ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูนสวัสดิ์ ธีมากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
* พ.ศ. 2525 : แววมยุรา
* พ.ศ. 2525 : แววมยุรา
* พ.ศ. 2526 : นักเลงข้าวนึ่ง
* พ.ศ. 2526 : นักเลงข้าวนึ่ง
* พ.ศ. 2527 : วัยระเริง
* พ.ศ. 2527 : เดชผีดิบ
* พ.ศ. 2527 : เดชผีดิบ
* พ.ศ. 2527 : ป.ล.ผมรักคุณ
* พ.ศ. 2527 : ป.ล.ผมรักคุณ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:25, 22 กรกฎาคม 2563

พูนสวัสดิ์ ธีมากร
เกิดพ.ศ. 2471
พูนสวัสดิ์ ธีมากร
เสียชีวิต21 มีนาคม พ.ศ. 2545 (74 ปี)
คู่สมรสอภิรดี ธีมากร
อาชีพนักแสดง ดารา ผู้กำกับ
ปีที่แสดงราว พ.ศ. 2490–2540
ผลงานเด่นเรือนแพ (2504)
เพชรพระอุมา (2514)
พระสุรัสวดีตุ๊กตาเงินบทตลกในตัว
พ.ศ. 2506เอื้อมเดือน
สุพรรณหงส์กำกับภาพ/ถ่ายภาพยนตร์
พ.ศ. 2523 – ขุนเดช
ThaiFilmDb

พูนสวัสดิ์ ธีมากร (พ.ศ. 2471 – 21 มีนาคม 2545) เป็นนักแสดง ผู้กำกับ ช่างภาพชาวไทย

ผู้กำกับภาพ /ถ่ายภาพยนตร์

เริ่มงานแรกด้วยเรื่อง เรือนแพ (2504) ของอัศวินภาพยนตร์ หลังกลับจากการศึกษาฝึกงานที่ โรงถ่ายโตโฮ ประเทศญี่ปุ่น (ด้วยพระอุปถัมภ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ) และได้ทำงานด้านการถ่ายทำให้กับอัศวินตลอดมา เช่น จำปูน (2507) ,เป็ดน้อย (2511) ,ละครเร่ (2512) ฯลฯ รวมทั้งภาพยนตร์นอกสังกัดที่มีชื่อเสียง เช่น เพชรพระอุมา (2514) ของ วิทยาภาพยนตร์ ซึ่งยกกองไปถ่ายทำถึงประเทศเคนยา

ผลงานแห่งความสำเร็จได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำด้านการถ่ายภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก ขุนเดช (2523)

ดารา /นักแสดง

นักแสดงละครเวที และดาราสมทบในภาพยนตร์ เช่น นเรศวรมหาราช (2500) ดรรชนีนาง (2504) ก่อนก้าวสู่จุดสูงสุด จากภาพยนตร์ เอื้อมเดือน (2506) ด้วยรางวัลตุ๊กตาเงินบทตลกในตัวยอดเยี่ยมประจำปีนั้น และอีกหลากหลายบทบาทที่ผู้ชมยังคงจดจำ เช่น อ้อมอกดิน (2508) รับบทครูสอนเต้นรำจอมกะล่อน ,[1]เพชรตัดเพชร (2509) บทสมุนผู้ร้ายใจอำมหิต ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าพอใจมากที่ได้เปลี่ยนมารับบทแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงจนผู้ชมคาดไม่ถึง ,[2]16 ปีแห่งความหลัง (2511) รับบทครูค่ายมวยผู้หวังดี ที่สุรพล สมบัติเจริญมาอาศัยอยู่ด้วยก่อนเป็นนักร้องชื่อดัง ,[3]โทน (2513) ซึ่งเป็นทั้งผู้ถ่ายภาพยนตร์และร่วมแสดงเป็นฮิปปี้วัยรุ่นหน้าแก่เกินวัย[4]จนถึงงานช่วงหลัง ได้แก่ ทหารเรือมาแล้ว ,ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ,ฝันบ้าคาราโอเกะ ฯลฯ

ผลงานทางโทรทัศน์มีทั้งรายการยอดฮิตของเมืองไทย ชูศรีโชว์ ของ ชูศรี โรจนประดิษฐ์ และ ดอกดินพาเหรด ของ ดอกดิน กัญญามาลย์ จนถึงละครชุดที่ประสบความสำเร็จมากเรื่อง สามเกลอ รับบท เจ้าคุณประสิทธิ์ฯ ทางช่อง 9 อสมท. และ บท เจ้าคุณวิจิตรฯ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 (2538)[5] หลังจากเคยแสดงเป็น กิมหงวน ฉบับภาพยนตร์ 16 มม. สามเกลอเจอล่องหน (2509)

ผลงานแสดงภาพยนตร์

  • พ.ศ. 2508 : เงิน เงิน เงิน
  • พ.ศ. 2512 : อภินิหารอาจารย์ทอง
  • พ.ศ. 2512 : ยอดรักยูงทอง
  • พ.ศ. 2512 : นางละคร
  • พ.ศ. 2512 : ไพรรัก
  • พ.ศ. 2512 : เด็กวัด
  • พ.ศ. 2512 : ทับสะแก
  • พ.ศ. 2512 : ดอนเจดีย์
  • พ.ศ. 2512 : ดาวรุ่ง
  • พ.ศ. 2513 : โทน
  • พ.ศ. 2513 : เพลงรักแม่น้ำแคว
  • พ.ศ. 2513 : วิญญาณดอกประดู่
  • พ.ศ. 2513 : เรารักกันไม่ได้
  • พ.ศ. 2513 : เงินจางนางจร
  • พ.ศ. 2513 : อินทรีทอง
  • พ.ศ. 2513 : ลูกหนี้ทีเด็ด
  • พ.ศ. 2513 : เทวีกายสิทธิ์
  • พ.ศ. 2514 : คนึงหา
  • พ.ศ. 2514 : จำปาทอง
  • พ.ศ. 2514 : สองฝั่งโขง
  • พ.ศ. 2514 : แก้วสารพัดนึก
  • พ.ศ. 2514 : เหนือพญายม
  • พ.ศ. 2515 : ขวัญใจลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2515 : วิวาห์ลูกทุ่ง
  • พ.ศ. 2516 : ผาเวียงทอง
  • พ.ศ. 2516 : วางฟูซาน
  • พ.ศ. 2516 : สุดหัวใจ
  • พ.ศ. 2517 : กังหันสวาท
  • พ.ศ. 2519 : ขุนศึก
  • พ.ศ. 2520 : หงส์ทอง
  • พ.ศ. 2520 : พ่อม่ายทีเด็ด
  • พ.ศ. 2521 : น้องเมีย
  • พ.ศ. 2521 : กัปตันเรือปู
  • พ.ศ. 2522 : แดร๊กคูล่าต๊อก
  • พ.ศ. 2522 : รักพี่ต้องหนีพ่อ
  • พ.ศ. 2523 : ทหารเกณฑ์ ภาค 2
  • พ.ศ. 2523 : เป๋อจอมเปิ่น
  • พ.ศ. 2523 : แผ่นดินแห่งความรัก
  • พ.ศ. 2524 : คำอธิษฐานของดวงดาว
  • พ.ศ. 2524 : ทหารเรือมาแล้ว
  • พ.ศ. 2524 : เด็ดหนวดพ่อตา
  • พ.ศ. 2525 : สัตว์สาวผู้น่ารัก
  • พ.ศ. 2525 : อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง
  • พ.ศ. 2525 : กุนซืออ้วน
  • พ.ศ. 2525 : แววมยุรา
  • พ.ศ. 2526 : นักเลงข้าวนึ่ง
  • พ.ศ. 2527 : วัยระเริง
  • พ.ศ. 2527 : เดชผีดิบ
  • พ.ศ. 2527 : ป.ล.ผมรักคุณ
  • พ.ศ. 2527 : เพชรตัดเพชร
  • พ.ศ. 2528 : ตะวันยิ้มแฉ่ง
  • พ.ศ. 2529 : ไปรษณีย์สื่อรัก
  • พ.ศ. 2529 : รักกันเล่น ๆ (ไม่เห็นเป็นไร)
  • พ.ศ. 2530 : เรารักกันนะ (ที่ปักกิ่ง)
  • พ.ศ. 2530 : เคหาสน์ดาว
  • พ.ศ. 2531 : พ่อปลาไหล แม่พังพอน
  • พ.ศ. 2531 : มนต์รักเพลงทะเล้น
  • พ.ศ. 2531 : กระชุ่มกระชวย
  • พ.ศ. 2531 : ผิดฝาไม่ผิดตัว
  • พ.ศ. 2531 : ความรัก
  • พ.ศ. 2533 : เศรษฐีใหม่
  • พ.ศ. 2533 : 3 กบาล
  • พ.ศ. 2533 : ดีดสีและตีเป่า
  • พ.ศ. 2533 : ใช่แล้วหลุดเลย
  • พ.ศ. 2533 : พ่อไก้แจ้ แม่ไก่ชน
  • พ.ศ. 2533 : ครูไหวใจร้าย
  • พ.ศ. 2534 : ด้วยรักไม่รู้จบ
  • พ.ศ. 2534 : โฮ่ง
  • พ.ศ. 2534 : วิมานมะพร้าว
  • พ.ศ. 2534 : ขอลูกแก้ว​เป็น​พระเอก
  • พ.ศ. 2536 : ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด
  • พ.ศ. 2537 : ม.6/2 ห้องครูวารี
  • พ.ศ. 2538 : บินแหลก
  • พ.ศ. 2539 : แรงเป็นไฟ ละลายแค่เธอ
  • พ.ศ. 2539 : อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2
  • พ.ศ. 2540 : แก๊งค์กระแทกก๊วนส์ เก๋ากวนเมือง
  • พ.ศ. 2540 : 18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว
  • พ.ศ. 2540 : ฝันบ้าคาราโอเกะ

