ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศมาซิโดเนียเหนือ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 93: บรรทัด 93:
== ภูมิศาสตร์ ==
== ภูมิศาสตร์ ==
ในทิศตะวันตกจะเป็นพื้นที่ที่มีภูเขา ส่วนในทิศตะวันออกจะเป็นพื้นที่ราบ
ในทิศตะวันตกจะเป็นพื้นที่ที่มีภูเขา ส่วนในทิศตะวันออกจะเป็นพื้นที่ราบ
=== ภูมิอากาศ ===
นอร์ทมาซิโดเนียมีสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนผ่านจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่ทวีป ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งและฤดูหนาวก็ค่อนข้างหนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,700 มม. (66.9 นิ้ว) ในพื้นที่ภูเขาทางตะวันตกถึง 500 มม. (19.7 นิ้ว) ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีสามเขตภูมิอากาศที่สำคัญในประเทศ
=== อุทยานแห่งชาติ ===
=== อุทยานแห่งชาติ ===
นอร์ทมาซิโดเนียประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติสามแห่ง คือ:
นอร์ทมาซิโดเนียประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติสามแห่ง คือ:
บรรทัด 135: บรรทัด 137:


กองทัพแห่งสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย เป็นชื่อของกองกำลังติดอาวุธของสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย ความรับผิดชอบในการปกป้องอธิปไตยและความสมบูรณ์ของดินแดนนอร์ทมาซิโดเนียจากต่างชาติที่เป็นศัตรูกองทัพ[[มาซิโดเนีย]]เป็นหน่วยป้องกันที่ประกอบด้วยกองทัพ MIB (Армија) และกองทัพอากาศ (ВоеноВоздухопловство) ตั้งแต่ปี[[พ.ศ. 2548]] กองทัพประกอบด้วยมืออาชีพและทหารอาสาสมัครซึ่งได้รับการแปรเปลี่ยนเป็นกองทัพระดับมืออาชีพที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน
กองทัพแห่งสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย เป็นชื่อของกองกำลังติดอาวุธของสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย ความรับผิดชอบในการปกป้องอธิปไตยและความสมบูรณ์ของดินแดนนอร์ทมาซิโดเนียจากต่างชาติที่เป็นศัตรูกองทัพ[[มาซิโดเนีย]]เป็นหน่วยป้องกันที่ประกอบด้วยกองทัพ MIB (Армија) และกองทัพอากาศ (ВоеноВоздухопловство) ตั้งแต่ปี[[พ.ศ. 2548]] กองทัพประกอบด้วยมืออาชีพและทหารอาสาสมัครซึ่งได้รับการแปรเปลี่ยนเป็นกองทัพระดับมืออาชีพที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน

== เศรษฐกิจ ==
{{โครงส่วน}}
=== การท่องเที่ยว ===
การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเศรษฐกิจของสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมายของประเทศทำให้เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของผู้เข้าชม มีนักท่องเที่ยวประมาณ 700,000 คนต่อปี <ref>{{cite web|url=http://faq.macedonia.org/information/101.html |title=101 facts about Macedonia |publisher=Faq.macedonia.org |accessdate=28 April 2010 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20100606092353/http://faq.macedonia.org/information/101.html |archivedate=6 June 2010 |df= }}</ref>
{{Multiple image
| align = center
| direction = horizontal
| total_width = 500
| footer = บาโทลา, คลาโทโว, มาร็อกโว
| image1 = Bitola_2007.JPG
| width1 = 250
| image2 = Kratovo-panorama.jpg
| width2 = 219
| image3 = 20090714_Mavrovo_panoramic_summer.jpg
| width3 = 250
| image4 =
| width4 = 250
| image5 =
| width5 = 248
}}

== ประชากร ==
{{bar box
| width = 200px
| float = right
| title = การสำรวจมโนประชากรปี พ.ศ. 2545
| titlebar = #ddd
| bars =
{{bar percent|'''มาซิโดเนีย'''|red|64.18}}
{{bar percent|แอลเบเนีย|black|25.17}}
{{bar percent|เติร์ก|violet|3.85}}
{{bar percent|โรมานี|blue|2.66}}
{{bar percent|เซิร์บ|green|1.78}}
{{bar percent|บอสนีแอก|yellow|0.84}}
{{bar percent|Vlach|brown|0.48}}
{{bar percent|อื่นๆ|purple|1.04}}
| caption = <small>ข้อมูลจการสำรวจมโนประชากรปี พ.ศ. 2545:<ref name="stat.gov.mk">{{cite web |title=Census of Population, Households and Dwellings in the Republic of Macedonia, 2002&nbsp;– Book XIII, Skopje, 2005. |publisher=State Statistical Office of the Republic of Macedonia |url=http://www.stat.gov.mk/pdf/kniga_13.pdf |accessdate=10 February 2016}}</ref></small>
}}

ข้อมูลสำมะโนประชากรล่าสุดจากปี 2545 มีจำนวนประชากร 2,022,547 คน ประมาณการล่าสุดอย่างเป็นทางการจาก 2009 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญให้ตัวเลข คือ 2,050,671 ตามข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรครั้งสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศที่มีเชื้อชาติมาซีโดเนีย กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองคือชาวอัลเบเนียที่ปกครองส่วนมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศและถูกเลือกปฏิบัติ

=== ศาสนา ===
{{Pie chart
| thumb = left
| caption = ศาสนาในนอร์ทมาซิโดเนีย (2002)<ref name=religion>{{cite web|title=FIELD LISTING :: RELIGIONS|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2122.html|publisher=CIA}}</ref>
| label1 = [[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]]
| value1 = 64.8
| color1 = DarkOrchid
| label2 = [[อิสลาม]]
| value2 = 33.3
| color2 = MediumSeaGreen
| label3 = [[คริสต์ศาสนิกชน]]
| value3 = 0.4
| color3 = Orchid
| label4 = อื่นๆ/ไม่มี
| value4 = 1.5
| color4 = YellowGreen
}}
[[อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์]] เป็นนิกายของ[[ศาสนาคริสต์]]ทีมีผู้นับถือในนอร์ทมาซิโดเนียเป็นอับดับหนึ่ง (64.8) รองมาคือ[[ศาสนาอิสลาม]] (33.3)
{{Multiple image
| align = center
| direction = horizontal
| total_width = 500
| footer = โบสถ์เซนต์จอร์จ (ซ้าย) และมัสยิด ŠarenaDžamija (ขว)
| image1 = Манастир Св Ђорђа.JPG
| width1 = 219
| image2 = Kalkandelen - Alaca Cami R01.JPG
| width2 = 219
| image3 =
| width3 = 250
| image4 =
| width4 = 250
| image5 =
| width5 = 248
}}

=== ภาษา ===
{{bar box
| width = 200px
| float = right
| title = ภาษาในนอร์ทมาซิโดเนีย<br><small>ปี[[ค.ศ. 2002]]</small>
| titlebar = #ddd
| bars =
{{bar percent|'''[[ภาษามาซิโดเนีย]]'''|#865087|66.49}}
{{bar percent|[[ภาษาแอลเบเนีย]]|#862402|25.1}}
{{bar percent|[[ภาษาตุรกี]]|#C1C409|3.54}}
{{bar percent|[[ภาษาโรมานี]]|#BD0053|1.90}}
{{bar percent|[[ภาษาเซอร์เบีย]]|#0E83FF|1.22}}
{{bar percent|[[ภาษาบอสเนีย]]|#0E7000|0.42}}
{{bar percent|Vlach|#2520FF|0.34}}
{{bar percent|อื่น ๆ|gray|0.95}}
}}
ภาษาราชการและภาษาพูดกันอย่างแพร่หลายคือ[[ภาษามาซิโดเนีย]]ซึ่งอยู่ในสาขาตะวันออกของกลุ่มภาษาสลาฟใต้ รองลงมาจาก[[ภาษามาซิโดเนีย]]คือ [[ภาษาเซอร์เบีย]] ส่วนใหญ่พูดในทางตอนใต้ของเซอร์เบียและตะวันตกของ[[บัลแกเรีย]] (และโดยพูดในภาคเหนือและตะวันออกของนอร์ทมาซิโดเนีย)

