ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาสนวิหารเฮริฟอร์ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
กล่าวกันว่าแฮรฟอร์ดเป็นศูนย์กลางเขตการปกครองของบาทหลวงมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ใน คริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงพัตตา (Putta) ก็ก่อตั้งมหาวิหารขึ้นอีกครั้ง บาทหลวงพัตตามาตั้งหลักแหล่งที่แฮรฟอร์ดหลังจากที่ถูกไล่มาจากรอเชสเตอร์ (Rochester) โดยพระเจ้าเอเธลเบิร์ต (อีกพระองค์หนึ่ง) มหาวิหารที่สร้างโดยบาทหลวงพัตตาอยู่มาได้ถึง 200 ปี พอมาถึงสมัย[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพ]]ก็ทรงสร้างวัดใหม่แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกปล้นและเผาเมื่อปีค.ศ. 1056 โดยกองทัพจาก[[เวลส์]] และ [[ไอร์แลนด์]]โดยการนำของ Gruffydd ap Llywelyn เจ้าชายจากเวลส์ อันที่จริงวัดจะมิได้ถูกทำลายแต่ผู้ดูแลวัดต่อต้านอย่างแข็งขันจนพระเสียชีวิตไป 7 องค์ วัดจึงถูกเผา
กล่าวกันว่าแฮรฟอร์ดเป็นศูนย์กลางเขตการปกครองของบาทหลวงมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ใน คริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงพัตตา (Putta) ก็ก่อตั้งมหาวิหารขึ้นอีกครั้ง บาทหลวงพัตตามาตั้งหลักแหล่งที่แฮรฟอร์ดหลังจากที่ถูกไล่มาจากรอเชสเตอร์ (Rochester) โดยพระเจ้าเอเธลเบิร์ต (อีกพระองค์หนึ่ง) มหาวิหารที่สร้างโดยบาทหลวงพัตตาอยู่มาได้ถึง 200 ปี พอมาถึงสมัย[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพ|พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพ]]ก็ทรงสร้างวัดใหม่แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกปล้นและเผาเมื่อปีค.ศ. 1056 โดยกองทัพจาก[[เวลส์]] และ [[ไอร์แลนด์]]โดยการนำของ Gruffydd ap Llywelyn เจ้าชายจากเวลส์ อันที่จริงวัดจะมิได้ถูกทำลายแต่ผู้ดูแลวัดต่อต้านอย่างแข็งขันจนพระเสียชีวิตไป 7 องค์ วัดจึงถูกเผา


==สมัยนอร์มัน==
==สมัยนอร์มัน (โรมาเนสก์)==
มหาวิหารแฮรฟอร์ดอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมจนกระทั่งโรเบิร์ตแห่งลอร์เรน (Robert of Lorraine) ได้รับแต่งตั้งเป็นบาทหลวงของสังฆมณฑลแฮรฟอร์ดเมื่อ ค.ศ. 1079 ท่านก็เริ่มปฏิสังขรณ์วัดและมาทำต่อโดยบาทหลวงเรเนลม (Reynelm) ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสำหรับแคนนอน “[[การปฏิรูปสถาบันคริสต์ศาสนา |เซ็คคิวลาร์]]” ติดกับมหาวิหาร บาทหลวงเรเนลมสิ้นชีวิตเมื่อค.ศ. 1115 วัดมาสร้างเสร็จเอาระหว่างที่โรเบิร์ต เดอ เบทุน (Robert de Betun) เป็นบาทหลวงระหว่างปีค.ศ. 1131 ถึง 1148
มหาวิหารแฮรฟอร์ดอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมจนกระทั่งโรเบิร์ตแห่งลอร์เรน (Robert of Lorraine) ได้รับแต่งตั้งเป็นบาทหลวงของสังฆมณฑลแฮรฟอร์ดเมื่อ ค.ศ. 1079 ท่านก็เริ่มปฏิสังขรณ์วัดและมาทำต่อโดยบาทหลวงเรเนลม (Reynelm) ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสำหรับแคนนอน “[[การปฏิรูปสถาบันคริสต์ศาสนา |เซ็คคิวลาร์]]” ติดกับมหาวิหาร บาทหลวงเรเนลมสิ้นชีวิตเมื่อค.ศ. 1115 วัดมาสร้างเสร็จเอาระหว่างที่โรเบิร์ต เดอ เบทุน (Robert de Betun) เป็นบาทหลวงระหว่างปีค.ศ. 1131 ถึง 1148


