ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
* วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2441 ได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ 3
* วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2441 ได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ 3
* วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอรรคราชวราทร ถือศักดินา ๑๐๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/023/344.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง] </ref>
* วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอรรคราชวราทร ถือศักดินา ๑๐๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/023/344.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง] </ref>
* ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำ[[กรุงวอชิงตัน]]
* 23 ธันวาคม พ.ศ. 2444 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำ[[กรุงวอชิงตัน]]<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/047/899.PDF อรรคราชทูตสยามถวายพระราชสาสนแด่พระเจ้าแผ่นดิน และส่งพระราชสาสน แก่ประธานาธิบดีต่างประเทศ] </ref>
* พ.ศ. 2449 ย้ายจากอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตันกลับกรุงเทพฯเข้ารับราชการเป็นอธิบดีกองทูตและกองกงสุลใน[[กระทรวงการต่างประเทศ]]
* พ.ศ. 2449 ย้ายจากอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตันกลับกรุงเทพฯเข้ารับราชการเป็นอธิบดีกองทูตและกองกงสุลใน[[กระทรวงการต่างประเทศ]]
* วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทาน[[เหรียญจักรพรรดิมาลา]]
* วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทาน[[เหรียญจักรพรรดิมาลา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:08, 7 กรกฎาคม 2563

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ)
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2403
เสียชีวิตไม่ปรากฏ

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) (23 มกราคม พ.ศ. 2403 - ไม่ปรากฏ) เป็นอธิบดีกรมกองตระเวน คนที่ 2 อดีตอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน และอดีตอัครราชทูตสยามประจำกรุงอังกฤษ[1]

ประวัติ

พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) เกิดเมื่อวันพุธขึ้น 12 ค่ำ เดือนสาม ปีวอก จุลศักราช 1222 ตรงกับวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2403 เป็นบุตรของพระยาธรรมจรรยานุกูลมนตรี (จำเริญ บุรณศิริ) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คนคือพระยามหานิเวศนานุรักษ์ (กระจ่าง บุรณศิริ) ,พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) ,เจ้าจอมก้อนแก้ว ในรัชกาลที่ 5 ,พระยาอุเทนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ)[2]

รับราชการ

  • พ.ศ. 2415 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในรัชการที่ 5
  • พ.ศ. 2424 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายรองบำรุงราชบทมาลย์[3]
  • พ.ศ. 2425 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2432 กลับจากประเทศอังกฤษเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กและเป็นเลขานุการส่วนพระองค์เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นปลัดกรมกองตระเวรฝ่ายกองรักษาในกรมพระนครบาล
  • พ.ศ. 2435 เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้ากรมกองตระเวรฝ่ายกองรักษาในกระทรวงนครบาล
  • 25 เมษายน พ.ศ. 2436 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระอนันต์นรารักษ์[4]
  • 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ลาออกจากตำแหน่งเจ้ากรมหรืออธิบดีกรมกองตระเวน[5]
  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงจัดราชการเมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์ (จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดพระประแดง)
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเพชรชฎา ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล[6]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2441 กลับจากข้าหลวงจัดราชการ มารับราชการในกองบัญชาการหน้าที่เจ้ากรมกองแปล
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2441 ได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้นที่ 3
  • วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอรรคราชวราทร ถือศักดินา ๑๐๐๐[7]
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2444 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน[8]
  • พ.ศ. 2449 ย้ายจากอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตันกลับกรุงเทพฯเข้ารับราชการเป็นอธิบดีกองทูตและกองกงสุลในกระทรวงการต่างประเทศ
  • วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  • วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้รับพระราชทานตราช้างเผือกชั้นที่ 3 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กลับไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำกรุงวอชิงตัน
  • พ.ศ. 2454 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายจากอัครราชทูตสยามกรุงวอชิงตัน ไปเป็นอัครราชทูตประจำกรุงอังกฤษ และได้รับพระราชทานตรามงกุฎสยามชั้น 2
  • กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ย้ายจากอัครราชทูตกรุงอังกฤษกลับกรุงเทพฯ แลกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง