ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัญญา ธรรมศักดิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = สัญญา ธรรมศักดิ์
| name = สัญญา ธรรมศักดิ์
| honorific-suffix = <br>[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์|น.ร.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก|ม.ป.ช.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|ม.ว.ม.]], [[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]], [[เหรียญรัตนาภรณ์|ภ.ป.ร.1]]
| honorific-suffix = <br>[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์|น.ร.]], [[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก|ม.ป.ช.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|ม.ว.ม.]], [[เหรียญรัตนาภรณ์|ภ.ป.ร.1]]
| image = Sanya Dharmasakti.jpg
| image = Sanya Dharmasakti.jpg
| order = [[สภาองคมนตรีไทย|ประธานองคมนตรีไทย]] คนที่ 6
| order = [[สภาองคมนตรีไทย|ประธานองคมนตรีไทย]] คนที่ 6

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:27, 27 พฤษภาคม 2563

สัญญา ธรรมศักดิ์
ไฟล์:Sanya Dharmasakti.jpg
ประธานองคมนตรีไทย คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 – 4 กันยายน พ.ศ. 2541
(22 ปี 273 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
ถัดไปพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
(0 ปี 220 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองนายกรัฐมนตรีสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ก่อนหน้าจอมพล ถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
(0 ปี 263 วัน)
รองนายกรัฐมนตรีประกอบ หุตะสิงห์
ถัดไปม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
ประธานศาลฎีกา คนที่ 15
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510
(4 ปี 0 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ก่อนหน้าประวัติ ปัตตพงศ์
ถัดไปประกอบ หุตะสิงห์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2514 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(2 ปี 198 วัน)
ก่อนหน้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ถัดไปศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ (รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2450
ข้างวัดอรุณราชวราราม บางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรีประเทศสยาม
เสียชีวิต6 มกราคม พ.ศ. 2545 (94 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานครประเทศไทย
คู่สมรสท่านผู้หญิง พงา ธรรมศักดิ์
ลายมือชื่อไฟล์:Thai-PM-sanya signature.png

ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ (5 เมษายน พ.ศ. 24506 มกราคม พ.ศ. 2545) เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ[1],ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[2] ปลัดกระทรวงยุติธรรม[3]รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุรวมได้ 94 ปี

ประวัติและครอบครัว

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 3 คน บิดาชื่อ มหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี ศรีสัตยวัตตา พิริยพาหะ (ทองดี ธรรมศักดิ์) มารดาชื่อ คุณหญิงชื้น ธรรมสารเวทย์ฯ สมรสกับ ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ และนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

การศึกษา

ถ่ายเมื่ออายุได้ 22 ปี ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
  • เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อ พ.ศ. 2456 จากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2457 และสำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์) พ.ศ. 2468
  • เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นเวลา 3 ปี และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2471
  • สอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียน "รพีบุญนิธิ" พ.ศ. 2472 ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple) เป็นเวลา 3 ปี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at-Law) เมื่อ พ.ศ. 2475

การทำงาน

การดำรงตำแหน่งในด้านตุลาการ


การดำรงตำแหน่งองคมนตรี

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511[4] เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ท่านกราบบังคมทูลลาไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาหลังจากท่านพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 พร้อมกับบุคคลอื่น ๆ อีก 11 คน[5] ต่อมา หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธานองคมนตรีถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2518 ตำแหน่งประธานองคมนตรีจึงว่างลง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518[6] ท่านดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนถึงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 จึงพ้นจากตำแหน่งประธานองคมนตรี โดยท่านขอลาออกเองเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[7] พลเอกเปรม ติณสูลานนท์จึงได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานองคมนตรีสืบมา

การดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2511[8]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ไฟล์:1 9.jpg
ขณะที่แถลงการณ์ออกโทรทัศน์
ไฟล์:G182 jpg.jpg
นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516[9] เวลา 19.00 น. ในเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากถวายบังคมลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองคมนตรีอยู่ หลังจากได้มีประกาศแต่งตั้งไป กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้โห่ร้องด้วยความดีใจ แต่บางส่วนก็ยังไม่ปักใจเชื่อ และการปะทะกันก็ยังต่อเนื่องอยู่ ในเวลา 23.15 น. ท่านได้กล่าวคำปราศรัยจากหอพระสมุด ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โดยผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า

พี่น้องชาวไทย นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย ด้วยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในวันนี้ให้ข้าพเจ้าเข้ารับภาระหน้าที่อันหนัก เป็นนายกรัฐมนตรีแม้จะเป็นระยะเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ดี ข้าพเจ้าก็รับพระบารมีใส่เกล้า ฯ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจะทำงานโดยเต็มสติกำลังความสามารถ ในชั้นแรกและที่เป็นการด่วนอย่างยิ่งในวันนี้ก็คือข้าพเจ้าขอร้องให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ทั้งที่เป็นทหารตำรวจ นิสิต นักศึกษา และประชาชนขอให้รักษาความสงบเรียบร้อยโดยพลัน ทั้งนี้เพื่อประชาชนและเพื่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของเรา ข้าพเจ้าขอสัญญาว่าจะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ และข้าพเจ้าคาดคิดว่าไม่ควรจะเกิน 6 เดือน นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะเชื้อเชิญท่านผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณธรรมความสามารถความซื่อสัตย์สุจริตประกอบเข้าเป็นคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้ ขอให้ท่านข้าราชการประจำทุกท่าน ไม่ว่าในตำแหน่งใดได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่านมีอยู่ในปัจจุบันต่อไปตามเดิมทุกประการ

