ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 148: บรรทัด 148:
|}
|}


== สีประจำทีม ==
ตั้งแต่ฤดูกาล 1903 (พ.ศ. 2446) เป็นต้นมา สีประจำทีมคือ[[สีขาว]]และ[[สีดำ]]ลายทางและกางเกงสีดำ (ในบางฤดูกาลจะใช้กางเกงขาว) โดยก่อนหน้านี้ทีมใช้เสื้อสีชมพูลายจุด.ซึ่งสมัยก่อนชาวอิตาลีได้เปรียบเทียบชุดแข่งของสโมสรยูเวนตุสเหมือนกับชุดแข่งของ[[สโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตี]] สโมสรฟุตบอลใน[[ประเทศอังกฤษ]]
== สนามที่ใช้ในการแข่งขัน ==
== สนามที่ใช้ในการแข่งขัน ==
[[ไฟล์:Juventus Stadium inauguration.jpg|300px|thumb|right|[[สนามกีฬายูเวนตุส|ยูเวนตุสสเตเดียม]]สนามเหย้าของสโมสรในปัจจุบัน]]
[[ไฟล์:Juventus Stadium inauguration.jpg|300px|thumb|right|[[สนามกีฬายูเวนตุส|ยูเวนตุสสเตเดียม]]สนามเหย้าของสโมสรในปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:39, 5 มิถุนายน 2563

ยูเวนตุส
Juventus' crest
ชื่อเต็มJuventus Football Club
ฉายาLa Vecchia Signora (หญิงชรา)
La Fidanzata d'Italia (แฟนสาวแห่งอิตาลี)
Bianconeri (ขาว-ดำ)
Juve
Le Zebre (ม้าลาย)
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897
สนามยูเวนตุส สเตเดียม
Ground ความจุ41,000
ประธานอันเดรีย อันเจลนี
ผู้จัดการทีมเมารีซีโอ ซาร์รี
ลีกเซเรียอา
2018–19อันดับที่ 1
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส (อิตาลี: Juventus Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในเมืองตูริน(โตริโน)เป็นสโมสรเก่าแก่สโมสรหนึ่งของประเทศอิตาลี โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) ประสบความสำเร็จมากมาย อีกทั้งยังเป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์ยุโรปทั้งสามรายการ คือ ยูโรเปียนคัพ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก), ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และยูฟ่าคัพ

ยูเวนตุส เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดใน เซเรียอา ได้แชมป์ถึง 35 สมัย แชมป์ โกปปาอีตาเลีย 13 สมัย แชมป์ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา อีก 6 สมัย แชมป์ ยูโรเปียนคัพ 2 สมัย และ แชมป์ ยูฟ่าคัพ 3 สมัย ในช่วงปัจจุบัน (ตั้งแต่ฤดูกาล 2011-2012 เป็นต้นมา) ถือว่าเป็นช่วงที่สโมสรประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยได้แชมป์เซเรียอาติดต่อกันถึง 8 สมัย ขณะที่ผู้เล่นคนสำคัญส่วนใหญ่อายุเลย 30 ปีแล้วทั้งนั้น สำหรับยูเวนตุส เดิมแฟนฟุตบอลชาวไทยจะอ่านออกเสียงว่า "จูเวนตัส" จะเรียกฉายาในภาษาไทยว่า "ม้าลาย" หรือ เรียกสั้นๆว่า "ยูเว่" ส่วนฉายาในภาษาอิตาลี คือ "La Vecchia Signora" ซึ่งแปลได้ว่า "หญิงชรา" (อันเป็นฉายาเดียวกับแฮร์ธาเบอร์ลิน ในบุนเดิสลีกา เยอรมนี) [1]

ประวัติของสโมสร

ช่วงก่อตั้ง

ยูเวนตุสก่อตั้งขึ้นปี ค.ศ. 1897 ในชื่อ สปอร์ต คลับ ยูเวนตุส โดยมีนักเรียนที่ชื่อ มัสซิโม เด'อาเซกีโล ที่ศึกษาอยู่ที่เมืองตูรินเป็นผู้ก่อตั้ง,[2].และก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสในเวลาอีกสองปีถัดมา.[3] สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขัน อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนส์ชิพ (ปัจจุบันคือเซเรียอา) ในช่วงปี ค.ศ. 1904 ซึ่งใช้ชุดแข่งสีดำและสีชมพูเป็นชุดเหย้าในการแข่งขันและใช้สนามเวโลโดรโมอัมเบรโต Iเป็นสนามเหย้าในการแข่งขัน ยูเวนตุสได้แชมป์ในรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905.แล้วในช่วงเดียวกันนั้นสโมสรได้เปลี่ยนสีประจำทีมจะเป็นสีขาวและสีดำลายทางและกางเกงสีดำ ซึ่งถูกเปรียบเทียบว่าเหมือนสโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษอย่าง สโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตี.[4]

ในปี ค.ศ. 1906 สโมสรได้มีการแยกทางกับพนักงานของสโมสรและนักเตะบางส่วนออกไปเนื่องจากต้องการออกไปจากเมืองตูริน.[3] เมื่อประธานสโมสรอัลเฟรโดทราบเหตุการณ์ท่านกังกวลใจและไม่มีความสุขเพราะขาดนักเตะหลักในการเล่นกับ สโมสรฟุตบอลโตริโน สโมสรร่วมเมืองเดียวกันในเกมส์ ดาร์บีเดลลาโมเลและหลังจากนั้นได้ไม่นานก็ได้เกิดสงครามโลกขึ้นอีกทำให้นักเตะต่างได้แยกย้ายออกจากทีมเพื่อหลบหนี้ภัยสงครามเป็นจำนวนมาก.[5] ยูเวนตุสใช้เวลานานในการสร้างทีมขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องหลังจากจบ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เจ้าแห่งวงการลูกหนังอิตาลี

หลังจากนั้นเจ้าขององค์กรธุรกิจรถยนต์(เฟียต)ในเมืองตูรินอย่าง เอโดอาร์โด อเกลลี ได้เข้ามาควบคุมกิจการของสโมสรในช่วงปีค.ศ. 1923และได้มีการสร้างสนามเหย้าใหม่ขึ้น (เนื่องจากสนามเดิมได้มีการพังทลายจากเหตุสงครามโลก)[3].พวกเขาได้ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1926 ด้วยการชนะ อัลบา โรมา ไปถึง 12-1, ด้วยการยิงของ อันโตนีโอ โวจาค ซึ่งเป็นนักเตะยอดเยี่ยมของฤดูกาล 1925-26.[4]หลังจากนั้นสโมสรได้เป็นกำลังสำคัญในวงการฟุตบอลอิตาลีตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมาและได้กลายเป็นสโมสรมืออาชีพครั้งแรกของประเทศและเป็นสโมสรแรกที่มีแฟนคลับกระจายอยู่หลายประเทศ,[6][7].ในขณะนั้นสโมสรอยู่ภายใต้การคุมทีมของ การ์โล การ์ซาโน อดีตผู้จัดการทีมชาตอิตาลี ซึ่งเขาสามารถนำยูเวนตุสได้แชมป์ลีกในระดับประเทศได้ถึง 4 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1934 และในช่วงนั้นมีนักเตะระดับสตาร์ชื่อดังมากมายของสโมสรอาทิเช่น ไรมุนโด ออร์ซิ, ลูอิกี เบอร์โทลินี, จิโอวานนี เฟอร์รารี, ลุยส์ มอนตี และอื่นๆอีกมากมาย