ผลงานแสดงละครโทรทัศน์

  • พ.ศ. 2510 : พล นิกร กิมหงวน ช่อง 4
  • พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519 : พล นิกร กิมหงวน ช่อง 9
  • พ.ศ. 2523 : แก้วกลางดง ช่อง 9
  • พ.ศ. 2523 : ค่าแห่งความรัก ช่อง 9
  • พ.ศ. 2525 : อีสา ช่อง 9
  • พ.ศ. 2526 : เธอกับฉัน *ภาพยนตร์โทรทัศน์ชิงรางวัลดาวเทียมทองคำ* ช่อง 7
  • พ.ศ. 2527 : เก้าอี้ขาวในห้องแดง ช่อง 3
  • พ.ศ. 2528 : กตัญญพิศวาส ช่อง 3
  • พ.ศ. 2528 : เบญจรงค์ห้าสี ช่อง 3 รับเชิญ
  • พ.ศ. 2529 : แม่ปูเปรี้ยว ช่อง 7
  • พ.ศ. 2530 : เวทีนี้ มีปัญหา(มาก) ช่อง 7
  • พ.ศ. 2530 : ดวงไฟใยไม่ส่องฉัน ช่อง 7
  • พ.ศ. 2531 : ตัวประกอบอดทน ช่อง 9
  • พ.ศ. 2531 : เกมกามเทพ ช่อง 3
  • พ.ศ. 2531 : บุญเติมร้านเดิมที่ใหม่ ช่อง 9
  • พ.ศ. 2531 : รักประกาศิต ช่อง 3 รับเชิญ
  • พ.ศ. 2533 : แม่นาคพระโขนง ช่อง 3
  • พ.ศ. 2533 : บ้านไม่รู้โรย ช่อง 9
  • พ.ศ. 2533 : สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ช่อง 3
  • พ.ศ. 2533 : รัตติกาลยอดรัก ช่อง 3 รับเชิญ
  • พ.ศ. 2533 : คู่กรรม ช่อง 7
  • พ.ศ. 2533 : วนาลี ช่อง 3
  • พ.ศ. 2533 : โก๋ตี๋กี๋หมวย ช่อง 3
  • พ.ศ. 2533 : กตัญญูประกาศิต ช่อง 3 รับเชิญ
  • พ.ศ. 2534 : กะลาก้นครัว ช่อง 7
  • พ.ศ. 2534 : สาวน้อยร้อยชั่ง ช่อง 3
  • พ.ศ. 2535 : ละครเร่ ช่อง 7
  • พ.ศ. 2535 : แก้วสารพัดนึก ช่อง 7
  • พ.ศ. 2535 : ภูตแม่น้ำโขง ช่อง 7
  • พ.ศ. 2535 : เขยบ้านนอก ภาค 2 ช่อง 3
  • พ.ศ. 2536 : จันทโครพ ช่อง 7
  • พ.ศ. 2536 : คุณหญิงจอมแก่น ช่อง 3
  • พ.ศ. 2536 : บัลลังก์เมฆ ช่อง 5
  • พ.ศ. 2536 : เกิดแต่ตม ช่อง 7
  • พ.ศ. 2536 : คุณหญิงพวงแข ช่อง 3
  • พ.ศ. 2537 : กำนันถึก ช่อง 3
  • พ.ศ. 2537 : วิมานมะพร้าว ช่อง 7 รับเชิญ
  • พ.ศ. 2537 : รุ่น 1 ตึก 5 หน้าเดิน ช่อง 7
  • พ.ศ. 2538 : ปูลม ช่อง 3
  • พ.ศ. 2538 : ศรีธนญชาย ช่อง 5
  • พ.ศ. 2538 : พล นิกร กิมหงวน
  • พ.ศ. 2538 : ภูตพิศวาส ช่อง 7
  • พ.ศ. 2538 : คือหัตถาครองพิภพ ช่อง 7
  • พ.ศ. 2538 : เยาวราชในพายุฝน ช่อง 3
  • พ.ศ. 2538 : ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ช่อง 5
  • พ.ศ. 2539 : เกาะสวาท หาดสวรรค์ ช่อง 7
  • พ.ศ. 2539 : ชีวิตเหมือนฝัน ช่อง 3
  • พ.ศ. 2539 : รักหลอกๆ อย่าบอกใคร ช่อง 5
  • พ.ศ. 2539 : พิสูจน์รักจากสวรรค์ ช่อง 5
  • พ.ศ. 2540 : ทัดดาวบุษยา ช่อง 7
  • พ.ศ. 2541 : สุรพล(คนจริง) สมบัติเจริญ ช่อง 3 รับเชิญ
  • พ.ศ. 2541 : ชีวิตเพื่อฆ่า หัวใจเพื่อเธอ ช่อง 5
  • พ.ศ. 2541 : พ่อปลาไหล ช่อง 3
  • พ.ศ. 2541 : ความทรงจำใหม่ หัวใจเดิม ช่อง 5
  • พ.ศ. 2542 : มือปืน ช่อง 3
  • พ.ศ. 2542 : พระจันทร์ลายกระต่าย ช่อง 5
  • พ.ศ. 2542 : โดดเดี่ยวไม่เดียวดาย ช่อง 5
  • พ.ศ. 2543 : หงส์เหนือมังกร ช่อง 5
  • พ.ศ. 2544 : เทวดาเดินดิน ช่อง 3
  • พ.ศ. 2544 : หงส์ฟ้ากับสมหวัง ช่อง 7
  • พ.ศ. 2545 : มรดกหกคะเมน ช่อง 5

ผลงานการถ่ายภาพ

  • พ.ศ. 2512 : ละครเร่
  • พ.ศ. 2515 : สุดสายป่าน
  • พ.ศ. 2516 : ความรักมักเป็นอย่างนี้
  • พ.ศ. 2516 : เจ้าสาวเรือพ่วง
  • พ.ศ. 2516 : วางฟูซาน
  • พ.ศ. 2517 : น้ำผึ้งขม
  • พ.ศ. 2518 : ทะเลทอง
  • พ.ศ. 2518 : นายอำเภอใจเพชร
  • พ.ศ. 2519 : 17 ทหารกล้า
  • พ.ศ. 2519 : เหมือนหนึ่งในฝัน
  • พ.ศ. 2519 : ทะเลฤๅอิ่ม
  • พ.ศ. 2520 : กูซิใหญ่
  • พ.ศ. 2521 : ขุนดอน
  • พ.ศ. 2521 : แม่ยอดสร้อยพ่อยอดแซว
  • พ.ศ. 2521 : เดนนรก
  • พ.ศ. 2522 : สวรรค์ปิด
  • พ.ศ. 2522 : สามคนผัวเมีย
  • พ.ศ. 2522 : บัณฑิตเหลือเดน
  • พ.ศ. 2522 : อยู่อย่างเสือ
  • พ.ศ. 2522 : ลูกชั่ว
  • พ.ศ. 2523 : คู่โจร
  • พ.ศ. 2523 : มันมือเสือ
  • พ.ศ. 2523 : ผิดหรือที่จะรัก
  • พ.ศ. 2524 : ยอดรักผู้กอง
  • พ.ศ. 2524 : สิงห์คะนองปืน
  • พ.ศ. 2524 : รักครั้งแรก
  • พ.ศ. 2524 : สุดทางรัก
  • พ.ศ. 2525 : ยอดเยาวมาลย์
  • พ.ศ. 2525 : เพชฌฆาตหน้าเป็น
  • พ.ศ. 2525 : รักจั๊กจี้
  • พ.ศ. 2526 : เห่าดง
  • พ.ศ. 2527 : แพแตก

นักร้อง /นักพากย์

ขับร้องบันทึกแผ่นเสียง "พี่รักเจ้าสาว " ( สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ - สง่า อารัมภีร) ทำนองของเก่า ลาวราชบุรี ในละครเวทีคณะศิวารมย์

พากย์เสียงภาษาไทยให้ จินฟง เรื่อง เรือนแพ (2504) และพากย์เสียงตนเอง ใน เป็ดน้อย (2511)

ชีวิตส่วนตัว

พูนสวัสดิ์ ธีมากร เป็นบุตรชายของร้อยโทเขียน ธีมากร นายทหารบก เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ซึ่งเคยเป็นผู้อ่านประกาศและแถลงการณ์ของคณะราษฎร[6] และร่วมแสดงใน เลือดทหารไทย (2478)

ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางอภิรดี ธีมากร มีบุตรชายชื่อ อรรถพร ธีมากร ชื่อเล่น หนุ่ม ซึ่งเป็นดารานักแสดงในวงการบันเทิงไทยปัจจุบัน

มรณกรรม

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2545

อ้างอิง

  1. วีดิทัศน์ อ้อมอกดิน ,พันธมิตร 2546
  2. วีซีดี เพชรตัดเพชร ,พันธมิตร 2546
  3. วีซีดี 16 ปีแห่งความหลัง ,เมโทรพิคเจอร์ส 2543
  4. วีดิทัศน์ โทน ,พันธมิตร 2549
  5. พีระพงศ์ ดามาพงศ์ ท่องอดีตกับสามเกลอ เล่ม 1 แมทช์บอกซ์ กรุงเทพ 2546 ISBN 974-684-580-2 หน้า 84-89
  6. นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 283.

แหล่งข้อมูลอื่น