ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ผู้เล่นชุดปัจจุบัน: Update สารัช อยู่เย็น No.6
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
{{Fs player |no=77 |nat=Philippines |pos=DF |name=[[อัลบาโร ซิลบา]]}}
{{Fs player |no=77 |nat=Philippines |pos=DF |name=[[อัลบาโร ซิลบา]]}}
{{Fs player|no=99|nat=Malaysia|pos=FW|name=นอร์ชาห์รูล อิดลัน}}
{{Fs player|no=99|nat=Malaysia|pos=FW|name=นอร์ชาห์รูล อิดลัน}}
{{Fs player |no=— |nat=Venezuela |pos=DF |name=[[อันเดรส ตุญเญซ]]}}
{{Fs end}}
{{Fs end}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:38, 27 พฤษภาคม 2563

บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ฉายาเดอะ แรบบิท
ก่อตั้งพ.ศ. 2549[1]
สนามลีโอ สเตเดียม
Ground ความจุ10,114 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท บีจี สปอร์ตส์ จำกัด
ประธานปวิณ ภิรมย์ภักดี
ผู้จัดการสุรชัย จตุรภัทรพงษ์
ผู้ฝึกสอนดุสิต เฉลิมแสน
ลีกไทยลีก
2562ไทยลีก 2, อันดับที่ 1 (เลื่อนชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน
ทีมของบางกอกกล๊าส
ฟุตบอล (ชาย) อีสปอร์ต

สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี และบริหารโดยบริษัท บริษัท บีจี สปอร์ตส์ จำกัด โดยเป็นบริษัทในเครือบางกอกกล๊าสกรุ๊ป ปัจจุบันเล่นในไทยลีก

ประวัติสโมสร

สโมสรบางกอกกล๊าสเริ่มต้นในช่วงก่อตั้งโรงงานบางกอกกล๊าส ในปี พ.ศ. 2522 โดยเป็นการรวมตัวกันเพื่อแข่งขันเป็นการภายในของพนักงาน และต่อมาจึงได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันภายนอก ในช่วงปี พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นการแข่งขันกันในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดปทุมธานี จนเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป

ปี พ.ศ. 2542 พนักงานและกลุ่มผู้บริหารได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรมฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา และเมื่อชมรมมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งด้านอุปกรณ์ และสนาม จีงมีก่อตั้งสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสขึ้นในเดือน เมษายน พ.ศ. 2549 และเปิดคัดนักกีฬาในเดือนต่อมา โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในปีดังกล่าว

การแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกของสโมสรคือการเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง 2550/51 ซึ่งสโมสรประสบความสำเร็จเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ โดยในนัดชิงชนะเลิศแพ้สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองคูคตไป 1-0 และได้สิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค.ในปีต่อมา

ปี พ.ศ. 2551 สโมสรได้จัดตั้งบริษัท บีจีเอฟซี สปอร์ต จำกัด เพื่อดำเนินการบริหารสโมสรและให้เป็นไปตามแนวทางที่เอเอฟซีกำหนด และลงแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2551/52 สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศแพ้สโมสรฟุตบอลเจดับบลิว กรุ๊ป ไป 1-2 คว้าสิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในถ้วย ข.นอกจากนี้ทีมบางกอกกล๊าส ยังมีทีมฟุตซอลของตัวเอง ซึ่งลงแข่งในฟุตซอลไทยแลนด์ลีกอีกด้วย

ในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยจากศึก ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้ประกาศยุบทีม เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เอเอฟซีกำหนดในเรื่องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ สโมสรบางกอกกล๊าสจากฟุตบอลถ้วย ข. จึงได้ทำการเทคโอเวอร์ สโมสรธนาคารกรุงไทย โดยจะได้ลงแข่งใน ไทยพรีเมียร์ลีก ปี พ.ศ. 2552 แทนที่ของสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยที่ยุบทีม และได้ย้ายสนามไปเช่าสนามเฉลิมพระเกียรติ คลอง 6 เป็นการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงสนามลีโอ สเตเดี้ยม ซึ่งในปีแรกของการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบางกองกล๊าสนั้นทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการจบอันดับที่ 3 ในไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ส่วนทีมฟุตบอลที่พนักงานและกลุ่มผู้บริหารได้รวมตัวกันจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ยังคงดำเนินการส่งเข้าร่วมการแข่งขันในนามสโมสรฟุตบอลรังสิต