จากนั้นในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 16.00 น. ท่านได้นำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ประกอบด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ว่า "รัฐบาลท่านพระครู" เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลที่ธรรมะธรรมโม และแม้ได้เข้ามาบริหารราชการแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ในประเทศยังคงระอุอยู่ เพราะเหตุความวุ่นวายต่าง ๆ และรัฐบาลเสนอกฎหมายผ่านสภาถึง 3 ฉบับ แต่ไม่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "รัฐบาลมะเขือเผา" จนในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ท่านได้ทำหนังสือลาออกจากตำแหน่ง แต่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติ เห็นชอบให้ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีตามเดิมในวันที่ 28 พฤษภาคม[10] จนกระทั่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจากการเลือกตั้ง ท่านจึงได้พ้นวาระไป

ผลงานทางวิชาการ

  1. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วน – บริษัท (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
  2. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลักษณะทรัพย์ (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมหนังสือ)
  3. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2526. (ซึ่งศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ได้เป็น ผู้เรียบเรียงและปรับปรุง เพิ่มเติมจากฉบับ คำบรรยายของนายสัญญา ธรรมศักดิ์)
  4. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ม.ป.ป.
  5. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 1 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
  6. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตอน 2 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประภาศน์ อวยชัย). กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2515.
  7. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 ถึงภาค 3 มาตรา 1 - 171 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
  8. คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 3 ถึงภาค 7 มาตรา 172 - 267 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประภาศน์ อวยชัย). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2530.
  9. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์, 2516. (บันทึกคำอธิบายโดยย่อของ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งบรรยายแก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ปี 2 สมัยการศึกษา 2514)
  10. รายงานการร่วมประชุมสัมมนาของสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม, 2503.
  11. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับ 14 ตุลาคม’ 16. กรุงเทพฯ : ส่องศยาม, 2534.
  12. หนทางสู่ความสำเร็จของนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2534.
  13. การอภิปรายเรื่องคุณค่าของวิชากฎหมาย, บทบัณฑิตย์. 26 (1 – 2 ) : 49-84. (พฤษภาคม, 2512)
  14. ความสำเร็จในชีวิต, ดุลพาห. 38 (1) : 49-66. (มกราคม - กุมภาพันธ์, 2534)
  15. คำชี้แจงความเข้าใจในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณา ความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499, ดุลพาห. 38 (1) : 13-39. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  16. คำแถลงการณ์วิธีการออกหนังสือนิตยสารกระทรวงยุติธรรม, ดุลพาห. 38 (1) : 11-12. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  17. คำบรรยายเรื่องลักษณะของเจ้าของศาลตามหลักวิชาการ, ดุลพาห. 38 (1) : 40-48. (มกราคม – กุมภาพันธ์, 2534)
  18. คำอำลาของอดีตประมุขตุลาการ, บทบัณฑิตย์. 25 (1) : 7-10. (มกราคม, 2511)
  19. พระมหากรุณาธิคุณของในหลวงต่อวงการกฎหมาย, บทบัณฑิตย์. (ช52 (2) : 78. (มิถุนายน, 2539)
  20. รวมโอวาทสำหรับตุลาการ, ดุลพาห. 38 (2) : 88-100. (มีนาคม – เมษายน, 2534)
  21. ลักษณะของห้องพิจารณาของศาล, ดุลพาห 1 (4) : 2-13. (กรกฎาคม, 2497)
  22. สนทนากับนักกฎหมาย, วารสารกฎหมาย. 3 (2) : 84-90. (พฤษภาคม – สิงหาคม, 2520)
  23. เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, บทบัณฑิตย์. 32 (2) : 169-171. (2518)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรืองแต่งตั้ง กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/025/1659.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี, เล่ม ๘๕, ตอน ๕๕ ก ฉบับพิเศษ, ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี, เล่ม ๙๒, ตอน ๗๐, ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี, เล่ม ๙๒, ตอน ๒๕๒ ก ฉบับพิเศษ, ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งประธานองคมนตรี, เล่ม ๑๑๕, ตอนพิเศษ ๙๗ ง, ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/D/062/2022.PDF
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสัญญา ธรรมศักดิ์)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สมัยที่ ๒)
  11. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ หน้า ๗๒ เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๐ ข, ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕, ตอน ๓๙ ง, ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
  13. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  14. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๘๖, ตอน ๔๖ ง, ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒, หน้า ๑๘๓๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓ เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๑๓, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘, ตอน ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔, หน้า ๘

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ก่อนหน้า สัญญา ธรรมศักดิ์ ถัดไป
จอมพลถนอม กิตติขจร ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(14 ตุลาคม พ.ศ. 251615 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518)
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ประวัติ ปัตตพงศ์ ประธานศาลฎีกา
(พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2510)
ประกอบ หุตะสิงห์
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธานองคมนตรี
(5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - 4 กันยายน พ.ศ. 2541)
เปรม ติณสูลานนท์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(1 เมษายน พ.ศ. 2514 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ (รักษาการ)