ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำรา[[พรหมชาติ]] ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม<ref>คัมภีร์ อสีติธาตุ คำอธิบายท้ายตำราภาคที่สี่ โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ ของ หลวงวิศาลดรุณกร (อ้น สาริกบุตร)</ref> ตำราพุทธลักษณะที่[[ฤษี]]แต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือ[[โหราศาสตร์]]จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน
ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำรา[[พรหมชาติ]] ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม<ref>คัมภีร์ อสีติธาตุ คำอธิบายท้ายตำราภาคที่สี่ โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ ของ หลวงวิศาลดรุณกร (อ้น สาริกบุตร)</ref> ตำราพุทธลักษณะที่[[ฤษี]]แต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือ[[โหราศาสตร์]]จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน


ในคติของ[[ชาวไทย]]ที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" แต่ในความเป็นจริงคือ ความเชื่อที่ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนาพุทธ เพราะมนุษย์กำหนดชีวิตด้วยการกระทำ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"<ref name="กเนศ">[http://www.sil5.net/index.asp?catid=2&contentID=10000004&getarticle=72&title=%BE%C3%D0%BE%C3%CB%C1 พระพรหม]</ref> และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.baanjomyut.com/library_2/tradition_and_phanom_rung/03.html|title=
ในคติของ[[ชาวไทย]]ที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" แต่ในความเป็นจริงคือ ความเชื่อที่ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนาพุทธรวมถึงกรรม เพราะมนุษย์กำหนดชีวิตด้วยการกระทำ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"<ref name="กเนศ">[http://www.sil5.net/index.asp?catid=2&contentID=10000004&getarticle=72&title=%BE%C3%D0%BE%C3%CB%C1 พระพรหม]</ref> และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.baanjomyut.com/library_2/tradition_and_phanom_rung/03.html|title=
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง|date=|accessdate=10 June 2014|publisher=บ้านจอมยุทธ์}}</ref>
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง|date=|accessdate=10 June 2014|publisher=บ้านจอมยุทธ์}}</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:00, 8 มิถุนายน 2563

พระพรหม
การสร้างสรรค์, สติปัญญา และ พระเวท
ส่วนหนึ่งของ ตรีมูรติ
เทวรูปพระพรหมที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งถอดแบบมาจากเทวรูปของศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ
ชื่ออื่นเวทนาถ, คยเนศวร, จตุรมุข, สวายัมพู
ชื่อในอักษรเทวนาครีब्रह्म
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตBrahma
ส่วนเกี่ยวข้องปรพรหมัน, ตรีมูรติ, เทวะ,
ที่ประทับพรหมโลก
มนตร์।। ॐ वेदात्मनाय विद्महे हिरण्यगर्भाय धीमही तन्नो ब्रह्मा प्रचोदयात् ।। (โอม เวทาตมนายะ วิทมะหิ หิรัญญะครรภายะ ธีมาหิ ตันโน พรหมา ปรโกทยาตะ), โอม พรหมยะ นะมะ
อาวุธBrahmastra, Brahmashirsha astra, Brahmanda astra
สัญลักษณ์พระเวท
พาหนะหงส์ นามว่า หงสกุมาร/หงสราช
เทศกาลKartik Purnima, Srivari Brahmotsavam
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระสุรัสวดี (พระอัครมเหสี) และ คยาตรี (ตาม สกันทปุราณะ)
บุตร - ธิดาพระมนู, จตุรกุมาร, Narada, Daksha, Marichi ฯลฯ
พี่น้องพระลักษมี (ตาม สกันทปุราณะ)

พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा พฺรหฺมา; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท[1]


พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์หรือห่าน พระชายาคือพระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้

ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ [2]

และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากท้อง และศูทรเกิดจากเท้า[3]

ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม[4] ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิตชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" แต่ในความเป็นจริงคือ ความเชื่อที่ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนาพุทธรวมถึงกรรม เพราะมนุษย์กำหนดชีวิตด้วยการกระทำ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร"[1] และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย[5]

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น[6] ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"[7]

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น[6]

ในพระพุทธศาสนา

พรหมในคติพุทธศาสนา: พรหมชั้น "รูปพรหม" ในไตรภูมิพระร่วง ฉบับกรุงธนบุรี

พระพรหม เป็นเทวดาชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วไปในฉกามาพจร แต่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ)

พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม

พระพรหมไม่มีเพศ ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตวโลกในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่าย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 พระพรหม
  2. "พระพรหม". ไทยรัฐ. 30 March 2014. สืบค้นเมื่อ 30 March 2014.
  3. ประวัติพระพรหม
  4. คัมภีร์ อสีติธาตุ คำอธิบายท้ายตำราภาคที่สี่ โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ ของ หลวงวิศาลดรุณกร (อ้น สาริกบุตร)
  5. "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง". บ้านจอมยุทธ์. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  6. 6.0 6.1 พรหม จากสนุกดอตคอม
  7. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 104
  • นิตย์ จารุศร (รวบรวม และ เรียบเรียง). สารธรรม. กรุงเทพฯ : เหรียญบุญ การพิมพ์, 2547.
  • พระพานิช ญาณชีโว. ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพฯ : ตรงหัว,, 2539.
  • เสฐียรโกเศศ. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพญาลิไทย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2545.
  • เสฐียรโกเศศ. เล่าเรื่องในไตรภูมิ. ธนบุรี : โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม, 2512.