ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Parnnakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 215: บรรทัด 215:
* [[พ.ศ. 2528]] : [[ตี๋ใหญ่]] ทาง[[ช่อง 5]]
* [[พ.ศ. 2528]] : [[ตี๋ใหญ่]] ทาง[[ช่อง 5]]
* [[พ.ศ. 2528]] : [[ค่าของคน]] ทาง[[ช่อง 3]]
* [[พ.ศ. 2528]] : [[ค่าของคน]] ทาง[[ช่อง 3]]
* พ.ศ. 2529 : มาเฟียซาอุ ทาง[[ช่อง 5]]
* [[พ.ศ. 2529]] : [[กุหลาบไร้หนาม]] ทาง[[ช่อง 3]]
* [[พ.ศ. 2529]] : [[กุหลาบไร้หนาม]] ทาง[[ช่อง 3]]
* [[พ.ศ. 2529]] : เปรต ทาง[[ช่อง 7]]
* [[พ.ศ. 2529]] : เปรต ทาง[[ช่อง 7]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:01, 26 พฤษภาคม 2563

มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 (103 ปี)
คู่สมรสหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร (เสียชีวิต)
อาชีพนักแสดง นักพากย์
ปีที่แสดง2482–2555
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
พ.ศ. 2542 - (ภาพยนตร์และละคร นักแสดง-นักพากย์)
สุพรรณหงส์นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 - โอวตี่
ชมรมวิจารณ์บันเทิงพ.ศ. 2559 -เกียรติคุณแห่งความสำเร็จ
โทรทัศน์ทองคำพ.ศ. 2548 -รางวัลเกียรติยศคนทีวี
ฐานข้อมูล
IMDb

มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463) เป็นนักแสดงหญิงอาวุโสและนักพากย์ภาพยนตร์อาวุโสชาวไทย ได้รับคัดเลือกให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพ.ศ. 2542

ประวัติ

มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดที่มณฑลปราจีนบุรี เริ่มเข้าสู่วงการจากการเป็นดาราตลกจำอวดขณะอายุ 17 ปี ร่วมกับ อบ บุญติด, ดอกดิน กัญญามาลย์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมควร กระจ่างศาสตร์[1] ในยุคละครเวที สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2[2] ต่อมาสมรสกับหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร และได้ทำงานเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ในนาม "รุจิรา - มารศรี "[3] เป็นคู่นักพากย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของผู้ชมภาพยนตร์มายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ พร้อมกับใช้ชีวิตครอบครัว มีบุตร-ธิดาสามคน และอยู่ในวงการบันเทิง[2] ได้แก่

ผลงานการแสดง

มารศรีมีผลงานการแสดงทั้งแนวชีวิตและแนวชวนหัว กับงานพากย์ภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม.จนถึงยุคหนังสโคป 35 มม. เช่น สายโลหิต, ผู้ชนะสิบทิศ, เป็ดน้อย (ไม่ใส่เครดิตร่วมแสดง), เกาะสวาทหาดสวรรค์, มันมากับความมืด, เขาชื่อกานต์, โอวตี่, เครือฟ้า และอีกหลายเรื่องเป็นผู้พากย์เสียงลงฟิล์ม เช่น ละครเร่ รวมทั้งงานแสดงละครโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง เช่น คมพยาบาท (ทางช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อพ.ศ. 2512)[4] จนถึงปัจจุบัน

ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ประจำปีพ.ศ. 2529 จากเรื่อง โอวตี่[3] และการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพ.ศ. 2542[5] และรางวัลเกียรติยศคนทีวี จัดโดยรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปีพ.ศ. 2548 ร่วมกับ พิชัย วาสนาส่งและสินีนาฏ โพธิเวส[6]

ละครเวที

  • พ.ศ. 2485  : วนิดา รับบท วนิดา
  • พ.ศ. 24**  : ลานอโศก
  • พ.ศ. 24**  : ขุนวรวงศา
  • พ.ศ. 24**  : นางบุญใจบาป
  • พ.ศ. 24**  : คุณหญิงพวงแข
  • พ.ศ. 2496  : ล่องอเวจี(สาวเวียงฟ้า) รับบทเป็น ฟ้างาม/ฟองจันทร์

งานแสดงภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

รางวัล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[8]

อ้างอิง

  1. กิจกรรมลานดารา หอภาพยนตร์ชาติ (องค์การมหาชน)
  2. 2.0 2.1 ประวัติจาก thaifilm.com
  3. 3.0 3.1 ประวัติ นางมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2383 ปีที่ 46 ประจำวันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2543 โดย นายนิติกร กรัยวิเชียร
  4. อารีย์ นักดนตรี, โลกมายาของอารีย์, กายมารุต, 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 397-405
  5. ประวัติศิลปินแห่งชาติ
  6. ผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2548
  7. "ฟรีแลนซ์ฯ"คว้าหนังเยี่ยม รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง dailynews.co.th
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2543 เล่ม 117, ตอน 26 ข, 21 ธันวาคม 2543, หน้า 22.

แหล่งข้อมูลอื่น