ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาเทวีแห่งหงสาวดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63: บรรทัด 63:
ยิ่งพระอำนาจของพระยาอู่สั่นคลอน พระอำนาจของพระมหาเทวีก็ทวีขึ้น ครั้นอำมาตย์แพรจอ (Pun-So) อัครมหาเสนาบดีที่พระยาอู่ไว้พระทัย ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1369 พระยาอู่ก็ทรงหันมาพึ่งพาคำแนะนำของพระมหาเทวีผู้เป็นพระเชษฐภคินี<ref name=npl-58-59>Pan Hla 2005: 58–59</ref> เหตุการณ์สำคัญ คือ เมื่อสมิงสามปราบ (Than-Byat) เจ้าเมืองกริบ (เมือง[[สิเรียม]] - Syriam) แปรพักตร์ พระมหาเทวีก็ทรงแนะให้ตีโต้ พระมหาเทวีทรงตั้งสมิงทะโยกคะราช (Yawga Rat) กับสมิงมะราหู ให้นำทัพข้ามแม่น้ำจากเมืองตะเกิงของพระนางเข้าไปยึดสิเรียมคืน การทัพครั้งนี้สำเร็จลุล่วงดังพระประสงค์ แต่พระยาอู่ก็ยังทรงตั้งมั่นอยู่ในพะโคต่อไป โดยทรงรอมชอมกับพระตะบะและสมิงเลิกพร้า ''[[พงศาวดารปากลัด]]'' (Pak Lat Chronicles) ระบุว่า พระยาอู่ทรงยอมมอบทองคำหนัก 16.33 กิโลกรัม พร้อมด้วยช้างสิบเชือก ให้แก่ทั้งสอง คนทั้งสองจึงยอมสวามิภักดิ์และกลับคืนเป็นข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทของพระยาอู่แต่ในนาม<ref name=npl-66>Pan Hla 2005: 62–63, 66</ref>
ยิ่งพระอำนาจของพระยาอู่สั่นคลอน พระอำนาจของพระมหาเทวีก็ทวีขึ้น ครั้นอำมาตย์แพรจอ (Pun-So) อัครมหาเสนาบดีที่พระยาอู่ไว้พระทัย ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1369 พระยาอู่ก็ทรงหันมาพึ่งพาคำแนะนำของพระมหาเทวีผู้เป็นพระเชษฐภคินี<ref name=npl-58-59>Pan Hla 2005: 58–59</ref> เหตุการณ์สำคัญ คือ เมื่อสมิงสามปราบ (Than-Byat) เจ้าเมืองกริบ (เมือง[[สิเรียม]] - Syriam) แปรพักตร์ พระมหาเทวีก็ทรงแนะให้ตีโต้ พระมหาเทวีทรงตั้งสมิงทะโยกคะราช (Yawga Rat) กับสมิงมะราหู ให้นำทัพข้ามแม่น้ำจากเมืองตะเกิงของพระนางเข้าไปยึดสิเรียมคืน การทัพครั้งนี้สำเร็จลุล่วงดังพระประสงค์ แต่พระยาอู่ก็ยังทรงตั้งมั่นอยู่ในพะโคต่อไป โดยทรงรอมชอมกับพระตะบะและสมิงเลิกพร้า ''[[พงศาวดารปากลัด]]'' (Pak Lat Chronicles) ระบุว่า พระยาอู่ทรงยอมมอบทองคำหนัก 16.33 กิโลกรัม พร้อมด้วยช้างสิบเชือก ให้แก่ทั้งสอง คนทั้งสองจึงยอมสวามิภักดิ์และกลับคืนเป็นข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทของพระยาอู่แต่ในนาม<ref name=npl-66>Pan Hla 2005: 62–63, 66</ref>


อย่างไรก็ดี การเถลิงอำนาจของพระมหาเทวีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งปวง กลุ่มการเมืองในราชสำนักที่มี[[สมิงชีพราย]] อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้นำ ต่อต้านพระนางอย่างลับ ๆ และสามปีให้หลัง พระนาง ในพระชนม์กว่า 50 ชันษา ก็ทรงถูกต่อต้านหนักขึ้น เมื่อทรงถูกกล่าวหาว่า เป็นชู้กับ[[สมิงมะราหู]] ผู้เป็นหลานเขยที่อ่อนวัยกว่าพระนางยิ่งนัก สมิงมะราหูผู้นี้เป็นสวามีของ[[ตละแม่ศรี]] (Tala Mi Thiri) พระธิดาของพระยาอู่ และพระนัดดาของพระนางเอง เมื่อข้อกล่าวหานี้แพร่สะพัด ผู้คนทั้งพระนครก็เย้ยหยันพระนาง พงศาวดารมอญ ''[[ราชาธิราช]]'' ยังบันทึกเพลงกลอนที่ชาวเมืองขับร้องเสียดสีพระนางเอาไว้<ref name=npl-67-68>Pan Hla 2005: 67–68</ref> ซึ่งราชาธิราชฉบับภาษาไทยได้ถอดความหมายไว้ว่า "นกสตือไซร้ขึ้นไข่ไว้ในต้นไม้อันคาอันซุ่ง อันสตรีแก่จะใคร่ได้สามีหนุ่ม ถันยุคลนั้นไซร้ยานลงถึงรั้งผ้า"<ref>[https://vajirayana.org/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/%E0%B9%93 พระราชพงศาวดารรามัญ เรื่อง ราชาธิราช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บริการ พ.ศ. ๒๔๘๙ บทที่ ๓]</ref> เหตุการณ์ครั้งนี้เชื่อว่า เป็นที่มาของภาษิตมอญที่ว่า "นางนกยูงแก่ปีนขึ้นเค้าไม้ไปวางไข่ นางหญิงเฒ่าไร้ยางอายไปแย่งผัวชาวบ้าน" (The old peahen climbs up a tree to lay a clutch of eggs; the old woman brazenly steals another woman's husband.)<ref name=jf-5>Fernquest Spring 2006: 5</ref>
อย่างไรก็ดี การเถลิงอำนาจของพระมหาเทวีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งปวง กลุ่มการเมืองในราชสำนักที่มี[[สมิงชีพราย]] อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้นำ ต่อต้านพระนางอย่างลับ ๆ และสามปีให้หลัง พระนาง ในพระชนม์กว่า 50 ชันษา ก็ทรงถูกต่อต้านหนักขึ้น เมื่อทรงถูกกล่าวหาว่า เป็นชู้กับ[[สมิงมะราหู]] ผู้เป็นหลานเขยที่อ่อนวัยกว่าพระนางยิ่งนัก สมิงมะราหูผู้นี้เป็นสวามีของ[[ตละแม่ศรี]] (Tala Mi Thiri) พระธิดาของพระยาอู่ และพระนัดดาของพระนางเอง เมื่อข้อกล่าวหานี้แพร่สะพัด ผู้คนทั้งพระนครก็เย้ยหยันพระนาง พงศาวดารมอญ ''[[ราชาธิราช]]'' ยังบันทึกเพลงกลอนที่ชาวเมืองขับร้องเสียดสีพระนางเอาไว้<ref name=npl-67-68>Pan Hla 2005: 67–68</ref> ว่า "นกสตือไซร้ขึ้นไข่ไว้ในต้นไม้อันคาอันซุ่ง อันสตรีแก่จะใคร่ได้สามีหนุ่ม ถันยุคลนั้นไซร้ยานลงถึงรั้งผ้า"<ref>[https://vajirayana.org/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/%E0%B9%93 พระราชพงศาวดารรามัญ เรื่อง ราชาธิราช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บริการ พ.ศ. ๒๔๘๙ บทที่ ๓]</ref> เหตุการณ์ครั้งนี้เชื่อว่า เป็นที่มาของภาษิตมอญที่ว่า "นางนกยูงแก่ปีนขึ้นเค้าไม้ไปวางไข่ นางหญิงเฒ่าไร้ยางอายไปแย่งผัวชาวบ้าน" (The old peahen climbs up a tree to lay a clutch of eggs; the old woman brazenly steals another woman's husband.)<ref name=jf-5>Fernquest Spring 2006: 5</ref>


อย่างไรก็ดี พระยาอู่ก็ทรงยังไว้พระทัยในพระนางมิเสื่อมคลาย ทั้งทรงมอบอำนาจให้พระนางมากขึ้น ๆ ทุกปี ด้วยพระพลานามัยทรุดโทรมลงตามลำดับ<ref name=npl-68-69>Pan Hla 2005: 68–69</ref> แต่การงัดข้อกันเพื่อชิงอำนาจก็เป็นไปในทางรุนแรงขึ้นทุกขณะเช่นกัน หลายกลุ่มพากันหนุนพระนางและสมิงมะราหูมากขึ้น ๆ<ref name=npl-72>Pan Hla 2005: 72</ref> เป็นเหตุให้ที่สุดแล้วกลุ่มของพระนางก็มีอำนาจมั่นคงสถาพรขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1380 อันเป็นช่วงเวลาที่พระสุขภาพของพระยาอู่ถดถอยลงอย่างถึงที่สุด ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1382 จึงปรากฏว่า พระมหาเทวีทรงได้ปกครองอาณาจักรหงสาวดีโดยพฤตินัยอยู่แล้ว<ref name=npl-81>Pan Hla 2005: 81</ref> ครั้น ค.ศ. 1383 [[พระยาน้อย]] ผู้เป็นพระโอรสของพระยาอู่ ทั้งเป็นพระนัดดาและโอรสบุญธรรมของพระนางเอง ก่อหวอดต่อต้านพระนาง<ref name=npl-82-83>Pan Hla 2005: 82–83</ref>
อย่างไรก็ดี พระยาอู่ก็ทรงยังไว้พระทัยในพระนางมิเสื่อมคลาย ทั้งทรงมอบอำนาจให้พระนางมากขึ้น ๆ ทุกปี ด้วยพระพลานามัยทรุดโทรมลงตามลำดับ<ref name=npl-68-69>Pan Hla 2005: 68–69</ref> แต่การงัดข้อกันเพื่อชิงอำนาจก็เป็นไปในทางรุนแรงขึ้นทุกขณะเช่นกัน หลายกลุ่มพากันหนุนพระนางและสมิงมะราหูมากขึ้น ๆ<ref name=npl-72>Pan Hla 2005: 72</ref> เป็นเหตุให้ที่สุดแล้วกลุ่มของพระนางก็มีอำนาจมั่นคงสถาพรขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1380 อันเป็นช่วงเวลาที่พระสุขภาพของพระยาอู่ถดถอยลงอย่างถึงที่สุด ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1382 จึงปรากฏว่า พระมหาเทวีทรงได้ปกครองอาณาจักรหงสาวดีโดยพฤตินัยอยู่แล้ว<ref name=npl-81>Pan Hla 2005: 81</ref> ครั้น ค.ศ. 1383 [[พระยาน้อย]] ผู้เป็นพระโอรสของพระยาอู่ ทั้งเป็นพระนัดดาและโอรสบุญธรรมของพระนางเอง ก่อหวอดต่อต้านพระนาง<ref name=npl-82-83>Pan Hla 2005: 82–83</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:09, 8 สิงหาคม 2563

พระมหาเทวีแห่งหงสาวดี
မဟာဒေဝီ
ผู้สำเร็จราชการแห่งหงสาวดี
ครองราชย์ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1383 – 4 มกราคม ค.ศ. 1384
ก่อนหน้าพระยาอู่ (ในฐานะกษัตริย์)
ต่อไปพระเจ้าราชาธิราช (ในฐานะกษัตริย์)
กษัตริย์พระยาอู่
เจ้าเมืองตะเกิง
ครองราชย์ค.ศ. 1364 – ป. ค.ศ. 1392
ก่อนหน้าพระตะเบิด
ต่อไป?
ประสูติในหรือก่อน ค.ศ. 1322
เมาะตะมะ, อาณาจักรเมาะตะมะ
สวรรคตป. ค.ศ. 1392
ป. 754 ME
ตะเกิง, อาณาจักรหงสาวดี
คู่อภิเษกพระตะเบิด (สมรส 1348; 1363)
ไชยสุระ (สมรส 1363; 1364)
พระราชบุตรไม่มีบุตร
พระเจ้าราชาธิราช (บุตรบุญธรรม)
ราชวงศ์ฟ้ารั่ว
พระราชบิดาพระเจ้ารามมะไตย
พระราชมารดานางจันทะมังคะละ
ศาสนาพุทธเถรวาท

มหาเทวี (พม่า: မဟာဒေဝီ, ออกเสียง: [məhà dèwì]; อักษรโรมัน: Maha Dewi; ราว ค.ศ. 1322 – ราว ค.ศ. 1392) เป็นเจ้าหญิงผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรหงสาวดีในช่วงราวสิบสัปดาห์สุดท้ายของรัชกาลพระยาอู่ (Binnya U) ผู้เป็นพระอนุชา พระนางยังทรงเป็นเจ้าเมืองตะเกิง (Dagon) ตั้งแต่ ค.ศ. 1364 ถึงราว ค.ศ. 1392

ก่อนดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินนั้น พระนางทรงเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดของพระอนุชามาตั้งแต่ ค.ศ. 1369 และทรงปกครองแผ่นดินโดยพฤตินัยมาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1380 แต่ราชสำนักไม่สนับสนุนพระนาง กลุ่มอำนาจในราชสำนักมักยกเอาข้อกล่าวหาที่ว่า พระนางมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวมายาวนานกับสมิงมะราหู (Smim Maru) หลานเขยผู้อ่อนวัยกว่าพระนางเป็นอันมาก มาบ่อนทำลายอิทธิพลของพระนาง ครั้นเมื่อพระยาน้อย (Binnya Nwe) พระนัดดาและพระโอรสบุญธรรมของพระนาง ก่อกบฏใน ค.ศ. 1383 สมิงชีพราย (Zeik-Bye) อัครมหาเสนาบดี ก็ลักลอบเข้าด้วยพระยาน้อย

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1383 พระยาอู่ประชวรและมอบราชการให้แก่พระนางอย่างเป็นทางการ แต่พระนางมิอาจปราบกบฏพระยาน้อยลงได้ สองเดือนให้หลัง พระยาอู่สวรรคต ราชสำนักเลือกพระยาน้อยขึ้นสืบสันตติวงศ์ ทรงพระนาม พระเจ้าราชาธิราช (Razadarit) พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงตั้งพระนางซึ่งเป็นพระมารดาบุญธรรมกลับไปดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตะเกิงดังเดิม แต่สถานะของพระนางในครั้งนี้เป็นไปในทางพิธีการเท่านั้น

ต้นพระชนม์

พระนางมีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า "เม้ยนะ" (Mwei Na) เป็นพระธิดาของเจ้าหญิงจันทะมังคะละ (Sanda Min Hla) กับเจ้าชายสอเซน (Saw Zein) พระมารดาและพระบิดาทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน[1] เมื่อประสูติแล้ว ทรงได้รับพระนามว่า "วิหารเทวี" (Wihara Dewi) เพราะมีพระประสูติการในขณะที่พระบิดาทรงสร้างพระวิหารถวายสงฆ์[2] พระนางมีพระญาติร่วมพระบิดามารดา คือ เม้ยเน (Mwei Ne) พระเชษฐภคินี และพระยาอู่ (Binnya U) พระอนุชา[3] เนื่องจากพระยาอู่ประสูติใน ค.ศ. 1323/24[4] พระนางจึงน่าจะประสูติในหรือก่อน ค.ศ. 1322

หลังประสูติได้ไม่นาน พระบิดาก็ได้เถลิงถวัลยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรหงสาวดี มีพระนามว่า พระยารามมะไตย (Binnya Ran De) มีเมืองหลวงอยู่ที่เมาะตะมะ ส่วนพระเชษฐภคินีก็สิ้นพระชนม์ พระนางจึงเป็นพระราชบุตรพระองค์โตที่สุดที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ของพระยารามมะไตย พระองค์จึงประทานพระนาม "มหาเทวี" ให้แก่พระนาง อันเป็นพระนามซึ่งทรงเป็นที่รู้จักมาจนบัดนี้[3]

พระยารามมะไตยสวรรคตใน ค.ศ. 1330 พระนางและพระอนุชาจึงทรงกำพร้าพระบิดานับแต่นั้น[5] แต่พระมารดาของทั้งสองพระองค์ทรงคุมอำนาจในราชสำนักไว้ได้ โดยทรงตั้งพระมหากษัตริย์สืบราชบัลลังก์ต่อมาจน ค.ศ. 1348 ถึงสองพระองค์ และตั้งพระองค์เองเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ทั้งสองนั้น[6]

เจ้าหญิงแห่งตะเกิง

พระมหาเทวีมิได้เสกสมรสจนกระทั่งพระชันษาเกือบปลายยี่สิบ โดยใน ค.ศ. 1348 พระยาอู่ พระอนุชา ทรงสืบบัลลังก์แห่งเมาะตะมะ และโปรดให้พระนางเสกสมรสกับบุญลาภ (Bon La) บุตรชายของมุเตียว (Than-Daw) เสนาบดีผู้ทรงอิทธิพล เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ แล้วพระยาอู่ก็ทรงตั้งบุญลาภเป็นเจ้าเมืองตะเกิง บรรดาศักดิ์ว่า "พระตะเบิด" (Bya Hta-Baik)[7] หลายปีให้หลังบุญลาภ ผู้เป็นพระสวามี ก็ได้เป็นพันธมิตรที่สำคัญของพระอนุชา

ครั้น ค.ศ. 1362 พระยาอู่ทรงขยายเจดีย์ชเวดากองให้สูงขึ้นถึง 20 เมตรเพื่อเป็นพระราชกุศล[8] แต่กลับเป็นช่วงสุดท้ายที่อาณาจักรจะอยู่สงบร่มเย็น เพราะในปีถัดมา คือ ค.ศ. 1363 พระยาอู่และราชบริพารเสด็จออกจากเมาะตะมะ กลุ่มการเมืองคู่แข่ง นำโดยเจ้าชายพระตะบะ (Byattaba) ฉวยโอกาสเข้ายึดพระนครไว้ได้ และสมิงเลิกพร้า (Laukpya) พระเชษฐาหรืออนุชาของพระตะบะ ก็ก่อกบฏในลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมอิรวดี พระยาอู่จึงทรงตั้งบุญลาภ พระสวามีของพระมหาเทวี เป็นแม่ทัพนำกำลังไปกู้พระนคร แต่พระชายาของพระตะบะ กับตละแม่มะสำโร (Tala Mi Ma-Hsan) พระขนิษฐาร่วมพระมารดาหรือบิดาของพระมหาเทวี ทรงร่วมมือกันวางยาพิษฆ่าบุญลาภเป็นผลสำเร็จในช่วงเจรจาหย่าศึก[9]

พระมหาเทวีไม่ทรงมีเวลาอาลัยพระสวามีมากนัก ด้วยพระยาอู่โปรดให้เสกสมรสกับไชยสุระ (Zeya Thura) เจ้าเมืองมอบี (Hmawbi) ทันที แล้วโปรดให้ไชยสุระเป็นผู้บัญชาการทหารคนใหม่ยกกำลังไปยึดเมาะตะมะอีกครั้ง แต่ไชยสุระถูกสังหารกลางสมรภูมิ พระยาอู่จึงทรงตั้งพระมหาเทวีขึ้นเป็นเจ้าเมืองตะเกิง[10]

เจ้าเมืองตะเกิง

เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตะเกิง ปรากฏว่า พระมหาเทวีทรงเป็นผู้ปกครองที่สามารถอาจหาญ พระนางกลายเป็นพันธมิตรที่พระยาอู่ พระอนุชา ทรงขาดมิได้ เวลานั้น พระยาอู่ทรงไปตั้งราชสำนักอยู่ที่นอกเมืองวาน (Donwun) ห่างจากเมืองเมาะตะมะไปทางเหนือราว 100 กิโลมตร การที่พระมหาเทวีทรงบัญชาการเมืองตะเกิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพกบฏของสมิงเลิกพร้าไม่อาจรุกคืบไปถึงเมืองพะโค (Pegu) ในภาคกลาง ส่วนสมิงพระตะเบิด (Smim Than-Byat - คนละคนกับพระตะเบิด ซึ่งมีชื่อเดิมว่า บุญลาภ) ซึ่งเป็นพระเชษฐาหรืออนุชาของพระตะบะ แต่ภักดีต่อพระยาอู่ ก็ป้องกันเมืองพะโคมิให้ถูกสมิงเลิกพร้าโจมตีจากทางตะวันตกเป็นผลสำเร็จ[11]

แต่ใน ค.ศ. 1369/70 สถานการณ์กลับเลวร้ายลง ด้วยกองทัพของพระตะบะขับพระยาอู่ออกจากเมืองวานได้ ขอบเขตอำนาจของพระยาอู่บัดนี้จึงเหลือแต่เมืองพะโคที่เดียว ฉะนั้น พระยาอู่จึงทรงตั้งพะโคเป็นพระนครแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ห่างเมืองตะเกิงของพระมหาเทวีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 62 กิโลเมตร[8][12]

