ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาปฏิรูปแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 321: บรรทัด 321:
== สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ==
== สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ==
{{บทความหลัก|สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ}}
{{บทความหลัก|สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ}}
'''[[สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ]]''' (สปท.) (13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - [[3 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2560]]<ref>[http://www.tnamcot.com/view/5977512de3f8e40ad163b500 ครบรอบ 2 ปี สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ] สำนักข่าวไทย อสมท</ref>) ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 ทำหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้านสืบต่อจาก [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1
[[สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ]] (สปท.) ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 ทำหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้านสืบต่อจาก [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1

โดยสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศนั้นประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายอาชีพทั้งสิ้นไม่เกิน 200 คนซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งโดย [[นายกรัฐมนตรี]] โดยนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งโดยไม่ต้องนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] [[นายกรัฐมนตรี]] และหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ได้เรียกประชุมที่[[บ้านเกษะโกมล]] และได้มีการลงนามแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้ง 200 คนพร้อมกับ [[คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ]] (กรธ.) ทั้ง 21 คน
ซึ่งสมาชิกทั้ง 200 คนประกอบไปด้วยอดีตสมาชิก [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]],นักวิชาการ,นายทหารนายตำรวจทั้งในและนอกราชการ,ตัวแทนกลุ่มการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองโดยสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นชาย 183 คนและหญิง 17 คนโดยในวันเดียวกัน [[ราชกิจจานุเบกษา]] ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศทั้ง 200 คน<ref>ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ 5 ตุลาคม 2558</ref>

วันที่ 13 ตุลาคม 2558 มีพิธีเปิดประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่ [[อาคารรัฐสภาไทย|อาคารรัฐสภา]] โดยมีนาย [[ชัย ชิดชอบ]] สมาชิกสภาที่อาวุโสสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราวเพื่อเลือกประธานสภาผลปรากฏว่าศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ร้อยเอก ดร. [[ทินพันธุ์ นาคะตะ]] วัย 81 ปีซึ่งพลเอก [[ฐิติวัจน์ กำลังเอก]] เสนอชื่อเพียงคนเดียวได้รับเลือกเป็นประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโดยมีนาย [[อลงกรณ์ พลบุตร]] เป็นรองประธานสภาคนที่ 1 และนางสาว [[วลัยรัตน์ ศรีอรุณ]] เป็นรองประธานสภาคนที่ 2

วันที่ 15 ตุลาคม 2558 นาย จเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนาย นัฑ ผาสุข ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2558<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/256/10.PDF</ref>
วันที่ 18 ตุลาคม 2558 นายนัฑ ผาสุข ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 38/2558 <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/259/10.PDF</ref>นาง จันทร์เพ็ญ อานามวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากอาวุโสสูงสุด

วันที่ 27 ตุลาคม 2558 ศาสตราจารย์พิเศษ[[พรเพชร วิชิตชลชัย]] ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามในคำสั่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ 150/2558 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นาง[[สายทิพย์ เชาวลิตถวิล]] ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ<ref>http://www.naewna.com/politic/185709</ref>

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ร้อยเอก ดร.[[ทินพันธุ์ นาคะตะ]] ได้ประกาศ ข้อบังคับ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2558<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/279/21.PDF ข้อบังคับ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2558]</ref>

วันที่ 1 ตุลาคม 2559 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล วาระ ตุลาคม 2559 โดยมีสมาชิกได้รับพระราชทานยศ พลเอก 3 รายได้แก่ พลเอก สสิน ทองภักดี พลเอก สุรเดช เฟื่องเจริญ พลเอก ธงชัย สาระสุข นางสายทิพย์ เชาวลิตถวิล เกษียณอายุราชการ นายสรศักดิ์ เพียรเวช ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

จำนวนผู้จบ[[ปริญญาเอก]] ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มีจำนวน 23 รายจาก 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.5 มากกว่า[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557]] ที่มีจำนวน 16 ราย จาก 220 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.27 มีผู้ที่มี[[ยศทหารและตำรวจไทย]] ทั้งหมด 78 ราย จาก 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 39 ยศ[[กองอาสารักษาดินแดน]] 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ผู้มี[[ตำแหน่งทางวิชาการ]] 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 และเป็นแพทย์ 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.5


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:51, 20 พฤษภาคม 2563

สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ผู้บริหาร
ประธาน
รองประธานคนที่ 1
รองประธานคนที่ 2
เลขาธิการ
สมาชิกไม่เกิน 250 คน
กลุ่มการเมือง
แต่งตั้ง
ที่ประชุม
อาคารรัฐสภา

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558) หรือ สปช. เป็นสภาที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 27 มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ มีสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากคณะกรรมการสรรหาจังหวัดจำนวน 77 คน และคณะกรรมการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง รวม 11 คณะ จำนวน 173 คน

วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจำนวน 250 คน ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติได้เลือกเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธาน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานคนที่ 1 และทัศนา บุญทองเป็นรองประธานคนที่ 2[1] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธาสภาปฏิรูปต่อมาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557[2]

สภานี้คล้ายกับข้อเรียกร้องของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ที่ให้มีสภาประชาชนมิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศโดยมุ่งกำจัดอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการเมืองไทย[3]

6 กันยายน พ.ศ. 2558 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ 135 ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง[4] จึงทำให้สภาต้องถูกยุบทิ้งโดยทันทีตามมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแม้ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม[5]

หน้าที่

สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน สังคม และอื่นๆ เพื่อให้การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม[6]

รายนามสมาชิก

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจำนวน 250 คน โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ทิชา ณ นคร ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2558[18] วันที่ 19 สิงหาคม 2558 ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[19]

ข่าว

วันที่ 21 ตุลาคม ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน เพราะเป็นตำแหน่งทางวิชาการ ไม่ใช่ตำแหน่งการเมือง[20]

วันที่ 10 พฤศจิกายน มีการกำหนดค่าตอบแทนให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เดือนละ 73,420 บาท สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เดือนละ 71,230 บาท[21]


สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 ทำหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้านสืบต่อจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1

อ้างอิง

  1. ไม่พลิก!‘เทียนฉาย’นั่งประธานสปช.,คม ชัด ลึก, 25 ตุลาคม 2557
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 218 ง, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557.
  3. Anuchit Nguyen and Suttinee Yuvejwattana (2014-07-23). "Thai junta retains sweeping power under interim constitution". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 2014-07-27.
  4. มติสปช.คว่ำร่าง รธน.135 ต่อ 105 เสียง, เดลินิวส์, 6 กันยายน 2558
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 6 กันยายน 2558
  6. [http://www2.ect.go.th/ about.php?Province=nrc2014&SiteMenuID=12617 สภาปฏิรูปแห่งชาติ] จาก กกต.
  7. พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุบกษา, 13 ตุลาคม 2557
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/B/006/9.PDF
  9. ประวัติดร.จุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
  10. พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  15. ประวัตินางเบญจวรรณ สร่างนิทร
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/161/8.PDF
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/B/002/24.PDF
  18. 'ทิชา ณ นคร' ลาออก สปช.-กมธ.ร่างรธน., now 26, 28 กุมภาพันธ์ 2558, สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558
  19. http://mcot-web.mcot.net/fm1005/content.php?id=55d44188be04706b728b46b0#.Vdwaoen75jo
  20. "ป.ป.ช.เอกฉันท์'สปช.'ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน". คมชัดลึก. 2014-10-21. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)
  21. "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น