[[ภาษามาซิโดเนีย]]ได้รับการจัดประมวลในช่วงหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]และได้สั่งสมประเพณีลายลักษณ์ที่เจริญรุ่งเรือง

=== เมืองในประเทศ ===
{{Largest cities
| name = เมืองใหญ่ที่สุดในประเทศนอร์ทมาซิโดเนีย
| country = ประเทศนอร์ทมาซิโดเนีย
| stat_ref = [http://www.stat.gov.mk/Publikacii/knigaX.pdf สำมะโน ค.ศ. 2002]
| list_by_pop = <!-- link to the list of cities in the given country, if possible sorted by population -->
| class = nav
| div_name = ภูมิภาค
| div_link =

| city_1 = สโกเปีย | div_1 = ภูมิภาคทางสถิติสโกเปีย{{!}}สโกเปีย | pop_1 = 506,926 |img_1 = Ploštadot vo Skopje, Macedonia.jpg
| city_2 = บิตอลา | div_2 = ภูมิภาคทางสถิติเปลาโกนีอา{{!}}เปลาโกนีอา | pop_2 = 74,550 |img_2 = Bitola 2007.JPG
| city_3 = คูมาโนโว | div_3 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออกเฉียงเหนือ{{!}}ตะวันออกเฉียงเหนือ | pop_3 = 70,842 |img_3 = The square of Kumanovo (2).JPG
| city_4 = พรีเลป | div_4 = ภูมิภาคทางสถิติเปลาโกนีอา{{!}}เปลาโกนีอา | pop_4 = 66,246 |img_4 = Prilepski ploštad.JPG
| city_5 = แตตอวอ | div_5 = ภูมิภาคทางสถิติปอลอก{{!}}ปอลอก | pop_5 = 52,915
| city_6 = แวแลส (เมือง) {{!}}แวแลส | div_6 = ภูมิภาคทางสถิติวาร์ดาร์{{!}}วาร์ดาร์ | pop_6 = 43,716
| city_7 = ชติป | div_7 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออก{{!}}ตะวันออก | pop_7 = 43,652
| city_8 = โอครีด | div_8 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันตกเฉียงใต้{{!}}ตะวันตกเฉียงใต้ | pop_8 = 42,033
| city_9 = กอสตีวาร์ | div_9 = ภูมิภาคทางสถิติปอลอก{{!}}ปอลอก | pop_9 = 35,847
| city_10 = สตรูมิตซา | div_10 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออกเฉียงใต้{{!}}ตะวันออกเฉียงใต้ | pop_10 = 35,311
| city_11 = กาวาดาร์ตซี | div_11 = ภูมิภาคทางสถิติวาร์ดาร์{{!}}วาร์ดาร์ | pop_11 = 29,188
| city_12 = กอชานี | div_12 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออก{{!}}ตะวันออก | pop_12 = 28,330
| city_13 = กีแชวอ | div_13 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันตกเฉียงใต้{{!}}ตะวันตกเฉียงใต้ | pop_13 = 27,067
| city_14 = สตรูกา | div_14 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันตกเฉียงใต้{{!}}ตะวันตกเฉียงใต้ | pop_14 = 16,559
| city_15 = ราดอวิช | div_15 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออกเฉียงใต้{{!}}ตะวันออกเฉียงใต้ | pop_15 = 16,223
| city_16 = แกฟแกลียา | div_16 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออกเฉียงใต้{{!}}ตะวันออกเฉียงใต้ | pop_16 = 15,685
| city_17 = แดบาร์ | div_17 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันตกเฉียงใต้{{!}}ตะวันตกเฉียงใต้ | pop_17 = 14,561
| city_18 = กรีวาปาลังกา | div_18 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออกเฉียงเหนือ{{!}}ตะวันออกเฉียงเหนือ | pop_18 = 14,558
| city_19 = สแวตีนีกอแล | div_19 = ภูมิภาคทางสถิติตะวันออก{{!}}ตะวันออก | pop_19 = 13,746
| city_20 = แนกอตีนอ | div_20 = ภูมิภาคทางสถิติวาร์ดาร์{{!}}วาร์ดาร์ | pop_20 = 13,284
}}


== วัฒนธรรม ==
== วัฒนธรรม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:58, 6 มิถุนายน 2563

สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย

Република Северна Македонија (มาซิโดเนีย)
Republika e Maqedonisë së Veriut (แอลเบเนีย)
เพลงชาติ
แดแนสนัตมาแกดอนียา
"วันนี้เหนือมาซิโดเนีย"
ที่ตั้งของนอร์ทมาซิโดเนีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
สโกเปีย
ภาษาราชการภาษามาซิโดเนีย1
ภาษาแอลเบเนีย2
การปกครองสาธารณรัฐระบบรัฐสภา
สแตวอ แปนดารอฟสกี
ออลีแวร์ สปาซอฟสกี
ได้รับเอกราช 
• ประกาศ
8 กันยายน พ.ศ. 2534
พื้นที่
• รวม
25,333 ตารางกิโลเมตร (9,781 ตารางไมล์) (146)
1.9
ประชากร
• 2554[1] ประมาณ
2,058,539 (146)
80.1 ต่อตารางกิโลเมตร (207.5 ต่อตารางไมล์) (122)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 31.554 พันล้าน
$ 15,202
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 11.416 พันล้าน
$ 5,500
จีนี (2558)35.6[2]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.748
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 82nd
สกุลเงินเดนาร์มาซิโดเนีย (MKD)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์389
โดเมนบนสุด
1เป็นภาษาประจำชาติและภาษาทางการในทุกด้านตลอดทั่วทั้งดินแดนของรัฐและในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2เป็นภาษาทางการร่วมในระดับรัฐ (ยกเว้นในด้านกลาโหม ตำรวจกลาง และนโยบายการเงิน) และในหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีจำนวนผู้พูดภาษานี้ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป

นอร์ทมาซิโดเนีย (อังกฤษ: North Macedonia; มาซิโดเนีย: Северна Македонија; แอลเบเนีย: Maqedonia e Veriut) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย (อังกฤษ: Republic of North Macedonia; มาซิโดเนีย: Република Северна Македонија; แอลเบเนีย: Republika e Maqedonisë së Veriut) เป็นรัฐอิสระบนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศนี้มักจะเรียกเฉย ๆ ว่า "มาซิโดเนีย" ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง และแคว้นมาซิโดเนียของกรีซ นอร์ทมาซิโดเนียเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่ชื่อมาซิโดเนีย มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 38 และประชากรเกือบร้อยละ 44 ของพื้นที่ที่ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ปกครองโดยนอร์ทมาซิโดเนีย ก่อนหน้านี้เป็นส่วนทางใต้สุดของยูโกสลาเวีย

พรมแดนปัจจุบันได้รับการกำหนดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก่อตั้ง "สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย" (Socialist Republic of Macedonia) ซึ่งเป็นที่โต้แย้งว่า เป็นการยอมรับสลาฟมาซิโดเนีย เป็นชนชาติแยกต่างหากภายในยูโกสลาเวีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้แยกจากยูโกสลาเวียอย่างสันติโดยเปลี่ยนชื่อเป็น "สาธารณรัฐมาซิโดเนีย" และไม่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศได้เกิดกรณีพิพาทกับประเทศกรีซอย่างยาวนานเกี่ยวกับการใช้ชื่อ "มาซิโดเนีย" จนกระทั่งในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รัฐบาลมาซิโดเนียและรัฐบาลกรีซได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อยุติข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย[3]

ชื่อเรียก

ชื่อของประเทศเกิดขึ้นจากอาณาจักรกรีก Μακεδονία (มาเกโดนีอา) [4] [5]ตั้งชื่อตามชาวมาซิโดเนียโบราณ ชื่อของพวกเขา Μακεδόνες (มาเกโดเนส) ความหมายคือ "สูง", "เรียว"[6] ซึ่งเหมือนกับคำ μακρός (มาโครส) ความหมาย "ยาว", "สูง" ในภาษากรีกโบราณ "ภูเขา" หรือ "คนสูง" อาจเป็นคำบรรยายชนกลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ตามโรเบิร์ต เอส. บี. บีเคส สนับสนุนว่าคำศัพท์ทั้งสองนี้มีพื้นฐานมาจากต้นกำเนิดของกรีกและไม่สามารถอธิบายได้ในแง่ของสัณฐานวิทยาของอินโด-ยูโรเปียน

