ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าทิพเนตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
พีรวงค์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 113: บรรทัด 113:
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.4‎]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.4‎]]
[[หมวดหมู่:แม่เจ้า]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:30, 7 มิถุนายน 2563

เจ้าทิพเนตร อินทวโรรสสุริยวงศ์
ไฟล์:แม่เจ้าทิพเนตรราชเทวี.jpg
ภรรยาเจ้านครเชียงใหม่
ดำรงพระยศ28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 – 5 มกราคม พ.ศ. 2453
ก่อนหน้าเจ้าทิพเกสร
ถัดไปเจ้าจามรีวงศ์
ประสูติพ.ศ. 2402
ถึงแก่กรรม13 มีนาคม พ.ศ. 2461 (58 ปี)
พระสวามีเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
พระโอรสเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่)
ราชวงศ์ทิพย์จักร
เจ้าบิดาเจ้ามหาเทพ ณ เชียงใหม่
เจ้ามารดาเจ้าทิพโสม ณ เชียงใหม่
ศาสนาพุทธ

แม่เจ้าทิพเนตร์[1] หรือ เจ้าทิพเนตร อินทวโรรสสุริยวงศ์[2] (นามเดิม: เจ้าทิพเนตร; พ.ศ. 2402—2460) เป็นภรรยาของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 ทั้งยังเป็นธิดาของเจ้ามหาเทพ ณ เชียงใหม่ โอรสองค์ที่ 7 ของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5[3]

ประวัติ

เจ้าทิพเนตร เป็นพระธิดาลำดับที่สามของเจ้ามหาเทพ กับเจ้าทิพโสม ณ เชียงใหม่ เจ้าบิดาเป็นพระโอรสในพระเจ้ามโหตรประเทศ ส่วนเจ้ามารดาเป็นบุตรเจ้าราชบุตร (ธนัญไชย ณ เชียงใหม่) และเป็นหลานของพระยาพุทธวงศ์

จำเดิมเจ้ามหาเทพ ผู้บิดา ไม่ใคร่ลงรอยกับพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ จนถึงขั้นวิวาท เจ้ามหาเทพจึงถูกกักไปรับราชการที่กรุงเทพมหานครหลายปี เมื่อเจ้าทิพเนตรทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การสมรส พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระชามาดาของพระเจ้ากาวิโลรสทรงเห็นควรที่จะผูกไมตรีกับพระญาติวงศ์สายพระเจ้ามโหตรประเทศ จึงทรงจัดพิธีสู่ขอเจ้าทิพเนตรแก่เจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่ พระโอรสที่ประสูติแต่เจ้ารินคำ ทั้งสองมีพระโอรสเพียงองค์เดียวคือเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่)

ขณะที่ภัสดาเป็นเจ้าอุปราชอย่นั้น รัฐบาลสยามไม่พอใจการทำงานของเจ้าอุปราช (น้อยสุริยะ) เป็นอย่างมาก รัฐบาลสยามถึงกับต้องว่าจ้างชายาของเจ้าอุปราชคอยดูแลและกำกับตัวเจ้าอุปราช ดังโทรเลขของพระยาศรีสหเทพต่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2443 ใจความตอนหนึ่งว่า "...ได้จัดตั้งเบี้ยหวัดเจ้าทิพเนตร ปีละ ๕๐๐ รูเปีย เท่ากับแม่นางภัณฑารักษ์ ยกขึ้นให้เปนข้าราชการฝ่ายผู้หญิง เงินเบี้ยหวัดรายนี้ ได้บอกให้เจ้าทิพเนตรเข้าใจว่า ถ้าเจ้าอุปราชเมา หรือไม่รับราชการดี จะลดหย่อนเงินเดือนเสีย ถ้ายังไม่ฟัง ขืนเมาหรือขืนเชื่อคำคนสอพลอยุยง ให้เจ้าทิพเนตรฟ้องต่อข้าหลวงใหญ่ อนึ่งเงินค่าตอไม้ แม่ปิง แม่ฮ่องสอน ซึ่งเจ้าผู้ครองเมืองเก็บได้ จะยกเอาเปนของหลวง..."[4]

ครั้นเมื่อเจ้าสุริยะ ได้ตำแหน่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2444 เจ้าทิพเนตรจึงเป็นภรรยาเอกของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

เจ้าทิพเนตร ป่วยเป็นโรคชราถึงแก่กรรม ณ คุ้มเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2460 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2461) สิริอายุ 58 ปี[5]

พระกรณียกิจ

เจ้าทิพเนตร ในฐานะที่เป็นเจ้านายในนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเมือง และความเจริญทางเศรษฐกิจ จึงได้จัดตั้งตลาดสดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดทิพเนตร" ซึ่งเจ้านายฝ่ายเหนือหลายท่าน ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้าง

ในทางศาสนา เจ้าทิพเนตร มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา โดยได้บริจาคทรัพย์สร้างกุฏิที่วัดหอธรรม จำนวน 2 หลัง ในปี พ.ศ. 2453[1] เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศาสนา

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง แม่เจ้าทิพเนตรกับเจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ได้สร้างกุฎิขึ้นที่วัดหอธรรม ๒ หลัง
  2. พระโพธิรังสี. เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย : ทั้งภาษาบาฬีและคำแปล. กรุงเทพฯ:โสภณพิพรรฒนากร. 2463
  3. เจ้าหญิงทิพเนตร
  4. พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปีนามพระราชทาน. นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ การศึกษาและสสังคมเมืองนครเชียงใหม่. พ.ศ. 2548. หน้า 455.
  5. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (ง): 3742. 24 มีนาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน และฝ่ายน่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (34): 1157. 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1157. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. 2538. เพ็ชร์ล้านนา. เล่ม 2 เชียงใหม่