ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ชื่อช่อง 7, ช่อง 3
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล รายการโทรทัศน์
{{กล่องข้อมูล รายการโทรทัศน์
| show_name = ชิงร้อยชิงล้าน Super Game
| show_name = ชิงร้อยชิงล้าน Super Game
| image =
| image = [[ไฟล์:Ching Roi Ching Lan Super Game.png|250px]]
| genre = [[เกมโชว์]]
| genre = [[เกมโชว์]]
| aired = [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2539]] - [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2541]]
| aired = [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2539]] - [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2541]]
| network = [[ช่อง 7 HD]] (2539-2540)<br/>[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3|ช่อง 3 กด 33]] (2541)
| network = [[ช่อง 7]] (2539-2540)<br/>[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] (2541)
| presenter = [[ปัญญา นิรันดร์กุล]]<br/>[[มยุรา เศวตศิลา]]<br/>คเชนทร์ ([[หม่ำ จ๊กมก]]) <br/>[[เอ็ดดี้ ผีน่ารัก]] <br/>[[เท่ง เถิดเทิง]]
| presenter = [[ปัญญา นิรันดร์กุล]]<br/>[[มยุรา เศวตศิลา]]<br/>คเชนทร์ ([[หม่ำ จ๊กมก]]) <br/>[[เอ็ดดี้ ผีน่ารัก]] <br/>[[เท่ง เถิดเทิง]]
| developer = [[เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์]]
| developer = [[เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์]]
| rate = ไม่มีการจัดระดับ
| rate = ไม่มีการจัดระดับ
}}
}}
'''ชิงร้อยชิงล้าน Super Game''' เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อจาก[[ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต]]โดยออกอากาศวันพุธเวลา 22:15 - 00:15 น. ทาง[[ช่อง 7 HD]] เมื่อวันที่ [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2539]] ถึงวันที่ [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2540]] และ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3|ช่อง 3 กด 33]] เมื่อวันที่ [[7 มกราคม]] [[พ.ศ. 2541]] ถึง [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2541]]
'''ชิงร้อยชิงล้าน Super Game''' เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อจาก[[ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต]]โดยออกอากาศวันพุธเวลา 22:15 - 00:15 น. ทาง[[ช่อง 7]] เมื่อวันที่ [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2539]] ถึงวันที่ [[31 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2540]] และ [[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] เมื่อวันที่ [[7 มกราคม]] [[พ.ศ. 2541]] ถึง [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2541]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:59, 6 กรกฎาคม 2563

ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
เสนอโดยปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
คเชนทร์ (หม่ำ จ๊กมก)
เอ็ดดี้ ผีน่ารัก
เท่ง เถิดเทิง
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 (2539-2540)
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2541)

ชิงร้อยชิงล้าน Super Game เป็นรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนชื่อจากชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตโดยออกอากาศวันพุธเวลา 22:15 - 00:15 น. ทางช่อง 7 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

ประวัติ

หลังจากชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิตจบลง ชิงร้อยชิงล้านก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่และฉากใหม่ในชื่อ ชิงร้อยชิงล้าน Super Game โดยปรับปรุงฉากใหม่และรูปแบบรายการที่น่าสนุกยิ่งขึ้นพร้อมเพิ่มระยะเวลาในการออกอากาศเป็น 2 ชั่วโมงนับเป็นรายการเกมโชว์แรกในเมืองไทยที่ออกอากาศถึง 2 ชั่วโมงและเอกลักษณ์ของชิงร้อยชิงล้าน Super Game คือตัว G (มกราคม 2539 จะเป็นสีแดง กุมภาพันธ์ 2539-กุมภาพันธ์ 2541 จะเป็นสีเขียว) และไตเติ้ลรายการคล้ายกับพินบอลและเป็นยุคแรกที่รายการชิงร้อยชิงล้านเริ่มมีวงดนตรีมาบรรเลงดนตรีเพื่อสร้างสีสันให้กับรายการ

เกมในชิงร้อยชิงล้าน Super Game

ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game ได้ปรับปรุงเกมจากยุคต่างๆทั้งหมดและได้เพิ่มเกมอีก 2 เกม

ทายดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม)

ในเกมนี้เป็นการทายดารารับเชิญของรายการซึ่งให้ผู้เข้าแข่งขันให้ทายซึ่งในเกมนี้จะมีโอกาสตอบในกระดานทั้ง 3 รอบโดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้

ในรูปแบบที่ 1 ใช้ชื่อว่า ยังจำได้ไหม (ตั้งแต่ 3 มกราคม 2539 ถึง กรกฎาคม 2539) จะเป็นการทายภาพของดารารับเชิญในอดีตเป็นแบบ 3 ภาพ 3 ช่วงเวลาว่าดารารับเชิญคนนี้เป็นใคร โดยพิธีกรให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบลงในกระดานคำตอบ ซึ่งให้ผู้เข้าแข่งขันเขียนคำตอบได้ 3 คำตอบเท่านั้น หลังจากนั้นพิธีกรจะเฉลยคำตอบโดยการเชิญดารารับเชิญออกมาโชว์ร้องเพลงว่าคนนี้เป็นใคร ถ้าผู้เข้าแข่งขันทีมใดเขียนคำตอบถูกจะได้คะแนนคำตอบละ 5 คะแนน รอบนี้คะแนนสูงสุด 15 คะแนน แล้วดารารับเชิญคนแรกที่มารายการ คือ ดวงตา ตุงคะมณี เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2539

ในรูปแบบที่ 2 ใช้ชื่อว่า ทายดาราปริศนา (ตั้งแต่ สิงหาคม 2539 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2541) จะแบ่งเป็น 3 รอบดังนี้

  1. รอบที่ 1 จะเป็นการ ทายเสียงและเงา (เสียงของใคร) จะเป็นการทายเสียงและเงาของดารารับเชิญ ซึ่งเกมนี้มีพัฒนามาจากเกมทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) เป็น 3 ภาพ 3 ช่วงเวลา สำหรับเกมทายเสียงและเงาของดารารับเชิญนั้นโดยให้ผู้เข้าแข่งขันต้องฟังเสียงและดูเงาว่าดารารับเชิญคนนั้นเป็นใคร
  2. รอบที่ 2 จะเป็นการ ทายภาพดาราปริศนา (ยังจำได้ไหม) จะเป็นการทายภาพรูปภาพต่าง ๆ ของดารารับเชิญ นั้นจะเป็นการทายภาพของดารารับเชิญโดยในภาพนี้จะเป็นการปกปิดใบหน้าบางส่วนของดารารับเชิญ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สังเกตจับจุดใบหน้าของดารารับเชิญให้ดีว่าคนนี้เป็นใคร (ในช่วงแรกจะเป็นรูปภาพในวัยเด็กของดารารับเชิญคนนั้น ก่อนที่จะเป็นรูปปกปิดใบหน้าบางส่วนของดารารับเชิญภายหลัง)
  3. รอบที่ 3 จะเป็นรอบ ขอสักครั้ง จะเป็นภาพ VTR โดยที่ผู้เข้าแข่งขันนั้นไม่สามารถเห็นหน้าของดารารับเชิญชัดๆ ได้ ดารารับเชิญนั้นจะทำแบบไม่เห็นหน้าหรือบังหน้าเอาไว้ด้วย เห็นได้แต่ด้านหลังดารารับเชิญเท่านั้น เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สังเกตหน้าตาของดารารับเชิญไว้ให้ดีว่าคนนี้เป็นใคร

ทั้งนี้ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 มีโอกาสเขียนในกระดานคำตอบได้ 3 ครั้งเท่านั้นหลังจะเฉลยว่าดารารับเชิญคนนี้คือใครโดยการเชิญดารารับเชิญออกมาโชว์ร้องเพลงว่าคนนี้เป็นใครโดยถ้าตอบถูกจะได้คะแนนคำตอบละ 5 คะแนน รอบนี้คะแนนสูงสุด 15 คะแนน หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดารารับเชิญเกี่ยวกับความเป็นมาและเรื่องราวต่างหลังจากนั้น ยังมีหม่ำ จ๊กมก, เอ๊ดดี้ ผีน่ารัก และ เท่ง เถิดเทิง มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย

จริงหรือไม่

เกมจริงหรือไม่ ซึ่งเกมนี้ เป็นการนำเอาประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่างๆของดาราที่เป็นผู้เข้าแข่งขันในเกม ไม่ว่าจะเป็น ความชอบ งานอดิเรก ของสะสมส่วนตัว หรือแม้กระทั่งประสบการณ์ลี้ลับ และเฉียดความตาย โดยเรื่องราวเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เป็นเกมการแข่งขันในรูปแบบตอบคำถาม โดยในการแข่งขัน ทีมที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม คือทีมฝ่ายตรงข้ามอีกสองทีมที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง ซึ่งทีมที่ตอบจะต้องทายว่าคำถามในข้อนั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริง หลังจากที่ตอบแล้ว ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ทีมเจ้าของเรื่องนั้นจะเป็นผู้เฉลยว่าคำถามนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าทีมฝ่ายตรงข้ามตอบถูกก็จะได้ 5 คะแนน (ภายหลังเพิ่มเป็น 10 คะแนน) แต่ถ้าตอบผิดจะไม่ได้คะแนน

ทั้งนี้ คำถามในเกมจริงหรือไม่ ของชิงร้อยชิงล้าน Super Game จะถูกลดเหลือ 3 ข้อ จากเดิม 6 ข้อ ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสตอบคำถามทั้งหมด 2 ข้อด้วยกัน และให้ทายว่าเรื่องคนนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยในแต่ละข้อ หลังจากที่มีการเฉลยคำตอบแล้ว ก็จะมีการพูดคุยกับดาราเจ้าของเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่ตั้งเป็นคำถามนั้นๆ บางครั้งอาจมีการสาธิตโชว์เรื่องนั้นให้ดูในรายการ หากเป็นเรื่องความสามารถ หรือมีการนำของสะสมต่างๆ มากมายที่เป็นของดารามาแสดงในรายการ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวข้องกับของสะสมของดารา ทั้งนี้ การพูดคุยกับดารา ยังมีหม่ำ จ๊กมก, เอ๊ดดี้ ผีน่ารัก และ เท่ง เถิดเทิง มาสร้างสีสันเสียงหัวเราะให้ท่านผู้ชมได้รับความสนุกสนานกันอีกด้วย โดยการล้อเลียนดารารับเชิญที่เป็นเจ้าของเรื่องในช่วงนั้นๆ

ชิงดำ

ในปี 2539 ได้นำเกมชิงดำในชิงร้อยชิงล้านยุคแรกมาเล่นในยุคนี้ โดยมีคำถามทั้งหมด 6 ชุด ทีมที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะได้เลือกชุดคำถามก่อน หลังจากนั้นพิธีกรจะมีข้อมูลหรือคำถามให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคู่ว่าในข้อมูลหรือคำถามนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือคำถามนั้น แล้วให้ผลัดกันตอบในเวลาเพียง 10 วินาที ถ้าใครคนใดคนหนึ่งเกิดคิดไม่ออกนึกไม่ออกว่าจะตอบอะไรให้พูดคำว่า "ชิงร้อยชิงล้าน" ซึ่งหมายถึงให้ผ่านหรือข้ามนั่นเอง ถ้าตอบสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่นับเป็นคะแนน โดยจะเล่นทั้งหมด 2 รอบ รอบแรกคำตอบละ 1 คะแนน ส่วนรอบที่สองคำตอบละ 2 คะแนน เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 3 มกราคม 2539 ถึง กรกฎาคม 2539 ก่อนที่จะยกเลิกไปแล้วแทนที่ด้วยเกมจริงหรือไม่ในข้อที่ 3 แทน (จากเดิมที่เล่นเกมจริงหรือไม่ทั้ง 3 ข้อในเบรกเดียวกัน)[1]

รอบสะสมเงินรางวัล

สำหรับรอบสะสมเงินรางวัลนั้นจะมี 2 รอบด้วยกันโดยเงินรางวัลสะสมนั้นเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยเงินรางวัลนั้นไปรวมยอดกับเงินรางวัลรอบสุดท้ายไปด้วย และยุคนี้เป็นยุคแรกที่มีการสะสมเงินรางวัลเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ถังแตก

ในเกมถังแตกจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีป้าย 10,000 อยู่ 8 แผ่นป้ายหมายถึงได้เงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ตู้เซฟลีโก้) และแผ่นป้ายถังแตกอีก 4 แผ่นป้าย (แผ่นป้ายรูปถังไม้แตก) ถ้าเปิดเจอถังแตกครบทั้ง 4 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาททันที ในกรณีที่เปิดป้ายได้ 10,000 บาททั้ง 8 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 80,000 บาท ถ้าเปิดป้าย 10,000 บาทแล้วป้ายต่อไปเป็นถังแตก แปลว่าหยุดเกมลงทันที และเงินรางวัลที่เปิดป้ายนั้นรวบรวมตามจำนวนที่เปิดป้ายได้ แต่กรณีที่เปิดป้ายถังแตกก่อนป้ายต่อไปเปิดป้ายเป็นเงิน 10,000 บาท ถือว่าหยุดลงเช่นกันและรับเงินรางวัล 10,000 บาทไปด้วย โดยแจ็คพอตรอบถังแตกในครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2539

ต่อมาเมื่อย้ายมาออกอากาศทางช่อง3 ก็ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นผลิตภัณฑ์ทเวลฟ์พลัส โดยแบ่งเป็นแผ่นป้ายโคโลญจน์(ฟ้า/ชมพู),แป้งหอมเย็น(ชมพู/ม่วง),โรลออน(ชมพู,ม่วง),บิวตี้ออยล์และซอฟท์เทนนิ่งโลชั่น ทั้งหมด 8 แผ่นป้าย แต่กติกายังคงเดิมทุกประการ

สำหรับเกมถังแตกถูกใช้ในปี 2539 จนถึงยุคทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก ซึ่งเกมนี้อยู่คู่กับชิงร้อยชิงล้านมาถึง 13 ปี 3 ยุคโดยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกติกาของเกมเลย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้งในยุค ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha ในช่วงปลายปี 2549 และถูกยกเลิกในปี 2552

ทีวีปิดทีวีเปิด/จับคู่

เกมนี้ในปี 2539 - 2540 จะเป็นการเปิดป้ายจับคู่โทรทัศน์สีโกลด์สตาร์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นโกลด์เดนอาย ซึ่งเป็นของแอลจีเช่นเดียวกันกับโกลด์สตาร์) ซึ่งเกมนี้เป็นการจับคู่โทรทัศน์สีแบบปิดและเปิดโดยแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการจะมีทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นโทรทัศน์สีแบบปิดซึ่งจะเป็นหน้าจอสีฟ้าล้วน ๆ (ต่อมาเป็นหน้าจอมืดๆ สีดำ) 6 แผ่นป้าย และโทรทัศน์สีแบบเปิดซึ่งในหน้าจอจะเป็นรูปภาพคุณปัญญาและคุณตั๊ก มยุรา ซึ่งถือแผ่นป้าย 0 อยู่ (ป้ายดังกล่าวเป็นภาพในรอบ Jackpot ของ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ต่อมาเป็นรูปตาของผู้หญิง 2 ข้าง) อีก 6 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 8 แผ่นป้ายจาก 12 แผ่นป้าย ซึ่งแผ่นป้ายที่เลือกนั้น จะให้วางเป็นคู่ ๆ แต่ละป้ายคู่จะต้องจับคู่โทรทัศน์สีให้เหมือนกัน (เปิด-เปิด หรือ ปิด-ปิด) ถ้าจับคู่โทรทัศน์สีถูก จะได้เงินรางวัลคู่ละ 20,000 บาท ถ้าสามารถทำให้ 3 ใน 4 คู่เป็นทีวีปิดหรือเปิด จะได้รับเงินรางวัลสะสม 1,000,000 บาท แต่ถ้าเปิดได้ทีวีเปิดและทีวีปิดอย่างละ 2 คู่ก็จะได้แค่ 80,000 บาทแต่แจ็คพอตจะไม่แตก เกมนี้มีแจ็คพอตแตก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2539 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2540 แต่ทุกครั้งที่ล้านแตก จะเป็นปิด 3 คู่ และเปิด 1 คู่

