ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ณปฏล (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
|ตำแหน่ง = ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
|ตำแหน่ง = ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
}}
}}
ดร.'''พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต''' นามเดิม อนิลมาน ฉายา ธมฺมสากิโย เป็นพระภิกษุ[[ชาวเนปาล]] สัญชาติไทย บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ [[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]] ซึ่งเมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร]] เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ [[มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย]]
'''พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต,ดร.''' นามเดิม อนิลมาน ฉายา ธมฺมสากิโย เป็นพระภิกษุ[[ชาวเนปาล]] สัญชาติไทย บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ [[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]] ซึ่งเมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร]] เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ [[มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย]]


พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต ได้ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติได้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/320/12.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การได้สัญชาติไทย], เล่ม 132, ตอนพิเศษ 320 ง, 2 ธันวาคม 2558, หน้า 12</ref>
พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต ได้ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติได้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/320/12.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การได้สัญชาติไทย], เล่ม 132, ตอนพิเศษ 320 ง, 2 ธันวาคม 2558, หน้า 12</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:20, 24 กรกฎาคม 2563

พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต

(อนิลมาน ธมฺมสากิโย)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2503
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยบรูเนล
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2523
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต,ดร. นามเดิม อนิลมาน ฉายา ธมฺมสากิโย เป็นพระภิกษุชาวเนปาล สัญชาติไทย บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งเมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต ได้ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติได้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[1]

การศึกษา

พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ) จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2525 และศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยตรีภูวัน ประเทศเนปาล ในปี 2530 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านมานุษยวิทยาสังคม จากวิทยาลัยไครสต์คอลเลจ (Christ College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี 2537 แล้วศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ด้านมานุษยวิทยาสังคม จากมหาวิทยาลัยบรูเนล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอีกเช่นกัน สำเร็จในปี 2543

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

ในปี 2548 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รองอธิการบดี ด้านกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นอกจากนี้พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย เป็นอาจารย์พิเศษประจำอยู่ที่ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยซานตา คลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร นอกจากดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยังเป็นกรรมการมูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์ด้วย

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในหน้าที่ฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา[2]

สถานที่จำพรรษาในปัจจุบัน

วัดบวรนิเวศวิหาร คณะเหลืองรังษี ถนนพระสุเมรุ บางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สมณศักดิ์

  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 รัฐบาล สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ถวายสมณศักดิ์ที่ มหาสัทธัมมโชติกธชะ
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2556 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ เป็นกรณีพิเศษ ในโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชันษา 100 ปี[3]
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต สาธกธรรมวิจิตร วิเทศศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การได้สัญชาติไทย, เล่ม 132, ตอนพิเศษ 320 ง, 2 ธันวาคม 2558, หน้า 12
  2. "เสนอแต่งตั้ง พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร" (PDF). มหาเถรสมาคม. 30 กันยายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 130, ตอนที่ 24 ข, วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556, หน้า 1
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 173, ตอนที่ 20 ข, วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, หน้า 2