ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัชรพล ประสารราชกิจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poonpun2016 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
| rank = [[ไฟล์:RTP_OF-9_(Police General).svg|15px]] พลตำรวจเอก
| rank = [[ไฟล์:RTP_OF-9_(Police General).svg|15px]] พลตำรวจเอก
}}
}}
'''พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ''' ประธาน[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/353/1.PDF], ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 1 มกราคม 2559</ref>กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 159/2557 อดีต<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/279/2.PDF</ref>รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ([[ประวิตร วงษ์สุวรรณ|พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ]]) ในรัฐบาลพลเอก[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<ref>[http://spm.thaigov.go.th/multimedia/chatchawarn/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%20%E0%B8%99%E0%B8%A3.%20%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20105-2557.pdf คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง]</ref> อดีต[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF</ref>อดีตราชองครักษ์พิเศษ <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF</ref> และอดีตรักษาราชการแทน[[ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ]]
พลตำรวจเอก '''วัชรพล ประสารราชกิจ''' ประธาน[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/353/1.PDF], ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 1 มกราคม 2559</ref>กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 159/2557 อดีต<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/279/2.PDF</ref>รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ([[ประวิตร วงษ์สุวรรณ|พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ]]) ในรัฐบาลพลเอก[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<ref>[http://spm.thaigov.go.th/multimedia/chatchawarn/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%20%E0%B8%99%E0%B8%A3.%20%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20105-2557.pdf คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง]</ref> อดีต[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF</ref>อดีตราชองครักษ์พิเศษ <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF</ref> และอดีตรักษาราชการแทน[[ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ]]


== ชีวิตและครอบครัว ==
== ชีวิตและครอบครัว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:20, 6 กรกฎาคม 2563

วัชรพล ประสารราชกิจ
ไฟล์:วัชรพล ประสารราชกิจ.jpg
ประธานกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
(1 ปี 61 วัน)
รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
(0 ปี 129 วัน)
ก่อนหน้าพล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ถัดไปพล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กันยายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสรศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการพ.ศ. 2528 - 2557
ชั้นยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[1]กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 159/2557 อดีต[2]รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[4]อดีตราชองครักษ์พิเศษ [5] และอดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ชีวิตและครอบครัว

พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ หรือ พลตำรวจเอก ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ เกิดเมื่อวันที่เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2497 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า "กุ้ย" (สื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กกุ้ย") เป็นบุตรชายของ ร.ต.ต.แดง กับนางเอี่ยมจิตต์ ประสารราชกิจ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายจากโรงเรียนวิมุตยาพิทยากร, ปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่นที่ 29, ปริญญาโทด้านการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมจากมหาวิทยาลัยแอละแบมา และปริญญาเอกด้านอาชญาวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต สหรัฐอเมริกา สมรสกับ รศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ (บุตรสาวของ ศ.อนันต์ กรุแก้ว) มีบุตร 2 คน เป็นชาย 1 คน คือ นาย ปัณฑพล ประสารราชกิจ (นักร้องนำวงค็อกเทล) และหญิง 1 คน คือ นางสาว มณฑน์กร ประสารราชกิจ[6]

การรับราชการตำรวจ

พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้ช่วยนายเวรรองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ ติดยศว่าที่ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) เป็นรองสารวัตรปราบปราม (สวป.) สถานีตำรวจนครบาลพญาไท เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 จากนั้นก็ได้เลื่อนตำแหน่งและได้ใกล้ชิดกับการเมืองมากขึ้น ด้วยการเป็นนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.เภา สารสิน) และผู้ช่วยนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ จากนั้นได้เปลี่ยนเป็นทำหน้าที่ดูแลด้านปราบปรามยาเสพติด และกลับเข้ามาสู่การเมืองอีกครั้งด้วยการเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี พ.ศ. 2534 จากนั้นก็ได้กลับไปสู่หน้าที่ปราบปรามยาเสพติดและกิจการต่างประเทศอีกครั้ง จนกระทั่งได้ขึ้นเป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546

หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านกิจการพิเศษ

จากนั้นในต้นปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แทนที่ พล.ต.ท. พงศพัศ พงษ์เจริญ ตามคำสั่งของ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้วยเหตุผลว่ามีความเป็นนักวิชาการมากกว่า[7]

ในต้นปี พ.ศ. 2552 ได้รับเลื่อนยศเป็นพลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในกลางปี พ.ศ. 2552 หลังจากที่ พล.ต.อ. พัชรวาท เกษียณอายุราชการไป ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไม่สามารถสรรหาผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ถึง 2 ครั้ง 2 ครา ทำให้มีข่าวว่า พล.ต.อ. ดร.วัชรพล อาจจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นคนต่อไป แต่เจ้าตัวได้ปฏิเสธและให้เหตุผลว่าในบรรดาผู้ที่มีคุณสมบัตินั้นตนมีอาวุโสน้อยที่สุด[8]

หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้ง พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ เป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในวันที่ 29 กันยายน แล้ว พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ก็ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ด้วย โดยให้เหตุผลว่าเป็นมารยาทที่เป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนเก่า (พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) ที่เมื่อ ผบ.ตร. คนเก่าเกษียณออกไปแล้วก็สมควรลาออกเพื่อให้ ผบ.ตร. ที่เข้ามาใหม่ได้พิจารณาแต่งตั้งใหม่[9]

ในกลางปี พ.ศ. 2553 ชื่อของ พล.ต.อ. ดร.วัชรพลก็กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อมีชื่อคาดหมายว่าอาจจะเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ หลังจาก พล.ต.อ. ปทีป รักษาราชการฯ ได้เกษียณอายุไป โดยตกเป็นชื่อคู่กับ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร. อีกคน แล้วในที่สุดตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พล.ต.อ. วิเชียรไป[10]

และในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว) ที่ถูกสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี [11]

งานการเมือง

พล.ต.อ.วัชรพล ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[12] ต่อมาได้ขอลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558[13] เพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็นกรรมการ ปปช.

การรับราชการประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

พลตำรวจเอกวัชรพล ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. [1], ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 1 มกราคม 2559
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/279/2.PDF
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/163/17.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  6. พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
  7. ปลด พงศพัศ พ้นโฆษกตำรวจ วัชรพล ประสารราชกิจ เสียบ
  8. 'วัชรพล'ปัดข่าวนั่งแท่นผบ.ตร.คนใหม่
  9. วัชรพลลาออกเลขากตช.-โฆษกสตช.
  10. ผบ.ตร.พบอภิสิทธิ์โชว์วิสัยทัศน์.htmlจากคมชัดลึก
  11. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอน ๘๘ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗
  12. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ)
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๗,๕๗๕ ราย)
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
ก่อนหน้า วัชรพล ประสารราชกิจ ถัดไป
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

(24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง