ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tktoo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tktoo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| เว็บ = [http://www.bcnnv.ac.th/ www.bcnnv.ac.th]
| เว็บ = [http://www.bcnnv.ac.th/ www.bcnnv.ac.th]
}}
}}
'''วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ''' เป็นวิทยาลัยในสังกัด คณะพยาบาลศาสตร์ [[สถาบันพระบรมราชชนก]] [[กระทรวงสาธารณสุข]]'''วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ'''มีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2475]]
'''วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ''' เป็นวิทยาลัยในสังกัด คณะพยาบาลศาสตร์ [[สถาบันพระบรมราชชนก]] [[กระทรวงสาธารณสุข]] วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ มีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2475]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:51, 14 กรกฎาคม 2563

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
คณะพยาบาลศาสตร์
สถาบันพระบรมราชชนก
Boromarajonani College of Nursing Nopparat Vajira
สถาปนา2 มกราคม พ.ศ. 2455
สังกัดการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
ผู้อำนวยการนางพเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ
ที่อยู่
สี  สีเหลืองราชพฤกษ์
เว็บไซต์www.bcnnv.ac.th

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ เป็นวิทยาลัยในสังกัด คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ มีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกในประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมตึกและสิ่งก่อสร้างจากเอกชนเพื่อจัดทำเป็นโรงพยาบาลนามว่า “วชิรพยาบาล” และทรงมอบให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลเป็นผู้ปกปักษ์รักษา หน่วยงานราชการและประชาชนนิยมเรียกว่า “โรงพยาบาลวชิระ” ต่อมา เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2496วชิรพยาบาล” อยู่ในความดูแลของกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย นับเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยมาก โดยเฉพาะทางด้านสูติกรรม พ.ศ. 2470ได้เปิดการอบรมหมอตำแยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยอบรมเป็นงวดๆละ 20 คน ระยะเวลาการอบรมงวดละ 3 สัปดาห์ เมื่อเสร็จการอบรมแล้วได้ส่งกลับภูมิลำเนาเดิมให้ช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับการคลอดบุตรต่อไปเพื่อลดอัตราการตายจากการคลอดบุตรให้น้อยลง คำว่า ”หมอตำแย” เรียกตามชื่อครูผู้หนึ่งที่สอนวิชานี้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ การเรียกชื่อเช่นนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูผู้เป็นเจ้าของตำรา

ในพ.ศ. 2472 สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ หลังจากเสด็จนิวัติกลับพระนคร ได้ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาลได้อย่างครบครันทางด้านการศึกษา ได้ทรงเน้นว่าวชิรพยาบาลควรเป็นศูนย์กลางการศึกษาของกรมสาธารณสุข โดยมีโรงเรียนอบรมหมอตำแยและโรงเรียนพยาบาลที่เข้ามาตรฐานรวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมของผู้สำเร็จวิชาแพทย์ เพื่อเตรียมตัวไปปฏิบัติงานสาธารณสุขและกำหนดให้หัวหน้าพยาบาลต้องปกครองโรงเรียนผดุงครรภ์ด้วย สำหรับพยาบาลให้เพิ่มพยาบาลหญิงให้มากขึ้น ลดพยาบาลชายให้เหลือแต่ในหน่วยกามโรคเท่านั้น พ.ศ. 2474 กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งโรงเรียนอบรมผดุงครรภ์ชั้นสองขึ้นในวชิรพยาบาล นับเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อเปิดรับได้กำหนดจำนวน นักเรียนไว้ปีละ 20 คน ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี เมื่อจบแล้วได้ประกาศนียบัตรผดุงครรภ์ชั้น 2ผู้เข้าอบรมเป็นผู้คัดเลือกส่งมาจากอำเภอต่างๆทั่วประเทศ เมื่อจบการศึกษาแล้ว กรมสาธารณสุขได้จัดส่งภูมิลำเนาเดิมเพื่อช่วยการคลอดบุตร และมารดาทารกสงเคราะห์ ตลอดจนงานสาธารณสุขอื่นๆที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคต่าง เช่น การปลูกฝี และการฉีดวัคซีนเซรุ่ม เป็นต้นนับว่าประชาชนที่อยู่ในชนบทได้เพิ่มความปลอดภัยในเรื่องเหล่านี้ดีขึ้นเป็นอันมาก

ต่อมาวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนสิทธิและกิจการของวชิรพยาบาลกรมสาธารณสุขมาอยู่ในความดูแลของเทศบาลกรุงเทพฯ และข้าราชการที่ทำงานอยู่ในวชิรพยาบาลก็ยังเป็นข้าราชการกรมสาธารณสุขไปตามเดิม จนถึง พ.ศ. 2498 วชิรพยาบาลมีฐานะเป็นกอง ๆ หนึ่งในส่วนราชการเทศบาลนครกรุงเทพฯ อย่างแท้จริงและได้พัฒนาเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับส่วนของโรงเรียนอบรมผดุงครรภ์ชั้น 2 ยังคงสังกัดกรมสาธารณสุขเช่นเดิม พ.ศ. 2478-2481 การอบรมผดุงครรภ์ในระยะนี้มีอุปสรรคบางประการจึงต้องหยุดชะงักการอบรมลงเป็นระยะเวลา 4 ปี จนถึง พ.ศ. 2482 จึงได้เปิดการอบรมขึ้นอีกครั้งหนึ่งเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา คุณสมบัติผู้เขัศึกษา ระเบียบข้อบังคับและการปกครองเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น พ.ศ. 2485 ทางราชการได้ปรับโครงสร้างให้กรมสาธารณสุขเป็นกระทรวงสาธารณสุข และได้จัดตั้งวชิรพยาบาลเข้าในทำเนียบของกรมการแพทย์ด้วย จนถึงพ.ศ. 2498 ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่อีกกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ตัดวชิรพยาบาลออกจากทะเบียนของกรมการแพทย์รวมทั้งมีคำสั่งย้ายข้าราชการที่ทำงานอยู่ในวชิระทั้งหมดเข้าประจำกรมการแพทย์แต่ตัวบุคคลยังคงปฏิบัติงานอยู่ในวชิระเช่นเดิม ส่วนโรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 ยังคงสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเช่นเดิมตราบจนปัจจุบันนี้

พ.ศ. 2494 การศึกษายังคงใช้หลักสูตรชั้น 2 แต่ปรับระยะเวลา 1 ปี เป็น 1 ปี 6 เดือนและรับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 โรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 อยู่ในสังกัดกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2497 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ แห่งที่ 1 ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เดิมชื่อ “โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล” หลักสูตร 3 ปี 6 เดือน รับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลของวชิรพยาบาล พ.ศ. 2508 โรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 ใช้หลักสูตรผดุงครรภ์อนามัย และใช้ชื่อสถานศึกษาว่า “โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ” สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ตั้งยังคงอยู่ ในวชิรพยาบาลเช่นเดิม พ.ศ. 2511 วชิรพยาบาลต้องการขยายอาคาร จึงได้ขอให้โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัยย้ายออกไปอยู่บริเวณด้านหลังฝั่งตรงข้ามถนนกับโรงพยาบาลฯ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2526 โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) ระยะเวลา 2 ปี รับผู้สำเร็จ ม.ศ. 5 พ.ศ. 2530 โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ระดับต้น) และในวันที่ 8 กรกฎาคม 2530ได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น “วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ วชิระ” สังกัดศูนย์สงเสริมสุขภาพ เขต 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2537 วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ วชิระ ได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น โดยความเห็นชอบของทบวงมหาวิทยาลัยและสภาการพยาบาลมีนักศึกษารุ่นที่96 จำนวน 100 คน ซึ่งเข้าศึกษาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537

การไปอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ” ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2539[1]

หลักสูตร

หลักสูตรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ระดับปริญญาตรี ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

  • สาขาพยาบาลศาสตร์


หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางพยาบาล

  • ยังไมเปิดการเรียน-การสอน

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (เปิดรับนิสิตแล้ว)

  • สาขาการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน [2](นานาชาติ)[3]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ยังไม่เปิดการเรียน-การสอน)


หลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต(ยังไม่เปิดการเรียน-การสอน)

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ยังไม่เปิดการเรียน-การสอน)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ยังไม่เปิดการเรียน-การสอน)


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. http://www.bcnnv.com/?p=6 ประวัติวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
  2. http://www.grad.ku.ac.th/academics/file55/master/XW01.pdf
  3. http://www.gad.ku.ac.th/PDF/Summarize_Council/2554/3-%2054.pdf การประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์...ครั้งที่ 3/2554 วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554