การแย่งชิงอำนาจที่พะโค

ยิ่งพระอำนาจของพระยาอู่สั่นคลอน พระอำนาจของพระมหาเทวีก็ทวีขึ้น ครั้นอำมาตย์แพรจอ (Pun-So) อัครมหาเสนาบดีที่พระยาอู่ไว้พระทัย ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1369 พระยาอู่ก็ทรงหันมาพึ่งพาคำแนะนำของพระมหาเทวีผู้เป็นพระเชษฐภคินี[13] เหตุการณ์สำคัญ คือ เมื่อสมิงสามปราบ (Than-Byat) เจ้าเมืองกริบ (เมืองสิเรียม - Syriam) แปรพักตร์ พระมหาเทวีก็ทรงแนะให้ตีโต้ พระมหาเทวีทรงตั้งสมิงทะโยกคะราช (Yawga Rat) กับสมิงมะราหู ให้นำทัพข้ามแม่น้ำจากเมืองตะเกิงของพระนางเข้าไปยึดสิเรียมคืน การทัพครั้งนี้สำเร็จลุล่วงดังพระประสงค์ แต่พระยาอู่ก็ยังทรงตั้งมั่นอยู่ในพะโคต่อไป โดยทรงรอมชอมกับพระตะบะและสมิงเลิกพร้า พงศาวดารปากลัด (Pak Lat Chronicles) ระบุว่า พระยาอู่ทรงยอมมอบทองคำหนัก 16.33 กิโลกรัม พร้อมด้วยช้างสิบเชือก ให้แก่ทั้งสอง คนทั้งสองจึงยอมสวามิภักดิ์และกลับคืนเป็นข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทของพระยาอู่แต่ในนาม[14]

อย่างไรก็ดี การเถลิงอำนาจของพระมหาเทวีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งปวง กลุ่มการเมืองในราชสำนักที่มีสมิงชีพราย อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้นำ ต่อต้านพระนางอย่างลับ ๆ และสามปีให้หลัง พระนาง ในพระชนม์กว่า 50 ชันษา ก็ทรงถูกต่อต้านหนักขึ้น เมื่อทรงถูกกล่าวหาว่า เป็นชู้กับสมิงมะราหู ผู้เป็นหลานเขยที่อ่อนวัยกว่าพระนางยิ่งนัก สมิงมะราหูผู้นี้เป็นสวามีของตละแม่ศรี (Tala Mi Thiri) พระธิดาของพระยาอู่ และพระนัดดาของพระนางเอง เมื่อข้อกล่าวหานี้แพร่สะพัด ผู้คนทั้งพระนครก็เย้ยหยันพระนาง พงศาวดารมอญ ราชาธิราช ยังบันทึกเพลงกลอนที่ชาวเมืองขับร้องเสียดสีพระนางเอาไว้[15] ว่า "นกสตือไซร้ขึ้นไข่ไว้ในต้นไม้อันคาอันซุ่ง อันสตรีแก่จะใคร่ได้สามีหนุ่ม ถันยุคลนั้นไซร้ยานลงถึงรั้งผ้า"[16] เหตุการณ์ครั้งนี้เชื่อว่า เป็นที่มาของภาษิตมอญที่ว่า "นางนกยูงแก่ปีนขึ้นเค้าไม้ไปวางไข่ นางหญิงเฒ่าไร้ยางอายไปแย่งผัวชาวบ้าน" (The old peahen climbs up a tree to lay a clutch of eggs; the old woman brazenly steals another woman's husband.)[17]

อย่างไรก็ดี พระยาอู่ก็ทรงยังไว้พระทัยในพระนางมิเสื่อมคลาย ทั้งทรงมอบอำนาจให้พระนางมากขึ้น ๆ ทุกปี ด้วยพระพลานามัยทรุดโทรมลงตามลำดับ[18] แต่การงัดข้อกันเพื่อชิงอำนาจก็เป็นไปในทางรุนแรงขึ้นทุกขณะเช่นกัน หลายกลุ่มพากันหนุนพระนางและสมิงมะราหูมากขึ้น ๆ[19] เป็นเหตุให้ที่สุดแล้วกลุ่มของพระนางก็มีอำนาจมั่นคงสถาพรขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1380 อันเป็นช่วงเวลาที่พระสุขภาพของพระยาอู่ถดถอยลงอย่างถึงที่สุด ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1382 จึงปรากฏว่า พระมหาเทวีทรงได้ปกครองอาณาจักรหงสาวดีโดยพฤตินัยอยู่แล้ว[20] ครั้น ค.ศ. 1383 พระยาน้อย ผู้เป็นพระโอรสของพระยาอู่ ทั้งเป็นพระนัดดาและโอรสบุญธรรมของพระนางเอง ก่อหวอดต่อต้านพระนาง[21]

