ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 50: บรรทัด 50:


===ดาราภาพยนตร์===
===ดาราภาพยนตร์===
หนังเรื่องแรก ๆ เช่น ''พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495)'' ร่วมกับ ถนอม อัครเศรณี,[[สวลี ผกาพันธุ์]] ''วายร้ายตลาดเก่า (2504)'' ร่วมกับ[[พร้อมสิน สีบุญเรือง]] และ[[สมชาย อาสนจินดา]] ระยะต่อมามักแสดงแนวตลก เช่น ''ม้ามืด (2513)'' ,''[[มันมากับความมืด]] (2514)'' และอีกหลายเรื่องก่อนเกษียณวงการ เช่น ''ยิ้มสวัสดี (2521)'',<ref>thaifilmdb.com</ref>''[[สาวเครือฟ้า]] (2523)''


หนังเรื่องแรก ๆ เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495) ร่วมกับ ถนอม อัครเศรณี, [[สวลี ผกาพันธุ์]] วายร้ายตลาดเก่า (2504) ร่วมกับ พร้อมสิน สีบุญเรือง และ สมชาย อาสนจินดา ระยะต่อมามักแสดงแนวตลก เช่น ม้ามืด (2513) ,มันมากับความมืด (2514) และอีกหลายเรื่องก่อนเกษียณวงการ เช่น ''ยิ้มสวัสดี (2521), สาวเครือฟ้า(2523)
บทออกแนวตลกที่แสดงได้อย่างโดดเด่น ได้แก่ มหาเถรกุโสดอ ใน ''[[ผู้ชนะสิบทิศ]] (2509-2510)'' ,ท่านขุนชราอดีตทหารผ่านศึก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ใน ''[[เป็ดน้อย]] (2511)'' ,ท่านขุนเพลย์บอยรุ่นใหญ่พ่อพระเอกหนุ่มเพลย์บอย ใน ''[[เกาะสวาท หาดสวรรค์]] (2512)'' ฯลฯ


บทออกแนวตลกที่แสดงได้อย่างโดดเด่น ได้แก่ มหาเถรกุโสดอ ใน ผู้ชนะสิบทิศ (2509-2510) ,ท่านขุนชราอดีตทหารผ่านศึก สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน เป็ดน้อย (2511) ท่านขุนเพลย์บอยรุ่นใหญ่พ่อพระเอกหนุ่มเพลย์บอย ใน เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512) ฯลฯ
งานพากย์ (ลงฟิล์ม) แทนเสียงดารานักแสดงบทต่าง ๆ เช่น ''[[เขาชื่อกานต์]] (2516)''

งานพากย์ (ลงฟิล์ม) แทนเสียงดารานักแสดงบทต่าง ๆ เช่น เขาชื่อกานต์ (2516)

== ผลงานภาพยนตร์ ==

* เงิน เงิน เงิน (2508)
* สอยดาว สาวเดือน (2512)
* เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
* ละครเร่ (2512)
* สายใจ (2512)
* เด็กวัด (2512)
* เรารักกันไม่ได้ (2513)
* ม้ามืด (2513)
* ปี่แก้วนางหงษ์ (2513)
* แม่นาคพระนคร (2513)
* น้องนางบ้านนา (2514)
* รักข้ามขอบฟ้า (2514)
* ดวงใจสวรรค์ (2514)
* ลูกสาวกำนัน (2514)
* สองฝั่งโขง (2514)
* จอมเจ้าชู้ (2514)
* ในสวนรัก (2514)
* ยั่วรัก (2514)
* มดตะนอย (2514)
* วิวาห์พาฝัน (2514)
* มันมากับความมืด (2514)
* กว่าจะรักกันได้ (2514)
* เทพบุตรจอมโกง (2514)
* ขวัญใจลูกทุ่ง (2515)
* มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
* กระท่อมปรีดา (2515)
* วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
* หยาดฝน (2515)
* ระเริงชล (2515)
* กลิ่นร่ำ (2515)
* แสนทนง (2515)
* ไอ้บ้านนอก (2515)
* เหลือแต่รัก (2516)
* เด่นดวงเดือน (2516)
* สักขีแม่ปิง (2516)
* สายชล (2516)
* บุษบาขายรัก (2517)
* นี่หรือผู้หญิง (2517)
* เศรษฐีรัก (2518)
* ใจรัก (2518)
* เผ็ด (2518)
* ดับสุริยา (2519)
* 17 ทหารกล้า (2519)
* แม่ม่ายใจถึง (2519)
* บ้องไฟ (2519)
* เงินคือพระเจ้า (2520)
* พ่อนกฮูก (2520)
* อย่านึกว่าหมู (2520)
* แหย่หนวดเสือ (2520)
* ข้าวก้นบาตร (2520)
* สิงห์รถบรรทุก (2520)
* พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
* ลูกโดด (2521)
* ดวงเศรษฐี (2521)
* เพชรมหากาฬ (2521)
* มนต์รักแผ่นดินทอง (2521)
* มือปืนเลือดเดือด (2521)
* ผู้แทนมาแล้ว (2521)
* บุษบาก๋ากั่น (2521)
* เอ็ม.16 (2521)
* เสียสาว (2521)
* ยิ้มสวัสดี (2521)
* อะไรกันวะ (2521)
* เพียงคำเดียว (2522)
* นายอำเภอปฏิวัติ (2522)
* สู้อย่างสิงห์ (2523)
* ภูตพิศวาส (2523)
* เครือฟ้า (2523)
* ผัวนอกคอก (2523)
* สิงห์แม่น้ำแคว (2523)
* กามนิต วาสิฏฐี (2524)
* ปีศาจเมียน้อย (2524)
* รักโอ้รัก (2524)
* มนต์รักลูกทุ่ง (2525)


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:33, 22 กรกฎาคม 2563

หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร
เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร
เสียชีวิต17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (70 ปี)
คู่สมรสมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
อาชีพนักแสดงโขน - ละครหลวง - ตลกหน้าม่าน - วิทยุ - ละครเวที
นักพากย์ภาพยนตร์
ดาราภาพยนตร์/ทีวี
ปีที่แสดงพ.ศ. 2476 - 2523
ผลงานเด่นนักพากย์
ศพอาบยา,ไอ้โจรนกกระจอก,ธรณีกรรแสง
นักแสดง
มหาเถรกุโสดอ (ผู้ชนะสิบทิศ),ท่านขุน (เป็ดน้อย )

หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร ศิลปินชายชาวไทยที่รู้จักกันทั่วไปในฐานะนักพากย์ ฉายา มนุษย์ 6 เสียง ทั้งในประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐ

ประวัติ

หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527) เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์สุดใจ อิศรางกูร กับสะอาด อิศรางกูร ณ อยุธยา[1] เป็นนัดดาในหม่อมเจ้าน้อย อิศรางกูร และเป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เขาเป็นนักแสดงมากความสามารถนับแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เริ่มจากเล่นโขน-ละครหลวง นักแสดงเดี่ยว ตลกหน้าม่าน นักแสดงละครวิทยุ นักพากย์หนัง นักแสดงละครเวที จนถึงดาราหนัง ดาราละครทั้งจอเงินและจอแก้ว

ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมหลวงรุจิรา สมรสกับ มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา นักแสดงเช่นกัน ศิลปินแห่งชาติ ปี 2542 มีบุตร-ธิดา 3 คน ซึ่งอยู่ในวงการบันเทิง ได้แก่

ระยะหลังเกษียณการทำงาน ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2520 ป่วยและเสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2527 สิริอายุได้ 70 ปี

ผลงาน

โขน - ละครหลวง

ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 - ต้นรัชกาลที่ 7 ขณะเขามีอายุได้ 10 ปี เริ่มหัดโขน ละครหลวง โดยฝึกโขน 8 ปี ได้ออกแสดงหน้าพระที่นั่งนับร้อยครั้ง และยังรับจ้างเล่นโขนตามงานวัดและหัวเมืองแถวกรุงเทพมหานคร เมื่อว่าง

นักแสดงเดี่ยว

เมื่อเขาเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้ชมไม่นานนัก เขาได้ไปแนะนำตัวกับ แม่เลื่อน (เลื่อน ไวนุนานิน) พระเอกยอดนิยมของ ละครคณะแม่เลื่อน ละครชื่อดังแห่งยุค ที่เวิ้งนาครเขษม[2] เขาขอแสดงละครเดี่ยวหน้าม่านสลับฉากประมาณ 20 นาที โดยใช้เพียงแก้วใบเดียวกับกล้องยานัตถุ์สำหรับเคาะแทนระฆังเริ่มแสดงบทรัก โศก ตลก ด้วยเสียงต่าง ๆ ไม่ซ้ำกันเป็น พระเอก นางเอก พ่อ แม่ ยาย และ เด็ก โดยผู้ชมปรบมือให้เป็นเวลานานด้วยความพอใจอย่างยิ่ง

ตลกหน้าม่าน

เขาเริ่มก้าวสู่เวทีใหญ่ชั้นนำของเมืองไทย ในฐานะนักแสดงจำอวดหน้าม่าน โรงละครศาลาเฉลิมกรุง ทำให้มีชื่อเสียงมากขึ้น

นักแสดงเดี่ยวละครวิทยุ

เขาได้พากย์ละครสั้นชุด มนุษย์ 6 เสียง กระจายเสียงแพร่หลายโด่งดังทั่วเมืองไทย

นักพากย์หนัง

จากความแรงของชื่อเสียงทำให้ มร.เค แอลลี ผู้จัดการโรงหนังศาลาเฉลิมนคร (โรงหนังวังเจ้าปรีดา ใกล้กองปราบสามยอด) เชิญเป็นนักพากย์หนังฝรั่งประจำโรง เมื่ออายุได้ราว 19-20 ปี เริ่มด้วยหนังรายได้สูงสุดของฮอลลีวู้ด ศพอาบยา ทางโรงขึ้นป้ายรองจากชื่อเรื่องว่า "พากย์โดย มนุษย์ 6 เสียง " ผลปรากฏว่า โปรแกรมยืนโรงยาวนานมากเพราะคนดูมืดฟ้ามัวดินแน่นทุกรอบทุกวัน[3] (เข้าใจว่าจะเป็นภาพยนตร์สยองขวัญของยูนิเวอร์แซล The Mummy ค.ศ. 1932 / พ.ศ. 2475 ที่กำลังโด่งดังมากในขณะนั้น)

ปรากฏการณ์ผู้ชมล้นหลามอีกครั้ง คือเมื่อโรงหนังที่จังหวัดปราจีนบุรี เชิญไปพากย์เรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ รอบพิเศษโดยยินดีออกค่าใช้จ่ายและค่าเดินทางให้ทั้งหมด ในวันฉายมีคนดูรวมทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงมารอหน้าโรงนับเป็นชั่วโมง

หลังสงครามมหาเอเซียบูรพา ผลงานเด่น (ในนาม รุจิรา - มารศรี) เช่น หนังญี่ปุ่น ไอ้โจรนกกระจอก ที่โรงหนังโอเดียน เรียกเสียงฮาตั้งแต่ตราบริษัทนำไตเติ้ล และหนังอินเดีย ธรณีกรรแสง ฉายนานถึงสองเดือนเศษ ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง ทำรายได้ถล่มถลายราว 4 ล้านบาท (ตั๋วราคา 5 - 12 บาท) ทางโรงมอบแหวนเพชรให้หนึ่งวงเป็นรางวัลพิเศษนอกจากค่าพากย์รายสัปดาห์ ส่วนหนังฝรั่งก็ยังพากย์นับแต่หนังฮอลลีวู้ดกลับมาฉายในเมืองไทยอีกครั้ง ซึ่งมีผู้นิยมไม่แพ้หนังเสียงในฟิล์มต้นฉบับ

ดาราละครเวที

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุ่งโรจน์ในอาชีพการแสดงมาถึงจุดสูงสุดเมื่อรับบทพระเอกละครเวทีเรื่อง วนิดา ที่ศาลาเฉลิมนคร ขณะทำงานควบคู่กับอาชีพนักพากย์ไปพร้อม ๆกัน และได้พบรักกับ มารศรี อิศรางกูร ซี่งเป็นนักแสดงละครเวที หลังจากแต่งงาน ทั้งคู่ยังเป็นนักพากย์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยมาโดยตลอดในนามรุจิรา - มารศรี จนถึงยุคภาพยนตร์ ช่วงต้นทศวรรษ 2500