ซีโบรี, คาร์เรส และ โบนีเปอร์ตี

สโมสรได้ย้ายไปใช้สนามเหย้าใหม่คือ สตาดีโอโอลิมปิกโกดิโทริโน เป็นสนามเหย้า ในช่วงปี ค.ศ. 1933.แต่หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 เป็นต้นมาสโมสรไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใหญ่มาได้เลย.หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง, กีอันนี อักเนลลี ได้เขามารับตำแหน่งประธานสโมสร.[3]ต่อมาสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมาได้อีก 2 สมัยในช่วงฤดูกาล 1949-50 และ 1951-52 โดยในช่วงนั้นสโมสรได้อยู่ภายใต้การคุมทีมของ เจสเซ คาร์เวอร์ ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ.ในฤดูกาล1957-58 สโมสรได้เซ็นสัญญากับสองกองหน้าชื่อดังอย่าง โอมาร์ ซีโบรี นักเตะลูกครึ่งอิตาลี-อาร์เจนตินา และ จอห์น คาร์เลส นักเตะชาวเวลส์ โดยพวกเขาได้เล่นรวมกับ กีอัมปีเอโร โบนีเปอร์ตี นักเตะชื่อดังของสโมสรในเวลานั้น โดยทั้งสามคนเป็นกำลังสำคัญของยูเวนตุสมาโดยตลอด.ต่อมานักเตะใหม่อย่างซีโบรีก็เป็นนักเตะคนแรกของสโมสรที่ได้รับรางวัล นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1961.ในปีเดียวกันนั้นพวกเขาชนะสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนา ซึ่งสามารถคว้าแชมป์เซเรียอามาครองได้เป็นสมัยที่ 11 ได้สำเร็จและคว้าแชมป์โกปปาอีตาเลียได้ในฤดูกาลเดียวกันพร้อมสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์สองอย่างครั้งแรกพร้อมกันเป็นครั้งแรกของสโมสรและโบนีเปอร์ตีดาวยิงสูงสุดของสโมสร ณ เวลานั้นก็ได้ตัดสินใจเลิกเล่นอาชีพฟุตบอลไปพร้อมสร้างสถิติทำประตูสูงสุดอีกทั้งหมด 182 ประตู.[8]

ในช่วงทศวรรษต่อมาสโมสรก็ได้แชมป์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล1966-67,[4].ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1970 ยูเวนตุสได้เพิ่มความแข็งแกร็งในแต่ละตำแหน่งให้มากขึ้นด้วยการเซ็นสัญญากับ เซสเมียรฺ์ เวียฟซาปาเลก ผู้จัดการทีมชาวเช็กเข้ามาคุมทีมและนำยูเวนตุสคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล1971-72 และ 1972-73,[4]โดยมีนักเตะชื่อดังหลายคนอาทิเช่น โรแบร์โต เบตเตกา, ฟรานโก กาอูซีโอ และ โชเซ อัลตาฟีนี.ในช่วงที่เหลือของทศวรรษที่ 70 สโมสรได้แชมปฺ์ลีกมากขึ้นซึ่งได้มาถึง 5 สมัย โดยมีกองหลังตัวเก่งอย่าง เกเอตาโน ซีซ์เรีย โดยมีผู้จัดการทีม ณ ขณะนั้นคือจีโอวานนี ตราปัตโตนี เป็นคนที่ช่วยนำสโมสรใหก้าวสู่ความยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่องจนถึงทศวรรษที่ 80[9]

ความยิ่งใหญ่ในเวทียุโรป

มีแชล ปลาตีนี นักฟุตบอลคนแรกของสโมสรที่ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป 3 สมัยติดต่อกัน

ในยุคของตราปาตโตนีเป็นยุคที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งอยู่ในช่วงยุค ค.ศ. 1980;สโมสรเริ่มต้นได้ดีในช่วงทศวรรษใหม่ด้วยการคว้าแชมป์ลีก 3 สมัย โดยในปี ค.ศ. 1984.[4] สโมสรสามารถคว้าแชมป์ลีกได้เป็นสมัยที่ 20 ของสโมสร.และทางสมาพันธ์ฟุตบอลอิตาลีได้รับการอนุญาตจากสโมสรด้วยการให้เพิ่มดาวสีทองดวงที่สองบนเสื้อชุดแข่งของสโมสร.[9]ต่อมานักเตะของสโมสรอย่าง เปาโล รอสซี ได้ถูกเป็นการดึงดูดและควาสนใจในการเสนอชื่อเขาในการแข่งขันชิง นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป เนื่องจากเขาเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการนำฟุตบอลทีมชาติอิตาลีคว้าแชมป์ ฟุตบอลโลก 1982 และเขายังเป็นทั้งดาวซัลโวและนักเตะยอดเยี่ยมประจำรายการนี้อีกด้วย.[10]

นักเตะชาวฝรั่งเศสของสโมสรอีกคนอย่าง มีแชล ปลาตีนี ก็ถูกเสนอชื่อเป็นนักเตะยอดเยี่ยมอีกคน.ซึ่งเขาก็สามารถคว้ารายการนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของยุโรปได้ถึง 3 สมัยติดต่อกันในปี 1983, 1984 และ 1985.[11]โดยยูเวนตุสเป็นสโมสรเดียวที่มีนักเตะจากสโมสรคว้าแชมป์รายการนี้ในรอบ 4 ปีติดต่อกัน.[11] โดยนัดที่สำคัญของปลาตีนีและเป็นนัดที่สำคัญของสโมสรคือนัดที่ปลาตีนีทำประตูชัยในนัด ยูโรเปียนส์คัพ ฤดูกาล 1985 ช่วยให้สโมสรเอาชนะ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากอังกฤษไป 1-0 ซึ่งทำให้ยูเวนตุสสามารถคว้าแชมป์ ยูโรเปียนส์คัพ มาเป็นสมัยแรกของสโมสรได้สำเร็จ.แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังมีโศกนาฏกรรมที่แฟนบอลทุกคน ณ ขณะนั้นยังจำกันไม่ได้ลืม.[12]ในปีนี้เป็นปีที่ยูเวนตุสกลายเป็นสโมสรแรกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลยุโรปที่ได้รับรางวัลทั้งสามที่สำคัญการแข่งขันของยูฟ่า[13][14] และหลังจากที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาในระดับทวีปถ้วยสโมสรก็กลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลและยังคงเป็นสโมสรหนึ่งเดียวของโลกในปัจจุบันที่ได้รับรางวัลจากสมาพันธ์การแข่งขันทั้งหมด.[15]

สโมสรคว้าแชมป์ เซเรียอา ได้ในฤดูกาล1985-86 ซึ่งเป็นแชมป์สมัยที่ 22 ของสโมสรและเป็นแชมป์สุดท้ายในการคุมทีมของตราปาตโตนีพร้อมกับเป็นแชมป์สุดท้ายในช่วงทศวรรษที่ 80 ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 ยูเวนตุสได้ย้ายสนามเหย้าไปใช้สนาม สตาดีโอเดลเลอัลปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามที่จะใช้แข่งขัน ฟุตบอลโลก 1990

ลิปปีผู้นำความสำเร็จ

มาร์เชลโล ลิปปีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้กับสโมสรโดยเริ่มคุมทีมตั้งแต่ฤดูกาล1994-95.[3].ฤดูกาลของเขากับยูเวนตุสก็สามารถนำทีมคว้าแชมป์เซเรียอาได้สำเร็จซึ่งครั้งล่าสุดที่สโมสรได้คือในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980.[4]โดยมีผู้เล่นชื่อดังหลายคนอาทิเช่น ซีโร เฟอร์รารา, โรแบร์โต บักโจ้, จีอันลูกา วีอัลลี และนักเตะเยาวชนะชื่อดังอย่าง อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร.ลิปปีสามารถนำสโมสรเขาไปเล่นแชมเปียนส์ ในฤดกาล 1995-96ซึ่งเขานำยูเวนตุสไปถึงรอบชิงชนะเลิศกับสโมสรเอเอฟซีอาแจ็กซ์ผลออกมาเสมอกันไป 1-1 โดยยูเวนตุสได้จาก ฟาบรีซีโอ ราเวเนลลี ก่อนที่จะชนะด้วยการดวลลูกโทษไป 2-4 แล้วทำให้สโมสรคว้าแชมป์มาได้เป็นสมัยที่ 2.[16]

มาร์เชลโล ลิปปี นำยูเวนตุสคว้าแชมป์ได้ทั้งหมด 13 รายการ

มาร์เชลโล ลิปปี หลังจากคว้าแชมป์ยุโรปได้ไม่นานสโมสร[17]สโมสรได้เสริมทัพด้วยการซื้อผู้เล่นชื่อดังที่มีประสิทธิภาพหลายคนอาทิเช่น ฟีลิปโป อินซากี, ซีเนดีน ซีดาน, เอ็ดการ์ ดาวิดส์.ซึ่งผลจากการซื้อผู้เล่นใหม่มาทำให้สโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาได้ใน 1996-97 และ 1997-98 และในช่วงเดียวกันนั้นสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ และ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ได้ในปี ค.ศ. 1996.ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 1998 สโมสรสามารถเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ถึง 2 รอบ แต่ก็ได้แค่รองแชมป์ทั้งสองรอบด้วยการปราชัยให้แก่ โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ และ เรอัลมาดริด ตามลำดับ.[18][19]

หลังจากผ่านไปนาน ลิปปีก็ได้กลับมาคุมทีมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2001.แล้วได้ซื้อผู้เล่นใหม่มามากมายอาทิเช่น จันลุยจี บุฟฟอน, ดาวิด เทรเซกูเอต, ปาเวล เนดเวด และ ลีเลียน ทูร์ราม มาช่วยให้สโมสรสามารถคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล 2001-02และ2002-03[4] ในปี ค.ศ. 2003 ยูเวนตุสในฐานะแชมลีกได้เข้าไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจนเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศโดยพบกับ เอซี มิลานสโมสรจากประเทศเดียวกันผลออกมาเสมอ 0-0 แต่ยูเวนตุสก็เป็นฝ่ายแพ้ในการดวลจุดโทษ.จากการแข่งขันนี้ทำให้ลิปปีได้ลาออกจากผู้จัดการทีมแล้วไปคุม ฟุตบอลทีมชาติอิตาลีแล้วทำให้ต้องหยุดสถิติการนำยูเวนตุสคว้าแชมป์รายการทั้งหมดไว้แค่ 13 รายการ แต่เขาก็ยังเป็นหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จกับยูเวนตุสอยู่ในประวัติศาสตร์ของสโมสร.[9]

เรื่องอื้อฉาวในอิตาลี

ฟาบีโอ กาเปลโล ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้สโมสรในปี ค.ศ. 2004.คาเปลโลสามารถนำทีมได้อันดับที่ 3 ของลีก.ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 2006 ยูเวนตุสกลายเป็นหนึ่งในห้าสโมสรที่เชื่อมโยงกับเรื่องอื้อฉาวในการล้มบอลผลจากการลงโทษทำให้ยูเวนตุสได้ถูกลดชั้นลงไปเล่นเซเรียบีครั้งแรกเป็นประวัติศาสตร์ของสโมสร.นอกจากนั้นสโมสรก็ได้ปลดกาเปลโลที่สามารถนำทีมได้แชมป์ลีกในปี ค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2006 (โดนริบแชมป์) ออกจากเป็นผู้จัดการทีม .[20]

ผู้เล่นคนสำคัญหลายคนที่เหลือต่อไปได้ออกจากสโมสรหลังจากสโมสรได้ถูกปรับชั้นให้ลงไปเล่นในเซเรียบีอาทิเช่น ซลาตัน อีบราฮีมอวิช, ฟาบีโอ กันนาวาโรแต่ผู้เล่นคนอื่นคนอื่นก็ยังตัดสินใจอยู่ร่วมช่วยสโมสรเพื่อให้กับไปเล่นในเซเรียอาต่อเช่น อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร, เนดเวด ขณะที่ผู้เล่นเยาวชนจากพรีมาเวรา เช่น เซบัสเตียน โจวินโก และ เคลาดีโอ มาร์คีซีโอ ก็ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้เล่นตัวจริงของสโมสรมาช่วยในทีมชุดใหญ่.หลังจากนั้นพวกเขาก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาสู่เซเรียอาได้สำเร็จ โดยเป็นสโมสรแรกที่ตกชั้นจากเซเรียเอไปสู่เซเรียบีแล้วใช้เวลาแค่ 1 ฤดูกาลสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ แล้วกัปตันทีมของสโมสรอย่างอาเลสซันโดร เดล ปีเอโรก็ยังเป็นดาวซัลโวสูงสุดของเซเรียบีในฤดูกาล 2006-07 ด้วยการทำไป 21 ประตูอีกด้วย

แบรนด์เสื้อและผู้สนับสนุน

ปีที่ใช้ แบรนด์เสื้อ ผู้สนับสนุน
1979–1989 Kappa Ariston
1989–1992 Upim
1992–1995 Danone
1995–1998 Sony
1998–1999 D+Libertà digitale / Tele+
1999–2000 CanalSatellite / D+Libertà digitale / Sony
2000–2001 Lotto Sportal.com / Tele+
2001–2002 Fastweb / Tu Mobile
2002–2003 Fastweb / Tamoil
2003–2004 Nike
2004–2005 Sky Sport / Tamoil
2005–2007 Tamoil
2007–2010 FIAT Group (New Holland)
2010–2012 BetClic / Balocco
2012–2015 FIAT S.p.A (Jeep)
2015- Adidas FIAT S.p.A (Jeep)

สนามที่ใช้ในการแข่งขัน

ยูเวนตุสสเตเดียมสนามเหย้าของสโมสรในปัจจุบัน

สโมสรยูเวนตุสนับตั้งแต่ก็ตั้งสโมสรขึ้นมาในปี ค.ศ. 1897 มาจนถึงปัจจุบันสโมสรได้เปลี่ยนสนามเหย้ามาแล้วทั้งหมด 5 สนาม โดยแยกตามปีได้ดังนี้


ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2019[21]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK โปแลนด์ พงค์พล ชยาภัม
2 DF อิตาลี มัตเตีย เด ชีโญ
3 DF อิตาลี จอร์โจ กีเอลลีนี (กัปตัน)
4 DF เนเธอร์แลนด์ มัตไตส์ เดอ ลิคต์
5 MF บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มีราเลม เพียนิช
6 MF เยอรมนี ซามี เคดีรา (กัปตันที่ 3)
7 FW โปรตุเกส คริสเตียโน โรนัลโด
8 MF เวลส์ แอรอน แรมซีย์
10 FW อาร์เจนตินา เปาโล ดีบาลา
11 FW บราซิล โดกลัส กอสตา
12 DF บราซิล อาแลกส์ ซังดรู
14 MF ฝรั่งเศส แบลซ มาตุยดี
15 DF อิตาลี ลูกา เปลเลกรีนี
16 MF โคลอมเบีย ฮวน กัวดราโด
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 FW โครเอเชีย มารีออ มันจูคิช
18 FW อิตาลี โมอีเซ เกน
19 DF อิตาลี เลโอนาร์โด โบนุชชี
20 DF โปรตุเกส ฌูเวา กังเซลู
21 GK อิตาลี คาร์โล ปินโซโญ
22 GK อิตาลี มัตเตีย เปริน
23 MF เยอรมนี แอมแร จัน
24 DF อิตาลี ดานีเอเล รูกานี
25 MF ฝรั่งเศส อาเดรียง ราบีโย
30 MF อุรุกวัย โรดริโก เบนตังกูร์
33 FW อิตาลี เฟเดรีโก แบร์นาร์เดสกี
77 GK อิตาลี จันลุยจี บุฟฟอน

สตาฟโค้ชของสโมสร

[[ไฟล์:Allegri_with_Milan_players_(cropped)_-_2.jpg|thumb|211x211px|[[ไฟล์:SarriChelsea.png|thumb|เมารีซีโอ ซาร์รี่ ผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน|258x258px]]|alt=]]

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่
ผู้จัดการทีม เมารีซีโอ ซาร์รี
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม จิโอวานนี่ มาตูส์เชียลโล่
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู คลาดิโอ ฟิลลิปปี
หัวหน้าผู้ฝึกสอน มาร์โก้ เอียนนี่
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟิตเนส เดเนียล ตอญาคซินี่
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส อันเดรีย เปอตูซิโอ้
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส ดาวิด โลซี่
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเทรนนิงเชค โรแบร์โต ซาสซี

อ้างอิง: Juventus.com

สถิติผู้เล่น

สถิติทำประตูสูงสุด

  1. อเลสซานโดร เดล ปีเอโร - 272
  2. จามปีเอโร โบนีแปร์ตี - 182
  3. โรแบร์โต เบตเตก้า - 178
  4. โอมาร์ ซิวอรี - 167
  5. เฟลีเซ ปลาซีโด โบเรล II -161

สถิติเล่นให้สโมสรสูงสุด

  1. อเลสซานโดร เดล ปีเอโร - 629
  2. เกตาโน ชีเรีย -552
  3. จูเซปเป ฟูรีโน -528
  4. จันลุยจี บุฟฟอน -509
  5. โรเบอร์โต เบตเตกา - 481

ประวัติเกียรติยศของสโมสร

ยูเวนตุสเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของอิตาลีตามประวัติศาสตร์ โดยคว้าแชมป์มาครองได้ถึง 40 รายการ และยังเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีชื่อเสียง และเกียรติประวัติมากที่สุดในโลก เพราะสามารถคว้าแชมป์ระดับนานาชาติได้ถึง 11 รายการ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับนี้เป็นอันดับ 3 ในยุโรป และอันดับ 6 ของโลก

ทีมหญิงชราทีมนี้ยังได้มีดาวสีทองสำหรับความยอดเยี่ยมบนเสื้อของทีม 2 ดวง เพื่อแสดงถึงการคว้าแชมป์ลีกนับครั้งไม่ถ้วน โดยการคว้าแชมป์ 10 ครั้ง จะได้สิทธิ์ในการติดดาว 1 ดวง แชมป์ 10 ครั้งแรกนั้นอยู่ในช่วงฤดูกาล 1957-58 และครบ 20 ครั้งในฤดูกาล 1981-82 นอกจากความยิ่งใหญ่ในประเทศ ยูเวนตุสยังเป็นสโมสรเดียวที่ได้แชมป์รายการระดับนานาชาติครบทุกรายการ

เบียงโคเนรีถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 7 และอันดับสูงสุดของทีมจากอิตาลี ในการจัดอันดับสโมสรของฟีฟ่าในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000)

ขณะเดียวกันยูเวนตุสยังมีชื่อเสียงในด้านลบเกี่ยวกับอิทธิพลมืดในวงการฟุตบอลอิตาเลียน เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดคือ กัลโช่โปลี ซึ่งยูเวนตุส และอีกหลายๆทีม ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีกำหนดผู้ตัดสินในนัดที่ตัวเองลงแข่ง โดยมีหลักฐานเป็น ซิมการ์ดบันทึกบทสนทนาในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแม้จะไม่มีหลักฐานชี้ไปถึงการกำหนดผลการแข่งขัน แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ศาลกีฬาตัดสินให้ยูเวนตุสตกชั้น และถูกริบแชมป์ ในขณะที่ทีมมิลาน ฟิออเรนติน่า และลาซิโอถูกตัดแต้ม ซึ่งแม้ภายหลังจะมีการตรวจสอบพบหลักฐานที่ทีมอินเตอร์ มิลานก็มีส่วนพัวพันกับคดีนี้ เพราะมีการตรวจพบหลักฐานว่า อินเตอร์มิลานก็มีการติดต่อขอกำหนดตัวผู้ตัดสินในนัดที่ทีมลงแข่ง อีกทั้ง Moratti ผู้เป็นเจ้าของทีม ยังมีหุ้นส่วนใหญ่ใน บริษัทสื่อสาร TIM แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความ ทำให้อินเตอร์ มิลานไม่ได้ถูกสอบสวน หรือริบแชมป์ย้อนหลัง แต่อย่างใด

เกียรติประวัติ

อิตาลี ระดับประเทศ

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

โลก ระดับโลก

หุ้นของสโมสร

Juventus F.C. S.p.A
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 Edit this on Wikidata
รายได้ลดลง €172,066,450 (2010–11)
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง (€92,154,792) (2010–11)
รายได้สุทธิ
ลดลง (€95,414,019) (2010–11)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น €334,040,001 (2010–11)
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (€4,951,466) (2010–11)

อ้างอิง

  1. GolfGear (2012-05-11). "ทำไมถึงเรียกแฮร์ธ่าว่า old lady (หญิงชรา) ครับ". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2016-12-18.
  2. "Storia della Juventus Football Club". magicajuventus.com (ภาษาItalian). สืบค้นเมื่อ 8 July 2007.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Juventus Football Club: The History". Juventus Football Club S.p.A official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2008. สืบค้นเมื่อ 9 August 2008.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ league
  5. "FIFA Classic Rivalries: Torino vs Juventus". Fédération Internationale de Football Association. สืบค้นเมื่อ 29 June 2007.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hazzard
  7. (Papa 1993, p. 271)
  8. "Tanti auguri, Presidente!" (ภาษาItalian). Juventus Football Club S.p.A official website. สืบค้นเมื่อ 3 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 9.2 "Albo d'oro Serie A TIM". Lega Nazionale Professionisti Serie A (ภาษาItalian). สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  10. (Glanville 2005, p. 263)
  11. 11.0 11.1 "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 June 2007.
  12. "Olsson urges anti-racism action". Union des Associations Européennes de Football. 13 May 2005. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Giovanni Trapattoni
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ El Mundo Deportivo
  15. (TheTechnician (UEFA) 2010:5)
  16. "1995/96: Juve hold their nerve". Union des Associations Européennes de Football. 22 May 1996.
  17. "1996: Dazzling Juve shine in Paris". Union des Associations Européennes de Football. 1 March 1997.
  18. "UEFA Champions League 1996–97: Final". Union des Associations Européennes de Football. 28 May 1997.
  19. "UEFA Champions League 1997–98: Final". Union des Associations Européennes de Football. 20 May 1997.
  20. "Italian trio relegated to Serie B". BBC. 14 July 2006. สืบค้นเมื่อ 14 July 2006.
  21. "First Team - Juventus.com". Juventus.com. สืบค้นเมื่อ 2018-08-18.
  22. The 2004-05 and 2005-06 Italian League championship titles were stripped as consequence of the 2006 Serie A scandal.
  23. Up until 1929, the top division of Italian football was the Federal Football Championship, since then, it has been the Lega Calcio Serie A.
  24. Up until 1992, the European football's premier club competition was the European Champion Clubs' Cup; since then, it has been the ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.
  25. The European Inter-Cities Fairs Cup (1958–1971) was a football tournament organized by foreign trade fairs in European seven cities (London, Barcelona, Copenhagen, and others) played by professional and –in its first editions- amateur clubs. Along these lines, that's not recognized by the Union of European Football Associations. See: "History of the UEFA Cup". uefa.com. สืบค้นเมื่อ August. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help).
  26. "European team profiles: Juventus F.C." uefa.com. สืบค้นเมื่อ 26 December. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help).
  27. The UEFA Super Cup 1985 final between the Old Lady and Everton, 1984-85 Cup Winners' Cup winners not played due to the Heysel Stadium disaster. See: "History of the UEFA Super Cup". uefa.com. สืบค้นเมื่อ August. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help).
  28. Up until 2004, the main FIFA football club competition was the Intercontinental Champions Club' Cup (so called European / South American Cup); since then, it has been the FIFA World Club Championship.

แหล่งข้อมูลอื่น