ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรยุทธ์ จุลานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
}}
}}


พลเอก '''สุรยุทธ์ จุลานนท์''' (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) เป็น[[นักการเมือง]]และอดีต[[ทหารบก]][[ชาวไทย]] [[สภาองคมนตรีไทย]] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง[[ประธานองคมนตรี]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/003/T_0001.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี] </ref> [[องคมนตรี]] [[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก '''สุรยุทธ์ จุลานนท์''' (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) เป็น[[นักการเมือง]]และอดีต[[ทหารบก]][[ชาวไทย]] [[สภาองคมนตรีไทย]] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง[[ประธานองคมนตรี]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/003/T_0001.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี] </ref> [[องคมนตรี]] [[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549


ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่ง [[ผู้บัญชาการทหารบก]] [[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และ[[องคมนตรี]]
ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่ง [[ผู้บัญชาการทหารบก]] [[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และ[[องคมนตรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:21, 8 กรกฎาคม 2563

สุรยุทธ์ จุลานนท์
ประธานองคมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 มกราคม พ.ศ. 2563[1]
(4 ปี 86 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเปรม ติณสูลานนท์
ผู้รักษาการประธานองคมนตรี[2]
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 2 มกราคม พ.ศ. 2563
(0 ปี 220 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2551 – 2 มกราคม พ.ศ. 2563
(11 ปี 269 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(2 ปี 321 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 24
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551
(1 ปี 120 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองนายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
สนธิ บุญยรัตกลิน
ก่อนหน้าทักษิณ ชินวัตร
ถัดไปสมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(0 ปี 126 วัน)
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าอารีย์ วงศ์อารยะ
ถัดไปเฉลิม อยู่บำรุง
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าณรงค์ ยุทธวงศ์
ถัดไปสมทัต อัตตะนันทน์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545
(3 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าเชษฐา ฐานะจาโร
ถัดไปสมทัต อัตตะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (80 ปี)
จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสจิตรวดี จุลานนท์
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย (2541 - 2545)
กองทัพไทย (2545 - 2546)

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารบกชาวไทย สภาองคมนตรีไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี[3] องคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และองคมนตรี

ประวัติทั่วไป

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เกิดในค่ายจักรพงษ์ที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของพันโท พโยม จุลานนท์ บุตรของพันเอก พระยาวิเศษสิงหนาถ (ยิ่ง จุลานนท์) ต้นตระกูลจุลานนท์ บิดาเคยดำรงตำแหน่งสูงระดับแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเป็นที่รู้จักกันในนาม "สหายคำตัน" กับมารดาชื่ออัมโภช จุลานนท์ (สกุลเดิม ท่าราบ) บุตรพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)

ชีวิตครอบครัวพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมรสครั้งแรกกับนางสาวดวงพร รัตนกรี มีบุตรชาย 1 คนคือ พันโท นนท์ จุลานนท์ ผู้บังคับกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 1 กองทัพภาคที่ 1[4] สมรสครั้งที่สองกับ พันเอกหญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ (สันทัดเวช)[5] มีบุตรชาย 2 คน คือ นายสันต์ จุลานนท์ (ข้าว) และ นายจุล จุลานนท์ (น้ำ) พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้นิยมการเดินป่าชมธรรมชาติ เป็นประธาน "มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" และเป็นที่ปรึกษาของเยาวชนกลุ่ม "รักษ์เขาใหญ่" ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ในชื่อ "ลุงแอ้ด"

พล.อ. สุรยุทธ์ นั้นมีชื่อเล่นว่า “แอ่ด” คือมาจากชื่อของรถรบสมัยนั้น ที่ทหารม้าหรือทหารรถรบ (ม้าเหล็ก) ตั้งฉายาว่า “รุ่นไอ้แอ่ด” บิดาของ พล.อ. สุรยุทธ์ จึงเอาชื่อเล่นของรถถังรุ่นไอ้แอ่ดมาเป็นชื่อเล่นของลูกชาย ดังนั้น ที่เรียกกันว่า “แอ๊ด” หรือ “บิ๊กแอ๊ด” นั้น จึงเป็นการเรียกผิดและเขียนผิด เปลี่ยนชื่อกันไปเองโดยความเข้าใจผิด เพราะชื่อเล่นที่แท้นั้นคือ “แอ่ด” คือออกเสียงเป็น ไม้เอก ไม่ใช่ไม้ตรี[6]

การศึกษา

จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเลขประจำตัว ส.ก.12129 ก่อนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 1 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12 โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2508

