ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซุนเซ็ก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
}}
}}


'''พระเจ้าซุนเซ็ก''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 孫策 [[อักษรจีนตัวย่อ|จีนตัวย่อ]]: 孙策 [[พินอิน]]: Sūn Cè สำเนียง[[จีนกลาง]] ซุนฉี) หรือ '''เตียงสาหวนอ๋อง''' (長沙桓王) [[ค.ศ. 174]]–[[ค.ศ. 200]] เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลาย[[ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก]] และ[[ยุคสามก๊ก]]ของ[[ประเทศจีน]]
'''พระเจ้าซุนเซ็ก''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 孫策 [[อักษรจีนตัวย่อ|จีนตัวย่อ]]: 孙策 [[พินอิน]]: Sūn Cè สำเนียง[[จีนกลาง]] ซุนเซ่อ) หรือ '''เตียงสาหวนอ๋อง''' (長沙桓王) [[ค.ศ. 174]]–[[ค.ศ. 200]] เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลาย[[ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก]] และ[[ยุคสามก๊ก]]ของ[[ประเทศจีน]]


ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของ[[ซุนเกี๋ยน]] ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับ[[อ้วนสุด]] และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับ[[จิวยี่]]เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ ยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง
ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของ[[ซุนเกี๋ยน]] ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับ[[อ้วนสุด]] และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับ[[จิวยี่]]เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ ยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:28, 25 กรกฎาคม 2563

ซุนเซ็ก
ภาพวาดซุนเซ็ก สมัยราชวงศ์ชิง
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ง่อ
ประสูติพ.ศ. 717
สวรรคตพ.ศ. 743
จักรพรรดิองค์ก่อนหน้าซุนเกี๋ยน
จักรพรรดิองค์ถัดไปซุนกวน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม孫策
อักษรจีนตัวย่อ孙策
พระนามรองโปวฟู
พระสมัญญานามฉางซาฮ่วยอ๋อง
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
พระนามอื่น ๆเสียวปออ๋อง

พระเจ้าซุนเซ็ก (จีนตัวเต็ม: 孫策 จีนตัวย่อ: 孙策 พินอิน: Sūn Cè สำเนียงจีนกลาง ซุนเซ่อ) หรือ เตียงสาหวนอ๋อง (長沙桓王) ค.ศ. 174ค.ศ. 200 เป็นแม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กของประเทศจีน

ซุนเซ็กเป็นบุตรชายคนโตจากทั้งหมดสี่คนของซุนเกี๋ยน ติดตามซุนเกี๋ยนออกรบตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังซุนเกี๋ยนตาย จึงไปขออยู่ด้วยกับอ้วนสุด และ สามารถรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย ซุนเซ็กกับจิวยี่เพื่อนสนิท ที่เป็นกุนซือ ยังสามารถแยกตัวออกมากลายเป็นก๊กที่สามได้ครองหัวเมืองกังตั๋ง

ซุนเซ็กเป็นนักรบที่มีจิตใจห้าวหาญ ไม่กลัวใคร จนได้ฉายาว่า "ฌ้อปาอ๋องน้อย"[1] นับถือและชอบคบหากับผู้มีความสามารถ มีอุปนิสัยใช้คนอย่างไม่สงสัย ถ้าสงสัยไม่ใช้ สามารถเอาชนะใจไทสูจู้ด้วยการสู้รบกันตัวต่อตัวเป็นเวลานาน ซุนเซ็กมักไปไหนมาไหนด้วยตัวคนเดียว ไม่มีทหารติดตาม จึงถูกปองร้ายด้วยเกาทันฑ์อาบยาพิษ โดยหมอบอกว่าห้ามโกรธเป็นเวลาร้อยวัน แต่สุดท้ายซุนเซ็กก็ไม่สามารถระงับความโกรธได้และเสียชีวิตในที่สุด ด้วยอายุเพียง 26 ปี ภายหลังซุนกวนน้องชายคนรอง ได้ขึ้นปกครองแทนกลายเป็นผู้นำของง่อก๊ก ซึ่งก่อนเสียซุนเซ็กได้สั่งเสียซุนกวนว่า "การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่"

ภรรยาของซุนเซ็กคือ นางไต้เกี้ยวธิดาของเกี้ยวกงผู้เฒ่าแห่งเมืองกังตั๋ง พี่สาวของนางเสียวเกี้ยว ซึ่งเป็นภรรยาของจิวยี่ หลังสิ้นพระชนม์พระเจ้าซุนกวนทรงสถาปนาตำแหน่งให้ซุนเซ็กผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งง่อก๊กด้วย

พระราชวงศ์

ความสัมพันธ์

ซุนเกี๋ยน

ซุนเซ็กมีความผูกพันกับซุนเกี๋ยนผู้พ่อมาก ได้ออกไปช่วยพ่อรบกับเล่าเปียวที่เกงจิ๋ว เมื่อซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในการรบ ศพของซุนเกี๋ยนถูกเล่าเปียวยึดเอาไว้ ซุนเซ็กเมื่อทราบข่าวพ่อเสียชีวิต ก็ร้องไห้อย่างไม่อายใคร และประกาศว่าจะชิงศพพ่อกับคืนมา เหล่าขุนพลจึงเสนอให้นำตัวหองจอ ทหารของเล่าเปียวที่จับตัวได้มาแลกกับศพของซุนเกี๋ยน การเจรจาแลกเปลี่ยนเป็นผลสำเร็จ เพราะเล่าเปียวก็ต้องการสงบศึกอยู่แล้ว ซุนเซ็กได้จัดพิธีศพของซุนเกี๋ยนอย่างสมเกียรติ และต่อมาจึงได้สืบสานเจตนารมณ์ของบิดารวบรวมกังตั๋งเป็นผลสำเร็จ

จิวยี่

ขณะที่ซุนเกี๋ยนผู้เป็นบิดาไปช่วยจูฮีรบกับโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กซึ่งขณะนั้นอายุประมาณ 10 ปี อาศัยอยู่กับครอบครัวอยู่ที่ฉิวฉุน ที่เมืองฉิวฉุน จิวยี่ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกันได้อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ไปมาหาสู่กับซุนเซ็กเสมอ ทั้งสองจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน ซุนเซ็กและจิวยี่เกิดปีเดียวกัน แต่อายุต่างกัน 2 เดือน โดยจิวยี่อ่อนอาวุโสกว่า จิวยี่จึงนับถือซุนเซ็กเป็นพี่ ส่วนซุนเซ็กก็เรียกจิวยี่ว่าน้อง

ต่อมา ซุนเซ็กต้องไปช่วยซุนเกี๋ยนรบเล่าเปียว จึงแยกห่างจากจิวยี่ไป เมื่อซุนเกี๋ยนเสียชีวิต ซุนเซ็กจึงไปอาศัยอยู่กับอ้วนสุด หลังจากนั้นจึงได้นำทัพแยกตัวออกมาไปสร้างดินแดนของตนเอง ในระหว่างยกทัพจึงได้พบกับจิวยี่อีกครั้ง จิวยี่ได้นำไพร่พลของตนรวมกับของซุนเซ็ก และร่วมมือกับซุนเซ็ก รวบรวมแคว้นกังตั๋งจนเป็นผลสำเร็จ

ทั้งซุนเซ็กและจิวยี่มีสถานะคู่เขยกันด้วย ภรรยาของซุนเซ็ก คือ ไต้เกี้ยวพี่สาวของเสียวเกี้ยว ซึ่งเป็นภรรยาของจิวยี่ พี่น้องเกี้ยวสองโฉมสคราญแห่งกังตั๋งคู่นี้ เป็นบุตรสาวของเกียวก๊กโล

ซุนเซ็กไว้ใจในฝีมือและความจงรักภักดีของจิวยี่ ก่อนที่ซุนเซ็กจะตายยังได้สั่งเสียกับซุนกวนว่า การภายในให้ปรึกษาเตียวเจียว การภายนอกให้ปรึกษาจิวยี่

ไทสูจู้

แต่เดิม ไทสูจู้รับราชการอยู่โตเกี๋ยม ณ เมืองชีจิ๋ว เป็นผู้ฝ่าวงล้อมของโจโฉไปขอความช่วยเหลือจากเล่าปี่ หลังจากโตเกี๋ยมแก่ตายก็ได้ไปอยู่กํบเล่าอิ้ว เมื่อซุนเซ็กเข้าตีเมืองของเล่าอิ้ว ไทสูจู้จึงอาสาไปรบต้านซุนเซ็ก ซุนเซ็กและไทสูจู้รบกันไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน ซุนเซ็กรู้สึกชื่นชมในฝีมือของไทสูจู้คิดอยากได้ตัวมาใช้

ต่อมาซุนเซ็กตีเล่าอิ้วแตกพ่าย ไทสูจู้รวบรวมกำลังขึ้นมาใหม่แล้วนำทัพรบกับซุนเซ็ก แต่ถูกอุบายของจิวยี่ทำให้ถูกจับตัวได้ ซุนเซ็กได้พูดจาหว่านล้อมจนไทสูจู้ยอมสวามิภักดิ์ด้วยใจจริง จากนั้น ไทสูจู้จึงขอไปรวบรวมกำลังพลอีกส่วนมาให้ซุนเซ็ก แล้วจะนำกลับมาตอนเที่ยงวันของวันถัดไป ซุนเซ็กไว้ใจไทสูจู้จึงอนุญาต แม้คนอื่นคัดค้านเพราะไทสูจู้อาจหนีไปตั้งกองกำลังต่อต้านซุนเซ็กใหม่ แต่ไทสูจู้ก็กลับมาตามสัญญาในเวลาเที่ยงวันตรง

ไทสูจู้ได้รับความไว้วางใจจากเจ้านายจึงรับใช้ตระกูลซุนด้วยความซื่อสัตย์ จนกระทั่งเสียชีวิตในการรบกับเตียวเลี้ยว ในสมัยที่ซุนกวนครองกังตั๋ง[2]

รายชื่อบุคคลที่โดนซุนเซ็กสังหาร

  • อีปิ ทหารเอกของเล่าอิ้ว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ประลองเชิง, กิเลน (2012-05-22). "ลูกอย่างซุนกวน". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2017-05-04.
  2. ประวัติซุนเซ็ก
ก่อนหน้า ซุนเซ็ก ถัดไป
พระเจ้าซุนเกี๋ยน พระมหากษัตริย์จีน
(แต่งตั้งหลังสิ้นพระชนม์แล้ว)
พระเจ้าซุนกวน