ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิขิต เอกมงคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 76: บรรทัด 76:
* แม่เบี้ย (2533)
* แม่เบี้ย (2533)
* รักเธอเท่าฟ้า (2533)
* รักเธอเท่าฟ้า (2533)
* ทะนง/ระห่ำสะท้านโลก (2533)
* แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (2533)
* แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (2533)
* รักคืนเรือน (2533)
* รักคืนเรือน (2533)
บรรทัด 98: บรรทัด 97:
* ขยี้ (2534)
* ขยี้ (2534)
* หน่วยรบทมิฬ (2534)
* หน่วยรบทมิฬ (2534)
* ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก) (2534)
* สองฝั่งโขง (2535)
* สองฝั่งโขง (2535)
* ยากูซ่า (2535)
* ยากูซ่า (2535)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:22, 22 มิถุนายน 2563

ลิขิต เอกมงคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ลิขิต ศุกรเสพย์
ThaiFilmDb

ลิขิต เอกมงคล (แด็กซ์) นามสกุลเดิมคือ ศุกรเสพย์ เกิดเมื่อวันที่ เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2501 ที่จังหวัดอ่างทอง เป็นนักแสดงชาวไทย ปัจจุบันได้ลาออกจากวงการบันเทิงแล้ว โดยยังมีแฟนคลับที่ติดตามและเฝ้ารอคอยการกลับมาของลิขิต เอกมงคลอยู่ตลอดเวลา

ประวัติ

ลิขิต เอกมงคลเป็นชาวอำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นลูกคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน[1] พ่อแม่ส่งมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เริ่มเรียนที่โรงเรียนทหาร (กองทัพบกอุปถัมภ์วิทยา) ซึ่งอยู่ในกรมวิทยาศาสตร์การทหารบางเขน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้น ป.4 จนถึงมัธยมต้น ต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา เดิมทีฝันอยากเป็นตำรวจอุตส่าห์มุ่งมั่นจนสอบข้อเขียนติดโรงเรียนนายร้อยสามพรานแต่ก็พลาด เพราะตาบอดสี เลยหันเหไปเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] แต่ไม่จบเพราะเข้าวงการแสดงเสียก่อน ได้เล่นละครเรื่องแรกคือ จดหมายจากเมืองไทย ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ออกอากาศทางช่อง 7 สี มีบทไม่มากนัก ต่อมาได้เป็นหนุ่มแพรว ประจำปี 2527 เริ่มอาชีพจากการเป็นนายแบบ จากนั้นคิด สุวรรณศร ชักชวนมาเล่นภาพยนตร์เรื่องแรกคือ "ปล.ผมรักคุณ" คู่ อรพรรณ พานทอง เมื่อปลายปี 2526 หลังจากนั้นก็ได้เล่นหนังมาเรื่อยๆ ในเครือสหมงคลฟิล์ม เช่น เพลิงพิศวาส, ฉันผู้ชาย (นะยะ) ฯ ต่อมาก็เริ่มซาลง รับบทรองหลายเรื่องเช่น สะใภ้ (พระรอง) , ฟ้าสีทอง (ผู้ร้าย)

ช่วงที่พอมีเวลาว่างบ้างก็หันไปเล่นการเมือง เป็น สจ.อ่างทอง ก็กลับเข้าสู่วงการบันเทิง พอปลายปี 2530 ได้รับตุ๊กตาทองดารานำชายจากเรื่อง"ครั้งเดียวก็เกินพอ" แล้วหันกลับมาเล่นบทพระเอกเต็มตัวเรื่องแรกสำหรับละครโทรทัศน์ คือเรื่อง "จำเลยรัก" คู่กับสาวิตรี สามิภักดิ์ เป็นละครที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีผลงานละครเรื่อยมา เช่น เชลยศักดิ์ (พบจินตหราครั้งแรกและครั้งเดียว) ส่วนใหญ่เป็นละครของช่อง 7 ไปเล่นให้ช่องอื่น ก็มีเรื่อง ท่าฉลอม ของวิทยา สุขดำรงค์ (ช่อง 9) และยังมีอีกหลายเรื่องเช่น อุบัติเหตุ, เสราดารัล, นางทาส, สารวัตรใหญ่ (กันตนา) ทางด้านผลงานภาพยนตร์เช่น ช่างมันฉันไม่แคร์, ฉันรักผัวเขา, อุบัติโหด, หัวใจห้องที่ 5, แม่เบี้ย

