ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41: บรรทัด 41:


| image4 = | leader4 = [[ณรงค์ วงศ์วรรณ]]
| image4 = | leader4 = [[ณรงค์ วงศ์วรรณ]]
| party4 = พรรครวมไทย
| party4 = [[พรรครวมไทย|รวมไทย]]
| leaders_seat4 = แพร่<br>เขต 1
| leaders_seat4 = แพร่<br>เขต 1
| last_election4 = 19
| last_election4 = 19
บรรทัด 58: บรรทัด 58:
|image6 = [[ไฟล์:พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์.jpg|100px]]
|image6 = [[ไฟล์:พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์.jpg|100px]]
|leader6 = [[เทียนชัย ศิริสัมพันธ์]]
|leader6 = [[เทียนชัย ศิริสัมพันธ์]]
|party6 = พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)|พรรคราษฎร
|party6 = [[พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)|ราษฎร (พ.ศ. 2529)]]
|last_election6 = 20
|last_election6 = 20
|leaders_seat6 = ลพบุรี<br>เขต 1
|leaders_seat6 = ลพบุรี<br>เขต 1
บรรทัด 66: บรรทัด 66:
|image7 = [[ไฟล์:เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์.jpg|100px]]
|image7 = [[ไฟล์:เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์.jpg|100px]]
|leader7 = [[เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์]]
|leader7 = [[เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์]]
|party7 = พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)|พรรคประชาชน
|party7 = [[พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)|ประชาชน (พ.ศ. 2531)]]
|last_election7 = ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|last_election7 = ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
|leaders_seat7 = นครราชสีมา<br>เขต 3
|leaders_seat7 = นครราชสีมา<br>เขต 3
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
|image8 = [[ไฟล์:พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก.jpg|100px]]
|image8 = [[ไฟล์:พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก.jpg|100px]]
|leader8 = [[พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก]]
|leader8 = [[พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก]]
|party8 = พรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)|พรรคปวงชนชาวไทย
|party8 = [[พรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)|ปวงชนชาวไทย]]
|leaders_seat8 = เลย<br>เขต 1
|leaders_seat8 = เลย<br>เขต 1
|last_election8 = 1
|last_election8 = 1

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:37, 25 พฤษภาคม 2563

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531

← พ.ศ. 2529 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 มีนาคม พ.ศ. 2535 →

ทั้งหมด 357 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
  First party Second party Third party
  ไฟล์:Chatchai.jpg
ผู้นำ ชาติชาย ชุณหะวัณ สิทธิ เศวตศิลา พิชัย รัตตกุล
พรรค ชาติไทย กิจสังคม ประชาธิปัตย์
เขตของผู้นำ นครราชสีมา
เขต 1
กรุงเทพมหานคร
เขต 2
กรุงเทพมหานคร
เขต 6
เลือกตั้งล่าสุด 64 51 99
ที่นั่งที่ชนะ 87 53 48
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 23 เพิ่มขึ้น 2 ลดลง 51

  Fourth party Fifth party Sixth party
  ไฟล์:พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์.jpg
ผู้นำ ณรงค์ วงศ์วรรณ สมัคร สุนทรเวช เทียนชัย ศิริสัมพันธ์
พรรค รวมไทย ประชากรไทย ราษฎร (พ.ศ. 2529)
เขตของผู้นำ แพร่
เขต 1
กรุงเทพมหานคร
เขต 1
ลพบุรี
เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด 19 24 20
ที่นั่งที่ชนะ 34 31 21
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 15 เพิ่มขึ้น 7 เพิ่มขึ้น 1

  Seventh party Eighth party Ninth party
  ไฟล์:พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก.jpg
ผู้นำ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก พลตรีจำลอง ศรีเมือง
พรรค ประชาชน (พ.ศ. 2531) ปวงชนชาวไทย พลังธรรม
เขตของผู้นำ นครราชสีมา
เขต 3
เลย
เขต 1
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
เลือกตั้งล่าสุด ไม่ได้ลงเลือกตั้ง 1 ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
ที่นั่งที่ชนะ 19 17 15
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 19 เพิ่มขึ้น 16 เพิ่มขึ้น 15

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ชาติไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ถือเป็น การเลือกตั้งครั้งที่ 17 ของประเทศไทย โดยเกิดจากการที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 อันเนื่องจากรัฐบาลมีความขัดแย้งกันเอง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย โดย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเสียง 87 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม มี 54 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 48 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 357 เสียง[1]

แกนนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับแรก 5 พรรคประกอบไปด้วย ชาติไทย , กิจสังคม , ประชาธิปัตย์ , รวมไทย และ ประชากรไทย ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า พล.อ.เปรม มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จึงเข้าพบกับ พล.อ.เปรม ถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพัก ในเวลาค่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม แต่ พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อ โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลารวมทั้งหมด 8 ปี 5 เดือน ที่ตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว อีกทั้งบ้านเมืองก็มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับที่น่าพึงพอใจ พล.อ.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ปีเดียวกัน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ในส่วนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในเวลาต่อมาไม่นาน

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจุดที่น่าสนใจ คือ เป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของ พรรคพลังธรรม โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอยู่ด้วย ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งต่อมา คือ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวง และถือเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองครั้งแรกของนักการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม ที่ต่อมามีบทบาททางการเมืองและสังคมที่สำคัญหลายคน เช่น นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์, นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นต้น[2] [3]

ผลการเลือกตั้ง

สัญลักษณ์ ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
พรรคชาติไทย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 87 คน
ไฟล์:2social.gif พรรคกิจสังคม พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา 53 คน
พรรคประชาธิปัตย์ นายพิชัย รัตตกุล 48 คน
พรรครวมไทย นายณรงค์ วงศ์วรรณ 34 คน
พรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช 31 คน
พรรคราษฎร พลเอกเทียนชัย ศิริสัมพันธ์ 21 คน
พรรคประชาชน นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ 19 คน
พรรคปวงชนชาวไทย พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก 17 คน
พรรคพลังธรรม พลตรีจำลอง ศรีเมือง 15 คน
พรรคกิจประชาคม นายบุญชู โรจนเสถียร 9 คน
พรรคก้าวหน้า นายอุทัย พิมพ์ใจชน 8 คน
พรรคสหประชาธิปไตย พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ 6 คน
พรรคมวลชน ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 5 คน
พรรคเสรีนิยม พันเอกณรงค์ กิตติขจร 3 คน
พรรคพลังสังคมประชาธิปไตย นายชัชวาลย์ ชมภูแดง 1 คน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ประวัติพรรคประชาธิปัตย์
  2. ชาติชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรมได้รับการเสนอชื่อเป็นองคมนตรี หน้า 207, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  3. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539. 632 หน้า. ISBN 974-599-876-4