ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เกณฑ์บทความประเภทละครไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
--[[ผู้ใช้:Horus|Horus]] ([[คุยกับผู้ใช้:Horus|พูดคุย]]) 17:21, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)
--[[ผู้ใช้:Horus|Horus]] ([[คุยกับผู้ใช้:Horus|พูดคุย]]) 17:21, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)


อ่านแล้วงง ข้อ 2 มีลิงก์ตัวอย่างมั๊ย --20:13, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)[[ผู้ใช้:Sry85|Sry85]] ([[คุยกับผู้ใช้:Sry85|คุย]])
อ่านแล้วงง ข้อ 2 ของการกล่าวถึงอย่างสำคัญ มีลิงก์ตัวอย่างมั๊ย --20:13, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)[[ผู้ใช้:Sry85|Sry85]] ([[คุยกับผู้ใช้:Sry85|คุย]])

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:14, 25 พฤษภาคม 2563

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

ที่ผ่านมาบทความประเภทละครรวมถึงบทความรายการโทรทัศน์ ดูจะเป็นบทความที่มีปัญหามากที่สุดในวิกิพีเดียภาษาไทย และถูกลบบ่อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่บางทีก็มีเนื้อหาที่พอเป็นสารานุกรม อันนำมาสู่ข้อพิพาทตามมา อันเนื่องจากความไม่ชัดเจนนัก ในการลบ แจ้งลบ แจ้งขาดความสำคัญ ผมว่าถึงคราวแล้วที่จะมากำหนดเกณฑ์ เนื้อหาว่าบทความใดควรถูกลบออก เพื่อให้ผู้เขียนมีแนวทางในการเขียนด้วย

และเมื่อดูจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ จากเว็บไซต์ โทรทัศน์ หรือหนังสือ ก็มีแหล่งอ้างอิงจำพวกละคร รายการโทรทัศน์จำนวนมาก อีกทั้งรายการพวกละครก็เป็นรายการช่วงไพรม์ไทม์ คือ รายการที่ทางสถานีเน้นเป็นพิเศษ แต่กลับเป็นว่า ทำไมบทความละครถึงถูกลบเป็นจำนวนมากทั้ง ๆ ที่บางทีก็มีการใส่อ้างอิงบ้าง และบทความประเภทละครก็เป็นหนึ่งในบทความที่มีคนค้นหามากที่สุดด้วย ประเด็นตรงนี้จึงขอเสนอ เกณฑ์ในการพิจารณา ว่า มีอะไรแล้วผ่านเกณฑ์ได้

โดยทั่วไป บทความละครที่เขียนก็จะเขียนว่า ใครสร้าง นักแสดงคือใคร ฉายช่องไหน ตัวละครมีใครบ้าง มีข้อมูลเท่านี้ผ่านเกณฑ์รึยัง หากไม่ผ่าน โดยส่วนตัว เมื่อดูวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ en:A Gift For Whom You Hate en:Oh My Ghost (2018 TV series) ยังรู้สึกว่า วิกิพีเดียภาษาไทย ลบบทความง่ายเกินไป --Sry85 (คุย) 14:53, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ขอเชิญผู้ใช้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมอภิปราย เพื่อจะได้รับทราบและไม่เกิดปัญหาภายหลัง (เท่าที่คิดออก) @PUNG191230, Chiangmai2499, Magnamonkun, และ Kang2540: --Horus (พูดคุย) 01:52, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เกณฑ์ความสำคัญ

แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

  • แหล่งข้อมูลอิสระ แหล่งข้อมูลต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานี ช่องที่เผยแพร่ เช่น หากออกอากาศทางช่อง 3 ต้องมีแหล่งข้อมูลอิสระอื่นเพื่อแสดงความโดดเด่น โดยข้อมูลในแหล่งอ้างอิงนี้จะต้องมีการกล่าวถึงในบทความ เช่น อ้างอิงที่ระบุถึง ผู้สร้าง ผู้กำกับ นักแสดง และต้องเป็นอ้างอิงที่กล่าวถึงละครและรายการนั้นโดยเฉพาะ
  • ความน่าเชื่อถือ ใช้แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ มีกองบรรณาธิการมืออาชีพ เช่นจากสำนักข่าวใหญ่ อย่าง ไทยรัฐ เดลินิวส์ คมชัดลึก เนชั่น ไอเอ็นเอ็น ผู้จัดการออนไลน์ กรุงเทพธุรกิจ สนุก.คอม ดาราเดลี่ เดอะสแตนดาร์ด เดอะแมตเทอร์ เดอะคลาวด์ เดอะโมเมนตัม ฯลฯ ส่วนเว็บไซต์ในลักษณะคลิกเบต เต็มไปด้วยสำเนาเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่น รวมถึงเขียนขึ้นจากบุคคลทั่วไป เช่น จากบล็อก พันทิป เฟซบุ๊กส่วนตัว ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม จะยังไม่ผ่านเกณฑ์ความน่าเชื่อถือ นอกจากนั้นสามารถใช้อ้างอิงจากยูทูบได้ แต่ต้องเป็นอ้างอิงที่เป็นรายงานเนื้อหาที่ให้ข้อมูลเชิงลึกและผู้ทำเป็นสำนักข่าวมืออาชีพ ไม่ใช่ลิงก์เพื่อดูคลิปละครหรือฟังเพลงประกอบละคร

เกณฑ์พิจารณาความโดดเด่น

ผมขอร่างเกณฑ์ โดยใช้เกณฑ์ภาพยนตร์มาอิง

  • ละครที่มีการทำซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง ถือว่าผ่านเกณฑ์
  • ละครที่ออกฉายในช่วงไพรม์ไทม์ (20.00–22.00 น.)
  • มีการอ้างถึงเรตติ้ง
  • ละครที่ได้รับรางวัลหรือได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลที่โดดเด่น อย่าง รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลนาฏราช คมชัดลึกอะวอดส์ ฯลฯ
  • มีการเอ่ยถือเบื้องหลังงานสร้าง อย่าง ที่มาโครงการ สถานที่ถ่ายทำ การตัดต่อ เทคนิคภาพพิเศษ การทำการตลาด ฯลฯ
  • ละครที่มีคำวิจารณ์ โดยต้องมีอ้างอิงทุติภูมิกำกับ
  • ละครที่มีอ้างอิงทุติยภูมิกล่าวถึง อย่างน้อย 2 แหล่งอ้างอิง พูดถึงคนละเรื่องกัน ที่ไม่ใช่อ้างอิงในลักษณะการทิ้งระเบิดความโดดเด่น

อภิปราย

ความเห็นของ Horus

ต้องถามว่า "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" ตาม WP:NOTE จะนำมาใช้กับบทความทำนองนี้อย่างไรดีกว่า บางเรื่องเข้าเกณฑ์ข้างต้นก็จริง แต่ไม่มีเนื้อหาแบบสารานุกรมให้เขียน ก็เขียนไม่ได้อยู่ดี (ผมเคยเดินผ่านร้านหนังสือสมัยก่อนก็เห็นหนังสือเป็นเล่มเกี่ยวกับละครเรื่องนั้นเรื่องนี้สงสัยไม่มีใครหยิบเอามาเขียนกระมัง)

ผมเองก็ยอมรับว่าเนื้อหาพวกนี้ก็คงจะหายากในบางเรื่อง แต่เวลาหยิบประเด็นขึ้นมาถกก็ไม่มีคนมาออกความเห็นต่อ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ความโดดเด่น#Significant Coverage
(ณ วันที่ 24 พ.ค. 63) บทความที่คุณยกมาข้างต้นเพิ่งมีอายุได้ 6 วัน มีการเข้าชมไม่ถึง 35 ครั้งต่อวัน ([1]) และยังมีผู้เขียนคนเดียวอยู่ ([2]) ไม่สามารถบอกได้ว่าถ้ามีผู้ใช้ที่คว่ำหวอดมาเห็นแล้วจะว่าอย่างไร
ไหน ๆ แล้วขอให้ขยายประเด็นการอภิปรายให้รวมถึงดารา นักแสดงไทย (ที่ไม่มีบทความผ่านเกณฑ์วิกิพีเดียภาษาอื่นเทียบ) ด้วยเลยครับ
--Horus (พูดคุย) 15:37, 24 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอเกณฑ์ดังนี้

หัวข้อ รายละเอียด
การกล่าวถึงอย่างสำคัญ
  1. สาระสำคัญของอ้างอิงนั้นกล่าวถึงรายการนั้นโดยเฉพาะ
  2. ต้องมีเนื้อหาที่นำมาเขียนในลักษณะสารานุกรมได้ (เช่นไม่ใช่เพียงบทสัมภาษณ์ความรู้สึกของนักแสดง) และควรสามารถหาเนื้อหาได้มากกว่าเป็นเพียงฐานข้อมูล (คือ มีเฉพาะข้อมูลน้กแสดง ช่อง การฉาย เพลงประกอบ ฯลฯ)
    • ทั้งนี้ การผลิต ปฏิกิริยาตอบรับ ไม่ถือว่าเป็นเนื้อหา "แบบฐานข้อมูล"
    • ข่าวการบวงสรวงละคร ข่าวบันเทิงที่พาดพิงถึงเพียงฉากใดฉากหนึ่งในละคร (เช่น นักแสดง ก จะเล่นบทเลิฟซีนกับนักแสดง ข ติดตามได้ตอนหน้า) มักเป็นเนื้อหาเชิงฐานข้อมูล
แหล่งอ้างอิงน่าเชื่อถือ แหล่งอ้างอิงที่มีกองบรรณาธิการมืออาชีพ มักเป็นสำนักข่าวใหญ่หรือสื่อออนไลน์ที่มีประวัติค่อนข้างอย่างนาน อย่าง ไทยรัฐ เดลินิวส์ คมชัดลึก เนชั่น ไอเอ็นเอ็น ผู้จัดการออนไลน์ กรุงเทพธุรกิจ สนุก.คอม ดาราเดลี่ เดอะสแตนดาร์ด เดอะแมตเทอร์ เดอะคลาวด์ เดอะโมเมนตัม (เอ็มไทย สยามโซน กระปุก ที่นี่?) ฯลฯ
แหล่งอ้างอิงไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่อง แหล่งข้อมูลต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตหรือผู้แพร่สัญญาณ

(ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าในเนื้อหาบทความจะต้องมีเกณฑ์ข้างต้น เพียงแต่สามารถเชื่ออย่างสมเหตุสมผลได้ว่าเข้าหรือจะเข้าเกณฑ์ข้างต้นในอนาคตอันใกล้ก็ถือว่าผ่าน)

--Horus (พูดคุย) 17:21, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

อ่านแล้วงง ข้อ 2 ของการกล่าวถึงอย่างสำคัญ มีลิงก์ตัวอย่างมั๊ย --20:13, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)Sry85 (คุย)