กบฏพระยาน้อย

พระยาน้อยนั้นอยู่ในความดูแลของพระมหาเทวีผู้เป็นป้ามาแต่ประสูติ เพราะเจ้าหญิงมุเตียว (Mwei Daw) พระมารดา ทรงคลอดพระองค์แล้วก็เสด็จสวรรคาลัย[22] พระมหาเทวีทรงอุ้มชูพระยาน้อยมาเสมือนพระราชบุตรในพระอุทร แต่พระยาอู่ พระบิดาของพระยาน้อย ไม่พอพระทัยในพระยาน้อยมาเสมอ เพราะทรงเห็นว่า พระยาน้อยมีน้ำพระทัยโหดเหี้ยม ครั้งหนึ่งถึงกับรับสั่งต่อพระมหาเทวีว่า อย่าให้พระยาน้อยสืบราชสมบัติเด็ดขาด[23] ด้วยเหตุนั้น พระยาอู่จึงทรงเลือกพ่อขวัญเมือง (Baw Ngan-Mohn) พระโอรสองค์น้อย เป็นรัชทายาท พระยาน้อยทรงทราบแล้วก็ทรงนิ่งเฉย[23]

ครั้น ค.ศ. 1382 พระยาน้อยทรงลักลอบได้เสียกับตละแม่ท้าว (Talamidaw) พระเชษฐหรือขนิษฐภคินีต่างพระมารดาของพระองค์เอง ยิ่งทำให้พระยาอู่พิโรธหนัก รับสั่งให้จับพระยาน้อยไปจำคุกไว้ แต่พระมหาเทวีก็ทรงวอนขอให้งดโทษเสีย จนพระยาอู่ทรงยอมปล่อยพระยาน้อย และยอมให้พระยาน้อยเสกสมรสกับตละแม่ท้าว โดยมีพระมหาเทวีเป็นองค์ประธานในการวิวาหมงคล[23]

แต่เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้พระยาน้อยทรงตระหนักว่า พระมหาเทวีทรงมีอำนาจเหนือแผ่นดินหงสาวดีมากเพียงไร และพระยาน้อยทรงเชื่อว่า พระนางจะเอาชายชู้มานั่งราชบัลลังก์ พระยาน้อยจึงทรงถือพระนางเป็นศัตรูสำคัญ[20][17] สมิงชีพรายเห็นสบโอกาส จึงยุแยงพระยาน้อยว่า พระมหาเทวี กับสมิงมะราหู ชายชู้ วางแผนจับพระยาน้อยประหารชิงบัลลังก์อยู่แล้ว[21] ครั้นวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1383 พระยาน้อยจึงตัดสินพระทัยก่อกบฏ[note 1] เช้ามืดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1383 พระยาน้อยนำกำลัง 30 นายหนีออกจากเมืองพะโคไปยึดเมืองตะเกิงตั้งกองบัญชาการ[note 2]

เดิมที พระมหาเทวีมิได้สนพระทัยการไปของพระยาน้อยมากนัก แต่พระยาอู่ พระมหากษัตริย์ผู้ประชวรหนักอยู่นั้น รับสั่งให้พระนางเสด็จไประงับเหตุ พระนางจึงหมายพระทัยจะส่งกองพันกองหนึ่งไปรับมือ แต่สมิงชีพรายทูลว่า ไม่สมควร เพราะเป็นการกระทำของเจ้าชายหนุ่มผู้วู่วามเท่านั้น[24] พระนางเห็นด้วย จึงโปรดให้คณะทูตไปตะเกิงเพื่อเจรจาให้พระยาน้อยกลับคืนมาพระนคร พระยาน้อยมีราชสาสน์มากราบทูลว่า ยังทรงถือพระนางเสมือนพระมารดาอยู่ และจะเสด็จนิวัตภายในเดือนสิงหาคม[25]

แท้จริงแล้ว พระยาน้อยมิได้ตั้งพระทัยจะกลับพะโค พระองค์รวบรวมผู้นำท้องถิ่นรอบเมืองตะเกิงมาเข้าฝ่ายพระองค์ วันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1383 พระมหาเทวีจึงโปรดให้คณะทูตอีกชุดไปเจรจากับพระยาน้อย[note 3] พระยาน้อยก็ทรงรับปากดังเดิมว่า จะกลับเมืองหลวงในเร็ววัน แต่ไม่ช้าพระมหาเทวีก็ทรงได้รับรายงานว่า พระยาน้อยส่งทูตไปขอความช่วยเหลือจากเมาะตะมะและมองมะละ (Myaungmya) ซึ่งเวลานั้นเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรหงสาวดีแต่ในนาม พระนางจึงทรงส่งคณะทูตไปเมืองทั้งสองตัดหน้าพระยาน้อย[26] แต่ที่สุดแล้ว ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1383[note 4] พระนางก็ตกลงพระทัยว่า จะใช้กำลังขั้นเด็ดขาดกับพระยาน้อยทันทีที่สิ้นฤดูฝน[27]

การสำเร็จราชการแผ่นดิน

ขณะนั้น พระพลานามัยของพระยาอู่ทรุดหนักอย่างเห็นได้ชัด จนไม่ทรงสามารถออกว่าราชการได้อีก ฉะนั้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1383 จึงมีพระราชโองการมอบหมายราชการแผ่นดินทั้งสิ้นทั้งปวงให้แก่พระมหาเทวีผู้เป็นพระเชษฐภคินี ให้พระนางมีราชศักดิ์และสิทธิ์ที่จะใช้มหาเศวตฉัตรได้ดังพระเจ้าแผ่นดิน[note 5] เหตุนั้น จึงมีการขานพระนามว่า "มังมหาเทวี" (Min Maha Dewi)[28] แต่พระนางก็ยังทรงว่าราชการในพระนามาภิไธยของพระอนุชาต่อไป มิได้ทรงออกหน้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง[29]

พระบัญชาประการแรกที่พระนางมีเมื่อทรงเข้าเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอย่างเป็นทางการ คือ ให้ยึดเมืองตะเกิงคืนจากพระยาน้อย พระนางทรงตั้งสมิงมะราหูเป็นกองหน้า ตั้งสมิงชีพรายเป็นกองหลัง นำทัพสามทัพ หนึ่งจากเมืองพะโค หนึ่งจากเมืองเมาะตะมะ และอีกหนึ่งจากเมืองมองมะละ ออกจากพะโคไปในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1383[note 6] แต่ทัพเมืองเมาะตะมะและมองมะละนั้นมิได้ประสงค์จะเข้าร่วมศึกอย่างแท้จริง มาแต่เฝ้าสังเกตเหตุการณ์เท่านั้น ส่วนสมิงชีพรายซึ่งเป็นฝ่ายพระยาน้อยมาแต่ต้นแล้ว ก็ลอบรายงานการทัพต่อพระยาน้อยสม่ำเสมอ ครั้นทัพทั้งสามไปถึงเมืองตะเกิง ก็ตั้งยั้งอยู่นอกเมือง แต่ไม่อาจตกลงกันเรื่องแผนประสานงานได้ พระยาน้อยจึงส่งทูตไปยังค่ายฝ่ายเมาะตะมะและมองมะละเจรจาให้ถอนตัว คณะทูตทำงานสำเร็จ ทัพมองมะละเป็นกลุ่มแรกที่ลาจาก ตามมาด้วยทัพเมาะตะมะในอีกไม่กี่วัน จึงเหลือแต่ทัพจากพะโคให้พระยาน้อยจัดการ[30] ครั้นวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1383[note 7] พระยาน้อยเปิดศึกกับกองหน้าที่นำโดยสมิงมะราหู ส่วนกองหลังของสมิงชีพรายก็ไปตั้งเสียไกลสมรภูมิ ทำให้กองหน้าแตกพ่ายกลับไป[31]

ข่าวการพ่ายศึกทำให้พระมหาเทวีทรงฉงนพระทัยว่า เหตุใดกองกำลังอันน้อยนิดของพระยาน้อยจึงมีชัยเหนือกองทัพของพระนางได้ จนที่สุดก็ทรงเล็งเห็นถึงการหักหลังจากสมิงชีพราย และทรงตระหนักว่า มิทรงอยู่ในฐานะที่จะตีโต้อีกต่อไป[31] พระนางรับสั่งให้ตกแต่งค่ายคูประตูหอรบเป็นการด่วน ส่วนสมิงชีพรายก็ถวายรายงานการปรับปรุงพระนครนี้ให้พระยาน้อยทรงทราบอย่างต่อเนื่อง[32] เวลานั้น อำนาจของพระมหาเทวีเสื่อมคลายลงมาก ไม่มีผู้ใดเชื่อถือพระเสาวนีย์อีกต่อไป พอพระยาน้อยนำทัพมาถึงกำแพงเมืองพะโคในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1383[note 8] พระมหาเทวีก็มิอาจทรงทำประการใดได้อีก นอกจากประทับหลบภัยอยู่ภายในกำแพงพระนคร[33]

ทหารทั้งสองฝ่ายสู้ยันกันมิรู้แพ้ชนะมาจนวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1384 เมื่อพระยาอู่เสด็จสวรรคต และสมิงมะราหูพยายามแสวงหาผู้สนับสนุนให้ตนขึ้นเสวยราชย์แทน แต่ไร้คนเข้าด้วย สมิงมะราหูจึงพาพระมหาเทวีเสด็จหนีจากพระนคร แต่ก็ไปไม่รอด ถูกจับกุมกลางทาง[34] ฉะนั้น วันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1384[note 9] ราชสำนัก ซึ่งสมิงชีพรายควบคุมไว้ได้นั้น จึงถวายราชบัลลังก์แก่พระยาน้อย วันรุ่งขึ้น พระยาน้อยเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงรับพระนาม "ราชาธิราช"[4] แต่พระยาน้อยตัดสินพระทัยจะไม่ลงโทษทัณฑ์ใด ๆ แก่พระมารดาบุญธรรม พระองค์ทรงตั้งพระมหาเทวีกลับเป็นเจ้าเมืองตะเกิง แต่บทบาทของพระนางหลังจากนี้เป็นไปในทางพิธีการเท่านั้น มิได้มีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงเช่นแต่ก่อน[35]

ปลายพระชนม์

ในบั้นปลายพระชนมชีพ พระมหาเทวีทรงพำนักอยู่ ณ เมืองตะเกิง และไม่ทรงมีส่วนในการปกครองของพระเจ้าราชาธิราช แต่ก็ทรงมีโอกาสได้ร่วมเหตุการณ์ในห้วงเจ็ดปีหลังพระเจ้าราชาธิราชเสด็จขึ้นเสวยราชย์ อันได้แก่ การที่พระเจ้าราชาธิราชผนวกแว่นแคว้นแดนมอญทั้งสามเข้าเป็นหนึ่งและต่อต้านการรุกรานของอาณาจักรอังวะจากทางเหนือไว้เป็นผลสำเร็จ[36][37]

พระนางสิ้นพระชนม์ในราว ค.ศ. 1392 อันเป็นปีเดียวกับที่พระนางปิยราชเทวี (Piya Yaza Dewi) มเหสีพระเจ้าราชาธิราช สิ้นพระชนม์ และพระยารามที่ 1 (Binnya Ran I) โอรสพระเจ้าราชาธิราช ประสูติ ครั้น ค.ศ. 1394 พระเจ้าราชาธิราชทรงตั้งพระนามพระธิดาพระองค์ใหม่ว่า "วิหารเทวี" ตามพระนามของพระมหาเทวี สมเด็จป้าผู้มีพระประสูติการเมื่อกว่าเจ็ดสิบปีผ่านมาแล้ว[38]

หมายเหตุ

  1. (Pan Hla 2005: 92): พระยาน้อยตัดสินพระทัยกบฏก่อนวันแรม 6 ค่ำ เดือน Kason จ.ศ. 745 ตรงกับวันพุธที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1383
  2. (Pan Hla 2005: 94): วันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน Nayon จ.ศ. 745 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1383 แต่เมื่อเกิดเหตุ เป็นเวลาของวันรุ่งขึ้น คือ วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม แล้ว
  3. (Pan Hla 2005: 112): วันแรม 6 ค่ำ เดือน Tawthalin จ.ศ. 745 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1383
  4. เป็นวันสิ้นเดือน Tawthalin จ.ศ. 745 ตรงกับวันที่ 27สิงหาคม ค.ศ. 1383
  5. ตาม Pan Hla (2005: 129) พระยาอู่ทรงมอบราชการให้แก่พระพี่นาง ณ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน Nadaw จ.ศ. 745 หรือไม่กี่วันก่อนหน้านี้ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน Nadaw จ.ศ. 745 เป็นวันที่พระมหาเทวีทรงบัญชีให้กองทัพยกจากพระนครไปปราบพระยาน้อย ตรงกับวันพุธที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1383
  6. (Pan Hla 2005: 129): ตาม ราชาธิราช กองทัพทั้งสามมาจากพะโค เมาะตะมะ และมองมะละ ส่วน พงศาวดารปากลัด ว่า กองทัพจากตองอูก็มาด้วย แต่ตามความเห็นของ Sein Lwin Lay (2006: 24–25) ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเวลานั้น เมืองตองอูไปขึ้นกับอาณาจักรอังวะแล้ว หลังจากที่ Phaungga of Toungoo ขุนศึกฝ่ายอังวะ เข้ายึดใน ค.ศ. 1383 นั้นเอง
  7. (Pan Hla 2005: 154): วันแรม 10 ค่ำ เดือน Nadaw จ.ศ. 745 ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1383
  8. (Pan Hla 2005: 156): พงศาวดารว่า เป็นวันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน Pyatho จ.ศ. 745 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1383 แต่น่าจะเป็นวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน Pyatho จ.ศ. 745 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1383 มากกว่า
  9. (Pan Hla 2005: 356, footnote 1): วันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน Tabodwe จ.ศ. 745 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1384

อ้างอิง

  1. Pan Hla 2005: 39
  2. Pan Hla 2005: 65
  3. 3.0 3.1 Pan Hla 2005: 40
  4. 4.0 4.1 Pan Hla 2005: 161
  5. Pan Hla 2005: 41
  6. Pan Hla 2005: 42–44
  7. Pan Hla 2005: 45
  8. 8.0 8.1 Harvey 1925: 112
  9. Pan Hla 2005: 53
  10. Pan Hla 2005: 54
  11. Pan Hla 2005: 55
  12. Pan Hla 2005: 57
  13. Pan Hla 2005: 58–59
  14. Pan Hla 2005: 62–63, 66
  15. Pan Hla 2005: 67–68
  16. พระราชพงศาวดารรามัญ เรื่อง ราชาธิราช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บริการ พ.ศ. ๒๔๘๙ บทที่ ๓
  17. 17.0 17.1 Fernquest Spring 2006: 5
  18. Pan Hla 2005: 68–69
  19. Pan Hla 2005: 72
  20. 20.0 20.1 Pan Hla 2005: 81
  21. 21.0 21.1 Pan Hla 2005: 82–83
  22. Pan Hla 2005: 61
  23. 23.0 23.1 23.2 Pan Hla 2005: 64
  24. Pan Hla 2005: 105
  25. Pan Hla 2005: 106, 108
  26. Pan Hla 2005: 122–123
  27. Pan Hla 2005: 125
  28. Pan Hla 2005: 150
  29. Pan Hla 2005: 129
  30. Pan Hla 2005: 145, 147–148
  31. 31.0 31.1 Pan Hla 2005: 154
  32. Pan Hla 2005: 155
  33. Pan Hla 2005: 156
  34. Pan Hla 2005: 157–158
  35. Pan Hla 2005: 164
  36. Harvey 1925: 113–114
  37. Htin Aung 1967: 88
  38. Pan Hla 2005: 368 footnote 1

บรรณานุกรม

  • Fernquest, Jon (Spring 2006). "Rajadhirat's Mask of Command: Military Leadership in Burma (c. 1348–1421)" (PDF). SBBR. 4 (1).
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาBurmese) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาBurmese). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  • Sein Lwin Lay, Kahtika U (1968). Min Taya Shwe Hti and Bayinnaung: Ketumadi Taungoo Yazawin (ภาษาBurmese) (2006, 2nd printing ed.). Yangon: Yan Aung Sarpay.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)