ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีนามเดิมว่า'''อ๊อด''' เป็นบุตรพระมหาสงคราม (ศุข) กับท่านเป้า ธิดาพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) เกิดเมื่อวันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2398 ปีเถาะ<ref name="หน้า200">''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'', หน้า 200</ref>
เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีนามเดิมว่า'''อ๊อด''' เป็นบุตรพระมหาสงคราม (ศุข) กับท่านเป้า ธิดาพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) เกิดเมื่อวันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2398 ปีเถาะ<ref name="หน้า200">''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'', หน้า 200</ref>


ปี พ.ศ. 2411 ได้เข้ารับราชการในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เวรฤทธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น''หลวงศิลปสารสราวุธ'' ถือศักดินา ๘๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/032/284_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งตำแหน่ง (หน้า ๒๘๕ ลำดับที่ ๒๙๔)] </ref>ถึงปี พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น''จมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ'' ถือศักดินา ๑๐๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/021/164.PDF สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก]</ref>ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี" ถือศักดินา ๑๕๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/009/66_2.PDF ข่าวพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ] </ref>และในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนเป็น''พระราชวัลภานุสิษฐ์'' มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/291_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง], เล่ม ๙, ตอน ๓๕, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๕, หน้า ๒๙๑</ref>
ปี พ.ศ. 2411 ได้เข้ารับราชการในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เวรฤทธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น''หลวงศิลปสารสราวุธ'' ถือศักดินา ๘๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/032/284_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งตำแหน่ง (หน้า ๒๘๕ ลำดับที่ ๒๙๔)] </ref>ถึงปี พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น''จมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ'' ถือศักดินา ๑๐๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/021/164.PDF สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก]</ref>ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี" ถือศักดินา ๑๕๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/009/66_2.PDF ข่าวพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ] </ref>และในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนเป็น''พระราชวัลภานุสิษฐ์'' มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/291_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง], เล่ม ๙, ตอน ๓๕, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๕, หน้า ๒๙๑</ref> โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์ประจำการในตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารมหาดเล็ก<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/295_1.PDF ประกาศกรมยุทธนาธิการ ศาลายุทธนาธิการ] </ref>


วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีพร้อมทั้งเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็น''นายพันโท พระยาราชวัลภานุสิษฐ์'' มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,500<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/045/382_1.PDF ทรงตั้งองคมนตรีและพระราชทานสัญญาบัตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๒-๓</ref> ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ประจำรักษาพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/045/383.PDF กราบถวายบังคมลา], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๓</ref> อยู่ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ต่อเนื่องมาจนทรงสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ พระนคร ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับจนถึง''นายพลตรี'' และพ้นจากหน้าที่ราชองครักษ์ประจำการเพราะครบกำหนดในปี พ.ศ. 2446<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/049/835.PDF แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้พระยารามกำแหง เป็นผู้บัญชาการทหารบก มณฑลกรุงเทพ ฯ ให้พระพิเรนทรเทพ เป็นราชองครักษ์ประจำการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเปลี่ยนพระยาราชวัลภานุสิษฐ์], เล่ม ๒๐, ตอน ๔๙, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๘๓๕-๖</ref>
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีพร้อมทั้งเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็น''นายพันโท พระยาราชวัลภานุสิษฐ์'' มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,500<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/045/382_1.PDF ทรงตั้งองคมนตรีและพระราชทานสัญญาบัตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๒-๓</ref> ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ประจำรักษาพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/045/383.PDF กราบถวายบังคมลา], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๓</ref> อยู่ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ต่อเนื่องมาจนทรงสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ พระนคร ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับจนถึง''นายพลตรี'' และพ้นจากหน้าที่ราชองครักษ์ประจำการเพราะครบกำหนดในปี พ.ศ. 2446<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/049/835.PDF แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้พระยารามกำแหง เป็นผู้บัญชาการทหารบก มณฑลกรุงเทพ ฯ ให้พระพิเรนทรเทพ เป็นราชองครักษ์ประจำการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเปลี่ยนพระยาราชวัลภานุสิษฐ์], เล่ม ๒๐, ตอน ๔๙, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๘๓๕-๖</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:38, 12 มิถุนายน 2563

พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น องคมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ สมุหพระตำรวจ ต้นสกุลศุภมิตร[1]

ประวัติ

เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีนามเดิมว่าอ๊อด เป็นบุตรพระมหาสงคราม (ศุข) กับท่านเป้า ธิดาพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง บุรานนท์) เกิดเมื่อวันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2398 ปีเถาะ[2]

ปี พ.ศ. 2411 ได้เข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เวรฤทธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศิลปสารสราวุธ ถือศักดินา ๘๐๐[3]ถึงปี พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็นจมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ ถือศักดินา ๑๐๐๐[4]ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี" ถือศักดินา ๑๕๐๐[5]และในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนเป็นพระราชวัลภานุสิษฐ์ มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,000[6] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์ประจำการในตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารมหาดเล็ก[7]

วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีพร้อมทั้งเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นนายพันโท พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,500[8] ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ประจำรักษาพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร[9] อยู่ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ต่อเนื่องมาจนทรงสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ พระนคร ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับจนถึงนายพลตรี และพ้นจากหน้าที่ราชองครักษ์ประจำการเพราะครบกำหนดในปี พ.ศ. 2446[10]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นราชองครักษ์ประจำการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2453[11] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมุหพระตำรวจตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 แทนพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) ที่ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ[12] วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ได้เลื่อนยศเป็นพระตำรวจเอก[13] และในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาราชศุภมิตร์ วัลลภานุศิษฏ์สุรเสนี เทพวัชรีศรีมหาสวามิภักดิ์พิเศษ วิเทศจิรวาสีอัคระวราภิบาล สุจริตไพศาลสุนทรพจน์ อดุลยยศราชองครักษ์ อัคระรัตนไตรยสรณธาดา เมตตาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10,000[14]

ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาราชศุภมิตรได้ขอลาออกจากราชการ แต่ทรงตั้งท่านเป็นผู้กำกับการกรมพระตำรวจหลวงและพระราชทานเบี้ยบำนาญเป็นกรณีพิเศษ[15]

เจ้าพระยาราชศุภมิตร ป่วยด้วยโรคชรา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2472 ปีมะเส็ง สิริอายุ 74 ปี ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเบญจา 4 คัน ประกอบศพเป็นเกียรติยศ[16] ได้รับพระราชทานเพลิงศพในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2473 ณ เมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ครอบครัว

เจ้าพระยาราชศุภมิตร สมรสกับท่านผู้หญิงแปลก ในปี พ.ศ. 2438 มีบุตรได้แก่ นางวิมลา บุรานนท์ ซึ่งสมรสกับนายประจวบ บุรานนท์ มีบุตรสามคน คือ

  1. พล.ต.ต.อังกูร บุรานนท์
  2. นายประวิตร บุรานนท์ และ
  3. นายทนง บุรานนท์

เจ้าพระยาราชศุภมิตร มีภรรยาอีกหนึ่งคนคือหม่อมกอง และมีบุตรชายคือมหาเสวกเอก พระยาสมบัติบริหาร (เอื้อ ศุภมิตร)[15] ซึ่งส่งไปศึกษาเรื่องป่าไม้ที่ประเทศอินเดีย และรับราชการในกรมป่าไม้ ต่อมาได้เป็นพระยาพระคลังข้างที่ สมรสกับคุณหญิงฟองแก้ว บุตรีหลวงโยธการพิจิตร (หม่องปันโหย่ว) เจ้าของสัมปทานป่าไม้ของเชียงใหม่และกาดต้นลำไย เรือนโบราณในโรงแรมเพชรงาม จ.เชียงใหม่ ร้านอาหารเฮือนโบราณ มีบุตรคือ

  1. นางสุมิตรา และ
  2. ร.ต. อานนท์ ศุภมิตร สมรสกับท่านผู้หญิงพึงจิตต์ คุณข้าหลวงผู้ใหญ่ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ (บุตรีหลวงพลหาญสงคราม (จิตร อัคนิทัต) กับนางไสว อัคนิทัต) มีบุตรี 1 คน คือ ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2557 ดร.จินตนันท์ มีบุตรี 1 คนคือ ด.ญ.โสภิภาส์ ศุภมิตร ไล

ร.ต อานนท์ ศุภมิตร มีบุตรจากการสมรสครั้งก่อนๆ คือ 1 นางอรอนงค์ -เรือเอกวินัย มงกุฎทอง 2 นางอังศณา -มร. คาส อดัม 3 นายอดิศร ศุภมิตร 4 นายศศิพงษ์ -นางประภา ศุภมิตร 5. นางอุมาภรณ์ เลสลี 6. นายศิริชัย-นางพนิดา ศุภมิตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๖๕๐
  2. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 200
  3. พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งตำแหน่ง (หน้า ๒๘๕ ลำดับที่ ๒๙๔)
  4. สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
  5. ข่าวพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๙, ตอน ๓๕, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๕, หน้า ๒๙๑
  7. ประกาศกรมยุทธนาธิการ ศาลายุทธนาธิการ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ทรงตั้งองคมนตรีและพระราชทานสัญญาบัตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๒-๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, กราบถวายบังคมลา, เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้พระยารามกำแหง เป็นผู้บัญชาการทหารบก มณฑลกรุงเทพ ฯ ให้พระพิเรนทรเทพ เป็นราชองครักษ์ประจำการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเปลี่ยนพระยาราชวัลภานุสิษฐ์, เล่ม ๒๐, ตอน ๔๙, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๘๓๕-๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้นายพันโท พระยาอภัยพลภักดิ์ ออกจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ และรับพระราชทานเบี้ยบำนาญตามพระราชบัญญัติให้นายพลตรี พระยาราชวัลภานุศิษฎ์เป็นราชองครักษ์ประจำการ, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๐๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระยาอนุชิตชาญไชย ลาออกจากตำแหน่ง สมุหพระตำรวจ และตั้งพระยาราชวัลภานุศิษฎ์ เป็นสมุหพระตำรวจแทน, เล่ม ๒๙, ตอน ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๙๔-๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนยศข้าราชการกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์, เล่ม ๓๕, ตอน ง, ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๒๗๐๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๓๗, ตอน ๐ ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๒๙๗-๓๐๐
  15. 15.0 15.1 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 203
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวถึงอสัญญกรรม, เล่ม ๔๖, ตอน ง, ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๔๙-๒๕๑
บรรณานุกรม
  • สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 200-3. ISBN 974-417-534-6