ตัววัดที่สร้างตั้งแต่สมัย[[สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์|โรมาเนสก์]]เหลืออยู่เพียงบริเวณที่ทำพิธีถึงหน้าต่างชั้นบน ([[:en:clerestory|clerestory]]) บริเวณกางเขนด้านใต้ (south transept) ซุ้มโค้งระหว่างด้านเหนือของบริเวณกางเขน (north transept) กับที่ทำพิธี และคูหาทางเดินข้างกระหนาบทางสู่แท่นบูชา (nave arcade) เมื่อวัดเพิ่งสร้างเสร็จได้เพียง 50 ปีเมื่อวิลเลียม เดอ เวียร์ (William de Vere) มาเป็นบาทหลวงระหว่างปี ค.ศ. 1186 ถึงปี ค.ศ. 1199 ผู้ขยายทางต้านตะวันออกโดยเพิ่มจรมุขหรือทางเดินขบวนพิธีและ “([[:en:Lady Chapel|Lady Chapel]]” “เลดีชาเปล” มาสร้างใหม่ไม่นานหลังจากนั้น - ระหว่างปี ค.ศ. 1226 ถึงปี ค.ศ. 1246 - เป็นแบบอังกฤษโดยมีที่ฝังศพอยู่ภายใต้ พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็สร้างหน้าต่างชั้นบนใหม่ และอาจจะสร้างเพดานโค้ง ที่ทำพิธีใหม่เพราะทั้งสองอย่างได้รับความเสียหายเมื่อสร้างหอกลางทรุด เมื่ออาควาบลังคา (Bishop Aquablanca) มาเป็นบาทหลวงระหว่างปี ค.ศ. 1240 ถึงปี ค.ศ. 1268 ท่านก็ได้สร้างบริเวณกางเขนทางด้านเหนือใหม่แต่มาเสร็จในสมัยบาทหลวงสวินฟิลด์ (Bishop Swinfield) ผู้เป็นคนสร้างทางเดินสู่แท่นบูชา หรือทางเดินกลางมหาวิหาร และบริเวณกางเขนด้านตะวันออก
ตัววัดที่สร้างตั้งแต่สมัย[[สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์|โรมาเนสก์]]เหลืออยู่เพียงบริเวณที่ทำพิธีถึงหน้าต่างชั้นบน ([[:en:clerestory|clerestory]]) บริเวณกางเขนด้านใต้ (south transept) ซุ้มโค้งระหว่างด้านเหนือของบริเวณกางเขน (north transept) กับที่ทำพิธี และคูหาทางเดินข้างกระหนาบทางสู่แท่นบูชา (nave arcade) เมื่อวัดเพิ่งสร้างเสร็จได้เพียง 50 ปีเมื่อวิลเลียม เดอ เวียร์ (William de Vere) มาเป็นบาทหลวงระหว่างปี ค.ศ. 1186 ถึงปี ค.ศ. 1199 ผู้ขยายทางต้านตะวันออกโดยเพิ่มจรมุขหรือทางเดินขบวนพิธีและ “([[:en:Lady Chapel|Lady Chapel]]” “เลดีชาเปล” มาสร้างใหม่ไม่นานหลังจากนั้น - ระหว่างปี ค.ศ. 1226 ถึงปี ค.ศ. 1246 - เป็นแบบอังกฤษโดยมีที่ฝังศพอยู่ภายใต้ พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็สร้างหน้าต่างชั้นบนใหม่ และอาจจะสร้างเพดานโค้ง ที่ทำพิธีใหม่เพราะทั้งสองอย่างได้รับความเสียหายเมื่อสร้างหอกลางทรุด เมื่ออาควาบลังคา (Bishop Aquablanca) มาเป็นบาทหลวงระหว่างปี ค.ศ. 1240 ถึงปี ค.ศ. 1268 ท่านก็ได้สร้างบริเวณกางเขนทางด้านเหนือใหม่แต่มาเสร็จในสมัยบาทหลวงสวินฟิลด์ (Bishop Swinfield) ผู้เป็นคนสร้างทางเดินสู่แท่นบูชา หรือทางเดินกลางมหาวิหาร และบริเวณกางเขนด้านตะวันออก


== บาทหลวงอาควาบลังคา ==
== บาทหลวงอาควาบลังคา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:07, 9 มกราคม 2551

มหาวิหารแฮรฟอร์ด

มหาวิหารแฮรฟอร์ด (ภาษาอังกฤษ: Hereford Cathedral) เป็นมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองแฮรฟอร์ด ใน สหราชอาณาจักร มหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ. 1079 และเสร็จ เมื่อ ค.ศ. 1535 สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นของมหาวิหารคือ “แผนที่โลกแฮรฟอร์ด” ( Hereford Mappa Mundi) ซึ่งเป็นแผนที่ที่วาดขึ้นในสมัยยุคกลางจากศตวรรษที่ 13

ประวัติ

รูปปั้นภายในที่ฝังศพใต้ดิน

มหาวิหารอุทิศให้นักบุญสององค์คือพระแม่มารี และ นักบุญเอเธลเบิร์ต (Saint Ethelbert) ผู้ถูกประหารชีวิตโดยพระเจ้าออฟฟาแห่งเมอร์เซีย (Offa of Mercia) เมื่อปี ค.ศ. 792 ตามตำนานกล่าวว่าพระเจ้าออฟฟายกพระราชธิดาให้พระเจ้าเอเธลเบิร์ตแต่งงาน แต่ทำไมพระเจ้าออฟฟามาทรงเปลี่ยนพระทัยแล้วกลับมาสังหารพระเจ้าเอเธลเบิร์ตก็ไม่เป็นที่ทราบ ว่ากันว่าการสังหารหรือฆาตกรรมเกิดขึ้น 4 ไมล์จากเมืองแฮรฟอร์ด ที่ซัททัน (Sutton) ร่างของพระเจ้าเอเธลเบิร์ตถูกนำกลับมาที่ในปัจจุบันเป็นมหาวิหาร ตั้งแต่นั้นก็มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นที่ที่ฝังร่างของเอเธลเบิร์ต เมื่อราวปีค.ศ. 830 ขุนนางชาวเมอร์เซียชื่อมิลเฟรด (Milfrid) มีความประทับใจจากเรื่องราวของปาฏิหาริย์ต่างๆ ของนักบุญเอเธลเบิร์ตจึงสร้างวัดทำด้วยหินขึ้นแทนวัดเดิมและอุทิศวัดให้กับนักบุญพระเจ้าเอเธลเบิร์ต

กล่าวกันว่าแฮรฟอร์ดเป็นศูนย์กลางเขตการปกครองของบาทหลวงมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ใน คริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงพัตตา (Putta) ก็ก่อตั้งมหาวิหารขึ้นอีกครั้ง บาทหลวงพัตตามาตั้งหลักแหล่งที่แฮรฟอร์ดหลังจากที่ถูกไล่มาจากรอเชสเตอร์ (Rochester) โดยพระเจ้าเอเธลเบิร์ต (อีกพระองค์หนึ่ง) มหาวิหารที่สร้างโดยบาทหลวงพัตตาอยู่มาได้ถึง 200 ปี พอมาถึงสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้สารภาพก็ทรงสร้างวัดใหม่แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกปล้นและเผาเมื่อปีค.ศ. 1056 โดยกองทัพจากเวลส์ และ ไอร์แลนด์โดยการนำของ Gruffydd ap Llywelyn เจ้าชายจากเวลส์ อันที่จริงวัดจะมิได้ถูกทำลายแต่ผู้ดูแลวัดต่อต้านอย่างแข็งขันจนพระเสียชีวิตไป 7 องค์ วัดจึงถูกเผา

สมัยนอร์มัน (โรมาเนสก์)

มหาวิหารแฮรฟอร์ดอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมจนกระทั่งโรเบิร์ตแห่งลอร์เรน (Robert of Lorraine) ได้รับแต่งตั้งเป็นบาทหลวงของสังฆมณฑลแฮรฟอร์ดเมื่อ ค.ศ. 1079 ท่านก็เริ่มปฏิสังขรณ์วัดและมาทำต่อโดยบาทหลวงเรเนลม (Reynelm) ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสำหรับแคนนอน “เซ็คคิวลาร์” ติดกับมหาวิหาร บาทหลวงเรเนลมสิ้นชีวิตเมื่อค.ศ. 1115 วัดมาสร้างเสร็จเอาระหว่างที่โรเบิร์ต เดอ เบทุน (Robert de Betun) เป็นบาทหลวงระหว่างปีค.ศ. 1131 ถึง 1148

ตัววัดที่สร้างตั้งแต่สมัยโรมาเนสก์เหลืออยู่เพียงบริเวณที่ทำพิธีถึงหน้าต่างชั้นบน (clerestory) บริเวณกางเขนด้านใต้ (south transept) ซุ้มโค้งระหว่างด้านเหนือของบริเวณกางเขน (north transept) กับที่ทำพิธี และคูหาทางเดินข้างกระหนาบทางสู่แท่นบูชา (nave arcade) เมื่อวัดเพิ่งสร้างเสร็จได้เพียง 50 ปีเมื่อวิลเลียม เดอ เวียร์ (William de Vere) มาเป็นบาทหลวงระหว่างปี ค.ศ. 1186 ถึงปี ค.ศ. 1199 ผู้ขยายทางต้านตะวันออกโดยเพิ่มจรมุขหรือทางเดินขบวนพิธีและ “(Lady Chapel” “เลดีชาเปล” มาสร้างใหม่ไม่นานหลังจากนั้น - ระหว่างปี ค.ศ. 1226 ถึงปี ค.ศ. 1246 - เป็นแบบอังกฤษโดยมีที่ฝังศพอยู่ภายใต้ พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็สร้างหน้าต่างชั้นบนใหม่ และอาจจะสร้างเพดานโค้ง ที่ทำพิธีใหม่เพราะทั้งสองอย่างได้รับความเสียหายเมื่อสร้างหอกลางทรุด เมื่ออาควาบลังคา (Bishop Aquablanca) มาเป็นบาทหลวงระหว่างปี ค.ศ. 1240 ถึงปี ค.ศ. 1268 ท่านก็ได้สร้างบริเวณกางเขนทางด้านเหนือใหม่แต่มาเสร็จในสมัยบาทหลวงสวินฟิลด์ (Bishop Swinfield) ผู้เป็นคนสร้างทางเดินสู่แท่นบูชา หรือทางเดินกลางมหาวิหาร และบริเวณกางเขนด้านตะวันออก

บาทหลวงอาควาบลังคา

บาทหลวงองค์มีบทบาทสำคัญที่สุดก่อนการปฏิรูปศาสนาที่ประเทศอังกฤษของมหาวิหารแฮรฟอร์ดก็เห็นจะเป็นบาทหลวงอาควาบลังคา อาควาบลังคาเดินทางมาอังกฤษพร้อมกับขบวนของเอเลเนอร์แห่งพรอวองซ์ (Eleanor of Provence--ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) ท่านเป็นบาทหลวงทั้งมีอำนาจและกำลังเงินและบางครั้งก็โกงด้วยเมื่อมีโอกาส เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จมาแฮรฟอร์ดเพื่อจะมาปราบ Llywelyn the Great แห่งเวลส์ ขณะที่บาทหลวงอาควาบลังคาไม่อยู่เพราะเดินทางไปเก็บภาษีที่ไอร์แลนด์ เมื่อบาทหลวงอาควาบลังคากลับมาซึ่งคงเป็นเพราะคงถูกเรียกกลับ ทั้งบาทหลวงและญาติพี่น้องจากซาวอย (Savoy) ก็ถูกจับไว้ในมหาวิหารโดยกลุ่มขุนนางผู้ยึดทรัพย์สินซึ่งท่านไปรีดไถมาจากชาวไอร์แลนด์

คริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง คริสต์ศตวรรษที่16

ผังของมหาวิหารพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1836

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่14 ระหว่างสมัยบาทหลวงเทรเวนองท์ (Bishop Trevenant) ซึ่งเป็นบาทหลวงระหว่างค.ศ. 1389 ถึง ค.ศ. 1404 ทางมหาวิหารก็สร้างหอกลางใหม่ใช้การตกแต่งแบบ ball-flower ขณะเดียวกันก็สร้างห้องประชุม (chapter house) โถงทางเข้า (vestibule) และ ด้านใต้

เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่15 ก็เติมหอทางด้านตะวันตกของทางเดินกลาง พอถึงปลายกลางคริสต์ศตวรรษที่15 บาทหลวงแสตนบรี (Bishop Stanbury) และบาทหลวงออดลี (Bishop Audley) ก็สร้างชาเปลสามชาเปลภายในวัด บาทหลวงมาโย (Bishop Mayo) และ บาทหลวงบูธ (Bishop Booth) ผู้ปกครองมหาวิหารระหว่างปีค.ศ. 1504 ถึง ค.ศ. 1535 สร้างสิ่งก่อสร้างสุดท้ายคือทางเข้าทางด้านเหนือ วัดนี้จึงรวมเบ็ดเสร็จใช้เวลาในการสร้าง 440 ปี

แผนที่โลกแห่งแฮรฟอร์ด

แผนที่โลกแห่งแฮรฟอร์ด (ภาษาอังกฤษ: Hereford Mappa Mundi) ตั้งแสดงอยู่ภายในมหาวิหารใกล้บริเวณที่ทำพิธีซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของริชาร์ดเดอลาเบลโล (Richard de Bello) ที่เขียนเมื่อราวศตวรรษที่ 13 ว่ากันว่ารูปคนขี่ม้ากับคนรับใช้ตรงมุมขวาของแผนที่คือริชาร์ดเดอลาบาเทยล์ ระหว่างสงครามกลางเมืองที่อังกฤษเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 แผนที่นี้ก็ถูกฝังไม่ใกลจาก Lady Chapel มาจนปีค.ศ.1855 จึงได้นำออกมาซ่อม

แผนที่นี้เป็นเอกสารทางแผนที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ยังเหลืออยู่ วาดบนหนังลูกวัวชิ้นเดียวกว้าง 52 นิ้ว ยาว 64 นิ้ว เป็นแผนที่ลักษณะนี้ที่ใหญ่ที่สุดของยุคกลางที่แสดงความคิดทางสถาบันคาทอลิกว่าเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลางของโลก

นอกจากแผนที่ทวีปแล้วบนรูปเป็นการบรรยายประวัติมนุษย์โลก มีรูปด้วยกันประมาณ 500 รูปรวมทั้งเมืองทั้งใหญ่และเล็กด้วยกัน 420 เมือง เหตุการณ์ 15 เหตุการณ์จากคัมภีร์ไบเบิล ต้นไม้ สัตว์ นกและสัตว์ในจินตนาการ 33 ชนิด รูปของคนชาติต่างๆจากทั่วโลก 32 รูป และอีก 8 รูปมาจากตำนานกรีกโรมัน[1]


อ้างอิง

  1. The Mappa Mundi (แผนที่โลก)

ข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

สมุดภาพ