เมื่อเข้ารับราชการแล้วยังผ่านการอบรมในหลายหลักสูตรคือ

  • พ.ศ. 2509 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ
  • พ.ศ. 2509 หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศจู่โจม
  • พ.ศ. 2511 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2516 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52
  • พ.ศ. 2517 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2517 หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2536 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ประวัติการทำงาน

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 จากนั้นจึงไปศึกษาต่อหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ที่สหรัฐอเมริกา และทำงานในหน่วยรบต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในขณะที่บิดาก็ยังเป็นแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ใน พ.ศ. 2529–2531 พล.อ. สุรยุทธ์ เป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ต่อมาสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งพล.อ.สุรยุทธ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 [7] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 พลเอก สุรยุทธ์ ถูกทักษิณปรับย้ายพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีฐานผลิตยาเสพติดในประเทศพม่าโดยพลการ

หลังจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ วางเป้าหมายไว้ว่า จะอุปสมบทและออกธุดงค์ไปในภาคอีสาน แต่ยังไม่ทันได้เข้าอุปสมบทดังที่ตั้งใจไว้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 จนเมื่อดำรงตำแหน่งองคมนตรีได้สักระยะจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาอุปสมบทเป็นเวลา 1 พรรษา ณ วัดป่าแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ

พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยดำรงตำแหน่งทางทหาร และตำแหน่งพิเศษอื่นดังนี้ ราชการทหาร

  • รับราชการประจำศูนย์การทหารราบ พ.ศ. 2508
  • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31 พ.ศ. 2509
  • ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่2 พ.ศ. 2513
  • ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ พ.ศ. 2515
  • ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23 พ.ศ. 2521
  • ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1 พ.ศ. 2526
  • นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2529
  • ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1 พ.ศ. 2532
  • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ พ.ศ. 2535
  • แม่ทัพภาคที่ 2 พ.ศ. 2537
  • ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก พ.ศ. 2540
  • ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก พ.ศ. 2540
  • ผู้บัญชาการทหารบก พ.ศ. 2541 - 2545
  • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พ.ศ. 2545 -2546

ตำแหน่งพิเศษ

  • ราชองค์รักษ์เวร พ.ศ. 2526
  • นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) พ.ศ. 2529-2531
  • นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2531
  • สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2535 และ 2539
  • ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ภายหลังจากที่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีประชาชนรวมตัวกันชุมนุมตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อขับไล่ พล.อ. สุจินดา ให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลของ พล.อ. สุจินดา ต้องสลายการชุมนุม โดย พล.อ. สุรยุทธ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี ได้เป็นผู้สั่งการกองกำลังทหารเข้าตรวจค้นในบริเวณโรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยไม่ให้ใช้อาวุธ [8][9][10]

การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากการเชิญเพื่อให้ช่วยรับภาระในการนำรัฐบาลชั่วคราวถึง 2 ครั้งจากพล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงเข้าดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การปฏิบัติงานของรัฐบาล

  • วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีงบประมาณส่วนกลาง 5000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน [11]

การคลัง

  • นำ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก มาใช้[12]

วัฒนธรรม

  • ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโมษณาได้ในเวลา22.00เป็นต้นไป [13]
  • ออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้ [14]

สาธารณสุข

  • ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค และให้คนไทยห่างไกลจากโรค [13]

พลังงาน

  • ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า [15]

การศึกษา

  • ให้โรงเรียนดัง 430 โรงเรียนทั่วประเทศ รับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก [16]

สิทธิมนุษยชน

  • ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯเรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก [17]
  • การสั่งห้ามคนขับรถแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพเข้าร่วมการประท้วงคณะเผด็จการ/รัฐบาลทหาร สมัชชาคนจนหลายพันคนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการประท้วงในกรุงเทพฯโดยอ้างว่าพวกเขาไม่มีใบอนุญาตให้เดินทางตามกฎอัยการศึก (ซึ่งยังมีผลครอบคลุม 30 กว่าจังหวัดในเวลานั้น) [18]
  • สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์ประธานองคมนตรีถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ดังนั้น การปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเหมาะสม[19]
  • รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ผลักดันกฎหมายที่ระบุว่า ผู้ที่พยายามเข้าเว็บไซต์ใด ๆ ที่รัฐบาลได้เซ็นเซอร์ไว้หนึ่งหมื่นกว่าเว็บ จะต้องรับโทษตามกฎหมาย และเอาผิดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่เปิดเผยไอพีแอดเดรสของผู้ใช้แก่รัฐบาล[20]
  • การปิดวิทยุชุมชนที่ต่อสายตรงสัมภาษณ์อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์หลังเกิดรัฐประหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยได้โทรศัพท์เข้ามาที่สถานีวิทยุชุมชนคลื่น 87.75FM และคลื่น 92.75FM วันต่อมา รัฐบาลทหาร กรมประชาสัมพันธ์ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้เข้ามาตรวจสอบวิทยุชุมชนแห่งนี้ ทำให้วิทยุชุมชนนี้งดออกอากาศ[21]
  • การก่อตั้งเครือข่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารจำนวน 700,000 คนเพื่อสกัดกั้นผู้ประท้วงรัฐบาลทหาร ผบ.กอ.รมน. กล่าวว่า "เราต้องสกัดกั้นผู้ประท้วงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ถ้ามีผู้ประท้วงน้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร"[22]
  • วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลทหารสั่งเซ็นเซอร์การแพร่ภาพการสัมภาษณ์ ทักษิณ ชินวัตร ทาง CNN ในประเทศไทย[23]