นอกจากนี้ได้รับตุ๊กตาทองดารานำชายเป็นตัวที่ 2 จากเรื่อง "ขยี้" ปลายปี พ.ศ. 2534 โดยรับร่วมกับสามารถ พยัคฆ์อรุณ เป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ดารานำชายมี 2 คนและจากเรื่องเดียวกันและหนังเรื่องนี้ก็ยังไม่เคยเข้าฉายในโรง ในช่วงที่ภาพยนตร์ไทยเริ่มซบเซา จึงหันมาเล่นหนังบู๊ภูธรเกรดบี ต่อมาบทบาททางการแสดงก็ยุติลงเนื่องจากเป็นงูสวัดและทำตา รับเล่นละครเรื่องสุดท้ายคือ เพชรตัดเพชร[3] และประกาศออกมาว่าจะไม่ออกรายการทีวีอีก แต่เมื่อหลายปีก่อนได้ออกรายการเพชรรามา บอกว่าทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งเกี่ยวกับสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย และนอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเซรั่มบำรุงผิวอีกด้วย


ผลงานภาพยนตร์

  • ปล.ผมรักคุณ (2527)
  • เพลิงพิศวาส (2527)
  • เฮฮาเมียนาวี (2527)
  • สะใภ้ (2529)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
  • ไฟเสน่หา (2530)
  • นางนวล (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • ฟ้าสีทอง (2530)
  • บาปสวาท (2530)
  • มันแอบอยู่ในหอ (2530)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
  • เรือมนุษย์ (2531)
  • ทายาทคนใหม่ (2531)
  • วิมานเสน่หา (2531)
  • เหยื่ออารมณ์ (2531)
  • ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531)
  • อุบัติโหด (2531)
  • ทอง 3 (2531)
  • กลกามแห่งความรัก (2533)
  • ปล้น เช็คบิล (2533)
  • แม่เบี้ย (2533)
  • รักเธอเท่าฟ้า (2533)
  • แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (2533)
  • รักคืนเรือน (2533)
  • 3 อันตราย (2533)
  • ข้ามากับปืน (2533)
  • ดอกฟ้าในมือมาร (2533)
  • ดอกแก้วดำ/ลายแทงมหาภัย (2533)
  • นางฟ้าอีดิน (2533)
  • บ่อเพลิงที่โพธิ์ทะเล (2533)
  • กว่าจะถึงสวรรค์ (2533)
  • เพลิงอารมณ์ (2533)
  • ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน (2533)
  • ก้อนหินในดินทราย (2533)
  • หัวใจห้องที่ 5 (2533)
  • มายาเพชรฆาต (2533)
  • แม่นาคคืนชีพ (2533)
  • ข้ามฟ้ามาหารัก (2533)
  • แผนกับดัก (2534)
  • เลือดเข้าตา (2534)
  • สงครามเมีย (2534)
  • ขยี้ (2534)
  • หน่วยรบทมิฬ (2534)
  • ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก) (2534)
  • สองฝั่งโขง (2535)
  • ยากูซ่า (2535)
  • สะเหร่อซะไม่เมี๊ย (2536)
  • นักฆ่าตาปีศาจ (2537)
  • สยึ๋มกึ๋ย 2 (2537)
  • เสือล่าเสือ (2537)
  • รำปืนลำเพลิน (2538)

ผลงานละครโทรทัศน์

อ้างอิง

  1. ผลงานของ ลิขิต เอกมงคล
  2. ลิขิต เอกมงคล คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น
  3. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น