ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hokey176 (คุย | ส่วนร่วม)
- ikkue - (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 112: บรรทัด 112:
| colspan="7" |
| colspan="7" |
|-
|-
| | PK01 || ศูนย์ราชการนนทบุรี||'''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม}}>[[สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี]]</font>''' <br/>''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}}>[[สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี]]</font>'' || rowspan="2" | บางกระสอ || rowspan="4" |[[อำเภอเมืองนนทบุรี|เมืองนนทบุรี]]|| rowspan="10" |[[จังหวัดนนทบุรี|นนทบุรี]]|| rowspan="15" |ธันวาคม [[พ.ศ. 2566]]
| | PK01 || ศูนย์ราชการนนทบุรี||'''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม}}>[[สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี]]</font>''' <br/>''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}}>[[สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี]]</font>'' || rowspan="2" | บางกระสอ || rowspan="4" |[[อำเภอเมืองนนทบุรี|เมืองนนทบุรี]]|| rowspan="10" |[[จังหวัดนนทบุรี|นนทบุรี]]|| rowspan="4" |ตุลาคม พ.ศ. 2565
|-
|-
| | PK02 ||[[สถานีแคราย (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)|แคราย]]||
| | PK02 ||[[สถานีแคราย (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)|แคราย]]||
บรรทัด 121: บรรทัด 121:
|-
|-
| | PK05 || กรมชลประทาน || || บางตลาด || rowspan = "6"|[[อำเภอปากเกร็ด|ปากเกร็ด]]
| | PK05 || กรมชลประทาน || || บางตลาด || rowspan = "6"|[[อำเภอปากเกร็ด|ปากเกร็ด]]
| rowspan="7" |เมษายน พ.ศ. 2565
|-
|-
| | PK06 || แยกปากเกร็ด ||'''{{BTS Lines|เรือด่วนเจ้าพระยา}} <font color={{BTS color|เรือด่วนเจ้าพระยา}}>ท่าปากเกร็ด</font>''' || rowspan = "2"|ปากเกร็ด
| | PK06 || แยกปากเกร็ด ||'''{{BTS Lines|เรือด่วนเจ้าพระยา}} <font color={{BTS color|เรือด่วนเจ้าพระยา}}>ท่าปากเกร็ด</font>''' || rowspan = "2"|ปากเกร็ด
บรรทัด 135: บรรทัด 136:
|-
|-
| | PK12 || ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ||
| | PK12 || ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ||
| rowspan="19" |ตุลาคม พ.ศ. 2564
|-
|-
| | PK13 || ทีโอที ||
| | PK13 || ทีโอที ||
บรรทัด 142: บรรทัด 144:
| | PK15 ||[[สถานีราชภัฎพระนคร (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)|ราชภัฏพระนคร]]|| || rowspan = "5"|อนุสาวรีย์ || rowspan = "7"| [[เขตบางเขน|บางเขน]]
| | PK15 ||[[สถานีราชภัฎพระนคร (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)|ราชภัฏพระนคร]]|| || rowspan = "5"|อนุสาวรีย์ || rowspan = "7"| [[เขตบางเขน|บางเขน]]
|-
|-
| | PK16 ||[[สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ|วัดพระศรีมหาธาตุ]]||''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} {{เล็ก|(สถานีร่วม)}}'' || rowspan="15"| ตุลาคม พ.ศ. 2566
| | PK16 ||[[สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ|วัดพระศรีมหาธาตุ]]||''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} {{เล็ก|(สถานีร่วม)}}''
|-
|-
| | PK17 || รามอินทรา 3 ||
| | PK17 || รามอินทรา 3 ||

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:42, 15 มิถุนายน 2563

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้เดินรถสายสีชมพู
ไฟล์:รถไฟฟ้าสายสีชมพู.jpg
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร
ปลายทาง
จำนวนสถานี32
เว็บไซต์เว็บไซต์โครงการ
ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน บีทีเอสกรุ๊ป
การดำเนินงาน
รูปแบบรางเดี่ยว
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2594)
ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300 (4 ตู้ต่อขบวน)
ประวัติ
เปิดเมื่อทยอยเปิดภายใน พ.ศ. 2564 (เฉพาะเส้นทางหลัก)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง34.5 กิโลเมตร (21.4 ไมล์)* (est.)
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

: เตาปูนคลองบางไผ่
ศูนย์ราชการนนทบุรี
(โครงการ)
แคราย
สนามบินน้ำ
สามัคคี
กรมชลประทาน
แยกปากเกร็ด
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
ศรีรัช
เมืองทองธานี
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ทะเลสาบเมืองทองธานี
แจ้งวัฒนะ 14
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
โทรคมนาคมแห่งชาติ
หลักสี่
: กรุงเทพอภิวัฒน์รังสิต
ราชภัฏพระนคร
: เคหะฯคูคต
วัดพระศรีมหาธาตุ
รามอินทรา 3
ลาดปลาเค้า
รามอินทรา กม.4
มัยลาภ
(โครงการ): ท่าพระ
วัชรพล
รามอินทรา กม.6
คู้บอน
รามอินทรา กม.9
วงแหวนรามอินทรา
นพรัตน์
บางชัน
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
ตลาดมีนบุรี
: บางขุนนนท์ – แยกร่มเกล้า
มีนบุรี
ศูนย์ซ่อมบำรุง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายรามอินทรา[ต้องการอ้างอิง] เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบหลัก และเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร

ในระยะแรกโครงการดังกล่าวมีระยะทางรวมทั้งสิ้นเพียง 27 กิโลเมตร โดยมีสถานีต้นทางอยู่ที่บริเวณแยกปากเกร็ด แต่ต่อมาได้มีการขยายแนวเส้นทางมาตามแนวถนนติวานนท์ และย้ายต้นทางจากแยกปากเกร็ดมายังแยกแคราย เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ทำให้เส้นทางของโครงการไปเริ่มต้นที่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร

พื้นที่ที่เส้นทางระบบขนส่งมวลชนผ่าน

ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
บางกระสอ, ท่าทราย เมืองนนทบุรี นนทบุรี
บางตลาด, ปากเกร็ด, คลองเกลือ, บ้านใหม่ ปากเกร็ด
ทุ่งสองห้อง, ตลาดบางเขน หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
อนุสาวรีย์, ท่าแร้ง บางเขน
รามอินทรา, คันนายาว คันนายาว
มีนบุรี มีนบุรี

แนวเส้นทาง

จุดต้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านแยกแครายเข้าสู่ถนนติวานนท์ แนวเส้นทางจะวิ่งไปตามเกาะกลางถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ดแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีโครงการก่อสร้างสายแยกเข้าศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานีด้วย ผ่านทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ โดยลอดใต้จุดเชื่อมต่อระหว่างทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษอุดรรัถยา ข้ามคลองประปาเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ผ่านศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานีหลักสี่ และเชื่อมต่อกับรรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งไปตามถนนรามอินทรา ผ่านทางพิเศษฉลองรัชบริเวณแยกวัชรพล จนถึงทางแยกเมืองมีนแล้ววิ่งเข้าสู่เขตมีนบุรี ตามแนวถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงสะพานข้ามคลองสามวา ก็จะเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบ และข้ามถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) มาสิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม โดยในอนาคตมีแผนศึกษาส่วนต่อขยายจากมีนบุรีไปยังย่านลาดกระบัง และเชื่อมต่อการเดินทางสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยใช้แนวถนนร่มเกล้า

รายละเอียดปลีกย่อย

  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวิ่งคร่อมคานทางวิ่ง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ
  • มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับทางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถได้เลือกใช้รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมคานทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้ (ต่อพ่วงแบบ 4 ตู้ต่อขบวน) ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางในช่วงแรก ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนขบวนเป็น 7 ตู้ต่อขบวน เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถตั้งอยู่บริเวณถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) ใกล้กับแยกร่มเกล้า แต่เดิมได้มีการกำหนดให้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม แต่ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งานร่วมกันกับสายสีส้มแล้ว

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีปลายทาง (มีนบุรี) ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สามารถจอดรถได้สูงสุด 3,000 คัน

สถานี

มีสถานีทั้งหมด 32 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร ออกแบบให้รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 7 ตู้ต่อหนึ่งขบวน โดยมีรูปแบบชานชาลาถึงสี่รูปแบบในโครงการเดียว ดังต่อไปนี้

  • ชานชาลาด้านข้าง ความสูง 3 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาพื้นฐานของโครงการ มีทั้งหมด 27 สถานี (รวมสถานีส่วนต่อขยาย)
  • ชานชาลาด้านข้าง ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาที่ลดความสูงเพื่อหลบหลีกรางรถไฟฟ้า หรือสิ่งกีดขวาง มีทั้งหมด 2 สถานี ได้แก่ สถานีหลักสี่ และสถานีมีนบุรี
  • ชานชาลาเกาะกลาง ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้รองรับผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก มีทั้งหมด 2 สถานี ได้แก่ สถานีเมืองทองธานี และสถานีอิมแพคชาเลนเจอร์
  • ชานชาลาด้านข้าง แบบแยกอาคาร ความสูง 2 ชั้น เป็นรูปแบบสถานีและชานชาลาที่ลดความสูงเพื่อหลบหลีกรางรถไฟฟ้า และสิ่งกีดขวาง มีทั้งหมด 1 สถานี ได้แก่ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ตัวสถานีออกแบบให้มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half-height) ทุกสถานี หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี

รายชื่อสถานี

รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง ที่ตั้ง วันที่เปิดให้บริการ
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
เส้นทางสายหลัก
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี แม่แบบ:BTS Lines สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
แม่แบบ:BTS Lines สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
บางกระสอ เมืองนนทบุรี นนทบุรี ตุลาคม พ.ศ. 2565
PK02 แคราย
PK03 สนามบินน้ำ ท่าทราย
PK04 สามัคคี
PK05 กรมชลประทาน บางตลาด ปากเกร็ด เมษายน พ.ศ. 2565
PK06 แยกปากเกร็ด แม่แบบ:BTS Lines ท่าปากเกร็ด ปากเกร็ด
PK07 เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
PK08 แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 คลองเกลือ
PK09 เมืองทองธานี
PK10 ศรีรัช เส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์)
PK11 แจ้งวัฒนะ 14 ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
PK12 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตุลาคม พ.ศ. 2564
PK13 ทีโอที
PK14 หลักสี่ แม่แบบ:BTS Lines สถานีหลักสี่ ตลาดบางเขน
PK15 ราชภัฏพระนคร อนุสาวรีย์ บางเขน
PK16 วัดพระศรีมหาธาตุ แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม)
PK17 รามอินทรา 3
PK18 ลาดปลาเค้า
PK19 รามอินทรา กม.4
PK20 มัยลาภ ท่าแร้ง
PK21 วัชรพล แม่แบบ:BTS Lines สถานีวัชรพล
PK22 รามอินทรา กม.6 รามอินทรา คันนายาว
PK23 คู้บอน
PK24 รามอินทรา กม.9
PK25 วงแหวนรามอินทรา คันนายาว
PK26 นพรัตน์
PK27 บางชัน มีนบุรี มีนบุรี
PK28 เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
PK29 ตลาดมีนบุรี
PK30 มีนบุรี แม่แบบ:BTS Lines สถานีมีนบุรี
อาคารจอดแล้วจร, ศูนย์ซ่อมบำรุง
เส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์)
PK10 ศรีรัช เส้นทางสายหลัก คลองเกลือ ปากเกร็ด นนทบุรี พ.ศ. 2567
PKS01 อิมแพคชาเลนเจอร์ บ้านใหม่
PKS02 ทะเลสาบเมืองทองธานี

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (Northern Bangkok Monorail; NBM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดิม) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี ซึ่งมีรายละเอียดของสัญญาดังนี้

ลำดับที่ เนื้องาน ความคืบหน้า
(ณ สิ้นเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563)[1]
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า 56.14 %
1.1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ
ระยะทาง 34.5 กม. (21.44 ไมล์)
งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง
58.78 %
1.2 งานปรับย้ายสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี งานก่อสร้าง Skywalk
เชื่อมต่อกับสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
1.3 งานปรับปรุงเส้นทางบริเวณทางด่วนศรีรัช เพื่อลดการเวนคืน
1.4 งานปรับย้ายสถานีนพรัตน์ราชธานี
1.5 งานก่อสร้างอาคารทดแทนให้กับหมวดการทางบางเขน 2 แห่ง บริเวณสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
1.6 งานออกแบบศูนย์ซ่อมบำรุงให้มีทางเข้าออกบริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น ถนนรามคำแหง
1.7 งานปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงให้มีทางเข้าออกบริเวณถนนร่มเกล้า
1.8 งานปรับแก้โครงการตามที่ถูกร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่
1.9 งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
52.64 %
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1 งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถอย่างเป็นทางการ

โดยอ้างอิงถึงสัญญาว่าด้วยความเข้าใจของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการผู้ร่วมทุนแต่ละรายจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้นำการประมูลของกลุ่มตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารเงื่อนไขในการเข้าประมูล และรับผิดชอบงานจัดหา ติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบเครื่องกล ขบวนรถไฟฟ้า ตลอดจนบริหารโครงการรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว
  2. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างงานโยธาของโครงการแต่เพียงผู้เดียว
  3. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกล

ทั้งนี้สัญญาว่าด้วยความเข้าใจของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ จะสิ้นสุดลง ณ วันที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานโครงการ

ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา

ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ
  • บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
  • บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท บางกอก เพย์เมนต์ โซลูชันส์ จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาโครงการและควบคุมการก่อสร้าง
  • บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
  • บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด
  • บริษัท เอทีที คอนซัลแตนส์ จำกัด
  • บริษัท เอสคิว อาร์คีเต็ค แอนด์ แปลนเนอร์ จำกัด
  • บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
  • บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • EGIS RAIL S.A
  • บริษัท อีจีส เรล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด

งบประมาณ

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีมูลค่ารวม 53,490 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,847 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 21,381 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 25,262 ล้านบาท โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 22,500 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 30,990 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท

ความคืบหน้า

  • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัด การประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง สายสีน้ำตาล และสายสีชมพู (พื้นที่โครงการสายสีชมพูและสายสีน้ำตาล) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ที่โรงแรมทีเคพาเลซ แจ้งวัฒนะ ซึ่งโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษาอีก 15 เดือน การศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2551
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รองบประมาณในโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 มูลค่า 5,413 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับงบประมาณในปี 2553 แบ่งเป็นใช้ในรถไฟฟ้าสายสีชมพู 3,711 ล้านบาท สายสีน้ำตาล 1,702 ล้านบาท
  • 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชนครั้งที่ 2 โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เบื้องต้นได้นำรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด -มีนบุรี) และสายสีส้ม (บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และบางกะปิ-บางบำหรุ) เข้าบรรจุในแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้า เพื่อเร่งรัดในการดำเนินการก่อสร้าง
  • 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ว่าที่ประชุมได้สรุปแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินประมาณ 37,000 ล้านบาท โดยจะใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบยกระดับ ซึ่งจะเป็นเส้นทางเพื่อขนผู้โดยสารเข้าสู่เส้นทางรถไฟฟ้าสายหลัก โดยมีจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่วิภาวดี จุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บางเขน และจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีนบุรี และมีการนำเสนอโครงการต่อ ครม.ในเดือนมิถุนายน 2553
  • 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 รฟม. ปรับแบบก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาที่เสาตอม่อล้ำเข้าไปในพื้นที่วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน จึงปรับแบบย้ายให้เสาตอม่อไปอยู่ที่แขวงการทางเขตบางเขน ของกรมทางหลวงแทน
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทุน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีส้ม วงบางกะปิ-บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2554 กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาทบทวนการปรับแบบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ รฟม. เตรียมลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้าง จากเดิมเป็นการก่อสร้างแบบรางเดี่ยว (Monorail) อาจปรับเป็นแบบรถไฟฟ้า MRT หรือรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail) เพื่อให้คุ้มค่า และเหมาะสมกับการรองรับผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าว
  • 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นางกฤตยา สุมิตนันท์ รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติให้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (รางเดี่ยว) หลังจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการทบทวนโครงการแล้วเห็นว่าการใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยวจะเหมาะสมกว่าเป็นรถไฟฟ้าขนาดหนัก และหลังจากนี้จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป[2]
  • 25 กันยายน พ.ศ. 2555 นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นความประชาชน โครงการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุง และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ว่า คาดว่าจะสามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณเดือนมีนาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2557 ซึ่งตามแผนจะเปิดให้บริการได้ในเดือนตุลาคม 2560 โดยรูปแบบการก่อสร้างจะเป็นการออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง (Design & Build) ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการมีความรวดเร็วขึ้น และในอนาคต รฟม.จะเสนอรัฐบาลพิจารณาการก่อสร้างรถไฟฟ้าในรูปแบบ Design & Build ทั้งหมด[3]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ดร.สุรศักดิ์ ทวีศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญระบบรถไฟฟ้า บริษัท ทีม คอนซัลติ้งฯ เปิดเผยว่า ตลอดเส้นทางจะมีการเวณคืน 5 จุดใหญ่ คือ
    • 1. บริเวณห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเลี้ยวขวาเข้า ถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลเก่า เพื่อสร้างสถานีปากเกร็ด มีพื้นที่เวนคืน 7,155 ตารางเมตร
    • 2. บริเวณสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี เพื่อหลีกเลี่ยงสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวง (ทล.) มีพื้นที่เวนคืน 7,800 ตารางเมตร
    • 3. บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ข้ามแยกหลักสี่ เพื่อลดระดับโครงสร้างลอดใต้โทลล์เวย์ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,300 ตารางเมตร
    • 4. บริเวณอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีพื้นที่เวนคืนรวม 7,500 ตารางเมตร กว้างด้านละ 4 เมตร ตั้งแต่หน้า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ไปถึง ป.กุ้งเผา และ
    • 5. บริเวณมีนบุรี เวนคืนพื้นที่กว่า 280 ไร่ เพื่อสร้างที่จอดรถ และศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนบริเวณอื่น ๆ

นอกเหนือจากนี้จะมีเวนคืนเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างจุดขึ้น-ลงของสถานีทั้ง 30 สถานีที่ดินแพง-ค่าเวนคืนพุ่ง 1 เท่า เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ล่าสุดค่าก่อสร้างแตะ 5.4 หมื่นล้านบาทโดยมีหลายปัจจัยที่ผลักให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานีใหม่ 6 สถานี ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง 300 บาท และราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ที่ประกาศใช้เมื่อ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผลทำให้ค่าชดเชยที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิมประเมินไว้ 2 พันล้านเป็น 4 พันล้านบาท

  • 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พร้อมด้วย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 18 เขตคลองสามวา พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลรับฟังความเห็นจากประชาชนในโซนตะวันออกของ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ว่า ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรุงเทพมหานคร ได้ใช้ผลการสำรวจออกแบบการก่อสร้างตั้งแต่ปี2547 โดยกำหนดให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีสถานีจอดอยู่ที่ตลาดมีนบุรี ซึ่งปัจจุบันนี้สภาพความเป็นอยู่ของคน กทม.ในโซนตะวันออกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีการกระจายตัวออกไปอยู่ย่านสุวินทวงศ์ คลองสามวา หนองจอก ซึ่งหากยังคงแผนการก่อสร้างเดิมจะทำให้ไม่สามารถรองรับประชาชนในบริเวณดังกล่าวได้ พวกตนจึงทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สนข. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอให้รับฟังความเห็นของประชาชนที่เดือดร้อน ซึ่งต้องการให้มีการขยายเส้นทางไปจนถึงถนนสุวินทวงศ์ เพื่อรองรับประชาชนในโซนตะวันออกมากขึ้น ทั้งนี้พวกตนไม่มีจุดประสงค์ในการขัดขวางทำให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูล่าช้าลง แต่อยากให้โครงการเป็นไปตามความต้องการของประชาชน[4]
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 รัฐฯ ทาบ “บางกอกแลนด์” สร้างส่วนต่อขยาย-สถานีจอดรถไฟฟ้าสายสีชมพูให้บริการผู้ใช้ถึงอิมแพค เมืองทองธานี เรียกเงิน 1,200 ล้านค่าก่อสร้างสถานี และส่วนต่อขยาย ด้านบางกอกแลนด์เสนอ 2 ทางเลือก 1.สร้างเอง 2.ออกค่าก่อสร้าง 50% ทางบีแลนด์เห็นว่าในการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า และขยายเส้นทางให้บริการเข้ามาในอิมแพคฯ นั้น วงเงินที่บริษัทต้องจ่ายให้รัฐบาลพร้อมกับที่ดินจำนวน 20 ไร่นั้น ในส่วนของที่ดินเห็นว่าบริษัทไม่สามารถยกให้เปล่าได้แต่หากจะยกให้ก็จะขอพัฒนาพื้นที่ด้านบนเป็นมอลล์ขนาดใหญ่ ผสมผสานอาคารสูงจำนวนหนึ่ง ขณะที่สถานีจอดรถจะก่อสร้างอยู่ใต้พื้นดิน หรือใต้มอลล์ที่จะพัฒนาขึ้น ส่วนวงเงิน 1,200 ล้านบาท เบื้องต้น บริษัทเห็นว่าควรเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างบริษัท และรัฐบาลโดยการจ่ายเงินเพียง 50% หรือ 600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้รัฐบาลเป็นผู้จ่าย อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในแนวทางแรกก็อาจหยิบยกข้อเสนอที่ 2 ขึ้นมาพิจารณาคือ บีแลนด์จะลงทุนพัฒนาก่อสร้างสถานีจอดรถไฟฟ้าเอง โดยคาดว่าจะพัฒนาเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบลงทุนก่อสร้างประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งล่าสุด บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท เทศโก้ จำกัด ให้ออกแบบสถานีจอดรถไฟฟ้ารางเดี่ยวไว้แล้ว
  • โครงการนี้เป็น1ในโครงการที่ทาง สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเตรียมนำโครงการนี้เสนอคณะรัฐมนตรีภายในสิ้นปี พ.ศ. 2557 และจะเปิดประมูลช่วงต้นปี พ.ศ. 2558
  • 29 กุมภาพันธ์ 2559 คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ หรือ พีพีพี ที่มีนาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติให้เอกชนสามารถเข้าร่วมลงทุนในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ได้
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ให้เตรียมกระบวนการประกวดราคาภายใน 2 เดือน และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดประมูลได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เปิดขายซองประมูลวันแรก มีเอกชนเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 16 ราย
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เปิดรับซองประมูลวันแรก โดยมีผู้ยื่นซองประมูลพร้อมข้อเสนอทั้งหมด 2 ราย ได้แก่
    • กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน)) ส่งพร้อมข้อเสนอในการก่อสร้างเส้นทางสายแยก อิมแพคลิงก์ เข้าศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร และส่งมอบให้เป็นทรัพย์สินของ รฟม. ตามสัญญาสัมปทาน
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้เปิดซองพิจารณาข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ให้ข้อเสนอดีที่สุด หลังจากนี้จะดำเนินการเจรจา และคาดว่าจะลงนามสัญญาและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้แจ้งต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงตำแหน่งของสถานีเพิ่มเติมของโครงการรถไฟฟ้าสีชมพูส่วนต่อขยายสายแยกอิมแพคลิงก์ ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จำนวนสองสถานี จากสถานีศรีรัช เข้าสู่ใจกลางเมืองทองธานี ที่ได้รับทุนในการพัฒนาจาก บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) และเป็นหนึ่งในข้อเสนอพิเศษแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย อันได้แก่
    • สถานีอิมแพค ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารอิมแพค ชาเลนเจอร์
    • สถานีทะเลสาบ ตั้งอยู่ริมทะเลสาบเมืองทองธานี