ปี พ.ศ. 2553 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้รับความนิยมอย่างสูง และได้สร้างสนาม ลีโอ สเตเดี้ยม เสร็จสมบูรณ์หลังจากที่ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ จนได้กลับมาเล่นในสนามแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากที่ปรับปรุงเกือบ 1 ปีในเดือน มกราคม สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันในฟุตบอล ควีนส์ คัพ ประสบความสำเร็จสามารถคว้าแชมป์มาได้สำเร็จด้วบการชนะอินทรีเพื่อนตำรวจ 4-1และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันในศึกสิงค์โปรคัพในปีที่สองทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม คว้าแชมป์สิงค์โปรคัพ 2010 ไปอีกรายการ

ปี พ.ศ. 2557 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้แชมป์แรกในประวัติศาสตร์สโมสร คือ ไทยคม เอฟเอคัพ 2557 ชนะชลบุรี 1-0 โดยที่รอบผ่านมา ชนะเชียงราย ยูไนเต็ต, เมืองทอง ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, ราชนาวี

ปี พ.ศ. 2558 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรก (AFC) ต่อมาปี พ.ศ. 2559 ได้ก่อตั้งศูนย์ฝึกฟุตบอล ยามาโอกะ ฮานาซากะ อะคาเดมี่ (YHA) และในปี พ.ศ. 2561 สโมสรบางกอกกล๊าสเปลี่ยนสัญลักษณ์สโมสรใหม่ และปรับปรุงสนามลีโอ สเตเดี้ยมมาใช้หญ้าจริง

ในการแข่งขันนัดสุดท้ายของไทยลีก ฤดูกาล 2561 ซึ่งทางสมาคมฯ ประกาศว่าจะมีทีมตกชั้น 5 ทีม บางกอกกล๊าสพ่ายแพ้ต่อนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี[2] ในขณะที่ทีมลุ้นหนีตกชั้นอีกสองทีม ได้แก่ สุโขทัย เอฟซี และชัยนาท ฮอร์นบิล ต่างคว้าชัยชนะได้[3][4] ทำให้ชัยนาทและบางกอกกล๊าสมีคะแนนเท่ากันที่ 42 คะแนน แต่ชัยนาทมีสถิติการพบกันที่ดีกว่า[4] ทำให้บางกอกกล๊าสกลายเป็นทีมสุดท้ายที่ต้องตกชั้น โดยได้อันดับที่ 14 ทำให้ต้องตกชั้นลงไปเตะใน ไทยลีก 2 ในฤดูกาล 2562 เป็นครั้งแรกของสโมสรในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ซื้อกิจการสโมสรธนาคารกรุงไทยเมื่อปี 2552[2]

สัญลักษณ์สโมสร

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ฉัตรชัย บุตรพรม
2 MF ไทย สหรัฐ โพธิ์ศรี
3 DF ไทย ทศพล ชมชน
4 MF ไทย เชาว์วัฒน์ วีระชาติ
5 DF บราซิล วิคเตอร์ คาร์โดโซ่
6 MF ไทย สารัช อยู่เย็น
7 MF ไทย จักรกฤษ ลาภตระกูล
8 MF ไทย ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์
9 FW ไทย สุรชาติ สารีพิมพ์ (กัปตันทีม)
10 MF ไทย สุมัญญา ปุริสาย
11 DF ไทย สหรัฐ ปองสุวรรณ
17 DF สิงคโปร์ อิรฟาน ฟานดี
20 MF สเปน ดานิเอล การ์ซิอา โรดริเกซ
21 DF ไทย รัตนชาติ เนียมไธสง
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 DF ไทย สันติภาพ จันทร์หง่อม
23 MF ไทย พีรพงศ์ พิชิตโชติรัตน์
25 GK ไทย ฟาหัส บิลังโหลด
29 FW ไทย ชาตรี ฉิมทะเล
32 MF ญี่ปุ่น ยูกิ บัมบะ
34 DF ไทย สมยศ พงษ์สุวรรณ
35 FW ไทย สิโรจน์ ฉัตรทอง
36 DF ไทย สุวรรณภัทร กิ่งแก้ว
37 FW บราซิล บาร์รอส ทาร์เดลี
43 DF ไทย ไชยพฤกษ์ จิราจินต์
77 DF ฟิลิปปินส์ อัลบาโร ซิลบา
99 FW มาเลเซีย นอร์ชาห์รูล อิดลัน
DF เวเนซุเอลา อันเดรส ตุญเญซ

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF ไทย เฉลิมศักดิ์ อักขี (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
MF ไทย ศิวกร แสงวงศ์ (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
MF ไทย ทัศนพงษ์ หมวดดารักษ์ (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
DF ไทย ธนินท์ เกียรติเลิศธรรม (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
GK ไทย กรพัฒน์ นารีจันทร์ (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF ไทย อภิสิทธิ์ โสรฎา (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
MF ไทย ณัฐชัย ศรีสุวรรณ์ ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล
DF ไทย เอกลักษณ์ ลุงนาม (ไป เชียงใหม่ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
DF ไทย ปิยะชนก ดาฤทธิ์ (ไป การท่าเรือ เอฟซี จนจบฤดูกาล)
FW ไทย ตะวัน โคตรสุโพธิ์ (ไป เซเรซโซ โอซากะ U23 จนจบฤดูกาล)
MF ไทย พงศ์รวิช จันทวงษ์ (ไป เซเรซโซ โอซากะ U23 จนจบฤดูกาล)

ทีมงานผู้บริหารและสต๊าฟโค้ช

ทีมงานผู้บริหาร

ชื่อ ตำแหน่ง
จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ไทย ประธานสโมสร กิตติมศักดิ์
สุรศักดิ์ เดชะรินทร์ ไทย รองประธานสโมร กิตติมศักดิ์
ปวิณ ภิรมย์ภักดี ไทย ประธานสโมสร
ศุภสิน ลีลาฤทธิ์ ไทย รองประธานสโมสร
อัมรัตน์ ภูววีรานินทร์ ไทย ที่ปรึกษา
กิตติศักดิ์ จิรภาสุขสกุล ไทย ที่ปรึกษา
ปิยศักดิ์ ภูมิจิตร ไทย กรรมการผู้จัดการ
วรเดช กฤตยาเกียรณ ไทย รองกรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาด และการสื่อสาร
วิรชาดา แสงชาติ ไทย ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชี
ธนากร ปันทวังกูร ไทย ผู้อำนวยการสำนักบริหาร / เลขาธิการสโมสร
ภาณุเดช วิศิษฏ์กุล ไทย ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคคล
วสันต์ ศานติวิวัฒน์กุล ไทย ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย

ทีมงานผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่

ชื่อ ตำแหน่ง
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ไทย ผู้อำนวยการฟุตบอล
ดุสิต เฉลิมแสน ไทย หัวหน้าผู้ฝึกสอน
ศุภชัย คมศิลป์ ไทย ผู้ช่วยฝึกสอน
ปรมัต พรหมแก้ว ไทย ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู
ศรีศักดิ์ เกตุจันทรา ไทย ฟิตเนส เทรนเนอร์
อรรถพล บุญสรรค์ ไทย ฟิตเนส เทรนเนอร์
ยงศักดิ์ เลิศดำรงเกียรติ ไทย นักกายภาพบำบัด
ศรัญญู เขียวเล็ก ไทย นักกายภาพบำบัด
อนุพัฒน์ ไกรสังข์ ไทย หมอนวดประจำทีม
อลงกรณ์ เอนกนวน ไทย หมอนวดประจำทีม
สันติสุข สกุลดี ไทย หมอนวดประจำทีม
สาโรจน์ เจริญสุข ไทย เจ้าหน้าที่ทีม
ธวัชชัย ขำคล้อย ไทย เจ้าหน้าที่ทีม
พรชัย พลกูร ไทย เจ้าหน้าที่ทีม

ตารางคะแนนในฟุตบอลลีก

ฤดูกาล ดิวิชัน อันดับที่ นัด W D L F A +/- แต้ม เหย้า W D L F A +/- แต้ม เยือน W D L F A +/- แต้ม ดาวซัลโวสูงสุด จำนวนประตู
2562 T2 1st 34 24 6 4 76 27 49 78 17 15 1 1 43 9 34 46 17 9 5 3 33 18 15 32 บาร์รอส ทาร์เดลลี 18
2561 T1 14th 34 11 9 14 55 46 9 42 15 8 1 6 32 22 10 25 16 3 7 6 21 19 2 16 สุรชาติ สารีพิมพ์

ดาวิด บาล่า

8
2560 T1 5th 34 16 8 10 63 44 19 56 17 12 2 3 42 19 22 38 17 4 6 7 21 25 -4 18 สุรชาติ สารีพิมพ์
ยาสมานี่ คัมโปส
10
2559 TL 3rd 31 18 3 10 62 41 21 57 15 11 1 3 34 14 20 34 16 7 2 7 28 27 1 23 อาเรียล โรดริเกวซ 19
2558 TPL 6th 34 15 11 8 47 38 9 56 17 11 5 1 37 19 18 38 17 4 6 7 10 19 (-9) 18 ดาร์โก้ ทาเชฟสกี้
อริดาเน่ ซานตาน่า
9
2557 TPL 10th 38 14 7 17 70 65 5 49 19 9 3 7 40 30 10 30 19 5 4 10 30 35 (-5) 19 ลาซารัส คาอิมบี้ 12
2556 TPL 5th 32 14 8 10 40 31 9 50 16 11 3 2 27 8 19 36 16 3 5 8 13 23 (-10) 14 ชาตรี ฉิมทะเล 10
2555 TPL 8th 34 10 15 9 53 39 14 45 17 8 7 2 33 15 18 31 17 2 8 7 20 24 (-4) 14 อาจายี่ เบงกา 12
2554 TPL 5th 34 15 8 11 55 41 14 53 17 11 3 3 36 15 21 36 17 4 5 8 19 26 (-7) 17 ศรายุทธ ชัยคำดี 15
2553 TPL 5th 30 12 9 9 48 38 10 45 15 8 6 1 28 12 16 30 15 4 3 8 20 26 (-6) 15 ชาตรี ฉิมทะเล 10
2552 TPL 3rd 30 16 8 6 45 31 14 56 15 11 4 0 25 11 14 37 15 5 4 6 20 20 0 19 นันทวัฒน์ แทนโสภา 11

ฟุตบอลถ้วย

ปี ถ้วย ก. เอฟเอคัพ ลีกคัพ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
2562 สมาคมฯ
ยกเลิกการแข่งขัน
รอบ 32 ทีม รอบก่อนรองชนะเลิศ ไม่ได้แข่งขัน
2561 รอบ 32 ทีม รองชนะเลิศ ไม่ได้แข่งขัน
2560 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม ไม่ได้แข่งขัน
2559 ไม่ได้แข่งขัน รอบ 32 ทีม รอบ 32 ทีม ไม่ได้แข่งขัน
2558 รองชนะเลิศ รอบ 16 ทีม รอบ 16 ทีม รอบคัดเลือกรอบ 3
2557 ไม่ได้แข่งขัน ชนะเลิศ รอบ 8 ทีม ไม่ได้แข่งขัน
2556 ไม่ได้แข่งขัน รองชนะเลิศ รอบ 64 ทีม ไม่ได้แข่งขัน
2555 ไม่ได้แข่งขัน รอบรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ ไม่ได้แข่งขัน
2554 ไม่ได้แข่งขัน รอบ 4 รอบ 32 ทีม ไม่ได้แข่งขัน
2553 ไม่ได้แข่งขัน รอบ 3 รอบ 8 ทีม ไม่ได้แข่งขัน
2552 ไม่ได้แข่งขัน รอบก่อนรอง ไม่ได้แข่งขัน ไม่ได้แข่งขัน
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน (พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน)

