปี 1933) อันเป็นภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น

ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเฮปเบิร์นคือ คริสโตเฟอร์สตรอง (ปี 1933) เป็นเรื่องราวของนักบินและความสัมพันธ์ของเธอที่มีต่อชายที่แต่งงานแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าไร แต่บทวิจารณ์เฮปเบิร์นนั้นดี[56] เรจินา ครีวี เขียนในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กจัวนัล-อเมริกันว่าแม้ว่ากิริยาท่าทางของเธอจะค่อนข้างเถื่อน แต่"กิริยาเหล่านั้นก็สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้รับชมต้องหลงใหลเธอ เธอมีบุคลิกชัดเจน เด็ดขาด และบุคลิกภาพด้านบวก"[57] ภาพยนตร์เรื่องที่สามของเฮปเบิร์นเป็นสิ่งยืนยันให้เธอเป็นนักแสดงหลักของฮอลลีวูด[58] ด้วยการแสดงเป็นนักแสดงผู้ทะเยอทะยานชื่อ เอวา เลิฟเลซ บทที่ตั้งใจมอบให้กับคอนสแตนซ์ เบนเนต ในเรื่อง มอร์นิ่งกลอรี ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เธอเคยเห็นบทวางอยู่บนโต๊ะของโปรดิวเซอร์ปานโดร เอส.เบอร์แมน และเธอเชื่อว่าเธอเกิดมาเพื่อรับบทนี้ เป็นบทที่สร้างมาเพื่อเธอ[59] เฮปเบิร์นเลือกที่จะไม่เข้าร่วมงานประกาศรางวัล และเธอจะไม่เข้าร่วมเลยตลอดอาชีพการทำงานของเธอ แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นต่อชัยชนะมาก[60] ความสำเร็จของเธอยังมีต่อในบท โจ ในเรื่อง สี่ดรุณี (ปี 1933) ภาพยนตร์โด่งดังมาก จนกลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในช่วงเวลานั้น[48] และเฮปเบิร์นได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส เรื่อง สี่ดรุณี เป็นภาพยนตร์ที่เธอชอบเป็นการส่วนตัวและเธอพึงพอใจกับการแสดงมาก ซึ่งในภายหลังเธอบอกว่า "ฉันท้าได้เลยว่า ใครจะเล่นเป็น [โจ] ได้ดีกว่าที่ฉันเล่น"[58]

ปลายปีค.ศ. 1933 เฮปเบิร์นเป็นนักแสดงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง แต่เธอต้องการพิสูจน์ตัวเองในบรอดเวย์[61] เจ็ด แฮร์ริส ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ละครเวทีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทศวรรษที่ 1920 กำลังผ่านช่วงตกต่ำของอาชีพของเขา[62] เขาขอให้เฮปเบิร์นแสดงในละครเวทีเรื่อง เดอะเลค ซึ่งเฮปเบิร์นยินยอมรับงานในอัตราค่าตอบแทนที่ต่ำ[63] ก่อนที่เธอจะลาไปบรอดเวย์ อาร์เคโอเสนอให้เธอเล่นภาพยนตร์เรื่อง สปิทไฟเออร์ (ปี 1934) เฮปเบิร์นแสดงเป็น ทริกเกอร์ ฮิกส์ เด็กสาวที่อาศัยบนภูเขาซึ่งไม่ได้รับการศึกษา แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ แต่สปิทไฟเออร์ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาพยนตร์ที่แย่ที่สุดของแคทารีน เฮปเบิร์น และเธอก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก[64] เฮปเบิร์นเก็บรูปถ่ายของตัวเองที่แสดงเป็นฮิกส์ไว้ในห้องนอนตลอดชีวิตเพื่อให้ฉัน "[มี]ความเจียมเนื้อเจียมตน"[65]