ดาราภาพยนตร์

หนังเรื่องแรก ๆ เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี (2495) ร่วมกับ ถนอม อัครเศรณี, สวลี ผกาพันธุ์ วายร้ายตลาดเก่า (2504) ร่วมกับ พร้อมสิน สีบุญเรือง และ สมชาย อาสนจินดา ระยะต่อมามักแสดงแนวตลก เช่น ม้ามืด (2513) ,มันมากับความมืด (2514) และอีกหลายเรื่องก่อนเกษียณวงการ เช่น ยิ้มสวัสดี (2521), สาวเครือฟ้า(2523)

บทออกแนวตลกที่แสดงได้อย่างโดดเด่น ได้แก่ มหาเถรกุโสดอ ใน ผู้ชนะสิบทิศ (2509-2510) ,ท่านขุนชราอดีตทหารผ่านศึก สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน เป็ดน้อย (2511) ท่านขุนเพลย์บอยรุ่นใหญ่พ่อพระเอกหนุ่มเพลย์บอย ใน เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512) ฯลฯ

งานพากย์ (ลงฟิล์ม) แทนเสียงดารานักแสดงบทต่าง ๆ เช่น เขาชื่อกานต์ (2516)

ผลงานภาพยนตร์

  • เงิน เงิน เงิน (2508)
  • สอยดาว สาวเดือน (2512)
  • เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2512)
  • ละครเร่ (2512)
  • สายใจ (2512)
  • เด็กวัด (2512)
  • เรารักกันไม่ได้ (2513)
  • ม้ามืด (2513)
  • ปี่แก้วนางหงษ์ (2513)
  • แม่นาคพระนคร (2513)
  • น้องนางบ้านนา (2514)
  • รักข้ามขอบฟ้า (2514)
  • ดวงใจสวรรค์ (2514)
  • ลูกสาวกำนัน (2514)
  • สองฝั่งโขง (2514)
  • จอมเจ้าชู้ (2514)
  • ในสวนรัก (2514)
  • ยั่วรัก (2514)
  • มดตะนอย (2514)
  • วิวาห์พาฝัน (2514)
  • มันมากับความมืด (2514)
  • กว่าจะรักกันได้ (2514)
  • เทพบุตรจอมโกง (2514)
  • ขวัญใจลูกทุ่ง (2515)
  • มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
  • กระท่อมปรีดา (2515)
  • วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
  • หยาดฝน (2515)
  • ระเริงชล (2515)
  • กลิ่นร่ำ (2515)
  • แสนทนง (2515)
  • ไอ้บ้านนอก (2515)
  • เหลือแต่รัก (2516)
  • เด่นดวงเดือน (2516)
  • สักขีแม่ปิง (2516)
  • สายชล (2516)
  • บุษบาขายรัก (2517)
  • นี่หรือผู้หญิง (2517)
  • เศรษฐีรัก (2518)
  • ใจรัก (2518)
  • เผ็ด (2518)
  • ดับสุริยา (2519)
  • 17 ทหารกล้า (2519)
  • แม่ม่ายใจถึง (2519)
  • บ้องไฟ (2519)
  • เงินคือพระเจ้า (2520)
  • พ่อนกฮูก (2520)
  • อย่านึกว่าหมู (2520)
  • แหย่หนวดเสือ (2520)
  • ข้าวก้นบาตร (2520)
  • สิงห์รถบรรทุก (2520)
  • พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
  • ลูกโดด (2521)
  • ดวงเศรษฐี (2521)
  • เพชรมหากาฬ (2521)
  • มนต์รักแผ่นดินทอง (2521)
  • มือปืนเลือดเดือด (2521)
  • ผู้แทนมาแล้ว (2521)
  • บุษบาก๋ากั่น (2521)
  • เอ็ม.16 (2521)
  • เสียสาว (2521)
  • ยิ้มสวัสดี (2521)
  • อะไรกันวะ (2521)
  • เพียงคำเดียว (2522)
  • นายอำเภอปฏิวัติ (2522)
  • สู้อย่างสิงห์ (2523)
  • ภูตพิศวาส (2523)
  • เครือฟ้า (2523)
  • ผัวนอกคอก (2523)
  • สิงห์แม่น้ำแคว (2523)
  • กามนิต วาสิฏฐี (2524)
  • ปีศาจเมียน้อย (2524)
  • รักโอ้รัก (2524)
  • มนต์รักลูกทุ่ง (2525)

อ้างอิง

  1. ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,ตำนานโรงหนัง ,เวลาดี 2547 ISBN 974-9659-11-2 หน้า 148-149
  2. ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า 53
  3. ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า 53