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา เกียรติยศ
อ.ไนยะ บุญประสิทธิ์ ไทย เม.ย. 2549 – ต.ค. 2551 รองชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภท ง
Mr.Hans Rudolf Franz Emser เยอรมนี มี.ค. 2552 – มิ.ย. 2552
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ไทย มิ.ย. 2552 – มิ.ย. 2553 สิงค์โปร์คัพ รองชนะเลิศ 2552, ควีนส์คัพ ชนะเลิศ 2553
CARLOS ROBERTO DE CARVALHO บราซิล มิ.ย. 2553 – ต.ค. 2553
ศุภสิน ลีลาฤทธิ์/สาธิต เบ็ญโสะ ไทย ต.ค. 2553 – มี.ค. 2554 สิงค์โปร์คัพ ชนะเลิศ 2553
อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ ไทย มี.ค. 2554 – ธ.ค. 2554
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ไทย ม.ค. 2555 – ก.ย. 2555
ฟิล สตับบินส์ อังกฤษ ต.ค. 2555 – มี.ค. 2556
อนุรักษ์ ศรีเกิด ไทย เม.ย. 2556 – พ.ค. 2556
อรรถพล บุษปาคม ไทย พ.ค. 2556 – มิ.ย. 2557 รองชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2556
อนุรักษ์ ศรีเกิด ไทย ก.ค. 2557 – ธ.ค. 2557 ชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2557
ริคาร์โด้ โรดริเกวซ สเปน ม.ค. 2558 – พ.ย. 2558
อนุรักษ์ ศรีเกิด ไทย ธ.ค. 2558 – มิ.ย. 2559
ออเรลิโอ วิดมาร์ ออสเตรเลีย ส.ค. 2559 – ก.ค. 2560
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ไทย ก.ค. 2560 – พ.ย. 2560
โจเซฟ เฟร์เร สเปน พ.ย. 2560 – มี.ค. 2561
อนุรักษ์ ศรีเกิด ไทย เม.ย. 2561 – ต.ค. 2561 รองชนะเลิศ ลีกคัพ 2561
ดุสิต เฉลิมแสน ไทย ต.ค. 2561 – ปัจจุบัน ชนะเลิศ ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562

เกียรติยศ

เกียรติยศ จำนวน ฤดูกาล
ถ้วยภายในประเทศ
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง 2550/51 รองแชมป์ 1 2550/51
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2551/52 รองแชมป์ 1 2551/52
ควีนส์ คัพ ชนะเลิศ 1 2553
ซูเปอร์คัพ ชนะเลิศ 1 2552
ไทยเอฟเอคัพ รองชนะเลิศ 1 2556
ไทยคม เอฟเอคัพ ชนะเลิศ 1 2557
ไทยลีก 2 ชนะเลิศ 1 2562
ถ้วยนอกประเทศ
สิงคโปร์คัพ ชนะเลิศ 1 2553
สิงคโปร์คัพ รองชนะเลิศ 1 2552
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ 1 2558

อะคาเดมี่ สโมสรบางกอกกล๊าส

สโมสรบางกอกกล๊าส ได้เปิดอะคาเดมี่ฟุตบอล สำหรับเยาวชน เพื่อคัดเลือกเยาวชนที่มีความสนใจด้านการฝึกทักษะความสามารถด้านฟุตบอลในระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงในหลักสูตรสากล โดยมีโค้ชผู้ฝึกสอนระดับมืออาชีพ สร้างให้ผู้เรียนได้มีความรู้ด้านฟุตบอลถูกต้องและสามารถทำให้ผู้เรียนเป็นนักกีฬาอย่างแท้จริง และสามารถนำไปปรับใช้เพื่อในอนาคตก้าวไปสู่ระดับอาชีพได้