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ในนาม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริษัทแก่ตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนจำนวนสองบริษัท โดยทั้งสองบริษัทจะมีทุนจดทะเบียน 3,500,000,000 บาทต่อบริษัท แบ่งเป็น บีทีเอส กรุ๊ป ถือหุ้น 75% ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ถือหุ้น 15% และ ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ ถือหุ้น 10% จุดประสงค์คือเพื่อให้ทั้งสองบริษัทเข้าทำสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแยกกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารต้นทุนโครงการ แต่ทั้งสองโครงการจะใช้วิธีการว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เป็นผู้ติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและเดินรถไฟฟ้า และว่าจ้าง บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด ในการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสาร และระบบเชื่อมต่อบัตรแรบบิทให้กับโครงการต่อไป
  • 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นระยะเวลา 33 ปี 3 เดือน อย่างไรก็ตามมติดังกล่าวอนุมัติให้ก่อสร้างในส่วนที่ผ่านการเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้ว ส่วนเส้นทางเพิ่มเติมจากข้อเสนอเพิ่มเติมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คาดว่าใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้ถือสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และเป็นบริษัทผู้ทำสัญญาการจัดหาระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลในการซื้อขบวนรถไฟฟ้าบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จากกลุ่มบอมบาร์ดิเอร์ จำนวน 144 ตู้ (ประกอบ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน ทั้งหมด 36 ขบวน) พร้อมระบบการเดินรถเพื่อใช้ในโครงการ รวมทั้งว่าจ้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงของโครงการ กับบริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซิสเท็ม จำกัด ในการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสาร เบื้องต้น นายคีรี กาญจนพาสน์ ระบุว่าการก่อสร้างน่าจะเสร็จเร็วกว่ากำหนดเพียง 2 ปีนับจากวันที่เริ่มเข้าพื้นที่ เนื่องจากต้องการลดผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างโครงการ[5]
  • ล่าสุด โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูอยู่ระหว่างดำเนินงานเข็มทดสอบบนถนนติวานนท์และถนนรามอินทรา งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค(ประปาบริเวณถนนรามอินทราและสายสื่อสารบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา) รวมถึงงานรื้อย้ายต้นไม้ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการได้จัดการประชุมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการออกแบบเบื้องต้น โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช ถึงเมืองทองธานี ในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561 ณ หอประชุมใหญ่ 104 อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งผลการศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นการยื่นขอผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะส่งมอบงานให้ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ดำเนินงานต่อได้ทันที โดยผลการศึกษาในเบื้องต้นระบุว่าสถานีส่วนต่อขยายช่วงนี้จะประกอบไปด้วยสองสถานี ซึ่งสอดคล้องกับสถานีที่กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เคยเปิดเผยรายละเอียดมาก่อนหน้า ได้แก่ สถานีอิมแพคชาเลนเจอร์ (MT01) ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ บริเวณเกาะกลางทางพิเศษศรีรัช และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) ตั้งอยู่ด้านหน้าทะเลสาบเมืองทองธานี ในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าสู่ชุมชนเมืองทองธานี อันเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ ศูนย์การประชุมระดับนานาชาติ สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา สนามกีฬา เป็นต้น[6]
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม มีบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการเข้าใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลือง อันได้แก่ ถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณแยกหลักสี่ และถนนรามอินทรา สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และถนนศรีนครินทร์ สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าอันจะเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ และในวันเดียวกัน รฟม. ได้มีหนังสือแจ้งเริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด) โดยแจ้งล่วงหน้า 15 วัน กล่าวคือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาก่อสร้าง จะสามารถเข้าพื้นที่ได้ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีกรอบระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน ทั้งนี้ รฟม. ยอมรับว่าติดขัดเรื่องข้อกำหนดการเข้าพื้นที่ ทำให้สามารถเข้าพื้นที่ได้ช้า และทำให้โครงการล่าช้ากว่าแผนถึงสามเดือน[7]
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการจะจัด การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (สถานีศรีรัช – เมืองทองธานี) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 8.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม แกรนด์ บอลรูม เอ ชั้น 5 โรงแรม เบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนด้า แกรนด์ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการจัดทำรายงานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าส้วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายเหลืองและสายสีชมพูที่กลุ่มผู้ชนะการประมูลคือกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ได้เสนอเข้ามานั้น สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อกล่าวหาเรื่องการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่เอกชน เนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู เป็นสองโครงการนำร่องที่มีการเปลี่ยนกติกาการประมูล โดยสามารถให้เอกชนสามารถเสนอรายละเอียดการพัฒนาโครงการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการสายหลักได้ และการเสนอส่วนต่อขยายของกลุ่มบีเอสอาร์ ถือว่าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้[8] โดยในส่วนของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู รฟม. จะทำการเสนอผลการศึกษาและผลการประชาพิจารณ์ภายในเดือนสิงหาคม[9]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561 กระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้จัดงาน MONORAIL ON THE MOVE เดินหน้าโมโนเรล สองสายแรกของประเทศไทย เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูอย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี การก่อสร้างโครงการจะใช้เวลา 39 เดือน (3 ปี 3 เดือน) โดย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 โครงการมีความคืบหน้า 3.10% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564[10]
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟม.ได้มีมติเห็นชอบแผนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู เข้าไปยังเมืองทองธานี ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการได้เลยไม่ติดปัญหาด้านข้อกฎหมายและการเอื้อผลประโยชน์เอกชน[11]
  • 18 กันยายน พ.ศ. 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานีว่า รฟม. ได้ส่งรายละเอียดและผลการศึกษาถึงความเหมาะสมในการดำเนินโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติเพื่อส่งต่อให้คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาอนุมัติและเพิ่มรายละเอียดเส้นทางลงในแผนแม่บทเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะรับทราบผลภายในเดือนกันยายน หาก คจร. พิจารณาเห็นชอบ รฟม. ก็จะจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการรวมถึงเจรจาถึงรูปแบบและความเหมาะสม รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มบีทีเอส ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานโครงการทันที[12]
  • 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะเลขานุการการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เปิดเผยหลังการประชุม คจร. ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ที่ประชุม คจร. มีมติเห็นชอบให้บรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร ลงในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล โดยมีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสองโครงการประมาณ 7,518 ล้านบาท หลังจากนี้ คจร. จะส่งผลการประชุมแจ้งให้ รฟม. รับทราบ เพื่อให้ดำเนินการเจรจาถึงรูปแบบและความเหมาะสม รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นกับกลุ่มบีทีเอสทันที[13]
  • 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. ได้มีมติเห็นชอบให้ รฟม. ดำเนินการเจรจาถึงแผนการลงทุนส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 3,700 ล้านบาท และส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,300 ล้านบาท กับผู้ถือสัญญาสัมปทานคือกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งมีบีทีเอสเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ทั้งนี้ รฟม. จะให้กลุ่มบีเอสอาร์ เป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายนี้เองทั้งหมด ตามรายละเอียดที่ปรากฏในข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินการของโครงการสายหลัก เมื่อได้ข้อสรุป รฟม. จะต้องนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการ รฟม. อีกครั้ง และดำเนินการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการแก้ไขรายละเอียดในสัญญาสัมปทาน รวมถึงออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเวนคืนที่ดินเพื่อดำเนินโครงการเพิ่มเติม และดำเนินการขอใช้พื้นที่กับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานครต่อไป ในส่วนของพื้นที่ของ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ทางกลุ่มบีทีเอสได้มีการพูดคุยรายละเอียดและขอใช้พื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะยื่นรายละเอียดให้ รฟม. ดำเนินการพิจารณาออกกฎหมายเวนคืนที่ดินต่อไป ทั้งนี้ รฟม. คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน พ.ศ. 2562 และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้พร้อมกันกับเส้นทางหลักใน พ.ศ. 2564[14]
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. มีมติเห็นชอบผลการเจรจาส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 3,779 ล้านบาท และส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,379 ระหว่าง รฟม. กับกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งมีบีทีเอสเป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยบีทีเอสเสนอส่วนแบ่งแบบเดียวกับสัญญาสัมปทานหลักเนื่องจากมีความกังวลเรื่องหลักประกันผู้โดยสารและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน[15]
  • 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ รฟม. มีมติอนุมัติสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 3,379 ล้านบาท อันเป็นข้อเสนอของ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ที่จะเป็นผู้ลงทุนโครงการด้วยตัวเองทั้งหมด คาดว่าจะนำเสนอร่างสัญญาให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการได้ในเดือนมิถุนายน และสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฉบับใหม่ได้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2563 เพื่อที่จะได้เริ่มงานก่อสร้างต่อทันที การก่อสร้างจะใช้เวลาสองปี และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. 2566[16]

ส่วนต่อขยาย

รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีแผนต่อขยายสายทางจากสถานีศรีรัช เป็นสายแยกเข้าสู่เมืองทองธานีในชื่อ "อิมแพ็คลิงก์" ซึ่งเป็นข้อเสนอพิเศษจากกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยเส้นทางจะเริ่มจากสถานีศรีรัช วิ่งเข้าสู่ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 (ซอยเข้าศูนย์ประชุมอิมแพ็ค) ใต้ทางพิเศษอุดรรัถยา ไปจนสุดพื้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระยะทาง 3.7 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 2 สถานี คือสถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี

นอกจากนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังได้ทำการศึกษาเส้นทางเดินรถเพิ่มเติมอีก 2 ส่วนเพื่อเสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. บรรจุลงในแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยเส้นทางส่วนต่อขยายที่ได้ศึกษาส่วนแรกจะต่อขยายจากปลายสายทางบริเวณสถานีมีนบุรีไปตามแนวถนนร่มเกล้า ตัดผ่านถนนเจ้าคุณทหาร ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ - ชลบุรี) ถนนลาดกระบัง และไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 8.7 กิโลเมตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อให้ผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเดินทางเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครตอนเหนือได้อย่างรวดเร็ว และส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนต่อขยายของสายแยกอิมแพ็คลิงก์ จากปลายทางบริเวณสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี ไปตามแนวซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 และไปสิ้นสุดที่ถนนติวานนท์ ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าสู่ถนนติวานนท์ ตลอดจนภายในบริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนที่ประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น

อ้างอิง

  1. https://www.facebook.com/photo/?fbid=2912696062170531&set=a.1366959683410851
  2. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1337424620&grpid=03&catid=&subcatid=
  3. http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000118104
  4. http://www.dailynews.co.th/politics/158930
  5. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1497601230
  6. รับฟังความเห็นขยายสีชมพู จากไปแจ้งวัฒนะเข้าอิมแพคเมืองทอง-28 เม.ย
  7. ได้ฤกษ์ตอกเข็มโมโนเรล”ชมพู-เหลือง” รฟม.เคลียร์ทล.-กทม.ส่งพท.100%
  8. รฟม.ดันรถไฟฟ้าพีพีพี 3 สายเข้าครม.ในปีนี้
  9. บอร์ดรฟม. ไฟเขียวผุดส่วนต่อขยายโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงแยกรัชดา-รัชโยธิน อีก 2.6 ก.ม.
  10. นายกฯ กดปุ่มสร้างรถไฟฟ้ารางเบาสองสายรวด ย้ำทุกอย่างต้องเสียสละ สุจริตโปร่งใส
  11. บอร์ด รฟม.ไฟเขียวเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีชมพูต่อขยายเข้าเมืองทองธานี
  12. ลุ้นคจร.เคาะต่อขยายสีเหลืองเชื่อมรัชโยธิน และระบบขนส่งขอนแก่น,พิษณุโลก
  13. ไฟเขียว 'บีทีเอส' ลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองส่วนต่อขยาย
  14. ต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลือง เปิดปี64
  15. ปิดดีลต่อขยาย”ชมพู-เหลือง” สั่ง BTS ถก BEM เคลียร์ปมแย่งผู้โดยสาร
  16. บอร์ด รฟม.ไฟเขียว 'บีเอสอาร์' ลุยส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม