ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้คุมเสียงในสภา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 116: บรรทัด 116:
|-
|-
| bgcolor="#cccccc" |'''9'''
| bgcolor="#cccccc" |'''9'''
|[[ไฟล์:Jurin Laksanawisit 2009 (cropped).jpg|135x135px]]
|
|'''[[จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์]]'''
|'''[[จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์]]'''
''(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)''
''(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)''
บรรทัด 122: บรรทัด 122:
|2544
|2544
|[[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]]
|[[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]]
| bgcolor="#00A1F1" |
|
|[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 53|ครม.53]]
|[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 53|ครม.53]]
|-
|-
|'''10'''
|'''10'''
|
|
|'''[[เสนาะ เทียนทอง]]'''
|
|2544
|2544
|2548
|2547
|[[พรรคไทยรักไทย|ไทยรักไทย]]
|
| bgcolor="#E30613" |
|
|
|
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:11, 24 กรกฎาคม 2563

ผู้คุมเสียงในสภา หรือ วิป (อังกฤษ: whip) เป็นหน้าที่หนึ่งในพรรคการเมือง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับรองวินัยพรรคในสภานิติบัญญัติ ผู้คุมเสียงในสภาเป็น "ผู้ทำงานสกปรก" (enforcer) ของพรรคซึ่งตรงแบบเสนอสิ่งจูงใจและขู่ลงโทษสมาชิกพรรคเพื่อรับรองว่าเขาเหล่านั้นออกเสียงตามนโยบายของพรรคอย่างเป็นทางการ บทบาทของผู้คุมเสียงในสภายังเพื่อรับรองว่าผู้แทนที่ได้รับเลือกของพรรคเข้าประชุมเมื่อมีการออกเสียงที่สำคัญ

ความหมาย

ในหนังสือสารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์ของ อ.อุทัย หิรัญโต ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า[1]

"คำว่า whip แปลตามตัวว่า แส้ที่ใช้ปัดยุงหรือสำหรับเฆี่ยนม้า คำนี้เป็นคำที่วงการเมืองอังกฤษยืมมาจากวงการกีฬาส่าสัตว์ กีฬาล่าสัตว์ในอังกฤษสมัยโบราณนั้น พวกขุนนางหรือผู้ดีมักจะเลี้ยงสุนัขไว้เป็นฝูง และฝึกหัดไว้เป็นอย่างอย่างดีเพื่อให้มีหน้าที่ช่วยเหลือในการติดตามหรือล่าสัตว์ ผู้ควบคุมฝูงสุนัขหรือคอยจัดระเบียบให้สุนัขอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ไม่แตกแยกกัน เพื่อจะติดตามไล่สัตว์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า whip ซึ่งมีชื่อเต็มว่า whipper in ซึ่งต่อมาวงการเมืองของอังกฤษได้นำคำว่า whip มาใช้โดยให้มีความหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ไล่ต้อนให้สมาชิกไปออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันนั้นเอง"

ระบบวิปในประเทศไทย

ระบบวิปในประเทศไทย มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี 2526 ในนามของ คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ซึ่งเกิดขึ้นใน คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43 (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) โดยมี นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธาน โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2526 โดยในทางปฏิบัติการตั้งคณะกรรมการฯ นี้ จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้[2]

  1. ประธานกรรมการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา (หรือเป็นบุคคลที่รัฐบาลให้ความไว้วางใจที่จะประสานงานระหว่าง สภาฯ กับ รัฐบาล)
  2. กรรมการ - มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล โดยจัดสรรตามที่นั่งในสภา
  3. เลขานุการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา
  4. ผู้ช่วยเลขานุการ - ซึ่งจะเป็นข้าราชการประจำ สังกัด สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่

หน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หลัก ๆ มีดังนี้[2]:

  • ประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างสภาฯ กับ คณะรัฐมนตรี หรือ ระหว่างสมาชิกสภาฯ ในฝั่งรัฐบาลกันเอง
  • พิจารณาระเบียบวาระการประชุม และแจ้งผลการพิจารณา ให้สมาชิกสภาฯ ทราบ ก่อนการประชุมสภาฯ
  • ประสานงานในการลงมติ และ สรุปผลลงมติให้กับรัฐบาล

รายนามประธานวิปรัฐบาล

ลำดับ(สมัย) รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี
-

(ไม่เป็นทางการ)

พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร

(รองนายกรัฐมนตรี)

2523 2526 ชาติไทย ครม.42
1 บุญเท่ง ทองสวัสดิ์

(รองนายกรัฐมนตรี)

2526 2529 กิจสังคม ครม.43
2 พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา

(รองนายกรัฐมนตรี)

2529
3 พิชัย รัตตกุล 2529 2531 ประชาธิปัตย์ ครม.44
4 บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2531 2534 ชาติไทย ครม.45, ครม.46
5 ณรงค์ วงศ์วรรณ

(รองนายกรัฐมนตรี)

2535 สามัคคีธรรม ครม.48
6 เทอดพงษ์ ไชยนันทน์

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2535 2538 ประชาธิปัตย์ ครม.50
7 ปองพล อดิเรกสาร

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2538 2539 ชาติไทย ครม.51
8 ชิงชัย มงคลธรรม

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2539 2541 ความหวังใหม่ ครม.52
9 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

(รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี)

2541 2544 ประชาธิปัตย์ ครม.53
10 เสนาะ เทียนทอง 2544 2548 ไทยรักไทย
8 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย

+อ้างอิง