สโมสร จึงเปิดศูนย์ฝึกสอนฟุตบอลบางกอกกล๊าส ได้เปิดสอนเยาวชนมาตั้งแต่ปี 2552 ทั้งนี้ - เปิดคลินิกฟุตบอล (เสาร์-อาทิตย์) เป็นประจำ - คัดเลือกนักเตะเยาวชน เข้ามาอยู่ในสังกัดอคาเดมี่ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ทีมชุดใหญ่ของสโมสรต่อไป

ปี 2555 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้เซ็นสัญญา ร่วมเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนอัสสัมชัญ ในโครงการอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนักเตะ บุคลากร ของโรงเรียน ให้มีความรู้ความสามารถด้านฟุตบอลมากยิ่งขึ้น และยังพัฒนานักเตะเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนักเตะบางกอกกล๊าสในอนาคตต่อไป

ปี 2555 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้สนับสนุนให้ ส.บางกอกกล๊าส (รังสิต เอฟซี) เข้าแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภทข. จนคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทานได้สำเร็จ และได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่น ฟุตบอลลีกภูมิภาค โซนกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสโมสรมีนโยบายจะให้ทีม สโมสรฟุตบอลรังสิต เอฟซี นั้นเป็นเวทีแจ้งเกิด ของนักฟุตบอลเยาวชนของสโมสร เป็นการสร้างโอกาส ฝึกฝน เรียนรู้การเป็นนักเตะอาชีพ ก่อนที่จะได้รับโอกาสขึ้นมาเล่นใน สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ต่อไป

ปี 2556 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้สนับสนุนให้ ส.บางกอกกล๊าส (รังสิต เอฟซี) เป็นพันธมิตร 2 ปี กับมหาวิทยาลัยธนบุรี ในการจับมือร่วมกันทำทีม สโมสรธนบุรี-บีจี ยูไนเต็ด ส่งทีมเข้าแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค โซนภาคกลางและภาคตะวันตก โดยมีโค้ชสาธิต เบ็ญโสะ เป็นหัวหน้าสต๊าฟโค้ช และมีนักเตะเยาวชนสโมสรบางกอกกล๊าสร่วมทีม

ปี 2559 สโมสรบางกอกกล๊าส ร่วมกับตั้งศูนย์ฝึกฟุตบอล ยามาโอกะ ฮานาซากะ อะคาเดมี่(YHA) ตั้งอยู่ที่ คลอง 4 รังสิต จ.ปทุมธานี และจัดโครงการสร้างเจ้าหนูนักเตะ โดยปัจจุบันเปิดรับเยาวชนเข้าร่วมฝึกฝนในอะคาเดมี่ด้วยกัน 3 รุ่น ได้แก่ ยู-12 ยู-15 และยู-18

ผอ.ศูนย์ฝึกเยาวชน ประเทศ ปี
Mr.Hans Rudolf Franz Emser เยอรมนี 2552-2559
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ไทย 2559-ปัจจุบัน

สโมสรพันธมิตร

พันธมิตรต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. http://www.bangkokglass.co.th/index.php?page=content&id=4&sId=36&PHPSESSID=3f5e3e1c906b430039fd8c8f61724ad8
  2. 2.0 2.1 บางกอกกล๊าส 1-2 โคราช : บีจีตกชั้นทีมสุดท้ายในรอบ 10 ปี, FourFourTwo, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561
  3. สุโขทัยเชือดแอร์ฟอร์ซ 3-2 รอดตกชั้น, Goal.com, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561
  4. 4.0 4.1 H2Hดีกว่าบีจี! ชัยนาทซัดสุพรรณ2-1 รอดตกชั้น, Goal.com, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561

แหล่งข้อมูลอื่น