สื่อสารมวลชน

บัญชีทรัพย์สิน

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ต.ค. พ.ศ. 2549 พบว่า พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีทรัพย์สินรวม 25,246,091 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 5 บัญชี จำนวน 7,283,341 บาท หลักทรัพย์และเงินลงทุนอื่น 82,500 บาท ที่ดิน 9 แปลง มูลค่า 17,880,250 บาท พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ ภริยา มีทรัพย์สินรวม 65,566,363 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ 15 บัญชี จำนวน 20,620,933 บาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล 10,030,000 บาท เงินลงทุนอื่น 33,430 บาท ที่ดิน 3 แปลง มูลค่า 7 ล้านบาท บ้าน 3 หลัง มูลค่า 10 ล้าน ยานพาหนะ 3 คัน มูลค่า 3,725,000 ทรัพย์อื่น 14,157,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับอัญมณี ทั้งสองคนมีทรัพย์สินรวม 90,812,454 บาท [24]

ฉายานาม

เนื่องจากรัฐบาลของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีที่เป็นผู้สูงอายุ และข้าราชการประจำที่เกษียณอายุแล้วจำนวนมาก สื่อมวลชนจึงตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลขิงแก่" แต่ก็มีสื่อมวลชนบางแขนง ตั้งฉายาให้ว่า ยุทธ ยายเที่ยง เนื่องจากมีคดีพัวพันเกี่ยวกับการโกงที่ดินเขายายเที่ยง และโดยที่นายกรัฐมนตรีเองถูกมองว่ามุ่งเน้นการรักษาคุณธรรม จริยธรรม และในขณะเดียวกันก็ทำงานเชื่องช้า ทำให้ได้รับฉายาจากนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าเป็น "ฤๅษีเลี้ยงเต่า" โดยตั้งล้อกับฉายาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยได้รับฉายาว่า "ฤๅษีเลี้ยงลิง"[25]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

นอกจากจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากรับตำแหน่งจากคณะรัฐประหารแล้ว พล.อ. สุรยุทธ์ ยังถูกกล่าวหาในเรื่องการบุกรุกป่าสงวนและการคอรัปชั่นด้วย

การบุกรุกป่าสงวน

พลเอก สุรยุทธ์ ถูกกล่าวหาว่าครอบครองพื้นที่ป่าสงวนเขายายเที่ยง ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขัดต่อกฎหมายพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อย่างไรก็ดี กรมป่าไม้ได้พิสูจน์แล้วว่าที่ผืนนี้เป็นหนึ่งในจำนวนหลายร้อยแปลงที่เรียกว่า "พื้นที่จัดสรรแบบหมู่บ้านป่าไม้" และเอกสารสิทธิ์คือ ภบท.5 ซึ่งสามารถตกทอดได้ทางทายาทโดยธรรมเท่านั้น และแปลงที่พลเอกสุรยุทธ์ครอบครองนั้นผู้ได้รับจัดสรรโดยถูกต้องแต่แรกคือ นายเบ้า สินนอก เมื่อพลเอกสุรยุทธ์เป็นผู้นำแม่ทัพภาคที่ 2 ได้ซื้อที่ดินมาจากพันเอก สุรฤทธิ์ จันทราทิพ ซึ่งก็ซื้อมาอีกทอดหนึ่ง โปรดสังเกตว่าช่องว่างทางกฎหมายนี้ที่ทำให้บุคคลมากมายทั่วประเทศยอมเสียเงินซื้อที่ ภบท.5 ที่ไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ยกเว้นตกทอด ทั้ง ๆ รู้แก่ใจว่าเมื่อรัฐเรียกคืนก็ต้องคืน พล.อ. สุรยุทธ์กล่าวว่าเขาจะลาออกและคืนที่ดินนี้ (ซึ่งเขาไม่ได้ปฏิเสธว่าเขาเป็นเจ้าของ) ทันทีหากพบความผิด [26] อารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวปกป้องสุรยุทธ์ว่า "พล.อ. สุรยุทธ์ซื้อที่ดินนี้มาจากคนอื่น ดังนั้นจะต้องไปถามคน ๆ นั้นว่าที่ดินนี้เป็นพื้นที่สงวนหรือไม่"

