ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมทางหลวงชนบท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ellywa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| สัญลักษณ์_กว้าง =
| สัญลักษณ์_กว้าง =
| สัญลักษณ์_บรรยาย =
| สัญลักษณ์_บรรยาย =
| ตรา = DRR_(Thailand)_Logo.svg
| ตรา = Seal of the Department of Rural Roads of Thailand.svg
| ตรา_กว้าง = 200px
| ตรา_กว้าง = 200px
| ตรา_บรรยาย =
| ตรา_บรรยาย =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:41, 5 มิถุนายน 2563

กรมทางหลวงชนบท
Department of Rural Roads
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่9 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
งบประมาณประจำปี46,077.6681 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ปฐม เฉลยวาเรศ, อธิบดี
  • มานพ สุสิงห์, รองอธิบดี
  • ประศักดิ์ บัณฑุนาค, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.drr.go.th

กรมทางหลวงชนบท (อังกฤษ: Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภารกิจ

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มุ่งปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม โดยมีการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้น แต่ได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาล มาตรา 54 ไว้ว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก" ซึ่งจะเป็นผลให้กรมทางหลวงชนบท มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ต่อมาภายหลังการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีมติให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ให้ยกเลิกการยุบกรมทางหลวงชนบท และให้มีภารกิจดำเนินการเช่นเดิม เนื่องจากเป็นนโยบายหลักของทุกรัฐบาล[2]

เครื่องหมายราชการ

สัญลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท คือ องค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพแห่งวิศวกรรมการพัฒนา การก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง ประทับเป็นสง่าบนพระอาสน์ มือขวาถือจอบ มือซ้ายถือลูกดิ่ง เบื้องหลังพระวิษณุแสงสว่างแผ่เป็นรัศมีโดยรอบทั้ง 8 ทิศ แสดงถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบท ครอบคลุมทั้งประเทศ และลายกนก 3 ชั้น ตัดด้วยเส้นสีแดงบนพื้นสีเหลืองทอง หมายถึง ประเทศไทย

รายนามอธิบดี

รายนามอธิบดีกรมทางหลวงชนบท
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)
2 ระพินทร์ จารุดุล (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - 10 เมษายน พ.ศ. 2551)
3 สุพจน์ ทรัพย์ล้อม (11 เมษายน พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
4 วิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ (31 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554)
5 ชาติชาย ทิพย์สุนาวี (21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
6 ดรุณ แสงฉาย (16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
7 พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน)

โครงสร้างส่วนราชการ

  • สำนักบริหารกลาง[3]
  • กองแผนงาน
  • แขวงทางหลวงชนบท ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักก่อสร้างทาง
  • สำนักก่อสร้างสะพาน
  • สำนักเครื่องกลและสื่อสาร
  • สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 - 18
  • สำนักบำรุงทาง
  • สำนักฝึกอบรม
  • สำนักวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา
  • สำนักส่งเสริมการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น
  • สำนักสำรวจและออกแบบ
  • สำนักอำนวยความปลอดภัย

สำนักงานทางหลวงชนบท และแขวงทางหลวงชนบทในสังกัด

  1. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 1 (ปทุมธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทปทุมธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนนทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรปราการ
    • แขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา
    • แขวงทางหลวงชนบทอ่างทอง
  2. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 2 (สระบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสระบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทลพบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสิงห์บุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยนาท
  3. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 3 (ชลบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทชลบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทระยอง
    • แขวงทางหลวงชนบทจันทบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทตราด
  4. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทประจวบคีรีขันธ์
    • แขวงทางหลวงชนบทราชบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม
    • แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร
  5. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 5 (นครราชสีมา)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครราชสีมา
    • แขวงทางหลวงชนบทชัยภูมิ
    • แขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุรินทร์
  6. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 6 (ขอนแก่น)
    • แขวงทางหลวงชนบทขอนแก่น
    • แขวงทางหลวงชนบทเลย
    • แขวงทางหลวงชนบทมหาสารคาม
    • แขวงทางหลวงชนบทร้อยเอ็ด
  7. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทศรีสะเกษ
    • แขวงทางหลวงชนบทอำนาจเจริญ
    • แขวงทางหลวงชนบทยโสธร
  8. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 (นครสวรรค์)
    • แขวงทางหลวงชนบทนครสวรรค์
    • แขวงทางหลวงชนบทอุทัยธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทตาก
    • แขวงทางหลวงชนบทกำแพงเพชร
    • แขวงทางหลวงชนบทพิจิตร
  9. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 9 (อุตรดิตถ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุตรดิตถ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสุโขทัย
    • แขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก
    • แขวงทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์
  10. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 10 (เชียงใหม่)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงใหม่
    • แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำพูน
    • แขวงทางหลวงชนบทลำปาง
    • แขวงทางหลวงชนบทแพร่
  11. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุราษฎร์ธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครศรีธรรมราช
    • แขวงทางหลวงชนบทชุมพร
    • แขวงทางหลวงชนบทระนอง
  12. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 12 (สงขลา)
    • แขวงทางหลวงชนบทสงขลา
    • แขวงทางหลวงชนบทสตูล
    • แขวงทางหลวงชนบทยะลา
    • แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี
    • แขวงทางหลวงชนบทนราธิวาส
  13. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 13 (ฉะเชิงเทรา)
    • แขวงทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา
    • แขวงทางหลวงชนบทนครนายก
    • แขวงทางหลวงชนบทปราจีนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทสระแก้ว
  14. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 14 (กระบี่)
    • แขวงทางหลวงชนบทกระบี่
    • แขวงทางหลวงชนบทพังงา
    • แขวงทางหลวงชนบทภูเก็ต
    • แขวงทางหลวงชนบทตรัง
    • แขวงทางหลวงชนบทพัทลุง
  15. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 15 (อุดรธานี)
    • แขวงทางหลวงชนบทอุดรธานี
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองบัวลำภู
    • แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย
    • แขวงทางหลวงชนบทบึงกาฬ
  16. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 16 (กาฬสินธุ์)
    • แขวงทางหลวงชนบทกาฬสินธุ์
    • แขวงทางหลวงชนบทสกลนคร
    • แขวงทางหลวงชนบทนครพนม
    • แขวงทางหลวงชนบทมุกดาหาร
  17. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 17 (เชียงราย)
    • แขวงทางหลวงชนบทเชียงราย
    • แขวงทางหลวงชนบทพะเยา
    • แขวงทางหลวงชนบทน่าน
  18. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 18 (สุพรรณบุรี)
    • แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทกาญจนบุรี
    • แขวงทางหลวงชนบทนครปฐม

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น