ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้คุมเสียงในสภา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 205: บรรทัด 205:
|}
|}


== +อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:คำศัพท์การเมือง]]
[[หมวดหมู่:คำศัพท์การเมือง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:34, 24 กรกฎาคม 2563

5ผู้คุมเสียงในสภา หรือ วิป (อังกฤษ: whip) เป็นหน้าที่หนึ่งในพรรคการเมือง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับรองวินัยพรรคในสภานิติบัญญัติ ผู้คุมเสียงในสภาเป็น "ผู้ทำงานสกปรก" (enforcer) ของพรรคซึ่งตรงแบบเสนอสิ่งจูงใจและขู่ลงโทษสมาชิกพรรคเพื่อรับรองว่าเขาเหล่านั้นออกเสียงตามนโยบายของพรรคอย่างเป็นทางการ บทบาทของผู้คุมเสียงในสภายังเพื่อรับรองว่าผู้แทนที่ได้รับเลือกของพรรคเข้าประชุมเมื่อมีการออกเสียงที่สำคัญ

ความหมาย

ในหนังสือสารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์ของ อ.อุทัย หิรัญโต ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า[1]

"คำว่า whip แปลตามตัวว่า แส้ที่ใช้ปัดยุงหรือสำหรับเฆี่ยนม้า คำนี้เป็นคำที่วงการเมืองอังกฤษยืมมาจากวงการกีฬาส่าสัตว์ กีฬาล่าสัตว์ในอังกฤษสมัยโบราณนั้น พวกขุนนางหรือผู้ดีมักจะเลี้ยงสุนัขไว้เป็นฝูง และฝึกหัดไว้เป็นอย่างอย่างดีเพื่อให้มีหน้าที่ช่วยเหลือในการติดตามหรือล่าสัตว์ ผู้ควบคุมฝูงสุนัขหรือคอยจัดระเบียบให้สุนัขอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ไม่แตกแยกกัน เพื่อจะติดตามไล่สัตว์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า whip ซึ่งมีชื่อเต็มว่า whipper in ซึ่งต่อมาวงการเมืองของอังกฤษได้นำคำว่า whip มาใช้โดยให้มีความหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ไล่ต้อนให้สมาชิกไปออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันนั้นเอง"

ระบบวิปในประเทศไทย

ระบบวิปในประเทศไทย มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี 2526 ในนามของ คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ซึ่งเกิดขึ้นใน คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43 (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) โดยมี นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธาน โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2526 โดยในทางปฏิบัติการตั้งคณะกรรมการฯ นี้ จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้[2]

  1. ประธานกรรมการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา (หรือเป็นบุคคลที่รัฐบาลให้ความไว้วางใจที่จะประสานงานระหว่าง สภาฯ กับ รัฐบาล)
  2. กรรมการ - มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล โดยจัดสรรตามที่นั่งในสภา
  3. เลขานุการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา
  4. ผู้ช่วยเลขานุการ - ซึ่งจะเป็นข้าราชการประจำ สังกัด สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่

หน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หลัก ๆ มีดังนี้[2]:

  • ประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างสภาฯ กับ คณะรัฐมนตรี หรือ ระหว่างสมาชิกสภาฯ ในฝั่งรัฐบาลกันเอง
  • พิจารณาระเบียบวาระการประชุม และแจ้งผลการพิจารณา ให้สมาชิกสภาฯ ทราบ ก่อนการประชุมสภาฯ
  • ประสานงานในการลงมติ และ สรุปผลลงมติให้กับรัฐบาล

รายนามประธานวิปรัฐบาล

ลำดับ(สมัย) รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี
-

(ไม่เป็นทางการ)

พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร

(รองนายกรัฐมนตรี)

2523 2526 ชาติไทย ครม.42
1 บุญเท่ง ทองสวัสดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

2526 2529 กิจสังคม ครม.43
2 พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

(รองนายกรัฐมนตรี)

2529
3 พิชัย รัตตกุล 2529 2531 ประชาธิปัตย์ ครม.44
4 บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2531 2534 ชาติไทย ครม.45, ครม.46
5 ณรงค์ วงศ์วรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

2535 สามัคคีธรรม ครม.48
6 เทอดพงษ์ ไชยนันทน์

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2535 2538 ประชาธิปัตย์ ครม.50
7 ปองพล อดิเรกสาร

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2538 2539 ชาติไทย ครม.51
8 ชิงชัย มงคลธรรม

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2539 2541 ความหวังใหม่ ครม.52
9 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2541 2544 ประชาธิปัตย์ ครม.53
10 เสนาะ เทียนทอง 2544 2548 ไทยรักไทย ครม.54, ครม.55
11 พงศ์เทพ เทพกาญจนา 2548 2549 ครม.55
12 หม่อมราชวงศ์ กำลูนเทพ เทวกุล 2549 2550 อิสระ ครม.56
13 ชัย ชิดชอบ 2550 2551 พลังประชาชน ครม.57
14 สามารถ แก้วมีชัย 2551
15 วิทยา บุรณศิริ 2551 ครม.57, ครม.58
16 ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 2551 2553 ประชาธิปัตย์ ครม.59
17 วิทยา แก้วภราดัย 2553 2554
18
19

อ้างอิง