ประวัติศาสตร์

ในสมัยประวัติศาสตร์ มาซิโดเนียเคยตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิโรมัน มาซิโดเนียเป็นชื่อเรียกดินแดนในประวัติศาสตร์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของยูโกสลาเวีย กรีซ และบัลแกเรีย ในระหว่างปี ค.ศ. 1946-1949 เกิดสงครามกลางเมืองภายในกรีซ จึงทำให้นายพลตีโตแห่งยูโกสลาเวียประสบความสำเร็จในการเรียกร้องพื้นที่ส่วนหนึ่งของดินแดนมาซิโดเนียมาอยู่ภายใต้การปกครอง โดยเป็นสาธารณรัฐ 1 ใน 6 สาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย

ในปี ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐสโลวีเนีย และโครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนาได้เคลื่อนไหวแยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย ชาวมาซิโดเนียจึงได้จัดให้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช และได้ประกาศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นการแยกตัวโดยปราศจากการใช้กำลังต่อต้านจากยูโกสลาเวีย ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยูโกสลาเวียกำลังสนับสนุนชาวเซิร์บในการสู้รบในบอสเนีย-เฮอร์โซโกวีนา ประกอบกับในมาซิโดเนียมีประชากรเชื้อสายเซิร์บจำนวนน้อย

ยูโกสลาเวียจึงไม่ต้องการเปิดศึก 2 ด้าน มาซิโดเนียประกาศเอกราชโดยใช้ชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐมาซิโดเนีย" (Republic of Macedonia - ROM) ตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติภายใต้ชื่อดังกล่าว แต่ได้รับการคัดค้านจากกรีซ โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์และดินแดนว่า การใช้ชื่อ Republic of Macedonia เป็นการส่อเจตนารมณ์ที่จะอ้างสิทธิครอบคลุมไปถึงดินแดนมาซิโดเนียส่วนที่อยู่ในกรีซ ในที่สุดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 817 (1993) ให้ใช้ชื่อ Former Yugoslav Republic of Macedomia (FYROM) ในการอ้างถึงมาซิโดเนียในสหประชาชาติจนกว่าประเทศทั้งสองจะตกลงกันได้ สหประชาชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1993 ประกาศรับรองมาซิโดเนียเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 181 นอกจากนี้ มาซิโดเนียยังได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอีกหลายองค์การ เช่น FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ILO, IMF, OSCE, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, WHO เป็นต้น

การเมือง

อาคารรัฐสภานอร์ทมาซิโดเนียในกรุงสโกเปีย

ระบอบการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายยอร์ช อิวานอฟ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี คณะรัฐมนตรีได้รับการเลือกจากเสียงข้างมากในสภาโซบาลจี ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายโซราน เซฟ

กฎหมายและศาล

ศาลมีอำนาจดำเนินการโดยศาลซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณาของศาลฎีกา,ศาลรัฐธรรมนูญ, และสภาตุลาการของพรรครีพับลิกัน

สิทธิมนุษยชน

สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนียเป็นผู้ลงนามอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนยุโรปและอนุสัญญาเจนีวาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานะผู้ลี้ภัยและอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่อพลเมืองชาวนอร์ทมาซิโดเนียทั้งหมด

แต่ยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตามที่องค์กรสิทธิมนุษยชนในปี 2003 มีการวิสามัญผู้ทีถูกสงสัยว่าฆาตกรรมคุกคามและข่มขู่โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไม่เป็นธรรม[7]

การแบ่งเขตการปกครอง

หลังจากที่มีการผ่านกฎหมายใหม่และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้มีการแบ่งหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างเทศบาล 78 แห่ง (општини, opštini ออปซตีนิ, เอกพจน์ - општина, opština ออปซตีนา) เมืองหลวงสโกเปีย กครองเป็นกลุ่มเทศบาล 10 แห่ง เรียกรวมกันว่า "นครสโกเปีย" (the City of Skopje)

ภูมิศาสตร์

ในทิศตะวันตกจะเป็นพื้นที่ที่มีภูเขา ส่วนในทิศตะวันออกจะเป็นพื้นที่ราบ

ภูมิอากาศ

นอร์ทมาซิโดเนียมีสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนผ่านจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่ทวีป ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งและฤดูหนาวก็ค่อนข้างหนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,700 มม. (66.9 นิ้ว) ในพื้นที่ภูเขาทางตะวันตกถึง 500 มม. (19.7 นิ้ว) ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีสามเขตภูมิอากาศที่สำคัญในประเทศ

อุทยานแห่งชาติ

นอร์ทมาซิโดเนียประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติสามแห่ง คือ:

ชื่อ จัดตั้งขึ้น ขนาด ภาพ
อุทยานป่าไม้มาโรโว 1948 731 ตร.กม.
อุทยานป่าไม้เกริสิก้า 1958 227 ตร.กม.
อุทยานป่าไม้เพอริสเตอร์ 1948 125 ตร.กม.

สัตว์ป่า

ลิงซ์ยูเรเชีย

สัตว์ป่ามาซิโดเนียมีอยู่มากมายอาทิ เช่น หมี,หมูป่า,หมาป่า,สุนัขจิ้งจอก,กระรอก,เลียงผา และกวาง ลิงซ์ยูเรเชีย พบได้น้อยมากในเทือกเขาทางตะวันตกของมาซิโดเนียในขณะที่กวางสามารถพบได้ในพื้นที่ของ Demir Kapija

พืชพันธุ์

พืชพันธุ์ของประเทศมาซิโดเนียมีประมาณ 210 ตระกูล มี 920 สกุล และประมาณ 3,700 ชนิดของพืช กลุ่มที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดคือไม้ดอกที่มีประมาณ 3,200 ชนิด ตามด้วยมอส 350 สายพันธุ์ และเฟิร์น 42 สายพันธุ์

กองทัพ

กองทัพแห่งสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย เป็นชื่อของกองกำลังติดอาวุธของสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย ความรับผิดชอบในการปกป้องอธิปไตยและความสมบูรณ์ของดินแดนนอร์ทมาซิโดเนียจากต่างชาติที่เป็นศัตรูกองทัพมาซิโดเนียเป็นหน่วยป้องกันที่ประกอบด้วยกองทัพ MIB (Армија) และกองทัพอากาศ (ВоеноВоздухопловство) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 กองทัพประกอบด้วยมืออาชีพและทหารอาสาสมัครซึ่งได้รับการแปรเปลี่ยนเป็นกองทัพระดับมืออาชีพที่เข้ากันได้กับมาตรฐาน

เศรษฐกิจ

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเศรษฐกิจของสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมายของประเทศทำให้เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของผู้เข้าชม มีนักท่องเที่ยวประมาณ 700,000 คนต่อปี [8]

บาโทลา, คลาโทโว, มาร็อกโว

ประชากร

การสำรวจมโนประชากรปี พ.ศ. 2545
มาซิโดเนีย
  
64.18%
แอลเบเนีย
  
25.17%
เติร์ก
  
3.85%
โรมานี
  
2.66%
เซิร์บ
  
1.78%
บอสนีแอก
  
0.84%
Vlach
  
0.48%
อื่นๆ
  
1.04%
ข้อมูลจการสำรวจมโนประชากรปี พ.ศ. 2545:[9]

ข้อมูลสำมะโนประชากรล่าสุดจากปี 2545 มีจำนวนประชากร 2,022,547 คน ประมาณการล่าสุดอย่างเป็นทางการจาก 2009 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญให้ตัวเลข คือ 2,050,671 ตามข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรครั้งสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศที่มีเชื้อชาติมาซีโดเนีย กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองคือชาวอัลเบเนียที่ปกครองส่วนมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศและถูกเลือกปฏิบัติ

ศาสนา

ศาสนาในนอร์ทมาซิโดเนีย (2002)[10]

  อิสลาม (33.3%)
  อื่นๆ/ไม่มี (1.5%)

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เป็นนิกายของศาสนาคริสต์ทีมีผู้นับถือในนอร์ทมาซิโดเนียเป็นอับดับหนึ่ง (64.8) รองมาคือศาสนาอิสลาม (33.3)

โบสถ์เซนต์จอร์จ (ซ้าย) และมัสยิด ŠarenaDžamija (ขว)

ภาษา

ภาษาในนอร์ทมาซิโดเนีย
ปีค.ศ. 2002
ภาษามาซิโดเนีย
  
66.49%
ภาษาแอลเบเนีย
  
25.1%
ภาษาตุรกี
  
3.54%
ภาษาโรมานี
  
1.90%
ภาษาเซอร์เบีย
  
1.22%
ภาษาบอสเนีย
  
0.42%
Vlach
  
0.34%
อื่น ๆ
  
0.95%

ภาษาราชการและภาษาพูดกันอย่างแพร่หลายคือภาษามาซิโดเนียซึ่งอยู่ในสาขาตะวันออกของกลุ่มภาษาสลาฟใต้ รองลงมาจากภาษามาซิโดเนียคือ ภาษาเซอร์เบีย ส่วนใหญ่พูดในทางตอนใต้ของเซอร์เบียและตะวันตกของบัลแกเรีย (และโดยพูดในภาคเหนือและตะวันออกของนอร์ทมาซิโดเนีย)

ภาษามาซิโดเนียได้รับการจัดประมวลในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและได้สั่งสมประเพณีลายลักษณ์ที่เจริญรุ่งเรือง

เมืองในประเทศ

วัฒนธรรม

ประเทศนอร์ทมาซิโดเนียมีมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม บทกวี และดนตรี มีสถานที่ทางศาสนาที่มีรอดจากการโจมตีจำนวนมาก เทศกาลกวี ภาพยนตร์ และดนตรีจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ดนตรีมาซิโดเนียได้รับการพัฒนาภายใต้อิทธิพลของดนตรีคริสตจักรไบแซนไทน์ ประเทศนอร์ทมาซิโดเนียมีภาพไบเซนไทน์ที่ได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่มาจากช่วงระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 16

อาหาร

กีฬา

ทีมบาสเกตบอลนอร์ทมาซิโดเนียในช่วงเวลาที่ออกในระหว่างการแข่งขันกับลัตเวีย

ฟุตบอลและแฮนด์บอลเป็นกีฬายอดนิยมในนอร์ทมาซิโดเนีย ทีมฟุตบอลแห่งชาติถูกควบคุมโดยสหพันธ์ฟุตบอลแห่งนอร์ทมาซิโดเนีย สนามกีฬาในประเทศของพวกเขาคือสนามกีฬาฟิลิปที่สอง แฮนด์บอลเป็นกีฬาที่สำคัญของทีมอื่น ๆ ในประเทศ ในปีค.ศ. 2002 โคมีเล สโกเปีย ได้รับรางวัล EHF Women's Champions League Europe Cup การแข่งขันแฮนด์บอลชิงแชมป์หญิงยุโรปเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 ในนอร์ทมาซิโดเนีย สถานที่จัดแข่งขันที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ในสโกเปีย

อ้างอิง

  1. Population from the State Statistical Office.
  2. "Macedonia, FYR". World Bank.
  3. "Macedonia and Greece: Deal after 27-year row over a name". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
  4. Μακεδονία, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus
  5. Macedonia, Online Etymology Dictionary
  6. μακεδνός, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus
  7. "Amnesty International – Summary – Macedonia". Web.amnesty.org. Archived from the original on 18 May 2011. Retrieved 6 June 2011.
  8. "101 facts about Macedonia". Faq.macedonia.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2010. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  9. "Census of Population, Households and Dwellings in the Republic of Macedonia, 2002 – Book XIII, Skopje, 2005" (PDF). State Statistical Office of the Republic of Macedonia. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  10. "FIELD LISTING :: RELIGIONS". CIA.

แหล่งข้อมูลอื่น