มีการฉายตัวอย่างการแสดงละครเวทีเรื่องเดอะเลคในวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้มีการซื้อตั๋วล่วงหน้าจำนวนมาก[63] ทิศทางการทำงานที่ย่ำแย่ของแฮร์ริสได้ทำลายความเชื่อมั่นของเฮปเบิร์นและเธอก็ประสบความลำบากในการแสดง[66] ด้วยเหตุนี้แฮร์ริสจึงย้ายการแสดงไปยังนิวยอร์กโดยไม่มีการซ้อมล่วงหน้า ละครเวทีจัดแสดงที่โรงละครมาร์ติน แบ็ค ในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1933 และเฮปเบิร์นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันที[67] โดโรธี ปาร์กเกอร์ ได้เหน็บแนมว่า "เฮปเบิร์นใช้แต่ช่วงโทนเสียงอารมณ์ตั้งแต่เอถึงบีตลอดทั้งเรื่อง"[68] ด้วยต้องผูกติดกับสัญญาทั้งหมด 10 สัปดาห์ เฮปเบิร์นต้องทนลำบากใจที่ยอดขายบ็อกซ์ออฟฟิศลดลงอย่างรวดเร็ว[69] แฮร์ริสจึงตัดสินใจจัดแสดงที่ชิคาโก และพูดกับเฮปเบิร์นว่า "ที่รัก ความสนใจหนึ่งเดียวที่ผมมีต่อคุณคือเงินที่ผมได้จากคุณ" เฮปเบิร์นไม่อยากแสดงในละครเวทีที่ล้มเหลวของแฮร์ริสอีกต่อไป เธอจึงจ่ายเงินให้แฮร์ริสถึง 14,000 ดอลลาร์ ซึ่งมาจากเงินเก็บชั่วชีวิตของเธอ เพื่อหยุดยั้งการจัดแสดงนี้แทน[70] ในภายหลังเธอกล่าวถึงแฮร์ริสว่า "ตัดสินให้เป็นคนที่โหดร้ายที่สุดที่ฉันเคยพบเจอมาในชีวิต"[62] และเธออ้างว่าประสบการณ์ครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สอนให้เธอมีความรับผิดชอบในอาชีพของเธอ[71]

ความล้มเหลวในอาชีพ (ค.ศ.1934-1938)

หลังจากล้มเหลวใน สปิทไฟเออร์ และเดอะเลค อาร์เคโอได้เลือกให้เฮปเบิร์นแสดงในเรื่อง เดอะลิตเติ้ลมินิสเตอร์ ตามนวนิยายสมัยวิกตอเรียนของเจ.เอ็ม. บาร์รี โดยพยายามให้สำเร็จเหมือนภาพยนตร์เรื่อง "สี่ดรุณี"[72] แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นและกลายเป็นความล้มเหลวเชิงการค้า[73] ภาพยนตร์ดราม่าโรแมนติกเรื่อง เบรคออฟฮาร์ทส์ ในปี 1935 ซึ่งแสดงคู่กับชาร์ล บอเยอร์ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีและสูญเสียรายได้[74] หลังจากแสดงภาพยนตร์ที่ไม่น่าจดจำสามเรื่อง เฮปเบิร์นก็ประสบความสำเร็จอีกครั้งในเรื่อง อลิซ อดัมส์ (ปี 1935) เป็นเรื่องราวความสิ้นหวังของหญิงสาวในการไต่เต้าชนชั้นทางสังคม เฮปเบิร์นชื่นชอบนิยายเล่มนี้และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รับการเสนอบทนี้[75] ภาพยนตร์โด่งดังมาก และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของเฮปเบิร์น และเรื่องนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่สอง และได้รับคะแนนโหวตเป็นลำดับสอง แต่ผู้ชนะคือ เบตตี เดวิส[76]

ด้วยความโดดเด่นนี้ เฮปเบิร์นตัดสินใจแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่ของจอร์จ คูกอร์ ในเรื่อง ซิลเวีย สการ์เล็ต (ปี 1935) ซึ่งเธอแสดงคู่กับแครี แกรนต์เป็นครั้งแรก[76] เธอตัดผมสั้นเพราะตัวละครของเธฮนั้นปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชายเกือบทั้งเรื่อง นักวิจารณ์นั้นไม่ชอบซิลเวีย สการ์เล็ตและไม่เป็นที่นิยมต่อสาธารณชน[77] ภาพยนตร์ต่อไปเธอแสดงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ หรือ แมรี สจวต ในภาพยนตร์เรื่อง แมรีแห่งสกอตแลนด์ของจอห์น ฟอร์ด (ปี 1936) ซึ่งได้รับการตอบรับกระแสไม่ค่อยดีเช่นกัน[78] ตามมาด้วยเรื่อง อะวูเม่นรีเบลส์ (ปี 1936) ภาพยนตร์ดราม่ายุควิกตอเรียนที่ซึ่งเฮปเบิร์นรับบทที่ท้าทายจากการมีลูกนอกสมรส[79] เรื่อง ควอลิตี้สตรีท (ปี 1937) ละครย้อนยุคเช่นกันแต่คราวนี้มีภาพยนตร์ตลก ภาพบนตร์แต่ละเรื่องไม่ได้รับความนิยมจากสาธารณชนเลย ซึ่งหมายความว่าเธอไม่ประสบความสำเร็จในภาพยนตร์สี่เรื่องติดต่อกัน[80]

อ้างอิง

  1. Britton (2003) p. 41.
  2. Berg (2004), p. 40.
  3. Chandler (2011) p. 37.
  4. Higham (2004) p. 2.
  5. "Katharine Hepburn: Part 2". The Dick Cavett Show. October 3, 1973. American Broadcasting Company. {{cite episode}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |serieslink= ถูกละเว้น แนะนำ (|series-link=) (help) จากคำสัมภาษณ์นี้ของเฮปเบิร์น
  6. Higham (2004) p. 4; Chandler (2011) p. 39; Prideaux (1996) p. 74.
  7. Hepburn (1991) p. 21.
  8. "Katharine Hepburn: Part 1". The Dick Cavett Show. October 2, 1973. American Broadcasting Company. {{cite episode}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |serieslink= ถูกละเว้น แนะนำ (|series-link=) (help)
  9. Berg (2004) p. 47.
  10. Hepburn (1991) p. 30; Kanin (1971) p. 82.
  11. Chandler (2011) p. 30.
  12. Hepburn (1991) p. 43; Higham (2004) p. 2.
  13. 13.0 13.1 Higham (2004) p. 7.
  14. Higham (2004) p. 3.
  15. Chandler (2011) p. 34.
  16. Higham (2004) p. 4.
  17. Hepburn (1991) p. 44.
  18. Hepburn (1991) p. 46.
  19. Chandler (2011) p. 6.
  20. Higham (2004) p. 5.
  21. Hepburn (1991) p. 49.
  22. Chandler (2011) p. 7.
  23. Kanin (1971) p. 285.
  24. Hepburn (1991) p. 69.
  25. 25.0 25.1 Dickens (1990) p. 4.
  26. Horton and Simmons (2007) p. 119.
  27. 27.0 27.1 "Cinema: The Hepburn Story". Time. September 1, 1952. สืบค้นเมื่อ August 21, 2011.(ต้องรับบริการ)
  28. Katharine Hepburn: All About Me. Turner Network Television. {{cite AV media}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |airdate= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |credits= ถูกละเว้น (help) Stated by Hepburn in this documentary.
  29. Higham (2004) p. 8.
  30. Hepburn (1991) p. 81.
  31. 31.0 31.1 31.2 Higham (2004) p. 9.
  32. Berg (2004) p. 59; Higham (2004) p. 9.
  33. Berg (2004) p. 73.
  34. Hepburn (1991) p. 109; Higham (2004) p. 11.
  35. Higham (2004) p. 16; Hepburn (1991) p. 112.
  36. 36.0 36.1 Higham (2004) p. 16.
  37. Kanin (1971) p. 22.
  38. 38.0 38.1 Hepburn (1991) p. 118.
  39. Berg (2004) p. 74.
  40. Hepburn (1991) p. 120.
  41. Higham (2004) p. 17.
  42. Berg (2004) p. 75.
  43. Dickens (1990) p. 229.
  44. Hepburn (1991) p. 128.
  45. Higham (2004) p. 23.
  46. Higham (2004) p. 21.
  47. Haver (1980) p. 94.
  48. 48.0 48.1 48.2 Haver (1980) p. 96.
  49. Prideaux (1996) p. 15.
  50. Higham (2004) pp. 30–31.
  51. Berg (2004) p. 82.
  52. Hall, Mordaunt (October 3, 1932). "A Bill of Divorcement (1932)". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 25, 2011.
  53. "A Bill of Divorcement". Variety. October 1932. สืบค้นเมื่อ August 25, 2011.
  54. Higham (2004) p. 39.
  55. Hepburn (1991) pp. 178, 181.
  56. Berg (2004) p. 84.
  57. Higham (2004) p. 44.
  58. 58.0 58.1 Berg (2004) p. 86.
  59. Berg (2004) p. 85.
  60. Berg (2004) p. 88.
  61. Berg (2004), p. 89; Higham (2004) p. 57.
  62. 62.0 62.1 Berg (2004) p. 91.
  63. 63.0 63.1 Berg (2004) p. 92.
  64. Berg (2004) p. 89.
  65. Berg (2004) p. 90.
  66. Higham (2004) p. 60.
  67. Higham (2004) p. 62.
  68. Hendrickson (2013) p. 311
  69. Hepburn (1991) p. 166.
  70. Berg (2004) p. 93.
  71. Hepburn (1991) p. 4.
  72. Berg (2004) p. 105.
  73. Higham (2004) p. 66.
  74. Berg (2004) p. 106.
  75. Higham (2004) p. 68.
  76. 76.0 76.1 Berg (2004) p. 109.
  77. Berg (2004) p. 110.
  78. Berg (2004) pp. 111–112.
  79. Berg (2004) p. 126.
  80. Berg (2004) p. 112.

แหล่งที่มา

เว็บไซต์อ้างอิง