ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยปารีส"

พิกัด: 48°50′55″N 2°20′34″E / 48.84861°N 2.34278°E / 48.84861; 2.34278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8896285 สร้างโดย 2001:44C8:45C8:4666:1:0:DD9F:86C1 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
|city = [[ปารีส]]
|city = [[ปารีส]]
|country = [[ฝรั่งเศส]]
|country = [[ฝรั่งเศส]]
| coor = {{coord|48|50|55|N|2|20|34|E|region:FR-J_type:edu_source:kolossus-dewiki|display=inline,title}}
| coor = {{coord|48|50|55|N|2|20|34|E| region:FR-J_type:edu_source:kolossus-dewiki|display=inline,title}}
| nickname = เดอะ[[ซอร์บอนน์]]
| nickname = เดอะ[[ซอร์บอนน์]]
|campus = เมือง
|campus = เมือง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:26, 6 มิถุนายน 2563

มหาวิทยาลัยปารีส
Université de Paris
ละติน: Universitas magistrorum et scholarium Parisiensis
คติพจน์Hic et ubique terrarum (Latin)
คติพจน์อังกฤษ
Here and anywhere on Earth
(ที่นี่และทุกแห่งบนโลก)
ประเภทสมาคมอาชีพ ประมาณ ค.ศ. 1150–1793,
รัฐ ค.ศ. 1896–1970
ดำเนินงานประมาณ ค.ศ. ค.ศ. 1150 (1150)–1793,
1896–1970
ที่ตั้ง,
48°50′55″N 2°20′34″E / 48.84861°N 2.34278°E / 48.84861; 2.34278
วิทยาเขตเมือง
ฉายาเดอะซอร์บอนน์
มหาวิทยาลัยปารีสตั้งอยู่ในปารีส
มหาวิทยาลัยปารีส
The vicinity of the University in Paris

มหาวิทยาลัยปารีส (ฝรั่งเศส: Université de Paris) หรือนามนัยเป็นที่รู้จักกันว่า ซอร์บอนน์ (ภาษาฝรั่งเศส: [sɔʁbɔn], บ้านประวัติศาสตร์) เป็นมหาวิทยาลัยในปารีส ฝรั่งเศส ก่อตั้งประมาณ ค.ศ. 1150 จากสมาคมอาชีพที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนมหาวิหารของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส มหาวิทยาลัยปารีสถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองของยุโรป[1] ได้ตรากฎบัตรอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1200 โดยพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส และได้รับการยอมรับใน ค.ศ. 1215 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 มหาวิทยาลัยปารีสมีชื่อเล่นที่เรียกกันทั่วไปภายหลังการก่อตั้งสถาบันทางเทววิทยาคือวิทยาลัยซอร์บอนน์ซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1257 โดยรอแบร์ เดอ ซอร์บงและอนุญาตโดยนักบุญหลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยปารีสมีชื่อเสียงอย่างมากในระดับนานาชาติเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์นับตั้งแต่ยุคกลางโดยเฉพาะสาขาเทววิทยาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมีมาตรฐานทางวิชาการที่หลากหลาย ประเพณีที่เคร่งครัดมาอย่างยาวนาน และแพร่หลายในระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น ริเริ่มการสอนระดับดุษฎีบัณฑิต การแบ่งนักศึกษาตามชาติ มีพระสันตะปาปา นักวิทยาศาสตร์ ปัญญาชน และชนชั้นเจ้าจำนวนมากศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส

หลังจากความวุ่นวายของการปฏิวัติฝรั่งเศส การศึกษาถูกระงับใน ค.ศ. 1793 หลังจากนั้นคณะต่าง ๆ ได้รับการปรับโครงสร้างบางส่วนโดยนโปเลียนและเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1896 มหาวิทยาลัยถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นมหาวิทยาลัยปารีส

ใน ค.ศ. 1970 หลังจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1986 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 13 มหาวิทยาลัยอิสระ มหาวิทยาลัยใหม่บางแห่งได้ควบรวมคณะเก่าแก่ต่าง ๆ รวมถึงอาจารย์ส่วนใหญ่ของแต่ละคณะ โดยสาขามนุษยศาสตร์จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยปารีส-ซอร์บอนน์ และซอร์บอนน์นูแวลล์ สาขากฎหมายจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยปงเตอง-อัสแซส สาขาแพทยศาสตร์จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยปารีสเดการ์ต และสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยปีแยร์และมารี กูว์รีและมหาวิทยาลัยปารีสดีเดอโร มหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัยปงเตอง-ซอร์บอนน์เลือกที่จะเป็นพหุวิทยาการ

ในทศวรรษที่ 2010 มหาวิทยาลัยปารีสทั้งสิบสามได้จัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรที่แตกต่างกันเจ็ดกลุ่มเพื่อรักษาระดับมาตรฐานต่าง ๆ ที่สืบทอดมาจากมหาวิทยาลัยปารีส เช่น มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (กลุ่มพันธมิตร)

อ้างอิง

  1. Haskins, C. H.: The Rise of Universities, page 292. Henry Holt and Company, 1923.