ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เผ่า ศรียานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ นิลกาฬ (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 84: บรรทัด 84:
== ถึงแก่อนิจกรรม ==
== ถึงแก่อนิจกรรม ==
พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิริอายุ 51 ปี<ref>เอกสารทำเนียบอธิบดีกรมตำรวจ "30 อ.ตร." พ.ศ. 2403-2541 โดย กองวิชาการ [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]</ref>
พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิริอายุ 51 ปี<ref>เอกสารทำเนียบอธิบดีกรมตำรวจ "30 อ.ตร." พ.ศ. 2403-2541 โดย กองวิชาการ [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]</ref>

== ยศกองอาสารักษาดินแดน ==
* พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้รับพระราชยศ "นายกองใหญ่" ในฐานะ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]]และมีฐานะเป็นผู้บัญชาการ[[กองอาสารักษาดินแดน]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/046/1.PDF หนังสือราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499]</ref>


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:06, 28 กรกฎาคม 2563

เผ่า ศรียานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500[1] – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปพลตรี ประภาส จารุเสถียร
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494[2] – 14 กันยายน พ.ศ. 2500 [3]
ก่อนหน้าพล.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล
ถัดไปพลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล
อธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2497[4] – 14 กันยายน พ.ศ. 2500[5]
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2452[6]
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เสียชีวิต21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (51 ปี)
เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา
คู่สมรสคุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์
บุตรผ่องลักษณ์ ประศาสน์วินิจฉัย(ศรียานนท์)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ประจำการ2494 – 2500
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2452 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ. 2494 - 2500 เจ้าของคำขวัญ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง" เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาความสงบภายในทั่วราชอาณาจักร ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 โดย คณะบริหารประเทศชั่วคราว[7]ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เนื่องจากเป็นอธิบดีกรมตำรวจ เขายังเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาททางการเมืองสูงมากในช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2500

ประวัติ

พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2452 ณ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันตำรวจโท พระพลาพิรักษ์เสนีย์ (พลุ้ย ศรียานนท์) และนางพงษ์ ศรียานนท์ ครอบครัวมีเชื้อสายพม่า[8] สมรสกับคุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ (สกุลเดิม: ชุณหะวัณ) บุตรสาวของจอมพลผิน ชุณหะวัณ[9]

การศึกษา

สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ต่อมาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2469

การรับราชการ

ประวัติการรับราชการของพลตำรวจเอกเผ่า มีดังนี้

  • เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ในตำแหน่งยศร้อยตรี [10]
  • พ.ศ. 2477 (1 เม.ย.) รับพระราชทานยศเป็นร้อยโท [11]
  • พ.ศ. 2478 (1 เม.ย.) รับพระราชทานยศเป็นร้อยเอก [12]
  • พ.ศ. 2483 (1 เม.ย.) - รับพระราชทานยศพันตรี [13]
  • พ.ศ. 2486 เป็นทหารคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความใกล้ชิดจอมพล ป.พิบูลสงคราม มาก จนกระทั่งจอมพล ป.ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2485 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • พ.ศ. 2486 (15 เม.ย.) - รับพระราชทานยศพันโท[14]
  • พ.ศ. 2486 เป็นเจ้ากรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2486 ได้รับพระราชทานยศเป็นพันเอก[15]
  • พ.ศ. 2487 เป็นเจ้ากรมเชื้อเพลิง และลาออกจากราชการเป็นการชั่วคราว
  • พ.ศ. 2491 กลับเข้ารับราชการ โดยโอนมาอยู่กรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2491 (22 มิ.ย.) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจตรี [16]
  • พ.ศ. 2491 (1 ต.ค.) เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ [17]
  • พ.ศ. 2492 (1 ม.ค.) ได้รับพระราชทานยศ พลตรี [18]
  • พ.ศ. 2493 (3 มิ.ย.) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจโท [19]
  • พ.ศ. 2494 (26 มี.ค.) เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย [20]
  • พ.ศ. 2494 (10 ก.ค.) เป็นอธิบดีกรมตำรวจ [21]
  • พ.ศ. 2494 (11 ธ.ค.) เป็นรัฐมนตรี [22] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ[23]
  • พ.ศ. 2495 (17 มี.ค.) (16 เม.ย.) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลโท [24] พลเรือโท และพลอากาศโท [25]
  • พ.ศ. 2495 (21 ก.ค.) ได้รับพระราชทานยศเป็นพลตำรวจเอก [26]
  • พ.ศ. 2496 (4 พ.ค.) ได้รับพระราชทานยศ พลเอก และรับพระราชทานตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ [27]
  • พ.ศ. 2497 (15 ม.ค.) (31 มี.ค.) เป็นอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน [28] และประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[29]
  • พ.ศ. 2497 (16 ก.พ.) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก [30]

บทบาทในทางการเมือง

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นนายตำรวจที่ประชาชนชาวไทยในยุคสมัยนั้นรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเสมือนมือขวาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีเผด็จการทหารในสมัยนั้น เริ่มแรก พล.ต.อ.เผ่านั้นรับราชการเป็นทหารมาก่อน ก่อนจะย้ายตัวเองมาเป็นตำรวจ

