ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าอาวาส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| insigniacaption =
| insigniacaption =
|flag =
|flag =
| image = Buddhism_dham_jak.png‎
| image = Buddhism dham jak.svg‎
| imagesize = 150px
| imagesize = 150px
| incumbent =
| incumbent =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:52, 24 กรกฎาคม 2563

เจ้าอาวาส
การเรียกขานพระอธิการ
จวนวัด
ผู้แต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัด
เงินตอบแทน1,800บาท[1]

เจ้าอาวาส คือพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด มีหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับวัด กฎหมายกำหนดให้วัดหนึ่งมีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง แต่จะมีรองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้หลายรูปตามควรแก่ฐานะของวัด เจ้าอาวาสเป็น พระสังฆาธิการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้

  • บำรุงรักษาวัด จัดกิจการ และศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
  • ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
  • เป็นธุระในการอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัย แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์
  • ให้ความสะดวกตามสมควรในการทำบุญทำกุศล

เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้

  • ห้ามบรรพชิต และคฤหัสถ์ที่มิรับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด
  • สั่งให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ที่ไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
  • สั่งให้บรรชิต และคฤหัสถ์ที่มีอยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัด ทำงานภายในวัดหรือให้ทำทัณฑ์บนหรือขอขมาโทษ ในกรณีบรรพชิตหรือศิษย์วัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาส ซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 36 - 39