ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จินตหรา พูนลาภ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Achira Pak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Achira Pak (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
'''จินตหรา พูนลาภ''' มีชื่อเกิดว่าทองใบ จันทร์เหลือง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็นจินตหรา จันทร์เหลือง, จินตหรา กวีสุนทรกุล<ref>[http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html]</ref>ตามลำดับ) มีชื่อเล่นว่า '''จิน''' เธอเกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512<ref>http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html</ref> แต่เธอบอกว่าเกิดวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 5 คนของอุทัย และจันทร์ จันทร์เหลือง<ref>{{cite web |url= https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/103097 |title= นักร้องสาวจินตหรานำศพแม่ตั้งบำเพ็ญกุศล จ.ร้อยเอ็ด |author=|date= 16 พฤษภาคม 2562 |work= PPTV Online |publisher=|accessdate= 19 มิถุนายน 2563 }}</ref> (สกุลเดิม พูนลาภ) ครอบครัวประกอบอาชีพ[[เกษตรกรรม]] พอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พ่อจึงพาไปเปลี่ยนชื่อเป็น จินตหรา จันทร์เหลือง เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากชนะการประกวดร้องเพลงที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับการชักชวนจาก "เฮียยิ้ง" ชาย สีบัวเลิศ นักจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่ง เข้าบันทึกเสียงเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกของค่ายแกรมมี่ ซึ่งทำการตลาดโดย[[จีเอ็มเอ็ม]]{{อ้างอิง}}
'''จินตหรา พูนลาภ''' มีชื่อเกิดว่าทองใบ จันทร์เหลือง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็นจินตหรา จันทร์เหลือง, จินตหรา กวีสุนทรกุล<ref>[http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html]</ref>ตามลำดับ) มีชื่อเล่นว่า '''จิน''' เธอเกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512<ref>http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html</ref> แต่เธอบอกว่าเกิดวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 5 คนของอุทัย และจันทร์ จันทร์เหลือง<ref>{{cite web |url= https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/103097 |title= นักร้องสาวจินตหรานำศพแม่ตั้งบำเพ็ญกุศล จ.ร้อยเอ็ด |author=|date= 16 พฤษภาคม 2562 |work= PPTV Online |publisher=|accessdate= 19 มิถุนายน 2563 }}</ref> (สกุลเดิม พูนลาภ) ครอบครัวประกอบอาชีพ[[เกษตรกรรม]] พอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พ่อจึงพาไปเปลี่ยนชื่อเป็น จินตหรา จันทร์เหลือง เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากชนะการประกวดร้องเพลงที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับการชักชวนจาก "เฮียยิ้ง" ชาย สีบัวเลิศ นักจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่ง เข้าบันทึกเสียงเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกของค่ายแกรมมี่ ซึ่งทำการตลาดโดย[[จีเอ็มเอ็ม]]{{อ้างอิง}}


ผลงานเพลงชุดแรกที่บันทึกเสียงคือ ''ถูกหลอกออกโรงเรียน'' โดยได้ใช้ชื่อว่า จินตหรา พูนลาภ (นามสกุลก่อนสมรสของมารดา) สังกัดค่ายแกรมมี่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[ปรีชา ทรัพย์โสภา]] นักจัดรายการวิทยุ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำยอดขายได้ 8 แสนชุด ก็ประสบความสำเร็จตามมากับชุดที่ 2 ชื่อชุด วานเพื่อนเขียนจดหมาย ทำยอดขายได้ 1 ล้านตลับ{{อ้างอิง}} ราวปี พ.ศ. 2530-2531
ผลงานเพลงชุดแรกที่บันทึกเสียงคือ ''ถูกหลอกออกโรงเรียน'' โดยได้ใช้ชื่อว่า จินตหรา พูนลาภ (นามสกุลก่อนสมรสของมารดา) สังกัดค่ายแกรมมี่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[ปรีชา ทรัพย์โสภา]] นักจัดรายการวิทยุ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำยอดขายได้ 8 แสนชุด ก็ประสบความสำเร็จตามมากับชุดที่ 2 ชื่อชุด วานเพื่อนเขียนจดหมาย ทำยอดขายได้ 1 ล้านตลับ{{อ้างอิง}} ราวปี พ.ศ. 2530-2531 <ref>https://sites.google.com/view/morradokisan-db/%E0%B8%9B-56/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A2</ref>


หลังชุดที่ 16 ชาย สีบัวเลิศ ผู้ปั้นจินตหรา พูนลาภให้โด่งดัง ได้แยกตัวออกจากค่ายแกรมมี่ มาเปิดเป็นค่าย[[มาสเตอร์เทป]] โดยได้จินตหรา พูนลาภเป็นศิลปินเบอร์หนึ่งของค่าย โดยระหว่างที่เธอเป็นศิลปินสังกัดมาสเตอร์เทปก็มีผลงานเป็นที่รู้จักมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ ''สิ้นหวังที่วังตะไคร้'', ''สงสารหัวใจ'', ''แอบรักหนุ่มยาม'', ''ขอรักฝ่ายเดียว'', ''อ้อนพ่อซื้อมอเตอร์ไซค์'', ''คอยพี่ที่มออีแดง'', ''รอพี่ที่ บขส.'', ''รักโผล่โสนแย้ม'', ''รักสลายดอกฝ้ายบาน'',''ผู้หนีช้ำ'', ''ห่วงพี่ที่คูเวต'', ''น้ำตาสาววาริน'' เป็นต้น
หลังชุดที่ 16 ชาย สีบัวเลิศ ผู้ปั้นจินตหรา พูนลาภให้โด่งดัง ได้แยกตัวออกจากค่ายแกรมมี่ มาเปิดเป็นค่าย[[มาสเตอร์เทป]] โดยได้จินตหรา พูนลาภเป็นศิลปินเบอร์หนึ่งของค่าย โดยระหว่างที่เธอเป็นศิลปินสังกัดมาสเตอร์เทปก็มีผลงานเป็นที่รู้จักมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ ''สิ้นหวังที่วังตะไคร้'', ''สงสารหัวใจ'', ''แอบรักหนุ่มยาม'', ''ขอรักฝ่ายเดียว'', ''อ้อนพ่อซื้อมอเตอร์ไซค์'', ''คอยพี่ที่มออีแดง'', ''รอพี่ที่ บขส.'', ''รักโผล่โสนแย้ม'', ''รักสลายดอกฝ้ายบาน'',''ผู้หนีช้ำ'', ''ห่วงพี่ที่คูเวต'', ''น้ำตาสาววาริน'' เป็นต้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:43, 22 มิถุนายน 2563

จินตหรา พูนลาภ
upright=220px
จินตหรา พูนลาภใน พ.ศ. 2550
เกิดทองใบ จันทร์เหลือง
6 มีนาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี)[1]
จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
อาชีพนักร้อง  • นักแสดง
ผลงานเด่น"รักโผล่โสนแย้ม" (2540)
"ผู้หนีช้ำ" (2541)
"รักสลายดอกฝ้ายบาน" (2541)
"แตงโมจินตหรา" (2544)
"มาทำไม" (Feat. ธงไชย แมคอินไตย์) (2545)
"เต่างอย" (2560)
คู่สมรสกอบกิตติ กวีสุนทรกุล
บุพการี
  • อุทัย จันทร์เหลือง (บิดา)
  • จันทร์ จันทร์เหลือง (พูนลาภ) (มารดา)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2530–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่  • มาสเตอร์เทป  • อาร์สยาม  • แคทไนน์ สตูดิโอ
ลายมือชื่อ
ไฟล์:Signature Jintara Poonlarp.png

จินตหรา พูนลาภ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512 ชื่อเล่น จิน ชื่อจริง จินตหรา กวีสุนทรกุลเป็นนักร้องลูกทุ่งหมอลำที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ "รักโผล่โสนแย้ม" (2540), "ผู้หนีช้ำ" (2541), หมอลำสะออนชุดที่ 1 รักสลายดอกฝ้ายบาน (2541), หมอลำสะออนชุดที่ 5 แตงโมจินตหรา (2544), "มาทำไม" (Feat. ธงไชย แมคอินไตย์) (2545), "เต่างอย" ฯลฯ

เธอเกิดที่บ้านจานทุ่ง ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก หลังชนะการประกวดร้องเพลงก็ได้รับการชักชวนจากชาย สีบัวเลิศ ให้เข้าเป็นศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เธอออกอัลบั้มชุดแรกใน พ.ศ. 2530 ชื่อชุด ถูกหลอกออกโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2545 เธอได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในการร่วมงานกับธงไชย แมคอินไตย์[2] ในเพลง "แฟนจ๋า" และ "มาทำไม" ใน พ.ศ. 2550 ค่ายมาสเตอร์เทปปิดตัวลง ได้ย้ายเข้าอาร์สยาม และออกอัลบั้มเดี่ยวทั้งหมด 9 อัลบั้ม ก่อนที่จะหมดสัญญาลง เมื่อปี พ.ศ. 2560 หลังจากนั้น เธอจึงมาเป็นศิลปินอิสระ และประสบความสำเร็จเป็นที่นิยมอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จากซิงเกิ้ลเพลง เต่างอย[3]

ประวัติ

จินตหรา พูนลาภ มีชื่อเกิดว่าทองใบ จันทร์เหลือง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็นจินตหรา จันทร์เหลือง, จินตหรา กวีสุนทรกุล[4]ตามลำดับ) มีชื่อเล่นว่า จิน เธอเกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512[5] แต่เธอบอกว่าเกิดวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 5 คนของอุทัย และจันทร์ จันทร์เหลือง[6] (สกุลเดิม พูนลาภ) ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม พอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พ่อจึงพาไปเปลี่ยนชื่อเป็น จินตหรา จันทร์เหลือง เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากชนะการประกวดร้องเพลงที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับการชักชวนจาก "เฮียยิ้ง" ชาย สีบัวเลิศ นักจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่ง เข้าบันทึกเสียงเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกของค่ายแกรมมี่ ซึ่งทำการตลาดโดยจีเอ็มเอ็ม[ต้องการอ้างอิง]

ผลงานเพลงชุดแรกที่บันทึกเสียงคือ ถูกหลอกออกโรงเรียน โดยได้ใช้ชื่อว่า จินตหรา พูนลาภ (นามสกุลก่อนสมรสของมารดา) สังกัดค่ายแกรมมี่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยได้รับการสนับสนุนจากปรีชา ทรัพย์โสภา นักจัดรายการวิทยุ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำยอดขายได้ 8 แสนชุด ก็ประสบความสำเร็จตามมากับชุดที่ 2 ชื่อชุด วานเพื่อนเขียนจดหมาย ทำยอดขายได้ 1 ล้านตลับ[ต้องการอ้างอิง] ราวปี พ.ศ. 2530-2531 [7]

หลังชุดที่ 16 ชาย สีบัวเลิศ ผู้ปั้นจินตหรา พูนลาภให้โด่งดัง ได้แยกตัวออกจากค่ายแกรมมี่ มาเปิดเป็นค่ายมาสเตอร์เทป โดยได้จินตหรา พูนลาภเป็นศิลปินเบอร์หนึ่งของค่าย โดยระหว่างที่เธอเป็นศิลปินสังกัดมาสเตอร์เทปก็มีผลงานเป็นที่รู้จักมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ สิ้นหวังที่วังตะไคร้, สงสารหัวใจ, แอบรักหนุ่มยาม, ขอรักฝ่ายเดียว, อ้อนพ่อซื้อมอเตอร์ไซค์, คอยพี่ที่มออีแดง, รอพี่ที่ บขส., รักโผล่โสนแย้ม, รักสลายดอกฝ้ายบาน,ผู้หนีช้ำ, ห่วงพี่ที่คูเวต, น้ำตาสาววาริน เป็นต้น

จินตหรา พูนลาภได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในการร่วมงานกับธงไชย แมคอินไตย์ ในเพลง "แฟนจ๋า" และ "มาทำไม" และในปี พ.ศ. 2547 ได้ร่วมแสดงบนเวทีเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส ที่สิงคโปร์ กับธงไชย แมคอินไตย์, แคทรียา อิงลิช และนัท มีเรีย[8]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 จินตหรา พูนลาภ ได้เซ็นสัญญากับค่ายใหม่อาร์สยาม ในสังกัดอาร์เอส หลังจากที่ค่ายเดิมคือมาสเตอร์เทปปิดตัวลง ต่อมาได้หมดสัญญากับค่ายอาร์สยามในปี พ.ศ. 2560 และหลังจากนั้นจึงเป็นศิลปินอิสระ[9][10]

ชีวิตส่วนตัว เธอได้จดทะเบียนสมรสกับกอบกิตติ กวีสุนทรกุล ไม่มีบุตรและธิดา

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

ชุดที่ ชื่ออัลบั้ม/ชื่อเพลง วันวางจำหน่าย
ก่อนเข้าวงการ
n/a คิดถึงพี่ยาว พ.ศ. 2528
แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
1 ถูกหลอกออกโรงเรียน กันยายน พ.ศ. 2530
2 วานเพื่อนเขียนจดหมาย ธันวาคม พ.ศ. 2530
3 โสดบริสุทธิ์ มกราคม พ.ศ. 2531
4 สาวเวียง หนุ่มไทย มิถุนายน พ.ศ. 2531
5 แรงงานข้าวเหนียว พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
6 พลังรัก (ลำล้วน) มีนาคม พ.ศ. 2532
7 ลำโลด ตามใจน้ำตา (ลำล้วน) ตุลาคม พ.ศ. 2532
8 สาวไร่มัน เมษายน พ.ศ. 2533
9 สาวอีสานพลัดถิ่น (ลำล้วน) สิงหาคม พ.ศ. 2533
10 ขอเป็นคนสุดท้าย (ลำล้วน) กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
11 จดหมายหลายฉบับ กรกฎาคม พ.ศ. 2534
12 อำนาจรัก (ลำล้วน) ธันวาคม พ.ศ. 2534
13 คอยรักต่างแดน (ลำล้วน) สิงหาคม พ.ศ. 2535
14 ลำ 3 แบบ 3 สไตล์ (ลำซิ่ง ลำเดินขอนแก่น ลำเดินกาฬสินธุ์) มกราคม พ.ศ. 2536
15 ไร่อ้อยคอยรัก (ลำล้วน) เมษายน พ.ศ. 2536
16 เจ้าบ่าวหาย (ลำล้วน) สิงหาคม พ.ศ. 2536
มาสเตอร์เทป (ร่วมกับแกรมมี่โกลด์)
17 สิ้นหวังที่วังตะไคร้ ตุลาคม พ.ศ. 2537
18 สงสารหัวใจ สิงหาคม พ.ศ. 2538
19 อวยพรให้เพื่อน ธันวาคม พ.ศ. 2538
20 ขอรักฝ่ายเดียว เมษายน พ.ศ. 2539
21 รักซ้อนรัก กันยายน พ.ศ. 2539
22 รอพี่ที่ บ.ข.ส. มกราคม พ.ศ. 2540
23 ดื่มเพื่อลืมเศร้า พฤษภาคม พ.ศ. 2540
24 รักโผล่โสนแย้ม (ร็อคหมอลำ) พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
25 ผู้หนีช้ำ มกราคม พ.ศ. 2541
หมอลำสะออนชุดที่ 1 รักสลายดอกฝ้ายบาน พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
ลูกทุ่งสะออนชุดที่ 2 น้ำตาสาววาริน สิงหาคม พ.ศ. 2542
หมอลำสะออนชุดที่ 3 น้ำตาหล่นบนเถียงนา 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ลูกทุ่งสะออนชุดที่ 4 สาวน้ำพองสะอื้น 11 มกราคม พ.ศ. 2544
หมอลำสะออนชุดที่ 5 แตงโมจินตหรา 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ลูกทุ่งสะออนชุดที่ 6 ถ้วยป่นหลุดมือ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544
หมอลำสะออนชุดที่ 7 นัดรอบ่พ้ออ้าย 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
จินมาแล้วจ้า 1 จินมาแล้วจ้า No. 1 ซังบ่าวเจ้าชู้ 6 มีนาคม พ.ศ. 2546
หมอลำสะออนชุดที่ 8 รูปหล่อหลายเมีย 25 กันยายน พ.ศ. 2546
ลูกทุ่งสะออนชุดที่ 9 สาวชุมแพแพ้รัก 8 เมษายน พ.ศ. 2547
ร็อคหมอลำสะออนชุดที่ 10 พญานาคฝากรัก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547
ลูกทุ่งสะออนชุดที่ 11 คนนำทางใจ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2548
หมอลำสะออนชุดที่ 12 ฮัลโหลโทรผิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
หมอลำสะออนชุดที่ 13 ห่วงแฟนแดนชุมนุม 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549
26 สาวทุ่งดอกจาน 29 มีนาคม พ.ศ. 2550
อาร์สยาม
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 1 ธนาคารน้ำตา 20 กันยายน พ.ศ. 2550
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 2 อยู่ข้างเธอเสมอ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 3 มิสซิสเหี่ยน 29 มกราคม พ.ศ. 2552
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 4 ชีวิตฉันขาดเธอไม่ได้ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 5 ฝากคำขอโทษ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 6 ขอใจฉันคืน 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 7 เคยรักกันบ้างไหม 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 8 อยากเป็นฉันในอ้อมกอดเธอ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557
จินตหราครบเครื่องชุดที่ 9 เมียหลวงทวงสิทธิ์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ซิงเกิล ใจช้ำที่คำชะโนด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ฮักแพงแสลงใจ 3 เมษายน พ.ศ. 2560
ศิลปินอิสระ (แคทไนน์ สตูดิโอ)
อีพี แฟนเราแต่เขาควง 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ซิงเกิล ให้น้องตายก่อนบ้อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เต่างอย[11]
คืนนี้พี่นอนกับใคร 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ลำเต้ยซิ่ง เต่างอย 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เซลฟี่แลกใจเธอ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561
คำสาบานเขยแม่มูล 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
ไอ้ไข่นคร 20 เมษายน พ.ศ. 2561
รักกับเขาแต่เหงากับฉัน 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
อีหล่าขาเด้ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561
วอนนางนอน 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
หาหมอ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ผาน้ำย้อย 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ช้ำรักจากผาน้ำย้อย 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ไม่รู้ไม่ผิด 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ฮักคนเดียวได้บ่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ยังรอ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561
บ่แย่งแฮปปี้ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561
สาวมาดฐาน 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
สาวมาดฐาน (ม่วนสะเดิด) 11 กันยายน พ.ศ. 2561
น้ำตาหล่นบนบัวแดง 15 กันยายน พ.ศ. 2561
น้ำตาสาวสุรินทร์ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ฮอยฮักปักใจ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561
รอพี่ที่วัดฉลอง 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
พิษต้านพิษ (ft.แซ็ค ชุมแพ) 7 มกราคม พ.ศ. 2562
กะเทยห่าว 18 มกราคม พ.ศ. 2562
สาวพังโคน
จินตหราคอมโบ้ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
สายร็อคสายลำ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562
รอพี่ที่บึงกาฬ 4 เมษายน พ.ศ. 2562
ตั๋วกันได้กันดี
คนไม่ใช่ทำอะไรก็ผิด 6 เมษายน พ.ศ. 2562
ภักดีที่เจ็บ
รปภ. 12 เมษายน พ.ศ. 2562
บ่มักนิสัย 26 เมษายน พ.ศ. 2562
น้ำตาย้อยโป๊ก[12] 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
พื้นที่ทับซ้อน (ft.กระต่าย พรรณนิภา) 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
สาวนานครพนม 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ผลาบุญ 7 กันยายน พ.ศ. 2562
สาวนักเรียนตำตอ[13] 30 กันยายน พ.ศ. 2562
รักจริงพรือ (ft.ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น)[14] 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ที่ต้องห้าม (ft.กระต่าย พรรณนิภา) 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
จ๊วดจ๊าดฟาดบึ้ม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
บ่ฮู้เด้อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ซานเล้าบันเทิงศิลป์ (ft.น้องทิวเทน) 1 มกราคม พ.ศ. 2563
หาดนางคอย 8 มกราคม พ.ศ. 2563
โควิดมาน้ำตาไหล 23 มีนาคม พ.ศ. 2563
ใส่แมสคอยอ้าย 26 มีนาคม พ.ศ. 2563
ธาตุแท้ (ft.ใบปอ รัตติยา) 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
มหาสงกรานต์ (ft. ฟักกลิ้งฮีโร่) 2 เมษายน พ.ศ. 2563
อ่อนแอกะแพ้ไป (ft. กระต่าย พรรณิภา) 20 เมษายน พ.ศ. 2563
สถานะหมอลำ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
สาวชุมแพ (ลาลาลา) พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อัลบั้มพิเศษ

ชื่ออัลบั้ม วันที่วางจำหน่าย
รวมฮิต 1-2-3-4 พ.ศ. 2532
รวมฮิต รำพัน-ลำเพลิน เมษายน พ.ศ. 2536
ลูกทุ่งล้วน ล้วน 10 ปีทอง พ.ศ. 2540
บันทึกการแสดงสด จินตหรา พูนลาภ 1–2 (เทป) พ.ศ. 2539
เพลงรักจากจินตหรา ชุดที่ 1-2-3 พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
12 กลอนลำ ตุลาคม พ.ศ. 2541
ลูกทุ่งหมอลำ กันยายน พ.ศ. 2542
เพลงเด่นกลอนดัง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542
จินตหราบอกรัก 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544
14 ปีทอง 14 มีนาคม พ.ศ. 2545
สนุกสนาน 19 ธันวาคม พ.ศ. 2545
คอนเสิร์ต สาวเสียงพิณ จินตหรา พูนลาภ ชุดที่ 1 27 มีนาคม พ.ศ. 2546
แฟนจินตหรา 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ตำนานรักสาวอีสาน 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547
ลูกทุ่งหมอลำ 2 10 มีนาคม พ.ศ. 2548
รวมฮิต 19 ปีทอง ชุด 1–2 พ.ศ. 2549
มาสเตอร์ฮิต ชุดที่ 1–2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
จัมโบ้ฮิต 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ดับเบิ้ลฮิต จินตหรา พูนลาภ – สนุ๊ก สิงห์มาตร 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553
อาร์สยาม นัมเบอร์ วัน จินตหรา พูนลาภ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
MP3 R-Siam จินตหรา พูนลาภ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554
RS Best Collection จินตหรา พูนลาภ พ.ศ. 2554
อาร์สยาม 10 ปีทอง จินตหรา พูนลาภ – สนุ๊ก สิงห์มาตร พ.ศ. 2555
จินตหราครบรส 20 กันยายน พ.ศ. 2555
อีสานตลาดแตก พ.ศ. 2555
จินตหรา ม่วนหลาย 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
รวมฮิตจัดเต็ม 25 กันยายน พ.ศ. 2557
The Man City Lion Project ชาย เมืองสิงห์ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
รักครบเครื่อง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ลูกทุ่งออนซอน 13 กันยายน พ.ศ. 2560
หมอลำออนซอน 28 กันยายน พ.ศ. 2560

ผลงานการแสดง

ละครโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทาง ช่อง 7 เอชดี

ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ
2544 นายฮ้อยทมิฬ บัวเขียว
2552 กำนันอี๊ด ครูพักตร์
2563 กาเหว่า จินตหรา พูนลาภ (นักร้องตอนจบ) รับเชิญ

ภาพยนตร์

อ้างอิง

  1. http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html
  2. สรุปให้ เส้นทางหมอลำสาวฆ่าไม่ตาย จินตหรา พูนลาภ (คลิป)
  3. "จินตหรา" รับเพลง "เต่างอย" ทำกลับมาเปรี้ยงอีกครั้ง
  4. [1]
  5. http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html
  6. "นักร้องสาวจินตหรานำศพแม่ตั้งบำเพ็ญกุศล จ.ร้อยเอ็ด". PPTV Online. 16 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. https://sites.google.com/view/morradokisan-db/%E0%B8%9B-56/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A2
  8. จินตหรา พูนลาภ isangate.com
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thairath1
  10. http://www.komchadluek.net/2007/12/27/f001_183192.php?news_id=183192 [ลิงก์เสีย]
  11. ""จินตหรา" รับเพลง "เต่างอย" ทำกลับมาเปรี้ยงอีกครั้ง". Daradaily. 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  12. "จินตหรา" ประกาศทำเอ็มวีภาคต่อ "น้ำตาย้อยโป๊ก" หลังยอดวิวทะลุ 7 ล้านวิวใน 7 วัน!
  13. "จินตหรา" ทำคอหวยฮือฮา หลังปล่อยเอ็มวีเพลงใหม่ "สาวนักเรียนตำตอ"
  14. ดราม่าโคจรเจอกัน จินตหรา เอาจริง ปะทะ ลิลลี่ “รักจริงพรือ” มันส์ไม่แพ้ เลิกคุยทั้งอำเภอฯ