จรัญ ดิษฐาอภิชัย อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ กล่าวว่า "ผมรับไม่ได้ที่ใครคนหนึ่งสร้างบ้านหรูหราในพื้นที่ป่าสงวน กลับเรียกตัวเองว่าเป็นผู้มีจริยธรรมและความพอเพียง"[27]

อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ปฏิเสธที่จะตรวจสอบคดีนี้โดยให้เหตุผลว่าไม่มีอำนาจไปตรวจสอบ กล้าณรงค์ จันทิก หนึ่งใน ปปช. กล่าวว่า พลเอก สุรยุทธ์ เกษียณจากกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2546 แต่เพิ่งมาฟ้องร้องกัน 4 ปีหลังเกษียณ ปปช. ไม่สามารถสอบสวนคดีที่มีอายุเกิน 2 ปีหลังจากเกษียณได้ [28]

การฉ้อราษฎร์บังหลวง

พล.อ. สุรยุทธ์ ชื่นชอบสะสมโมเดลรถไฟ เขาถูกกล่าวหาว่าครอบครองโบกี้รถไฟ 4 โบกี้ ไว้ที่บ้านเขายายเที่ยง จ.นครราชสีมา อย่างผิดกฎหมาย พล.อ. สุรยุทธ์กล่าวว่าจริง ๆ แล้วเขามีมากกว่า 4 โบกี้ แต่ทั้งหมดเป็นรถไฟจำลองขนาดเล็กวิ่งด้วยไฟฟ้า อยู่ในกรุงเทพฯ และได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[29]

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ข่าวสดฉบับวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ได้เผยแพร่ภาพสิ่งปลูกสร้างคล้ายรางรถไฟที่อยู่บนเขาใกล้ที่พักของ พล.อ. สุรยุทธ์ ที่เขายายเที่ยง ซึ่งก่อนการสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง พล.อ. สุรยุทธ์ ได้เชิญสื่อมวลชนราว 40 คน ขึ้นไปเยี่ยมชมและทานอาหารกลางวัน ณ บ้านพักบนเขายายเที่ยงดังกล่าว จึงปรากฏความจริงว่าสิ่งที่ดูคล้ายโบกี้รถไฟนั้นคืออาคารที่ปลูกอยู่ใกล้กับตัวบ้านพัก[ต้องการอ้างอิง]

หลังจากที่มีการชุมนุมบนหมู่บ้านเขายายเที่ยง และด้วยเกรงว่าชาวบ้านอีกมากที่ครอบครองที่ดินลักษณะเดียวกันจะได้รับผลกระทบ พล.อ. สุรยุทธ์ จึงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมารับมอบที่ดินที่มีปัญหาของตนกลับไปพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดโดยไม่รื้อถอน

รางวัลและเกียรติยศ

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2550 [30]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  • พ.ศ. 2545 - บินตัง การ์ติกา เอกา ปักซี อุตมา (Bintang Kartika Eka Paksi Utama)[39] ชั้นที่ 1 จากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
  • พ.ศ. 2545 - ดิ ออร์เดอร์ ออฟ เนชั่นแนล เซคเคียวริตี้ เมอริท ต็อง - อิล เมดัล (The Order of National Security Merit Tong - Il Medal)[40] จากสาธารณรัฐเกาหลีใต้
  • พ.ศ. 2546 - แกรนด์ ครอส ออฟ เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ เดอะ โพลาร์ สตาร์[41] จากราชอาณาจักรสวีเดน

ยศทางทหาร

  • พ.ศ. 2508 ว่าที่ร้อยตรี
  • พ.ศ. 2508 ร้อยตรี [42]
  • พ.ศ. 2509 ร้อยโท [43]
  • พ.ศ. 2513 ร้อยเอก[44]
  • พ.ศ. 2517 พันตรี [45]
  • พ.ศ. 2521 พันโท [46]
  • พ.ศ. 2523 พันเอก [47]
  • พ.ศ. 2529 พลตรี [48]
  • พ.ศ. 2535 พลโท [49]
  • พ.ศ. 2540 พลเอก [50]
  • พ.ศ. 2542 พลอากาศเอก พลเรือเอก[51]

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 4 มกราคม 2563
  2. ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการประธานองคมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 4 มกราคม 2563
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานองคมนตรี
  4. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000004198
  5. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในพระราชพิธีวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 1
  6. วิพากษ์นโยบายสุรยุทธ์ 'บิ๊กแอ่ด OSK71' ผู้มาเหนือเมฆนับจากวัน...“ขอโทษ”
  7. The Nation, NLA 'doesn' t represent' all of the people, 14 October 2006
  8. เผยผู้จุดชนวนพฤษภาทมิฬ ‘สุรยุทธ์’ รับนำพลบุกรอยัล
  9. รำลึก 15 ปี พฤษภาทมิฬเสียงแตก แบ่งขั้วจัดงาน “ทรท.ร่วม 12 องค์กรต้านรัฐประหาร”จัดโชว์ละครล้อเลียนทหารฆ่าประชาชน ส่วน “ปชป.จับมือพันธมิตร-ญาติวีรชน”ร่วมทำบุญ
  10. สุรยุทธ์ จุลานนท์ คนดีที่ตายแล้ว
  11. [1]
  12. http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20110425052233AAUmXuI
  13. 13.0 13.1 The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  14. The Nation, No 'coyote dances' for Loy Krathong: Culture Ministry, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  15. Asia Times, Unplugging Thailand, Myanmar energy deals, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  16. The Nation, Famous schools ordered to take in half of new students from neighbourhood, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  17. The Nation, NLA revokes ban on demonstrations, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  18. The Nation, Some 1,000 villagers prevented from catching buses to Bangkok
  19. The Nation, Sitthichai gets no kick from the Net, 15 เมษายน พ.ศ. 2550
  20. Bangkok Post, Thailand gets new cyber crime law, 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  21. Bangkok Post, After Thaksin calls, officials drop by, May 2007
  22. The Nation, Govt in move to head off violence, 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  23. Thai generals pull plug on Thaksin CNN interview
  24. เปิดทรัพย์สิน “ครม.สุรยุทธ์” ฮือฮา “อุ๋ย-ภรรยา” กว่าพันล้าน
  25. ธีรยุทธ เปรียบ รบ.ฤๅษีเลี้ยงเต่า! ให้แสดงผู้นำแบบ ขุนพันธ์
  26. The Nation, Activists call on Surayud to resign for alleged forest encroachment, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2549
  27. The Nation, Thumbs down for the next charter, 15 มกราคม พ.ศ. 2549
  28. The Nation, NCCC rules against probe into Surayud's land, 22 มิถุนายน พ.ศ. 2549
  29. The Nation, Surayud denies train carriages allegation, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549
  30. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/B/002/307.PDF
  31. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/B/001/1.PDF พระราชโองการ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
  32. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)
  33. นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
  34. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เล่ม ๑๐๗ ตอน ๕๕ ง ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ หน้า ๒๖๕๙
  35. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/188/1.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน], เล่ม ๙๑, ตอน ๑๘๘, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๗, หน้า ๒
  36. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/D/013/462.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน], เล่ม ๑๐๖, ตอน ๑๓, ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๔๖๓
  37. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/D/092/44.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา], เล่ม ๙๖, ตอน ๙๒, ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒, หน้า ๔๗
  38. ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/B/046/T_0001.PDF ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์], เล่ม ๑๓๖, ตอน ๔๖ ข, ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  39. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2545/B/014/2.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ], เล่ม ๑๑๙, ตอน ๑๔ ข, ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๔๗
  40. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2545/B/014/2.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ], เล่ม ๑๑๙, ตอน ๑๔ ข, ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๔๗
  41. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เล่ม ๑๒๐. ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  42. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๘๔)
  43. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๖๙)
  44. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๖๔)
  45. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๗๕)
  46. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๙)
  47. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๐)
  48. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๗)
  49. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๐๙๖)
  50. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  51. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สุรยุทธ์ จุลานนท์ ถัดไป
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรี
(2 มกราคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
(ประธานองคมนตรี)

รักษาการประธานองคมนตรี
(27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 2 มกราคม พ.ศ. 2563)
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
(ประธานองคมนตรี)
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 56)
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551)
สมัคร สุนทรเวช
อารีย์ วงศ์อารยะ ไฟล์:กท.มหาดไทย.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
พลเรือเอก ณรงค์ ยุทธวงศ์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546)
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
พลโท อานุภาพ ทรงสุนทร
แม่ทัพภาคที่ 2
(พ.ศ. 2537–2540)
พลโท เรวัต บุญทับ