ต่อมาในปี 2541 ได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ โดยตัวแผ่นป้ายจะเป็นกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ 2 รสชาติ (โรบัสต้ากับมิลค์กี้คอฟฟี่) รสชาติละ 6 แผ่นป้าย แต่กติกายังคงเดิมจากทีวีปิดทีวีเปิดทุกประการ และทั้งนี้เกมนี้ก็ได้ใช้ต่อในยุคชะชะช่า กติกายังคงเดิมแต่เปลื่ยนป้ายเป็นโรบัสต้ากับซุปเปอร์เบลนด์

รอบตัดสิน

ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของคุณปัญญา,คุณมยุรา และคุณหม่ำ โดยแผ่นป้ายปัญญาหรือป้ายมยุรามีค่า 10 คะแนน (แต่ในกรณีที่เปิดแผ่นป้ายเดียว ป้ายมยุราจะสามารถชนะป้ายปัญญา) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 หรือ 3 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แม้กระทั่งมยุรา แต่ถ้าป้ายใดป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันทีเช่นเดียวกัน) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่ และทายดาราปริศนาด้วย ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมทั้ง 2 เกม จะมีสิทธิ์เปิดแผ่นป้ายตามกรณีต่างๆ ดังนี้

1. คะแนนทั้ง 3 ทีมไม่เท่ากัน ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจะได้เปิด 3 แผ่นป้าย รองลงมา 2 แผ่นป้าย และทีมที่มีคะแนนน้อยที่สุด ได้เปิดเพียง 1 แผ่นป้าย

2. ทีมที่มีคะแนนสูงสุด และอีก 2 ทีมมีคะแนนเท่ากัน ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจะได้เลือก 3 แผ่นป้าย อีก 2 ทีม จะได้เลือกทีมละ 2 แผ่นป้าย

3. 2 ทีม มีคะแนนสูงสุดสูงกว่าอีกทีม ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 ทีม จะได้เลือกทีมละ 2 แผ่นป้าย ส่วนทีมที่เหลือ จะได้เปิดเพียง 1 แผ่นป้าย

4. ทั้ง 3 ทีมมีคะแนนเสมอกัน ทั้ง 3 ทีมจะได้เลือกเปิดทีมละ 2 แผ่นป้าย

ซึ่งถ้าเปิดเจอป้ายปัญญาและมยุรา จะได้เงินรางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุน 100,000 บาท

เกมเปิดป้ายคะแนนของชิงร้อยชิงล้าน Super Game ในปี 2539 - 2540 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นทีมผู้ที่มีคะแนนสูงที่สุดได้เปิดป้าย 3 แผ่นป้าย (แต่เดิมมี 2 ป้าย) ส่วนทีมผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะเปิด 2 แผ่นป้าย (เดิมเพียงป้ายเดียว) และป้ายหม่ำซึ่งเป็นป้ายตกรอบนั้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นป้าย 0 คะแนนแทน (แต่เมื่อเปิดป้ายอื่นๆ ก็สามารถเข้ารอบได้เช่นกัน) อย่างไรก็ดีตั้งแต่กลางปี 2540 - 2541 ได้ใช้กฎกติกาเกมเปิดป้ายคะแนนแบบเดียวกับยุค Top Secret, ครั้งหนึ่งในชีวิต อยู่เหมือนเดิม คือป้ายหม่ำหมายถึงตกรอบทันที

สำหรับในรอบนี้ ผู้ที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้าทั้ง 2 หรือ 3 ทีมมีคะแนนเท่ากัน ทีมที่มีสิทธิ์เปิดแผ่นป้ายมากกว่าจะเข้ารอบ นอกจากนี้ ถ้าผู้เข้าแข่งขันที่มีสิทธิ์เปิดได้ 2 หรือ 3 แผ่นป้าย เปิดได้จำนวนเลขรวมกันเท่ากับ 10 ก็จะได้รับแพ็คเกจทัวร์เดินทางไปยัง น้ำตกหวางกว่อฉู้ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน จากบริษัทนำเที่ยว วีคเอนด์ ทัวร์ อีกด้วย ส่วนผู้ที่เปิดได้ป้ายปัญญาและมยุราก็จะได้รับเงินรางวัลพิเศษจากผู้สนับสนุนรายการ 100,000 บาทอีกด้วย ซึ่งในรอบนี้ มีผู้ที่ได้รางวัลพิเศษ 100,000 บาทเพียงคู่เดียว คือ คู่ของ ชูศรี เชิญยิ้ม และ จเร เชิญยิ้ม เป็นการเปิดได้ ปัญญา-มยุรา ติดกัน 2 ใบ

รอบสุดท้าย

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการชิงร้อยชิงล้าน Super Game นั้น ในช่วงแรกจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้ายด้วยกัน โดยมีแผ่นป้ายเลข 0 จะมี 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท ส่วนแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือแป้งเย็นตรางู เซ็นลุกซ์ นิวชอยซ์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นวีโอวิสกี้) ซึ่งจะมีตัวเลข 20,000 ซึ่งเป็นมีเงินรางวัล 20,000 บาท 3 แผ่นป้าย แต่อีก 3 แผ่นป้ายเป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากเปิดสามารถป้าย 0 ได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท (ผู้สนับสนุนเงินรางวัลคือ ง่วนเชียง) โดยจะให้คนละ 1,000,000 บาท ให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง แต่ถ้าเปิดได้สปอนเซอร์หลักในการชิงโชคได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยที่แขกรับเชิญจะได้รับแค่ฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายผู้โชคดีจากการมอบโชคก็จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทตามปกติ ในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตกทีมแรกและทีมเดียวคือพล ตัณฑเสถียร และอัษฎาวุธ เหลืองสุนทร ได้รับเงินรางวัลรวม 1,010,000 บาท เป็นการเปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนหลักทั้ง 6 แผ่นป้าย

ผู้เข้าแข่งขัน

ในชิงร้อยชิงล้าน Super Game นั้นจะมีทีมอยู่ 3 ทีมต่อสัปดาห์ (เช่นเดียวกันกับ ชิงร้อยชิงล้าน ช่วงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 - 15 กันยายน 2536) แต่ละทีมจะมีอยู่ 2 คนซึ่งในแต่ละสัปดาห์ทางรายการจะเชิญผู้เข้าแข่งขันชายและผู้เข้าแข่งขันหญิงโดยแต่ละสัปดาห์จะมีทีมชาย 2 ทีม ทีมหญิง 1 ทีม หรือทีมชาย 1 ทีม ทีมหญิง 2 ทีมเว้นสัปดาห์

อ้างอิง

ก่อนหน้า ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม ถัดไป
ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม
(3 มกราคม 2539 - 25 กุมภาพันธ์ 2541)
ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า