ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณีมายาเกวซ"

พิกัด: 10°18′7″N 103°8′3″E / 10.30194°N 103.13417°E / 10.30194; 103.13417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| commander2 = เอ็ม ซอน
| commander2 = เอ็ม ซอน
| commander3 =
| commander3 =
| strength1 = 220
| strength1 = 220 นาย
| strength2 = 85-100
| strength2 = 85–100 นาย
| strength3 =
| strength3 =
| casualties1 = เสียชีวิต 15 คน<br>บาดเจ็บ 41 คน<br>สูญหาย 3 คน (เสียชีวิต)<br>[[ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน]] 3 ลำถูกยิงตก<ref>[http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=RFAC&topic=129&Cate=1 33 ปี.. นาวิกฯ อีกคนเพิ่งได้กลับจากกัมพูชา]</ref>
| casualties1 = เสียชีวิต 15 นาย<br>บาดเจ็บ 41 นาย<br>สูญหาย 3 นาย (เสียชีวิต)<br>[[ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน]] 3 ลำถูกยิงตก<ref>[http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=RFAC&topic=129&Cate=1 33 ปี.. นาวิกฯ อีกคนเพิ่งได้กลับจากกัมพูชา]</ref>
| casualties2 = เสียชีวิต 13–25 คน<br>บาดเจ็บ 15 คน<br>เรือปืนจมลง 3 ลำ
| casualties2 = เสียชีวิต 13–25 นาย<br>บาดเจ็บ 15 นาย<br>เรือปืนจมลง 3 ลำ
| casualties3 =
| casualties3 =
| notes =
| notes =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:45, 2 มิถุนายน 2563

กรณีมายาเกวซ
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม

เรือเอสเอส มายาเกวซ ขณะถูกเรือปืนของเขมรแดงล้อม
วันที่13–15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975
สถานที่
ผล สหรัฐได้รับชัยชนะ โดยยึดเรือและตัวประกันกลับคืนมาได้
คู่สงคราม
สหรัฐ กัมพูชาประชาธิปไตย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เรนเดลล์ ดับเบิลยู. ออสติน เอ็ม ซอน
กำลัง
220 นาย 85–100 นาย
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 15 นาย
บาดเจ็บ 41 นาย
สูญหาย 3 นาย (เสียชีวิต)
ซีเอช-53 ซีสตัลเลียน 3 ลำถูกยิงตก[1]
เสียชีวิต 13–25 นาย
บาดเจ็บ 15 นาย
เรือปืนจมลง 3 ลำ

กรณีมายาเกวซ (อังกฤษ: Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐที่รวดเร็ว และเกิดขึ้นเพียง 3 วัน ระหว่างวันที่ 13–15 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 แต่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองยังภูมิภาคอินโดจีน

เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกันชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชาเพียง 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน)

การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการหยามหน้ารัฐบาลสหรัฐอย่างรุนแรง และด้วยขณะนั้นสงครามเวียดนามเพิ่งยุติลงได้เพียงไม่กี่วัน เนื่องจากการที่กองทัพเขมรแดงและเวียดนามเหนือสามารถบุกยึดกรุงไซง่อน ประเทศเวียดนามใต้ และกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของลัทธิคอมมิวนิสต์ และเป็นความพ่ายแพ้ครั้งประวัติศาสตร์ของกองทัพสหรัฐ

รัฐบาลสหรัฐโดยประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินประมาณ 1,000 นาย จากเกาะโอกินาวะและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินอู่ตะเภาในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพอเมริกันที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมาออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้

ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางสหรัฐมิได้กระทำการแจ้งอย่างเป็นทางการแก่รัฐบาลไทย อันถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชนจำนวน 10,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ทำการประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ อย่างรุนแรง โดยประณามการกระทำของสหรัฐว่าเป็นจักรวรรดินิยมอเมริกันที่คุกคามภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการชุมนุมลักษณะเช่นนี้และมีความพยายามเคลื่อนไหวที่จะให้มีการถอนกำลังทหารของสหรัฐออกจากประเทศไทยมาแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ขีดเส้นตายว่า สหรัฐต้องถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยให้หมดภายใน 18 เดือน และการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อ 2 ปีก่อน

รัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ตอบโต้สหรัฐด้วยการขอให้ทางการสหรัฐทำหนังสือขอโทษมาอย่างเป็นทางการ และจะมีการพิจารณาทบทวนข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างกัน และพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคำสั่งเรียกตัวอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐกลับด่วน

ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว ต่อมา ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เครื่องบินรบรุ่น เอฟ-4 ลำสุดท้ายก็ได้บินออกจากสนามบินกองทัพอากาศอุดรธานี ถือเป็นการปิดฉากการประจำการทางทหารของสหรัฐในประเทศไทยอย่างเด็ดขาด[2][3]

อ้างอิง

  1. 33 ปี.. นาวิกฯ อีกคนเพิ่งได้กลับจากกัมพูชา
  2. กระแสต้าน "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" นักศึกษาชุมนุมประท้วงการใช้ฐานทัพอากาศในไทย โดยไม่ขออนุญาต หน้า 149, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  3. Walter LaFeber, America, Russia, and the Cold War, 1945-1990, (McGraw - Hill, Inc., 1991), pp. 281 – 282.

แหล่งข้อมูลอื่น

10°18′7″N 103°8′3″E / 10.30194°N 103.13417°E / 10.30194; 103.13417