ยุคของพล.ต.อ.เผ่านั้น ถูกเรียกว่ายุค "รัฐตำรวจ" หรือ "อัศวินผยอง" เนื่องจาก พล.ต.อ.เผ่า ได้เสริมสร้างขุมกำลังตำรวจจนสามารถเทียบเท่ากับกองทัพ ๆ หนึ่งเหมือนทหารได้ โดยเริ่มให้มี ตำรวจน้ำ, ตำรวจพลร่ม, ตำรวจม้า, ตำรวจรถถัง ตลอดจนให้มีธงไชยเฉลิมพลเหมือนทหาร จนมีการกล่าวในเชิงประชดว่า อาจจะมีถึงตำรวจเรือดำน้ำ เป็นต้น[31] โดยประโยคที่สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของตำรวจในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยคของพล.ต.อ.เผ่าเอง คือ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง" จนได้รับฉายาจากสื่อต่างประเทศว่า "บุรุษเหล็กแห่งเอเซีย"[32]

ในทางการเมือง พล.ต.อ.เผ่า มีฐานะเป็นเลขาธิการพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวว่าสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[32] เพราะมีตั้งแต่การข่มขู่ผู้ลงคะแนนให้เลือกแต่พรรคเสรีมนังคศิลา มีการเวียนเทียนลงคะแนนกันหลายรอบ ที่เรียกว่า พลร่ม หรือ ไพ่ไฟ และนับคะแนนกันถึง 7 วัน 7 คืน[33] โดยในยุคนั้นประชาชนทุกคนต่างรู้ดีว่า ไม่ควรจะกระทำการใดที่เป็นการต่อต้านอำนาจรัฐเพราะอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น กรณีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง หรือการจับถ่วงน้ำ นายหะยีสุหรง อับดุลกาเดร์ อิหม่ามชาวจังหวัดปัตตานี ที่ทะเลสาบสงขลา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นฝีมือตำรวจ[32] โดย พล.ต.อ.เผ่า และเป็นที่รับรู้กันว่าตำรวจเป็นผู้เลี้ยงบรรดานักเลง อันธพาลในยุคนั้นเป็นลูกน้องด้วย ซึ่งเรียกกันว่า "นักเลงเก้ายอด" อันมาจากการที่นักเลงอันธพาลเหล่านั้นสามารถเข้าออกกองบัญชาการตำรวจกองปราบที่สามยอดได้โดยสบาย[34] ซึ่งทำให้เหล่านักเลงอันธพาลเกลื่อนเมือง

จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้กลุ่มนายทหารที่นำโดย พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่พอใจ โดยเริ่มทำการปราศรัยโจมตีตำรวจที่ท้องสนามหลวงบนลังสบู่ ที่เริ่มกันว่า "ไฮปาร์ค"[32] และทางตำรวจก็ตอบโต้ด้วยการไฮปาร์คบ้าง จนในที่สุดนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้น พล.ต.อ.เผ่า ยังไม่ได้หลบหนีไปต่างประเทศเหมือนจอมพล ป. แต่ยอมเข้ามอบตัวแต่โดยดี โดยกล่าวว่า "อั๊วมาแล้ว จะเอายังไงก็ว่ามา"[35]

วันรุ่งขึ้น พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[35] พล.ต.อ.เผ่า มีทรัพย์สินอยู่มากมาย มีคฤหาสน์หลังใหญ่ติดทะเลสาบที่นครเจนีวา จนครั้งหนึ่งเมื่อนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่งจัดอันดับมหาเศรษฐี 10 อันดับของโลก ก็มีชื่อของ พล.ต.อ.เผ่า ติดอยู่ในอันดับด้วย[35]

ถึงแก่อนิจกรรม

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิริอายุ 51 ปี[36]

ยศกองอาสารักษาดินแดน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  2. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘ ตอน ๔๔ ง หน้า ๒๘๐๕ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
  3. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๔ ตอน ๗๙ ง พิเศษ หน้า ๙ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑ ตอน ๖ ง หน้า ๓๐๙ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗
  5. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๔ ตอน ๗๙ ง พิเศษ หน้า ๘ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
  6. ประวัติ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์
  7. ประกาศของคณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ ๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘ ตอน ๗๑ ง หน้า ๙ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔
  8. Encyclopædia Britannica
  9. One big happy family in Cambodia
  10. พระราชทานยศทหาร
  11. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  12. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  13. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  15. "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่อง พระราชทหารยสทหาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (53): 3155. 5 ตุลาคม 2486. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรองอธิบดีและผู้บัญชาการตำรวจ
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68 ตอน 25 ง หน้า 1661 17 เมษายน พ.ศ. 2494
  21. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ
  22. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๕ ราย)
  23. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  24. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  26. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69 ตอน 48 ง หน้า 2420 5 สิงหาคม พ.ศ. 2495
  27. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร แต่งตั้งนายทหารพิเศษ และราชองครักษ์พิเศษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอน 29 ง หน้า 2047 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
  28. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน
  29. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขององค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  30. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอน 26 ง หน้า 1 27 มีนาคม พ.ศ. 2499
  31. หนังสือชีวลิขิต โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 2508 หน้า 222-262, "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" โดยวินทร์ เลียววาริณ (กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2540) ISBN 974-602-523-6
  33. หนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  34. หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง
  35. 35.0 35.1 35.2 นักการเมืองไร้แผ่นดิน, คอลัมน์ เรื่องเก่าเล่าใหม่ โดย โรม บุนนาค. หน้า 65-66 นิตยสาร all ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2550
  36. เอกสารทำเนียบอธิบดีกรมตำรวจ "30 อ.ตร." พ.ศ. 2403-2541 โดย กองวิชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  37. หนังสือราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499
ก่อนหน้า เผ่า ศรียานนท์ ถัดไป
พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการ
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2500)
พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร